อรรถกถา ภัทรฆฏเภทกชาดก
ว่าด้วย คนโง่เขลาเดือดร้อนภายหลัง
ณ พระเชตวันวิหาร สถานที่พระศาสดาทรงประทับอยู่ วันหนึ่งพระศาสดาทรงเทศนาสั่งสอน คณะภิกษุ "มีเศรษฐีคนหนึ่งนามว่าท่านอนาถบิณฑิก มีหลานชายอยู่คนหนึ่ง ซึ่งวีรกรรมของเด็กคนนี้นั้นช่างเหลือร้าย เขานั้นผลาญเงินมากถึง ๔๐ โกฏิ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ทิ้งไว้ก่อนตายของบิดามารดา เวลาผ่านไปไม่นาน ทรัพย์ที่มีทั้งหมดก็หายไปในช่วงพริบตา จากนั้นจึงเดินทางไปหาปู่ของตน เพื่อขอเงินอีกครั้ง ด้วยความรักที่มีต่อหลาน ท่านเศรษฐีได้ให้เงินมากถึง ๕๐๐ เขา และในขณะเดียวกันก็กำชับหลานให้รู้จักทำมาหากินแต่สุดท้าย สมบัติทั้งหมดก็หายไปหมดสิ้น หลานของเศรษฐีท่านนี้ จึงกลับไปขอปู่อีกครั้ง ท่านเศรษฐีให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบไป ๒ ผืน เขาก็เอาไปขายแล้วใช้เงินจนหมด เหตุการณ์เช่นนี้ยังคงเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนกระทั่ง ท่านเศรษฐีทนไม่ไหวให้คนใช้ลากออกไป จากนั้นเด็กหนุ่มได้กลายเป็นคนอนาถาอาศัยฝาเรือนคนอื่นจนกระทั่งตาย "
วันหนึ่งท่านเศรษฐีผู้นี้เดินทางมายังพระวิหาร พร้อมกับกราบทูลเรื่องของหลานชายทั้งหมด ให้พระตถาคตเจ้าทรงทราบ "เมื่อก่อนหลานของท่านนั้น แม้ให้หม้อสารพัดนึก ก็ยังไม่สามารถทำบุคคลใดให้อิ่มหนำได้ ท่านจะทำบุคคลนั้นให้อิ่มหนำอย่างไร" "พระศาสดาทรงตรัสขึ้น" จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล สมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในตระกูลเศรษฐี เมื่อเติบใหญ่พ่อของตนได้ล่วงลับไปจากนั้น บุตรชายได้รับทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ใต้ดินประมาณ ๔๐ โกฏิระหว่างนั้นท่านเศรษฐี ได้ทำบุญทำทานบริจาคข้าวของเครื่องใช้ต่างๆจนกระทั่งสิ้นลมแล้วได้เกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช
ด้านบุตรของท่านเศรษฐีนั้น ได้รับทรัพย์สมบัติต่อจากพ่อของตน ไม่ได้ทำการทำงานอย่างไรทั้งสิ้น เอาแต่กินเหล้าเคล้านารี จนลืมวันลืมคืน นอกจากนั้นได้สร้างอาคารที่มีหลังคายอดทรงสูง และใช้เป็นสถานที่ดื่มสุรารายล้อมไปด้วย ผู้หญิงสิ่งมึนเมา ระหว่างนั้น "มานี่ๆ ลูกเศรษฐีควักมือเรียกหญิงสาวหน้าตาดีนางหนึ่ง" "มีอะไรหรือเจ้าค่ะ" "เต้นให้ข้าดูหน่อย เดี๋ยวให้หนึ่งพัน" "จริงหรือเจ้าคะ" หญิงสาวมีท่าทีดีใจอย่างออกนอกหน้า "จริงสิ เห็นพี่เป็นคนขี้โกหกหรือ" ลูกเศรษฐีพูดอย่างยิ้มๆ "เปล่าเจ้าค่ะ" จากนั้น หนึ่งสาวจึงร่ายรำให้ ลูกเศรษฐี ได้ดูอย่างสมใจ
และด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ ส่งผลให้สมบัติที่พ่อทิ้งไว้ให้ซึ่งมีมากถึง ๔๐ โกฏิ ถูกผลาญจนหมดกลายเป็นขอทานค่อยเที่ยวขออาหารชาวบ้านกิน ไปทั่ว
ด้านท้าวสักกะที่นั่งมองอยู่บนสวรรค์ มองเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น รำพึงถึงบุตรชาย "ช่างโง่เขลาเบาปัญญายิ่งนัก ปล่อยให้กิเลส น้ำเมาครอบงำ จนชีวิตตกต่ำเช่นนี้" แต่ด้วยความรักลูกของตนกลัวว่าจะตกระกำลำบาก ท้าวสักกะจึงลงมาหาบุตรชายของตน
"โถ....ทำไมถึงปล่อยชีวิตให้เป็นเช่นนี้ล่ะ" ท้าวสักกะเอ่ย "เจ้านั้นทำร้ายตัวเองจนกระทั้งไม่เหลืออะไรแล้ว" ท้าวสักกะผู้เป็นพ่อเงียบไปชั่วครู่ ก่อนจะหยิบหม้อแล้วยื่นให้กับลูกชาย "นี่คือหม้อสารพัดนึก สิ่งนี้จะดลบันดาลทุกอย่างให้เจ้าได้ไม่ว่าจะแก้วแหวนเงินทองต่างๆ ถ้ามีหม้อใบนี้ จะกลับไปเป็นเศรษฐีอีกครั้ง แต่มีข้อแม้จงรักษาให้ดี อย่าให้แตกสัญญานะ" "ครับผมจะดูแลให้อย่างดี" จากนั้นท้าวสักกะก็กลับไปเทวโลกไป แต่แทนที่ลูกเศรษฐี จะปรับปรุงตัวใหม่ เขากลับไปเที่ยวดื่มสุราเช่นเดิม
อยู่มาวันหนึ่ง ชายหนุ่มเมามาก ได้เผลอโยนหม้อขึ้นไปในอากาศแล้วดันพลาดส่งผลให้หม้อตกพื้น แตกกระจาย ทรัพย์ที่เคยมีมากล้นกลับหายไปชั่วพริบตา เสื้อผ้าที่เคยงดงามกลับกลายเป็นผ้ามอซออีกครั้ง จากบุรุษรูปงามกลายเป็นขอทานในฉับพลัน จากนั้นเป็นต้นมา ชายหนุ่มเดินถือหม้อที่แตกเที่ยวขออาหาร อาศัยฝาเรือนคนอื่นอยู่จนตาย
ครั้นพระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ว่า
นักเลงได้หม้อ อันเป็นหม้อสารพัดนึกใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้ตราบใด เขาก็จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น
เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้ทำลายหม้อให้แตก เพราะความประมาท เมื่อนั้นก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่า เป็นคนโง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
คนผู้ประมาทโง่เขลาได้ทรัพย์มาแล้วใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนในภายหลังเหมือนนักเลงทุบหม้อสารพัดนึกฉะนั้น
พระศาสดา ครั้นตรัสพระคาถาดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
นักเลงผู้ทำลายหม้อความเจริญในครั้งนั้น ได้เป็น หลานเศรษฐีในบัดนี้
ส่วนท้าวสักกะ คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.