นิทานอีสป เรื่อง เรื่องเล่าของนกยูง
ผู้แต่ง : อีสป
เล่ากันว่า นกยูงไม่ได้มีขนงดงามซึ่งมันภาคภูมิใจเหลือเกินเช่นนี้มาตั้งแต่แรก เทพีจูโนผู้โปรดปรานมัน ทรงประทานขนเหล่านี้ให้ เนื่องเพราะวันหนึ่งมันไปอ้อนวอนขอเครื่องประดับบนขน ซึ่งจะทำให้มันแตกต่างจากนกตัวอื่นๆ และเมื่อมันมีขนเจิดจรัสงามด้วยสีมรกต ทอง ม่วง และอำพัน มันก็เดินลำพองขนอย่างหยิ่งยโส ท่ามกลางหมู่นกทั้งหลาย ซึ่งเพ่งมองมันด้วยความริษยา แม้กระทั่งไกฟ้าที่งามที่สุดยังเห็นว่าความงามของนกยูงนั้นเหนือกว่า
ทันใดนั้น นกยูงก็เห็นนกอินทรีกู่ร้องสูงลิบอยู่บนท้องฟ้าสีคราม มันรู้สึกอยากบินเช่นที่เคยทำเป็นนิจ มันจึงกางปีก พยายามทะยานขึ้นจากพื้น ทว่าน้ำหนักของเครื่องประดับอันอลังการฉุดมันลงมา แทนที่จะได้บินขึ้นไปชื่นชมแสงแรกรับอรุณ หรืออาบแสงสีกุหลาบท่ามกลางหมู่เมฆยามอัสดง มันกลับต้องเดินเตาะแตะบนพื้นงุ่มง่ามยิ่งกว่าสัตว์ปีกทุกชนิดที่หากินตามลานดินเสียอีก
:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::
อย่าแลกอิสรภาพกับความหรูหราและการโอ้อวด
:: พุทธภาษิต ::
อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
ความอยากละได้ยากในโลก.
สํ . ส. ๑๕/ ๖๑.
THE PEACOCK
The Peacock, they say, did not at first have the beautiful feathers in which he now takes so much pride. These, Juno, whose favorite he was, granted to him one when he begged her for a train of feathers to distinguish him from the other birds. Then, decked in his finery, gleaming with emerald, gold, purple, and azure, he strutted proudly among the birds. All regarded him with envy. Even the most beautiful pheasant could see that his beauty was surpassed.
Presently the Peacock saw an Eagle soaring high up in the blue sky and felt a desire to fly, as he had been accustomed to do. Lifting his wings he tried to rise from the ground. But the weight of his magnificent train held him down. Instead of flying up to greet the first rays of the morning sun or to bathe in the rosy light among the floating clouds at sunset, he would have to walk the ground more encumbered and oppressed than any common barnyard fowl.
:: The moral of this story is ::
Do not sacrifice your freedom foe the sake of pomp and show.