วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ "บวช" อีกหนึ่งเส้นทาง ของการพัฒนาคุณค่าชีวิต

สร้างคนให้เป็นคนดี
เรื่อง : Moon Rabbit

"บวช"
อีกหนึ่งเส้นทาง ของการพัฒนาคุณค่าชีวิต

"บวช"อีกหนึ่งเส้นทาง,เนื้อหาใน,อยู่ในบุญ

           ไม่นานมานี้มีคนถามว่า “บวชพระที่นี่เขาขานนาคกันหรือเปล่า ?” ได้ยินคำถามแล้วอึ้งไปเลย แม้ว่าที่ผ่าน ๆ มา ก็รู้ว่ามีคนเข้าใจ วัดพระธรรมกายผิดหลายเรื่อง แต่ไม่คิดว่าจะถึงขนาดนี้ เอาเถิด ในเมื่อคำถามกี่ยวข้องกับการบวช ก็ขออนุญาตชี้แจงให้ผู้ที่ยังเข้าใจผิดทราบเสียในโอกาสนี้เลย

             นับตั้งแต่สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน วัดพระธรรมกายจัดงานบวชมาเป็นเวลาถึง ๔๕ปีแล้ว (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕) และในแต่ละปีก็ไม่ได้จัดแค่ครั้งเดียว ดังนั้นความชำนาญและความรู้ในการจัดงาน บวชย่อมต้องมีพอสมควร ประกอบกับวัดพระธรรมกายเล็งเห็นกุศลเจตนา และความตั้งใจจริงของผ้บูวชที่สละเวลาอันมีค่าออกบวช เพื่อศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นทีมงานอบรมและทีมพิธีกรรมงานบวช จึงพยายามทำทุกขั้นตอน ของการบวชให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งยังต้องไม่ผิดจากพระธรรมวินัย และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ และที่สำคัญจะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาตนเองของผู้บวชให้มากที่สุด แม้ว่าบางโครงการมีระยะเวลาในการอบรมเพียงไม่กี่วันก็ตาม

 

              ภาพรวมของการบวชในแต่ละโครงการมีดังนี้ เริ่มแรกทางโครงการ จะมีการสัมภาษณ์ผู้มาสมัครบวช พร้อมทั้งมีการสอบขานนาคตั้งแต่ตอนนี้เลย จากนั้นผู้ที่ผ่านการสอบก็จะไปฝึกถือศีล ๘ อยู่ที่วัด เพื่อเตรียมกาย วาจาใจ ให้พร้อมที่จะเป็นพระภิกษุที่ดี

            ในช่วงก่อนบวชนี้ ธรรมทายาทจะได้ทำกิจกรรมมากมายหลายประการ เช่น การทำสมาธิภาวนา, การฝึกเสขิยวัตร (มารยาทของพระภิกษุ) อาทิ การฉันภัตตาหาร การกราบการลุก การนั่ง, การฝึกซ้อมพิธีเวียนประทักษิณพิธีขอขมา และพิธีบรรพชาอุปสมบท ซึ่งในช่วงเตรียมกาย วาจา ใจนี้ มีการเปิดเสียงขานนาคเป็นระยะ ๆ เพื่อให้ธรรมทายาทได้ทบทวนจนแม่นยำ

          เมื่อวันบวชมาถึง จะมีผู้คนมากมายไปร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้บวช ซึ่งในจำนวนนี้ย่อมมีคนที่เคยผ่านการบวชหรือรู้เรื่องพิธีกรรมงานบวชอยู่ไม่น้อย ถ้าหากพิธีกรรมไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย มีขั้นตอนใดขาดหายไปหรือมีสิ่งใดไม่ชอบมาพากล รับรองว่าจัดบวชได้แค่ครั้งสองครั้งก็ต้องม้วนเสื่อ เพราะคงไมมี่ใครยอมให้ลูกหลานไปบวชที่วัดอกี เป็นแน่แต่ที่ผ่าน ๆ มา ในแต่ละปีมีกุลบุตรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไปสมัครบวชมากขึ้นเรื่อย ๆในโครงการต่าง ๆ จนกระทั่งอุโบสถของวัดพระธรรมกายไม่พอรองรับพระภิกษุเข้าไปทำสังฆกรรมได้ครบทุกรูป ดังนั้นพระภิกษุจำนวนมากจึงต้องออกมานั่งนอกอุโบสถ (ยังอยู่ในระยะหัตถบาสตามพระวินัย) ทำให้ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างโบสถ์พระไตรปิฎกเพื่อให้มีพื้นที่พอเพียงรองรับพระภิกษุที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

 

       ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๐ นี้ ก็มีโครงการบวชอีกถึง ๓ โครงการคือ โครงการอบรมธรรมทายาทอุปสมบท หมู่อุดมศึกษา รุ่นที่ ๔๔ (ภาคฤดูหนาว) โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทนานาชาติกัมพูชา รุ่นที่ ๒ และ โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ รุ่นบูชาธรรม ๑๐๘ ปี คุณยายอาจารย์ฯ

          โครงการแรกกับโครงการที่ ๒ มีพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกันเมื่อวันที่ ๒๔ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อีกโครงการมีพิธีบรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐ ทั้ง ๓ โครงการจัดพิธีบวชขึ้นที่อุโบสถวัดพระธรรมกาย โดยมีพระเดชพระคุณพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร เมตตาไปเป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากไปร่วมอนุโมทนา

           โครงการอบรมธรรมทายาทอุปสมบทหมู่อุดมศึกษา รุ่นที่ ๔๔ (ภาคฤดูหนาว) อบรมระหว่างวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีธรรมทายาทจำนวน ๑๒ ท่าน เข้าร่วมโครงการ

 

                โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรม-ทายาทนานาชาติกัมพูชา รุ่นที่ ๒ อบรมระหว่างวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีธรรมทายาทชาวกัมพูชา จำนวน ๘ ท่าน เข้าร่วมโครงการ

               ส่วนโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่บูชาธรรม ๑๐๘ ปี คุณยายอาจารย์ฯ มีธรรม-ทายาท จำนวน ๘๐ ท่าน อบรมระหว่างวันที่๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงวันที่ ๑๒กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐

                ตลอดการอบรม ธรรมทายาททุกท่านได้รับการดูแล การฝึกสอน การเอาใจใส่จากพระอาจารย์และพระพี่เลี้ยงเป็นอย่างดี ทุกท่านได้เรียนรู้และปฏิบัติตามหลักธรรม คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายตามแบบสมณะผู้สันโดษ สุขสงบร่มเย็นทั้งกายและใจ และเมื่อลาสิกขาไปแล้ว ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีความสุขความเจริญยิ่งขึ้น

           สุดท้ายนี้ขอสรุปว่า การบวชที่วัดพระธรรมกายนอกจากต้องมี “ขานนาค” แน่ ๆแลว้ ผู้บวชยังต้องฝึกซ้อมขานนาคจนกระทั่งแม่นยำอีกด้วย สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเรื่องการบวชของวัด ก็ขอเชิญไปร่วมงานดูบ้าง หรือถ้าไปบวชเองได้ก็ยิ่งดี จะได้ไปพิสูจน์เรื่องที่“เขาว่ากันว่า...” และอีกหลาย ๆ เรื่องเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่ได้ยินมา ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ดีหรือร้ายอย่างไร

 

บวชที่วัดพระธรรมกายดีอย่างไร

พระพอลกุณ สาย
นักธุรกิจและข้าราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ราชอาณาจักรกัมพูชา

           อาตมาเป็นทั้งนักธุรกิจและข้าราชการระดับสูง ในสำนักนายกฯ หนึ่งปีมีเวลาพักเพียง ๒๐ วัน ทุกปีอาตมาใช้เวลานี้พาครอบครัวไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ปีนี้มาบวชสร้างบารมี ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและคุ้มค่าที่สุด ถึงแม้บวชแค่ ๓สัปดาห์ แต่สิ่งที่ได้รับจากการบวชมีมากเกินพรรณนา ทุกวินาทีที่ผ่านไปล้วนประกอบด้วยบุญกุศล อาตมาได้เรียนรู้เรื่องที่ไม่เคยรู้จากที่ไหนมาก่อน ได้เข้าใจความจริงของชีวิตมากกว่าเดิม ได้ศึกษาแก่นแท้ของพระธรรม ตามแบบแผนของพระไตรปิฎก พระอาจารย์และพระพี่เลี้ยงก็เอาใจใส่เสมือนพี่น้อง ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจและการฝึกฝนตนเองมาอย่างดี และที่ประทับใจมากที่สุดก็คือ ทุกกิจกรรมของวัดทำด้วยความตั้งใจจริง มีทีมงานที่เปี่ยมด้วยความสามารถและประสบการณ์ และที่สำคัญคือเต็มไปด้วยใจที่รักในบุญ กิจกรรมต่าง ๆ จัดได้ประทับใจสุด ๆ จนอดไม่ได้ที่จะชื่นชมหลวงพ่อทั้งสอง ที่ตั้งใจสร้างวัดสร้างคนให้มีคุณภาพจนมีคนศรัทธาอย่างมั่นคงมากมาย แม้ปัจจุบันมีกระแสข่าวไม่ดีเกือบทุกวัน แต่ศรัทธาของลูกศิษย์ก็ไม่สั่นคลอน สุดท้ายอาตมาคงไม่มีคำพูดอะไรนอกจากว่า จงอย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ยินได้อ่าน แต่จงมาพิสูจน์เองด้วยตา เอาใจมาพิสูจน์ แล้วจะรู้ว่าความจริงนั้นเป็นอย่างไร

 

พระโซมายด์ มีโด
ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ ราชอาณาจักรกัมพูชา

                อาตมาปลาบปลื้มใจอย่างยิ่ง กับการบวชในครัง้ นี้ ได้เห็นน้ำตาของผู้มีพระคุณ ที่ไหลลงมาด้วยความปีติยินดีที่ลูกชาย บวชทดแทนพระคุณท่าน ตลอดระยะเวลาในการอบรมได้เรียนรู้สิ่งดี ๆ มากมาย ทั้งหลักธรรมและหลักการใช้ชีวิต ที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ ได้เรียนรู้ประวัติการสร้างบารมีของมหาปูชนียาจารย์ และประวัตการสร้างวัด ทำให้ร้ว่า หลวงพ่อทั้งสองเอา ชีวิตเป็นเดิมพัน ในการสร้างบารมีจริง ๆ ท่านใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่องานระพุทธศาสนา จึงทำให้ลูกศิษย์เคารพรักท่านได้มากถึงเพียงนี้ อาตมาเองก็ขอสัญญาเช่นกันว่าจะทำหน้าที่ชาวพุทธที่ดีไม่ว่าวันนี้หรือวันหน้า ไม่ว่าจะอยู่ในเพศภาวะของพระหรือคฤหัสถ์ก็ตาม อาตมาจะตั้งใจสร้างบารมี ทำนุบำรุงพระศาสนา และสุดท้ายขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อและพระอาจารย์ทุกท่าน ที่จัดโครงการดี ๆ ให้พวกเราได้มาเรียนรู้แก่นแท้ของชีวิต แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๑๗๒ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล