วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ อย่าเป็นคนป่วย ที่ไม่มีทางเลือก

เรื่องจากปก
เรื่อง : ร.ลิ่วเฉลิมวงศ์  Line ID : 0815660072


อย่าเป็นคนป่วย
ที่ไม่มีทางเลือก

 

    ขณะที่คุณกำลังอ่านประโยคนี้ มีคนป่วยบนโลกนี้จำนวนมากกำลังได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกับโรคร้ายที่เกิดขึ้น และที่น่าสังเวชใจ     ไปกว่านั้น หลายคนเป็นโรคร้ายที่รักษาไม่ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยเหตุนี้    จึงมีคำรำพึงตัดพ้อให้เราได้ยินบ่อยครั้งว่า.. “ไม่อยากเป็นคนป่วยที่ทำอะไรไม่ได้ นอกจากรอคอยความตายอย่างเดียว”


    แน่นอน ไม่มีใครอยากเป็นแบบนี้     แต่ทุกชีวิตไม่อาจรู้เลยว่า ในอนาคตตัวเองจะต้องป่วยเป็นโรคอะไร จะทรมานมากแค่ไหน หมอจะหาสาเหตุของโรคเจอไหม และที่แย่ที่สุด จะมีเงินเพียงพอเพื่อเป็นค่ารักษาหรือไม่???

 


    ความทุกข์เรื่องการป่วยไข้ช่างทำให้มนุษย์ทรมานทั้งกายและใจ หนำซ้ำยังสร้างความกังวลเสียเหลือเกิน อีกทั้งการป่วยยังเป็นภาระต่อคนรอบข้างอย่างไม่จบไม่สิ้น        ซึ่งถ้ามีคนตั้งใจและเต็มใจดูแลก็ดีไป แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีบุญมากพอที่จะมีคนมาคอยดูแลเราจวบจนวาระสุดท้ายหรือไม่ ในเมื่อปัจจุบันยังมีลูกหลายคนทอดทิ้งพ่อแม่ยาม   ป่วยไข้ได้ลงคอเลย!!!


    ในเมื่อความจริงของชีวิตเป็นอย่างนี้ เรามาคิดกันดีกว่าว่าจะรับมือกับสถานการณ์การเจ็บไข้ได้ป่วยของตัวเองกันอย่างไร?


จากพุทธพจน์ที่ว่า 


“ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ”
หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น


(สํ.ส. (บาลี) ๑๕/๙๐๓/๓๓๓) 

 


    ดังนั้น หากเราไม่อยากป่วย ไม่อยากทรมาน ไม่อยากเป็นผู้ป่วยที่ถูกทอดทิ้ง เราก็ต้องสร้างเหตุโดยการขวนขวายทำบุญด้านนี้   ให้แก่ตนเองไว้มาก ๆ เพราะการดูแลพระภิกษุผู้ป่วยไข้ถือเป็นบุญที่สำคัญมาก ถึงขนาดพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพยาบาลภิกษุป่วยไข้ด้วยพระองค์เอง ดังในครั้งที่ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคท้องเสีย นอนจมปัสสาวะอุจจาระอยู่ พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จผ่านมาเห็น จึงตรัสเรียกพรอานนท์ให้ไปตักน้ำมา แล้วพระองค์ก็ทรงช่วยกับพระอานนท์เช็ดล้างทำความสะอาดภิกษุป่วยผู้นั้นเป็นอย่างดี

       ดังนั้นการได้อุปัฏฐากดูแลพระภิกษุอาพาธถือเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า


“โย ภิกฺขเว มํ อุปฏฺเหยฺย โส คิลานํอุปฏฺเหยฺย” 
ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต
ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุป่วยไข้เถิด


(วิ.ม. (บาลี) ๕/๑๖๖/๒๒๗)

 

-ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคตผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุป่วยไข้เถิด

-จารึกชื่อเจ้าภาพผู้มีบุญในอาคารบุญรักษา


    ณ วันนี้ โอกาสที่ดีที่สุดมาถึงแล้ว       ที่เราจะได้สร้างบุญด้านนี้ให้แก่ตนเอง     เนื่องจากอาคารสหคลินิกรัตนเวชเดิมของ      วัดพระธรรมกายเก่าชำรุด ต้องซ่อมแซมอยู่ บ่อยครั้งมาก อีกทั้งยังมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับพระภิกษุสามเณรอาพาธที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก่อสร้าง “อาคารบุญรักษา” ซึ่งเป็นอาคารสูง ๖ ชั้น เพื่อใช้เป็นที่ดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพของพระภิกษุสามเณรแบบองค์รวม โดยได้จัดสรรพื้นที่ไว้จำนวน ๒ ชั้น ให้เป็นสถานที่ตั้งของ “สหคลินิกรัตนเวช” เพื่อใช้ดำเนินการรักษาพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้นโดยแพทย์แผนปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีคลินิกทันตกรรมเพื่อใช้เป็นสถานที่ดูแลสุขภาพปากและฟัน   ของพระภิกษุสามเณรอีกด้วย มากไปกว่านั้น ยังจัดสรรให้เป็นสถานที่ตรวจสุขภาพประจำปีของสมาชิกองค์กร รวมถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพของกลุ่มผู้เข้าอบรมในโครงการต่าง ๆ ของวัด เช่น โครงการบรรพชาอุปสมบท ฯลฯ

 

"ทำที่ท่าน ได้ที่เรา"  ห้องปฏิบัติธรรม

“อาโรคฺยปรมา ลาภา”
ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

(ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๕/๔๒)


    ส่วนอีก ๔ ชั้น ได้จัดสรรให้เป็นพื้นที่ฟื้นฟูสุขภาพพระภิกษุสามเณรอาพาธ และ  พระภิกษุสามเณรที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอ  หลังได้รับการรักษาจากทางโรงพยาบาลกลับมา และเพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น ยังได้จัดสรรให้มีห้องปฏิบัติธรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายไม่พร้อมในการร่วมกิจกรรมบุญตามปกติขององค์กรอีกด้วย


    หากเรามีส่วนร่วมในการสร้างอาคารหลังนี้  ถือเป็นโอกาสในการสร้างเหตุแห่งความแข็งแรงปราศจากโรคภัยให้แก่ตนเองด้วย      วิธีการง่าย ๆ ดังนั้นจงอย่าให้โอกาสนี้ผ่านไปโดยที่เราเป็นเพียงผู้เดียวที่ไม่ได้ไขว่คว้า จงอย่าเป็นคนป่วยที่ไม่มีทางเลือก ในเมื่อเรามีโอกาสเลือก โดยการสร้างเหตุแห่งการไม่ป่วยให้      แก่ตนเอง ด้วยการสนับสนุนการสร้างอาคารบุญรักษา เพื่อให้พระภิกษุสามเณรท่านแข็งแรง อยู่สร้างบารมีเป็นอายุพระพุทธศาสนาไป   ตราบนานเท่านาน เพราะ “ทำที่ท่าน ได้ที่เรา”

 

 

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๔๙ เดือนมีนาคม ๒๕๕๘

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล