ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

ชาดก 500 ชาติ
สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

       นับแต่ยุคพุทธกาลผ่านมาการถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์อันถือเป็นนิตยทานนั้นคือภัตตาหาร การฉันภัตตาหารในอาศรมใด ๆ จึงมักใช้หอฉันเป็นสถานกระทำภัตกิจของพระสงฆ์สืบมา พุทธสมัยครั้งหนึ่งพระพุทธศาสดาประทับยังพระเชตวันมหาวิหารพระนครสาวัตถี

        ทรงสดับเรื่องราวน่ารักน่าเอ็นดูของสุนัขในหอฉันของพระอาราม ครั้งนั้นคนดูแลโรงฉันของภิกษุได้นำลูกสุนัขมาเลี้ยงดูไว้ภายในหอฉันแต่ก็ไม่ได้ทำความรำคาญรบกวนภัตกิจของพระสงฆ์แต่อย่างใด

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

       “ เจ้าหมาน้อยอยู่ตรงอย่าซนล่ะ เดี๋ยวข้าตักน้ำไปประเคนก่อนแล้วจะเอาอาหารมาให้เจ้ากินนะ ” “ ลาภปากอีกแล้วเรา ” นายภารโรงมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือตักน้ำมากรองใส่ภาชนะคอยประเคนถวายในเวลาฉันภัตตาหาร นอกเหนือจากหน้าที่อื่นเรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพราะทำงานและอาศัยนอนอยู่ในโรงฉันนั้นแห่งนั้น

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

      ในแต่ละวันเขาจะได้รับรางวัลเป็นอาหารอย่างดีที่พระภิกษุฉันเหลือไว้ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแต่ละวันก็จะอาหารมากินร่วมกันกับลูกสุนัขตัวนี้ “ เอ้า เจ้าหมาน้อยอาหารมาแล้ว วันนี้อาหารดี ๆ ทั้งนั้นเลยกินซะ ” “ อร่อย อยู่กับเจ้านายไม่มีวันอดตายแน่เรา”

        นานวันเข้าลูกสุนัขก็เริ่มเติบโตอ้วนพีเป็นที่เพลิดเพลินของผู้ดูแลหอฉัน ทั้งยังเป็นที่เอ็นดูของภิกษุอีกหลายรูป “ หมาตัวนี้โตเร็วจริง ๆ หน่วยก้านก็ไม่เลวเลยนะเนี่ย ” “ นั่นสินะ แถมมันยังเชื่องดีอีกต่างหาก ” เพราะความแสนรู้และสงบเสงี่ยมสมกับเป็นสุนัขในวัด

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

       อยู่มาอีกไม่นานก็มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นให้เป็นที่วิพากษ์ขึ้น วันหนึ่งได้มีพ่อค้านำภัตตาหารมาถวายพระที่หอฉัน สังเกตเห็นลูกสุนัขแสนรู้ก็ชอบใจ จึงเกลี้ยกล่อมขอซื้อสุนัขตัวนั้นจากคนดูแลโรงฉัน “ ลูกสุนัขของท่านตั้วนี้ดูเชื่องดีแท้ เราจะขอแลกกับเงินนี่เอาไปกำนัลผู้ใหญ่เพื่อผูกไมตรีไว้ทำการค้า ”

       “ ลูกสุนัขตัวนี้ไม่ได้มีไว้ขาย ข้าคงขายให้ท่านไม่ได้หรอก ” “ ท่านคิดดูให้ดีก่อน ลูกสุนัขนี้อาจช่วยให้คนตกงานอีกหลายคนมีงานทำ เราจะดูแลมันเป็นอย่างดี ท่านสบายใจได้ ” “ เอ้ ข้าควรตัดสินใจอย่างไรดีละนี่ เฮ้อ..หนักใจจริง ๆ ” ในที่สุดคนดูแลโรงฉันก็ตัดสินใจขายลูกสุนัขตัวนั้นให้แก่พ่อค้า

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

        “ ดีมาก ท่านตัดสินใจไม่ผิดหรอก อย่ากังวลเลย เราจะเลี้ยงดูลูกสุนัขตัวนี้เป็นอย่างดี ” “ อืม งั้นข้าฝากท่านดูแลด้วยแล้วกันนะ ” “ เจ้าอย่าดื้อกับนายใหม่ของเจ้าน่ะ ” “ ข้าจะต้องกลับมาหาเจ้านายให้ได้เลย ”

         ลูกสุนัขยอมเดินตามพ่อค้าโดยไม่ได้ขัดขืนไปตลอดทางด้วยความเชื่องของมันทำให้พ่อค้าไม่ได้ล่ามหรือกักขังมันไว้ “ เออ..ว่าง่ายดีจังเห็นทีคงไม่ต้องกักขังกันแล้วล่ะเจ้า ฮะฮ่า ฮ่า ฮ่า เอาละ ๆ นี่อาหารของเจ้ากินเสร็จก็พักผ่อนซะ ข้าจะหลับเอาแรงสักงีบ ”

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

         ในเช้าของวันต่อมาพระเณรออกบิณฑบาตก็พบเห็นลูกสุนัขตัวนี้วิ่งตะบึงเข้ามาในพระอารามอย่างดีอกดีใจ “ นี่เจ้ากลับมาได้ยังไงนี่ รู้หรือเปล่าว่าข้าคิดถึงเจ้ามากเจ้าหมาน้อย กลับมาได้น่ารักจริง ๆ เลย ” การกลับมาของลูกสุนัข

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

        สร้างความดีใจให้แก่คนดูแลหอฉันเป็นยิ่งนัก และมันก็ยังทำให้คนอื่น ๆ พลอยดีใจไปด้วย “ ฉลาด เจ้าปัญญาจริงๆ นะแก อุตส่าห์กัดเชือกจนขาดหนีมาได้ ” “ นั้นสิ ไม่มีเจ้าแล้วหอฉันดูเงียบเหงาชอบกล ” เรื่องลูกสุนัขในหอฉันกัดเชือกจนขาดหนีกลับมาหาเจ้าของกลายเป็นข้อสนทนาของภิกษุในวันนั้น พระบรมศาสดา

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

       ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ปฏิบัติธรรมสั่งสมความดีไม่ทำความชั่วและอบรมจิตใจตนให้สดใส การน้อมรับพระพุทธธรรม อันเป็นเครื่องผูกมัดสัตว์ไว้ในโลกมนุษย์ให้ขาดดุจสุนัขกัดเชือกหนังในอดีตกาลครั้งหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายกราบทูลอาราธนาให้ทรงเล่าอดีตชาติ ครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเล่า สุนัขชาดกขึ้น

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

        อดีตกาลนานมาแล้วยังมีนายช่างถังไม้ผู้หนึ่ง อาศัยฝีมือการทำถังไม้ออกขายยังชีพอยู่ในนิคมชนบทชานเมืองพาราณสี นายช่างถังไม้ผู้นี้เลี้ยงลูกสุนัขสีน้ำตาลทองไว้ตัวหนึ่งตั้งแต่แรกเกิด “ รอก่อนนะ เดี๋ยวพอข้าทำถังใบนี้เสร็จ แล้วข้าจะเอาอาหารมาให้ ”

      เมื่อใดได้ถังไม้จำนวนมากพอนายช่างถังไม้ก็จะนำไปวางขายในที่ชุมชนซึ่งทุกครั้งลูกสุนัขตัวนี้ก็จะติดตามไปด้วยและทำหน้าที่เรียกผู้คนให้มามุงดูกันได้ครั้งละมาก ๆ  “ อ้าว ๆ เร่เข้ามา ๆ มาเลือกซื้อถังไม้กันก่อน มีทั้งถังน้ำ ถังซักผ้า ถังใส่ของมาเลือกซื้อกันก่อนจ้า ”

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

        “ เอ้ พวกเขามุงดูอะไรกันนะ ต้องไปดูซะหน่อยเรื่องชาวบ้านนี่ ข้าชอบนัก ” “ โอ้โห้ ดูเจ้าหมาตัวนั้นสิมันเดินสองขาได้ด้วย ท่าทางมันฉลาดน่าดูเลยนะเนี่ย ถ้าเป็นหมาของข้าละก็ข้ารักตายเลยล่ะ ” เมื่อฝูงชนมามุงดูการแสดงของลูกสุนัขมากเข้า นายช่างทำถังไม้ก็ร้องขายสินค้าได้มากขึ้น ทุกครั้งที่มีการขายถังไม้ นายช่างและลูกสุนัขก็ช่วยกันเช่นนี้ทำให้มีเงินเลี้ยงชีพสืบมา “ อ้าว ดูการแสดงแล้วก็ช่วยอุดหนุนถังของข้าด้วยนะ ” “ งั้น ข้าอุดหนุนถังน้ำท่าน 2 ใบแล้วกันนะ ” “ ข้าก็เอาด้วย ส่วนนี่ข้าให้เป็นค่าอาหารเจ้าหมานี่นะ ” ยิ่งการแสดงของลูกสุนัขได้รับความสนใจจากชาวบ้านมาก

        ช่างทำถังไม้ก็ขายถังไม้ได้มากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งวันหนึ่งได้มีชายจากต่างเมืองเดินทางผ่านมาเห็นการแสดงของลูกสุนัขเข้า ชายผู้นี้รู้สึกพอใจลูกสุนัขตัวนี้เป็นอย่างมาก “ เอ่ นั้นชาวบ้านเขามุงดูอะไรกันน่ะ ” “ อ้าว ๆ เร่เข้ามาเลือกซื้อถังไม้กันจ้า ” “ อืม ลูกหมาตัวนี้ช่างน่าสนใจยิ่งนัก ถ้าเอาไปแสดงละครสัตว์น่าจะหาเงินได้ไม่น้อยเลยนะเนี่ย ”

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

       ในเย็นวันนั้นชายต่างเมืองผู้นี้ก็ได้เดินตามนายช่างทำถังไม้กับลูกสุนัขไปจนถึงที่พัก “ สหายเอ๋ย หมาน้อยตัวนี้เป็นของท่านรึ ช่างเป็นหมาที่แสนรู้ยิ่งนัก ” “ ท่านคงเป็นนายวาณิชย์ มีอะไรให้ข้าช่วยหรือ ”

       “ ข้ารู้สึกพอใจหมาน้อยตัวนี้ของท่านยิ่งนักจึงได้ตามท่านมาถึงที่นี่ ” “ หมาตัวนี้ ข้าเลี้ยงดูมันมาตั้งแต่เล็กกินอยู่กับข้าเหมือนเป็นลูกของข้าเลยทีเดียว ” “ ท่านทำถังไม้ขายจะได้เงินสักเท่าไหร่กัน ถ้าท่านมอบหมาน้อยตัวนี้ให้ข้า ข้าจะให้เงินถุงนี้แก่ท่าน ” นายวาณิชย์พูดคุยกับช่างทำถังไม้อยู่นาน

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

      จนในที่สุดด้วยความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินช่างทำถังไม้จึงตกลงขายลูกสุนัขให้ “ ตัวแลตัวเองให้ดีนะลูก ใช้ปัญญาแก้ปัญหาแล้วอย่าดื้อรั้นกับเจ้านาย ” “ ลาก่อนนะเจ้านาย ข้าจะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีเพื่อกลับมาหาท่านให้ได้ ” ลูกสุนัขแสนรู้ยอมให้นายวาณิชย์ผูกคอ

       ด้วยเชือกจูงไปตามใจชอบโดยไม่ขัดขืน ไม่มีใครรู้ความคิดหรืออ่านสายตามันออกในเวลานั้น นายวาณิชย์จูงลูกสุนัขเดินทางไปจนเหนื่อยก็หยุดพัก ลูกสุนัขนั้นก็มิได้มีกิริยาหวาดกลัวหรือคิดหลบนี้เลยแม้แต่น้อย “ เป็นเด็กดีจริง ๆ ดูสิ ไม่ดื้อไม่หนีเลย เอ้า เอารางวัลของเจ้าไป ” บางเวลา

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

      แม้นายวาณิชย์จะแกล้งลองถอดบ่วงคล้องคอออกลูกสุนัขแสนรู้ก็ไม่มีทีท่าจะหนีไปไหน “ ฮ่า ฮ่า เจ้านี่ฉลาดไม่เบา ดีล่ะ ข้าจะปั้นให้เจ้าเป็นดาราประจำคณะละครสัตว์ของข้าเลย ” เมื่อถึงเวลาหลับนอนนายวาณิชย์ก็ผูกคอล่ามลูกสุนัขไว้ด้วยเชือกหนังดังเดิม

       เจ้าลูกสุนัขแสนรู้ก็นอนซุกนิ่งอยู่ข้างกายจนนายวาณิชย์หลับไป “ อ้าว นอนหลับแล้วเหรอ เออ ข้าเองก็ง่วงเหมือนกัน แล้วพรุ่งนี้เราเคยเดินทางต่อเจ้าหมาน้อย ” เมื่อสบโอกาสเจ้าลูกสุนัขก็ลงมือกัดแทะเชือกหนังที่ล่ามคอของมันอย่างรวดเร็วไม่นานพันธนาการ 

สุนัขชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

      ที่ถูกล่ามอยู่ก็ขาดลงอย่างรวดเร็ว “ หลุดซะที กัดซะเมื่อยเขี้ยวเลยเรา ” แล้วคืนนั้นทั้งคืนเจ้าสุนัขน้อยผู้แสวงหาอิสระภาพในการตัดขาดเครื่องยึดตัวมันออกได้ก็วิ่งกลับไปหาเจ้านายคนเดิมโดยไม่หันหลัง

ในพุทธกาลครั้งนั้น
นายช่างทำถังไม้ กำเนิดเป็น คนดูแลหอฉัน
ลูกสุนัขของช่างทำช่างไม้ กำเนิดเป็น ลูกสุนัขในหอฉัน

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล