ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาติรีติวัจฉ ชาดกว่าด้วยควรบูชาผู้มีพระคุณ

อรรถกถา ติรีติวัจฉชาดก

ว่าด้วย ควรบูชาผู้มีพระคุณ

 

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการที่ท่านพระอานนท์ได้ผ้า ๑,๐๐๐ ผืน คือได้จากมือแห่งพระสนมของพระเจ้าโกศล ๕๐๐ ผืน ได้จากพระหัตถ์ของพระราชา ๕๐๐ ผืน จึงตรัสเรื่องนี้ขึ้น

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%871.png



                  ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในแคว้นกาสี โดยมีนามว่าติรีติวัจฉกุมาร พระโพธิสัตว์นั้นได้เติบโตขึ้นจนกระทั่งเล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมืองตักกสิลา แล้วอยู่ครองเรือนกับภรรยาครั้นเมื่อบิดามารดาตายไปก็สลดใจ จึงออกบวชเป็นฤาษี กินรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png

 


                   ด้านเขตแดนของพระเจ้าพาราณสี เกิดจลาจลขึ้น พระองค์เสด็จออกไปปราบด้วยตัวองค์เอง ผลคือ ทรงพ่ายแพ้ในการรบราบคาบ ด้วยความกลัว จึงขึ้นคอช้าง เสด็จหนีไปทางป่าจนไปเจออาศรมของฤๅษีผู้หนึ่ง


                  ครั้งแรกที่เห็น พระองค์ดีใจมาก เมื่อทราบว่ามีดาบสอาศัยอยู่ จากนั้นพระองค์จึงลงมาจากช้าง เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวันไม่ว่าจะเป็นแดด ลม ส่งผลให้กระหายน้ำจนคอแห้งเป็นผง พระองค์ทรงตะโกนเรียกดาบสที่อาศัยอยู่ในกระท่อมกลางป่า "พระคุณเจ้า" "พระคุณเจ้า" แต่ไม่ว่าพระราชาจะพยายามเรียกขนาดไหน แต่ไม่มีเสียงใดตอบกลับมาเลยแม้แต่น้อย  "เฮ้อ....ไม่มีใครอยู่เลยหรือเนี่ย รีบหาน้ำกินก่อนดีกว่า" จากนั้นเดินหาหม้อน้ำก็ไม่เห็น พลันสายตาดันเหลือบไปเห็นเข้าบ่อน้ำอยู่ท้ายที่จงกรม จากนั้นจึงหาเชือกเพื่อต้องการจะตักน้ำก็ไม่เห็น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้นความกระหายน้ำได้ จึงเอาเชือกที่รัดท้องช้าง ให้ช้างยืนอยู่ใกล้ปากบ่อน้ำ เอาเชือกผูกที่เท้าช้างนั้นแล้วไต่เชือกลงบ่อน้ำ เชือกก็ยังไม่พอ จึงเสด็จกลับขึ้นมาใหม่ ทรงเอาผ้าสาฎกสำหรับห่มต่อเข้ากับปลายเชือกแล้วลงไปอีกครั้ง แม้ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่พออยู่ดี


                   พระองค์ทรงเอาปลายพระบาททั้งสองแตะน้ำ กลับทรงกระหายยิ่งขึ้น บรรเทาความกระหายไม่ได้ จึงทรงพระดำริว่า แม้จะตายก็ตายดี แล้วปล่อยให้ตกลงไปในบ่อน้ำ ดื่มจนพอแก่ความต้องการ เมื่อไม่สามารถจะกลับขึ้นมา จึงได้ประทับยืนอยู่ในบ่อน้ำ จนกระทั่งเย็น พระโพธิสัตว์กลับจากหาผลไม้ในป่า  ได้เห็นช้างที่ยืนอยู่แถวหลังกระท่อมจึงเกิดความสงสัยเข้า ช้างตัวนี้ไม่น่าใช่ช่างทั่วไปดูจากรูปร่างแล้ว คงจะเป็นช้างศึกไม่ใช่ของคนชั้นสูงหรือไม่ก็พระราชาเป็นแน่ ดาบสเดินเข้าไปสำรวจบริเวณรอบๆ จนกระทั่งยื่นหน้าเข้าไปที่บ่อน้ำ

   

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8703.png

 


                ท่านเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ต้องกลัวนะ เดี๋ยวเราช่วยท่านเอง จากนั้นก็ผูกบันไดให้พระราชาเสด็จขึ้นมา นวดฟั้นพระวรกายของพระราชา หาน้ำมันให้สรงสนาน ให้เสวยผลไม้น้อยใหญ่ พระราชาทรงพักอยู่ ๒-๓ วัน  จนร่างกายของพระองค์ดีขึ้นจากนั้นเสร็จออกจากป่าไป


                ด้านทหารของพระราชาตั้งค่ายอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่นัก เห็นพระราชาเสด็จมาจึงพากันห้อมล้อม จากนั้นเดินทางกลับไปยังพระนคร จนกระทั่งเวลาล่วงเลยไปครึ่งเดือน ตรงไปยังนครพาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นเที่ยวออกเดินบิณฑบาตไปถึงประตูวัง

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png

 

                  ในขณะเดียวกันพระราชาทรงเปิดหน้าต่างบานใหญ่ ทอดพระเนตรลานหลวง ทรงเห็นพระโพธิสัตว์ ก็จำได้ จึงเสด็จลงมาจากปราสาท ไหว้แล้วทรงพาขึ้นท้องพระโรง ให้นั่งบนราชบัลลังก์ที่ยกเศวตฉัตร ให้ฉันอาหารที่จัดไว้สำหรับพระองค์

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png

 

                   เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปยังพระราชอุทยาน ให้สร้างสถานที่อยู่ ประกอบด้วยที่จงกรมเป็นแก่พระโพธิสัตว์นั้นในพระราชอุทยาน แล้วถวายบริขารสำหรับบรรพชิตทุกอย่าง ทรงมอบหมายให้นายอุทยานเป็นเวรดูแล ไหว้แล้วเสด็จหลีกไป

 


                   ย้อนกลับไปเมื่อ วันก่อนขณะที่พระโพธิสัตว์กำลังฉันอาหารบนเก้าอี้สำหรับพระราชา รวมถึงอาหารนั้นปราณีตเช่นเดียวกับที่องค์กษัตริย์เสวย เหล่า อำมาตย์ทั้งหลายสงสัยต่างพากันว่ากล่าว ฤๅษีต่างๆนาๆ  จนกระทั่งวันหนึ่งเหล่าทหาร พากันเข้าไปเฝ้าเเล้วกราบทูลว่า " ยึดถือพระดาบสรูปหนึ่งหนักมาก ไม่ว่าจะสร้างที่พักอาศัย ถวายอาหารหวานคาวอย่างดี กระหม่อมว่าเรื่องพวกนี้ไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก ขอพระองค์โปรดพิจารณาได้ไหม"


               
                    "อีกอย่างหม่อมฉันว่า ดาบสผู้นี้ มิได้ดูไม่ได้มีญาณเลย แถมก็ไม่ใช่ญาติทางไหนของพระราชา พระสหายก็ไม่ใช่ เพราะอะไรกัน ถึงได้บริโภคก้อนข้าวอันเลิศเช่นนั้น"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.png



                 ต่อมาพระราชาได้ทรงสดับรับฟังทั้งหมดมา จากนั้นพระองค์เรียกลูกชายของตนมา จึงตรัสว่า "ลูกจำได้ไหมคราวที่พ่อไปประเทศชายแดน รบแพ้แล้วหายไป ๒-๓ วัน" "ได้ครับ" ผู้เป็นลูกพยักหน้า "อื้ม" พระราชาพยักหน้า "ในช่วงเวลานั้น พ่อขี่ช้างเข้าไปในป่าจากนั้นก็พลัดตกเข้าไปในบ่อน้ำ ด้านหลังกระท่อน เพราะท่านฤๅษีผู้นั้น เลยทำให้พ่อรอดมาได้จนถึงทุกวันนี้" พระองค์เล่าเรื่องราวทั้งหมด แล้วตรัสต่อไปว่า "เมื่อท่านผู้ให้ชีวิตมายังถิ่นของเรา แม้เมื่อจะยกสมบัติทั้งหมดก็ไม่อาจทดแทนบุญคุณทั้งหมดนั้นได้" 
               


                 "เมื่อเรารบพ่ายแพ้ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลาย ติรีติวัจฉดาบสผู้นี้ได้กระทำความอนุเคราะห์แก่เราผู้ตัวคนเดียวไม่มีเพื่อน ในป่าที่ไม่มีน้ำอันทารุณร้ายกาจ ได้เหยียดมือช่วยเราผู้ได้รับความลำบาก เพราะเหตุนั้น เราแม้ถูกความทุกข์ครอบงำ ก็ขึ้นจากบ่อน้ำได้ เรามาถึงเมืองนี้ได้โดยความยากของดาบสผู้นี้ เราถึงจะเป็นอยู่ในมนุษยโลก ก็เหมือนกับไปยังปรโลกอันเป็นวิสัยของพระยม ลูกรัก ติรีติวัจฉดาบสเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยลาภ ท่านทั้งหลายจงถวายของควรบริโภคและยัญที่ควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด"



                "ท่านทั้งหลายแม้ทั้งปวง คือตัวเจ้า พวกอำมาตย์และชาวนคร จงให้เครื่องบริโภคและบูชายัญแก่ดาบสนี้ ด้วยว่าไทยธรรมที่ท่านทั้งหลายให้แก่ดาบสนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นเครื่องบริโภค เพราะเป็นของที่ดาบสนั้นจะต้องบริโภคใช้สอย และชื่อว่าเป็นยัญ เพราะเป็นยัญ คือทานของคนนอกนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพากันถวายของควรบริโภคและของควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด"



               เมื่อพระราชาทรงประกาศคุณของพระโพธิสัตว์ ประดุจทำพระจันทร์ให้ลอยเด่นขึ้นในพื้นท้องฟ้าด้วยประการอย่างนี้ คุณของติรีติวัจฉดาบสนั้นก็เกิดปรากฏมีประโยชน์ในทุกสถานที่ทีเดียว และลาภสักการะอันเหลือเฟือยิ่งก็เกิดขึ้นแก่ติรีติวัจฉดาบสนั้น


            

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ที่ว่า แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็กระทำการอุปการะ ดังนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า 
               พระราชาในกาลนั้น ได้เป็น 
อานนท์ ในบัดนี้ 
               ส่วนพระดาบสในกาลนั้น คือ 
เราตถาคต ฉะนี้แล.

                      

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล