ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาอุมมาทันตีชาดกว่าด้วย เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา

อรรถกถา อุมมาทันตีชาดก

ว่าด้วย เสนาบดีถวายนางอุมมาทันตีแด่พระราชา

 

                ณ.วิหารเชตวัน สถานที่ ที่พระศาสดาทรงประทับอยู่ พระศาสดา วันหรึ่งพระองค์ทรงตรัสถึงพระภิกษุรูปหนึ่ง โดยมีใจความดังนี้ว่า  มีภิกษุรูปนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้เห็นหญิงสาว ซึ่งประดับตกแต่งร่างกาย มีรูปร่างงดงาม จึงเกิดจิตปฏิพัทธ์ ไม่อาจจะกลับใจหักห้ามได้


               จากนั้นก็กลายเป็นผู้อ่อนแอเพราะโรค ดุจถูกลูกศรทิ่มแทง กลายเป็นคนผอมเหลือง ไม่ยินดีในพระศาสนา ละเว้นกิจวัตรทุกอย่าง ต่อมาภิกษุรูปนั้นจึงถูกถามจากภิกษุรูปอื่นว่า "เมื่อก่อน ท่านมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มีสีหน้าผ่องใส แต่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ เพราะเหตุอะไรกันหนอ?" "ผมไม่ยินดีในพระศาสนาเลย"


                "อาวุโสเอ๋ย! จงยินดีในพระศาสนาเถิด ธรรมดาว่า การเกิดของพระพุทธเจ้า เป็นสภาวะที่ได้โดยยาก การได้ฟังพระสัทธรรม และการได้เป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ได้โดยยากเหมือนกัน ท่านนั้นได้เป็นมนุษย์แล้ว เมื่อปรารถนาจะทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ จึงละคน ผู้เป็นญาติมีน้ำตานองใบหน้าแล้ว บวชด้วยศรัทธา เพราะเหตุไร ท่านจึงตกไปสู่อำนาจแห่งกิเลสเล่า ขึ้นชื่อว่า กิเลสเหล่านั้นมีทั่วไปแก่คนพาลทุกจำพวก ตั้งแต่สัตว์มีชีวิตไส้เดือนขึ้นไป มีอุปมาเหมือนผลไม้ กิเลสเหล่านั้นเป็นที่ตั้งแห่งวัตถุกาม กามแม้เหล่านั้นมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีประมาณยิ่ง


          กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างกระดูก ชิ้นเนื้อ คบเพลิงหญ้า หลุมถ่านเพลิง ความฝัน เปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา


          ธรรมดาว่า ท่านบวชแล้วในพระศาสนาเห็นปานนี้ ยังตกไปสู่อำนาจของเหล่ากิเลส ซึ่งเป็นเหตุกระทำความพินาศถึงอย่างนั้นได้ดังนี้"


               เมื่อไม่สามารถจะให้ ภิกษุนั้นรับเอาถ้อยคำของตนได้ จึงพากันนำไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ยังธรรมสภา


               เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่มีความปรารถนาจะมา ทำไม?"


               จึงพากันกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่า ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มีความเบื่อหน่าย เจ้าข้า" "ที่เล่ามาเป็นความจริงหรือ" "เป็นความจริง พระเจ้าข้า"


               "ดูก่อนภิกษุ โปราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ตามพร่ำสอน ซึ่งพระราชาผู้ครอบครองราชสมบัติอยู่ จนไม่ตกไปสู่อำนาจกิเลสที่เกิดขึ้น ห้ามจิตเสียได้ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่สมควร " แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า


                ในอดีตกาล ในแคว้นสีวี พระราชาทรงพระนามว่า สีวี ทรงครอบครองราชสมบัติ ในอริฏฐบุรีนคร พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์พระอัครมเหสี ของพระราชาพระองค์นั้นแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายพากันขนานพระนามพระราชโอรสนั้นว่า สีวิกุมาร แม้บุตรของท่านเสนาบดีก็คลอดแล้ว พวกหมู่ญาติพากันตั้งชื่อเด็กนั้นว่า อภิปารกะ เด็กทั้งสองคนนั้นเป็นสหายกัน พอเจริญวัยมีอายุได้ ๑๖ ปี ไปยังกรุงตักกสิลา พอเล่าเรียนศิลปะจบแล้ว ก็พากันกลับมา


               พระราชาได้ทรงพระราชทานพระราชสมบัติให้พระราชโอรสครอบครอง แม้พระราชโอรสนั้นแต่งตั้งอภิปารกะไว้ในตำแหน่งเสนาบดีแล้ว ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม


               ในพระนครนั้นนั่นเอง มีบุตรสาวของท่านติริฏิวัจฉเศรษฐี ผู้มีทรัพย์สมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ เธอมีรูปร่างสวยยิ่งนัก ประกอบด้วยลักษณะอันงดงาม ในวันตั้งชื่อ หมู่ญาติได้ตั้งชื่อเธอว่า อุมมาทันตี ในเวลาเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี เธอมีผิวพรรณเกินล้ำหมู่มนุษย์ น่าชมปานเทพยดาชั้นฟ้า ใครที่พบเห็นเธอเข้า คนนั้นจะไม่สามารถดำรงสติไว้ได้

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png

 


               ครั้งนั้น ท่านติริฏิวัจฉะผู้เป็นบิดาของนาง เข้าไปเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ อิตถีรัตนะอันสมควรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ได้บังเกิดขึ้นแล้วในเรือนของข้าพระองค์ ได้โปรดส่ง พราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะทั้งหลายไปให้พิจารณาอิตถีรัตนะนั้นแล้ว โปรดจงทำตามความพอพระทัยเถิด" พระราชารับคำแล้ว สั่งให้คณะพราหมณ์ตรงไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เหล่าพราหมณ์เดินทางไปถึง ได้รับการต้อนรับด้วยอาหารคาวหวานเป็นอย่างดี


               ในขณะนั้นเอง นางอุมมาทันตีประดับประดาด้วยเครื่องประดับต่างๆ ลงมาจากชั้นบนเพื่อมาพบกับคณะพราหมณ์ที่พ่อของตนนัดมา  แว็บแรกที่ที่พบเจอ สติสัมปชัญญะที่เคยเต็มร้อย กลับค่อยๆเลือนหายไป กลายเป็นผู้เมากิเลส ไม่ได้รู้เลยว่าตนกำลังกินข้าวอยู่ บางคนแสดงท่าทีแปลกประหลาด บางพวกทุบตีฝาเรือน หรือแม้แต่ตีอกชกตัว ช่างเป็นภาพที่ชวนพิศวงยิ่งนัก บัดนี้คณะกลายเป็นคนบ้าไปหมดแล้ว

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png

 


               หญิงสาวเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด เกิดอาการสังเวช จึงกล่าวว่า "พราหมณ์บ้าเหล่านี้หรอที่จะตรวจดวงชะตาให้เรา จงลากคอคนพวกนี้ออกไปซ้ะ" คนรับใช้ทำตามคำสังทันที ครั้นคณะพราหมณ์มานอนกองกันอยู่หน้าเรือน "หน๊อยย นางผู้หญิงชั่วช้า กล้าฉีกหน้าพวกข้าหรือ ได้เห็นดีกัน" เหล่าพราหมณ์นั้นพากันกลับไปยังพระราชวังกราบทูลความเท็จว่า "ขอเดชะ ผู้หญิงคนนั้นเป็นหญิงกาลกิณี มิได้สมควรแก่พระองค์เลย พระเจ้าข้า" 

          เมื่อพระราชาทรงทราบจึงไม่ได้รับนางนางอุมมาทันตี มาเป็น พระมเหสีแต่อย่างใด             


               ต่อมาหญิงสาวได้ทราบเรื่อง จึงผูกอาฆาตพระราชาเป็นอย่างมาก  ต่อมาบิดาได้มอบเธอให้แก่ท่านอภิปารกะ นางได้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ

 

               ในวันหนึ่งเมื่ออภิปารกเสนาบดี เมื่อจะไปที่ทำงานของตน ได้เรียกภรรยาสุดที่รักมาแล้วพูดว่า "อุมมาทันตี น้องรัก! วันนี้ เวลาค่ำคืนแห่งกัตติกมาสจะมีมหรสพ พระราชาจะทรงนั่งรถม้าตรวจตาพระนคร เสด็จผ่านประตูเรือนของเรานี้ เป็นเรือนแรก น้องอย่าปรากฏตัวให้พระราชาทรงเห็นนะ เพราะถ้าพระองค์เห็นน้องแล้ว จะไม่อาจดำรงสติไว้ได้"


               นางอุมมาทันตีนั้นรับคำสามี ก่อนจะเอ่ยว่า "ไปเถอะคุณพี่ ดิฉันจะทำตามที่ท่านบอก"


               เมื่อสามีไปแล้ว จึงสั่งบังคับคนใช้ว่า "ในเวลาที่พระราชาเสด็จมายังประตูเรือนของเรานี้ เจ้าจงบอกแก่เราให้ทราบด้วยนะ" ครั้นเมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว พระจันทร์เพ็ญลอยเด่นขึ้นแทนที่ พระนครที่ประดับประดาตกแต่งแล้ว ดูงดงามปานเทวนคร ประทีปลุกโพลง สว่างไสวทั่วทุกทิศ


               พระราชาทรงประดับตกแต่งด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพประทับบนรถม้าคันใหญ่  วิ่งไปทั่วพระนคร เสด็จถึงประตูเรือนของท่านอภิปารกเสนาบดีเป็นเรือนแรก เรือนหลังนั้นแวดล้อมด้วยกำแพงสีดังมโนศิลา มีหอคอยอยู่ที่ซุ้มประตูอันประดับตกแต่งจนงามเลิศ น่าดูชม


               ขณะนั้น นางทาสีได้เรียนแจ้งให้นางอุมมาทันตีทราบแล้ว นางอุมมาทันตีให้นางทาสีถือพานดอกไม้แล้ว ยืนพิงบานหน้าต่างด้วยลีลาอันงดงามดุจนางกินรีโปรยดอกไม้ใส่พระราชา พระราชาเหลือบแลดูนาง ทันทีก็เกิดความเมาด้วยความเมา คือกิเลส ไม่อาจจะดำรงสติไว้ได้ จนไม่สามารถจะจำได้ว่า เรือนหลังนี้เป็นของท่านอภิปารกเสนาบดี


              ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกนายสารถีมาแล้ว เมื่อจะตรัสถาม จึงได้ตรัส "ดูก่อนนายสุนันทสารถี หญิงคนนี้เป็นธิดาของใครหนอ เป็นลูกสะใภ้หรือเป็นภรรยาของใคร ไม่มีผู้หวงแหนหรือ สามีของนางมีหรือไม่ " สารถีจึงได้กราบว่า "ข้าแต่พระองค์ หญิงนั้น คือภรรยาของอภิปารกเสนาบดี เธอมีชื่อว่า อุมมาทันตี พระเจ้าข้า"


                              

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png
             

               เมื่อนางอุมมาทันตีนั้นทราบว่า พระราชาพระองค์นั้นทรงหวั่นไหวพระหทัยแล้ว จึงปิดหน้าต่างแล้ว ได้เข้าสู่ห้องอันประกอบด้วยสิริตามเดิม

 

              "สุนันทะสหายเอ๋ย! เจ้าจงกลับรถเถิด" นายสารถีกลับรถแล่นถึงสถานที่ เสด็จขึ้นพระปราสาทแล้ว ทรงบรรทมบ่นเพ้อบนที่นอน

 

              จากนั้นพวกราชบุรุษจึงพากันไปบอกแก่ท่านอภิปารกเสนาบดีว่า "พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำประทักษิณพระนคร พอมาถึงประตูบ้านของท่านแล้วก็เสด็จกลับวัง ขึ้นสู่ปราสาท"

 

               อภิปารกเสนาบดีกลับไปยังเรือนของตนแล้ว เรียกภรรยาออกมาถามว่า "น้องรักน้องแสดงตัวปรากฏแก่พระราชา หรือ"

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png

 


              "พี่จ๋า มีชายคนหนึ่ง ท้องใหญ่ เขี้ยวโต ยืนมาบนรถ ดิฉันไม่รู้จักชายคนนั้นว่า เป็นพระราชา หรือมิใช่พระราชา แต่เมื่อผู้คนเล่ากันว่า เป็นเอกบุรุษเป็นใหญ่ ดิฉันยืนอยู่ริมหน้าต่าง จึงได้โปรยดอกไม้ลงไป ชายผู้นั้นยืนอยู่สักครู่หนึ่งแล้ว ก็กลับไป"


                อภิปารกเสนาบดีได้สดับคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "น้องทำให้พี่ต้องแย่เสียแล้ว" ในวันรุ่งขึ้น จึงรีบไปยังพระราชนิเวศน์แต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูห้องอันเป็นสิริ ได้ยินเสียงพระราชาบ่นเพ้อถึงนางอุมมาทันตี จึงคิดว่า "พระราชาพระองค์นี้มีจิตรักใคร่ผูกพันในน้องอุมมาทันตี ถ้าไม่ได้นางคงจะสวรรคตเป็นแน่ เราควรจะช่วยปลดเปลื้องโทษอันมิใช่คุณทั้งของพระราชาและของเราเสีย "


               จากนั้นกลับไปสู่เรือนของตนแล้วสั่งให้เรียกคนใช้คนสนิทผู้หนึ่งมา "ต้นไม้ใหญ่ มีโพรงอยู่ต้นหนึ่ง ท่านอย่าให้ใครรู้นะ พอพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว จงไปในที่นั้น เข้าไปนั่งอยู่ภายในต้นไม้ บูชาที่ต้นไม้ นมัสการเทวดาวิงวอนว่า 

 

          ข้าแต่เทวราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อมหรสพมีในพระนคร พระราชาของพวกข้าพเจ้าไม่ยอมทรงเล่น กลับเสด็จไปยังห้องอันเป็นสิริ ทรงบรรทมบ่นเพ้อ พวกข้าพเจ้าไม่ทราบถึงเหตุในข้อนั้นเลย พระราชาทรงมีอุปการะมากมายแก่พวกเทวดาฟ้าดิน ทรงสละทรัพย์พันหนึ่งให้กระทำพลีกรรมทุกปี ขอพวกท่านจงบอกว่า พระราชาทรงเพ้อรำพัน เพราะอาศัยเหตุชื่อนี้ ดังนี้ เราจักอ้อนวอนว่า จงให้ชีวิตทานแก่ราชาของพวกข้าพเจ้าด้วยเถิด"


               ในขณะนั้น คนบูชาเสียงเปลี่ยนไป แล้วกล่าวว่า "ดูก่อนท่านเสนาบดี ขึ้นชื่อว่าความเจ็บไข้มิได้มีแก่พระราชาของพวกท่านเลย แต่พระองค์มีจิตผูกพันรักใคร่ในนางอุมมาทันตีผู้เป็นภรรยาของท่าน หากพระองค์ได้นาง ก็จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่ได้ก็จะสวรรคตเป็นแน่ ถ้าท่านปรารถนาจะให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็จงถวายนางอุมมาทันตีแด่พระองค์เถิด"


                 ครั้นวันรุ่งขึ้น ท่านเสนาบดีทราบเรื่องทั้งหมดจากปากคนใช้จากนั้นได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้คณะอำมาตย์ฟัง ผ่านไปหลายวันจึงเข้าไปเคาะประตูห้องบรรทม "นั้นใครเสียง" คนในห้องเอ่ยถามขึ้น "กระหม่อมอภิปารกเสนาบดี พระเจ้าข้า" ลำดับนั้นพระราชาทรงเปิดประตูให้ จึงเข้าไปถวายบังคม

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png

             

            "เรารู้เรื่องหมดแล้ว ท่านอำมาตย์เล่าให้ข้าฟัง แม้พวกเทวดาก็รู้เรื่องที่เราบ่นเพ้อ เพราะมีจิตรักใคร่ในนางอุมมาทันตีด้วยหรือ" "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า" "ความชั่วของเรา ชาวโลกทั้งหมดรู้กันแล้ว ข้านั้นทำเรื่องที่ไม่ดีเลย ส่วนเรื่องที่ท่านเอ่ยกับเหล่าอำมาตย์ว่าจะยกภรรยาให้กับข้า นั้นขอปฏิเสธ"
              

                "ถ้าพระองค์จะไม่ให้นำนางมาในที่นี้ ขอให้ไปยังที่อยู่ของนางนั้นเถิด จงทำความปรารถนาของพระองค์ให้สำเร็จบริบูรณ์ เหมือนราชสีห์เมื่อเกิดความเร่าร้อนแห่งกิเลสขึ้น ก็จะเข้าไปสู่ถ้ำแก้วอันเป็นที่อยู่ของนางราชสีห์น้อย"


                 "ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก หมู่บัณฑิตถูกความทุกข์กระทบตนแล้ว ย่อมไม่ละกรรมที่ให้ผลเป็นสุข หรือแม้ว่าจะเป็นผู้ลุ่มหลงแล้ว คือหลงด้วยโมหะ มัวเมาด้วยความสุข ย่อมไม่ยอมประพฤติกรรมอันเป็นบาป"


                "ข้าแต่พระเจ้าสีวิราชผู้เป็นใหญ่ ขึ้นชื่อว่าความติเตียนย่อมไม่มีแก่ท่าน นายให้ทาสของตนบำรุงบำเรอ  ขอพระองค์จงบริโภคกามตามความสบาย"


               "ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก ผู้ใดทำบาปด้วยประมาณตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อทำแล้วไม่ได้สะดุ้ง ไม่ได้กลัวว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จะชี้แจงถึงกรรมนั้น เพราะกรรมนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ดำรงชีพอยู่ได้ตลอดกาลนาน ย่อมตายเสียโดยฉับพลันที แม้เทวดาทั้งหลายก็ย่อมพากันแลดู ด้วยสายตาอันเหยียดหยามว่า การที่บุคคลนั้นเอาหม้อทรายผูกคอ ฆ่าตัวตายเสีย ยังประเสริฐกว่า การครองราชสมบัติของพระราชาผู้ลามกนี้ มิใช่หรือ"
               
               
                "แต่ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะถวายภรรยา แด่พระองค์"


           "ดูก่อนอภิปารกเสนาบดีผู้สหายรัก เราเกิดความกังวลขึ้นว่า เราจักทำสิ่งอันไม่สมควร มีกามเป็นเหตุแล้ว จักฆ่าตนเสีย"


                  "นางอุมมาทันตีนั้นเป็นของข้าพระองค์ ถ้าพระองค์ไม่ทรงปรารถนานางแล้วไซร้"
 

                "กัตตะ!" พระราชาทรงเรียกชื่อเดิมของท่านเสนา "เสนาบดีนั้นย่อมทำประโยชน์เกื้อกูลแด่พระราชา ไม่ใช่หรือ หรือว่าจะกลับกลายเป็นปฏิปักษ์ อย่าบ่นเพ้ออย่างนี้เลย ถ้าเป็นพระราชาองค์อื่นมีจิตผูกพันรักใคร่ในภรรยาของท่าน ก็คงจะให้คนตัดศีรษะ แล้วชิงนางมาไว้ในพระราชวังแน่ แต่เราไม่ยอมกระทำอย่างนั้น เพราะกลัวต่ออกุศลกรรม ท่าน จงนิ่งเฉยเสียเถิด เรามิได้มีความต้องการนางเลย"       

       

                  "ประเสริฐสูงสุดแก่พระราชา ผู้เป็นจอมแห่งประชาชนทั้งหมด ชนชมพูทวีปทั้งสิ้น พระองค์เป็นพระราชาผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว เพราะทรงรักษาธรรมเป็นเครื่องวินิจฉัย ธรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยประเพณีและธรรมคือความสุจริต พระองค์เป็นพระราชาผู้รู้แจ้งธรรม เพราะรู้แจ้งตลอดทั่วถึงธรรมเหล่านั้น พระองค์เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม พระองค์เป็นผู้อันธรรมที่รักษาไว้คุ้มครองแล้ว ขอพระองค์จงดำรงพระชนมายุยั่งยืนยาวนานเถิด ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้รักษาคุ้มครองธรรม ขอพระองค์จงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด"

               อภิปารกเสนาบดีนั้น ครั้นทำความชมเชยพระมหาสัตว์อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาสั่งสอน ๑๐ คาถา 


              

               พระศาสดา ครั้นได้ทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย. แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุรูปนั้นก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
               สุนันทสารถีในกาลนั้น ได้เป็น
 พระอานนท์
               อภิปารกเสนาบดีได้เป็น พระสารีบุตร
               นางอุมมาทันตีได้เป็น นางอุบลวรรณา
               บริษัทที่เหลือเป็น พุทธบริษัท
               ส่วนพระเจ้าสีวิราช ก็คือ เราตถาคต นั่นแล.

               

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล