สรุปโอวาทที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมที่ ๓๐๘
ถ้านิ่งกับสุขมันต้องเห็น เหมือนถูกต้อนให้เห็นอย่างเดียว : ( รู้สึกมีความสุข พอมีความสุขก็สว่าง เข้ากลางไปได้ มีฉันทะมากขึ้น นั่งได้ยาวนานมากขึ้น) เออ มีความสุขก็เป็นต่อแล้ว สำคัญนะตรงนี้ ตรงนี้จะเป็นตัววัด ไม่ใช่นั่งไปแล้วมีความทุกข์ นั่งเป็นทุกข์ก็แย่แล้ว ถ้านั่งแล้วมีความทุกข์จะนั่งไปทำไม ต้องมีความสุขขนาดที่อยู่คนเดียวในป่าได้ ซึ่งไม่ใช่ง่ายนะ ขนาดหลายคนยังอยู่ไม่ได้เลย ต้องนิ่งในระดับที่ความสุขมาติดเรา นี้เป็นข้อวัดว่าเราทำได้สมบูรณ์ ถ้านิ่งจะสุข ถ้าสุขก็จะนิ่ง ๒ อย่างนี้คู่กัน พอมีความสุขก็จะมีความสว่าง สว่างก็เห็น มีภาพให้ดู เห็นแล้วก็รู้ ความรู้ก็จะมาติดเรา สำคัญต้องมีความสุข ฝืน ๆ แกน ๆ มันไม่มีความสุข ทำซ้ำ ๆ ให้มันชำนาญ ค่อย ๆ ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้านิ่งกับมีความสุข มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่เห็น มันไม่มีทางเลือกอื่นใดเลย เหมือนเราถูกต้อนให้ถึงทางตัน บังคับให้ต้องเห็น จะถูกต้อนให้จนตรอกให้ต้องเห็นอย่างเดียวเลย พอจนมุม อ้า เห็นก็เห็น แต่เราต้องดึงดูดสิ่งนั้นมาด้วยการหยุดนิ่ง
เชื่อมติดกับแหล่งพลังงาน : พอใจนิ่ง ละเอียด ติดกระแสธรรม บริสุทธิ์ กำลังใจที่จะทำความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็เกิดขึ้น ทำให้รู้แจ้ง เห็นแจ้ง แทงตลอดในธรรม แต่เดิมใจซัดส่ายไม่มีกำลัง เกิดจากมีนิวรณ์มาขวาง ทำให้ใจกระเจิง พอใจนิ่ง ละเอียด ก็ไปเชื่อมติดกับแหล่งพลังงาน กำลังใจก็จะเพิ่มมากขึ้น
คุณครูไม่ใหญ่