วิวัฒนาการโครงการฯ ทางก้าวหน้าŽ จากอดีตถึงปัจจุบัน

วันที่ 21 มิย. พ.ศ.2559

วิวัฒนาการโครงการฯ ทางก้าวหน้าŽ จากอดีตถึงปัจจุบัน , มงคลชีวิต , โครงการตอบปัญหาธรรมะ , ทางก้าวหน้า

วิวัฒนาการโครงการฯ ทางก้าวหน้าŽ จากอดีตถึงปัจจุบัน


ยุคสมัยของโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ แบ่งได้เป็น 4 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 การจัดสอบยังอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2525 - 2529 จากร้อยเพิ่มเป็นหลักพัน (382 - 6,470 คน) ครั้งที่ 1 - 5 สนามสอบอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอบ 2 รอบ คือรอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ รับรางวัลชนะเลิศ ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงที่ 2 การจัดสอบขยายตัวไปสู่ระดับภูมิภาค พ.ศ. 2530 - 2534 จากพันสู่หลักหมื่น (4,778 - 19,047 คน) ครั้งที่ 6 - 10 ย้ายสนามสอบออกจากจุฬาฯ จัดสอบรอบคัดเลือกตามสนามสอบในต่างจังหวัด และในโรงเรียนในกรุงเทพฯ จัดสอบรอบชิงชนะเลิศที่วัดพระธรรมกาย รับรางวัลชนะเลิศที่ศาลาพระเกี้ยวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงที่ 3 งานประจำขยายตัว พ.ศ. 2535 - 2540 จากหมื่นจนถึงเกือบแสน (19,916 - 92,554 คน) ครั้งที่ 11 -16 จัดสอบ รอบเดียวที่สนามสอบในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ รับรางวัลชนะเลิศที่วัดพระธรรมกาย

ช่วงที่ 4 การจัดสอบเพิ่มเป็นหลักล้าน พ.ศ. 2541 - 2547 เริ่มต้นด้วยหลักล้าน (1,355,154 - 4,091,619 คน) ครั้งที่ 17 - 23 จัดสอบรอบชิงชนะเลิศพร้อมกันทั่วประเทศ เฉพาะระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย รับรางวัลชนะเลิศที่วัดพระธรรมกาย

 

ช่วงที่ 1 การจัดสอบอยู่ในกรุงเทพมหานคร

      เนื่องจากนิทรรศการ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 1 เปิดงานวันอังคาร ปิดงานวันพุธ ในสัปดาห์ต่อมา คณะกรรมการจึงวางแผนให้มีกิจกรรมในวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ เพื่อมิให้ศาลาพระเกี้ยวร้างผู้มาชมบอร์ด มงคลชีวิตŽ จึงจัดรายการตอบปัญหาธรรมะ ในวันเสาร์ - อาทิตย์ รับเฉพาะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครเท่านั้น

     ในปี 2525 เมื่อ 18 ปีก่อนนั้น จำนวนนักเรียน 200 ทีม (400 คน) ที่สมัครร่วมตอบปัญหาธรรมะมีจำนวนมากเกินความคาดหมาย ถึงแม้ว่าที่มาสอบจริง คือ 382 คน (191 ทีม) แต่นั้นก็เป็นตัวเลขที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งในเวลานั้น  ปีต่อมาเมื่อคณะกรรมการทดสอบสถานการณ์ในต่างจังหวัดด้วยการส่งระเบียบการและจดหมาย เชิญชวนให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ส่งนักเรียนมาร่วมกิจกรรม ผลปรากฏว่านักเรียนที่มาสอบ เพิ่มขึ้นจากปีแรกถึง 4 เท่า โดยไม่มีผลกระทบจากการที่นิทรรศการครั้งที่ 2 ต้องเลื่อนถึง 2 ครั้ง คือจากกำหนดปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 ไปจัดปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2527

      คณะกรรมการตื่นตาตื่นใจ และตื่นเต้น กับจำนวนรถทุกประเภทที่จองเรียงรายรอบศาลาพระเกี้ยว และตามคณะต่างๆ และต้องประหลาดใจยิ่งขึ้นเมื่อได้เห็นทะเบียนรถที่มาจากจังหวัดทั้งเหนือสุดและใต้สุด รวมทั้งจังหวัดห่างไกลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้นมีอาจารย์ที่พานักเรียนมาร่วมกิจกรรม เดินทางด้วยรถไฟ รถเมล์ พายเรือออกจากสวน โบกรถบรรทุก เพื่อมาต่อรถเมล์เข้ากรุงเทพฯ

     นิทรรศการครั้งที่ 3 จัดโดยชมรมพุทธศาสตร์ 9 สถาบัน คณะกรรมการมีความเชื่อมั่นว่านักเรียนทั่วประเทศ สนใจในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในหลักธรรมในพระพุทธศาสนา และได้เรียนรู้ว่าอาจารย์ที่พานักเรียนมาสอบนั้น มาด้วยความรักและปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ เพราะการพานักเรียน มาร่วมกิจกรรมนี้หมายถึงการเพิ่มภารกิจในการสอนพิเศษนอกเวลา และความรับผิดชอบในการนำนักเรียนเดินทางออกนอกพื้นที่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายหลายอย่างที่ไม่อาจเบิกได้

    จากปีแรกที่มีชมรมพุทธศาสตร์ 6 สถาบัน จัดนิทรรศการและจัดตอบปัญหาธรรมะที่จุฬาฯ อีก 5 ปีต่อมา มีชมรมพุทธศาสตร์ 18 สถาบันร่วมเป็นคณะกรรมการ ในขณะที่จำนวนนักเรียนที่มาร่วมตอบปัญหาธรรมะ เพิ่มขึ้นทุกปีจากร้อยเป็นพัน เป็นหลายพันและในปีสุดท้ายของช่วงที่ 1 นี้ จำนวนนักเรียนที่สมัครมีจำนวนถึง 9 พัน และเป็นที่คาดคะเนได้ว่า จำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมนี้จะต้องเพิ่มขึ้นในปีต่อไป


เริ่มสอบระบบสอบเดี่ยวในการสอบทางก้าวหน้าครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2529)

      ระบบการจัดสอบตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง ครั้งที่ 4 นั้น สอบเป็นทีม ทีมละ 2 คน จัดสอบแยกแต่ละประเภทในแต่ละวัน ทำให้ต้องออกข้อสอบและตรวจข้อสอบ ประกาศผลสอบวันต่อวัน ในระหว่างสัปดาห์นิทรรศการ ในการสอบครั้งที่ 5 เป็นการเริ่มระบบสอบเดี่ยว มีนักเรียนสมัครประมาณ 9 พันคน การเตรียมจัดสถานที่เพื่อเป็นห้องสอบ ห้องตรวจข้อสอบ ห้องประชุมอาจารย์ผู้ประสานงานเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อนสำหรับคณะกรรมการฝ่ายที่รับผิดชอบ ซึ่งทุกฝ่ายได้ช่วยกันดำเนินการจนการสอบผ่านไปได้ด้วยความเรียบร้อย

      วันสอบคือวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 มีนักเรียนมาสอบกว่า 6 พันคน ลงทะเบียนเวลา 8.30 น. สถานที่ลงทะเบียนคือสนามฟุตบอล หน้าหอประชุมจุฬาฯ จากจุดที่หน้าหอประชุม นักเรียน เดินแถวตามกรรมการถือธงสีนำหน้า กระจายไปตามห้องสอบตามตึกคณะต่างๆ ทั่วจุฬาฯ รวมทั้งคณะแพทย์ศาสตร์ที่ต้องข้ามถนนอังรีดูนังค์ และคณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ที่ต้องข้ามถนนพญาไท


ขั้นตอนสำคัญที่ล่าช้า

      คณะกรรมการเตรียมห้องบรรยายรวมของอาคารแถบ นีละนิธิ คณะวิทยาศาสตร์เป็นห้องตรวจข้อสอบและสามารถรวมนักศึกษาช่วยกันตรวจกระดาษคำตอบ (2 รอบ) และรวมคะแนนของนักเรียนที่มาสอบได้ในค่ำคืนวันเสาร์นั้น

     ลำดับต่อจากนั้นคืองานที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก เกินความคาดคิดของทีมงานฝ่ายทะเบียน คือการเรียงลำดับคะแนนซึ่งต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบทุกขั้นตอน มีการแยกประเภทเป็น 8 ประเภท ประเภทละ 50 รางวัล รวม 400 รายการ และยังมีรางวัลพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีกทุกประเภท เมื่อลำดับคะแนนได้แล้ว การพิมพ์ประกาศผลด้วยเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าที่มีเพียง 2 เครื่อง ใช้เวลายาวนาน อย่างที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในวันนี้ไม่มีวันเข้าใจ ด้วยเหตุนี้ กำหนดเวลาที่ประกาศผลสอบในวันอาทิตย์จึงล่วงเลยจากเวลา 13.00 น. กลายเป็นเวลาเย็นเกือบค่ำ และแล้วคำถามว่า  เมื่อไรจะประกาศผลสอบ?Ž ก็เปลี่ยนเป็นคำถามว่า  จัดงานเป็นหรือเปล่าŽ

     นิสิตนักศึกษาที่มีป้ายติดหน้าอกเสื้อว่า ทางก้าวหน้าŽ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรรมการจัดงาน ต่างหลบขึ้นไปชั้นบนของศาลาพระเกี้ยว เอาป้ายที่ติดเสื้อออก แล้วเดินลงมาปะปนกลมกลืนไปกับผู้อื่นจนถึงเวลาประกาศผลสอบ


ถึงจุดอิ่มตัวที่จุฬาฯ

     สถานการณ์ในบ่ายวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 คือ สัญญาณที่บ่งบอกว่า การจัดตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ไม่ใช่งานกิจกรรมที่จะจัดสอบในระบบเดิม และการจัดสอบพร้อมกันในวันเดียวที่จุฬาฯ ก็เป็นอันพ้นวิสัยอีกต่อไป ปัญหาเรื่องสถานที่นั้นเด่นชัดว่าต้องหาทางขยับขยายออกไปจากจุฬาฯ แต่เรื่องใหญ่สำหรับคณะกรรมการ คือการที่ไม่สามารถบริการเรื่องอาหารแก่นักเรียนที่มาจากต่างจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือน้องเล็กๆ ระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อแยกระดับประถมศึกษาตอนต้น และประถมศึกษาตอนปลาย

     บัดนี้จึงถึงเวลาอันสมควรที่การตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ต้องอำลาจากจุฬาฯ และนั่นคือ หัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่ง ที่การตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ได้พัฒนายั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้

 

ช่วงที่ 2 การจัดสอบขยายตัวไปสู่ระดับภูมิภาค

     ต้นปีการศึกษา 2530 มีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจว่า จะจัดนิทรรศการและจัดตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ หรือไม่ ในที่สุด ได้มีการวางแผนกันอย่างเร่งรีบ ได้ผลสรุปว่า ให้มีการจัดสอบรอบคัดเลือกในสนามสอบต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ รวม 10 สนามสอบ กระจายไปตามภาคต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สงขลา (หาดใหญ่) และนครปฐม

     เมื่อนักเรียนสอบผ่านรอบคัดเลือกแล้ว ครั้งแรกนี้ได้คัดนักเรียนเพียง 600 คน มาสอบรอบ ชิงชนะเลิศที่วัดพระธรรมกาย ที่สภาธรรมกายหลังคาจาก ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใช้งานได้เพียง 2 ปี คณะกรรมการต้องใช้รถสิบล้อขนโต๊ะเก้าอี้ที่ขอยืมมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งใช้เวลาเตรียมสถานที่ทั้งคืน

      เมื่อแจ้งผลสอบแล้ว มีการจัดให้นักเรียนที่ได้รับรางวัลไปร่วมพิธีรับรางวัลและเปิดงานนิทรรศการ ทางก้าวหน้าŽ (ขนาดย่อ) ที่ชั้นล่าง ศูนย์การค้ามาบุญครอง ซึ่งเปิดทำการใหม่ จึงมีพื้นที่ว่างโล่งอยู่ตลอดชั้นล่าง

      สิ่งใหม่ในการจัดสอบครั้งที่ 6 คือ ทำให้เกิดชื่อ ซุปเปอร์ไวเซอร์Ž เป็นครั้งแรก และเป็นภารกิจของซุปเปอร์ไวเซอร์รุ่นต่อๆ มาในการไปทำหน้าที่ประสานงานกับคณะครูอาจารย์ ขนส่งข้อสอบ จัดการสอบ ตามโรงเรียนต่างๆ ที่จัดเป็นสนามสอบทั่วประเทศ

      เป็นครั้งแรกที่มีการประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัล ก่อนหน้านั้นเป็นการประกาศรายชื่อโรงเรียนเท่านั้น และการฝ่ายทะเบียนส่งผลสอบพร้อมกับคะแนนของนักเรียน ทำให้เป็นที่พอใจของอาจารย์ประสานงาน แต่การจัดระบบโควต้า คือจำกัดจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ เพื่อให้ฝ่ายทะเบียนจัดระบบงานใหม่นั้นทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจแก่นักเรียนจำนวนมาก ที่ไม่ได้เข้าสอบ คณะกรรมการรู้สึกเสียใจกับน้องๆ เป็นอย่างมาก ในปีต่อๆ มาจึงมีการเพิ่มจำนวนนักเรียนที่ส่งเข้าสอบได้มากขึ้นและยกเลิกระบบโควต้าในการสอบครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2536)

      บัดนี้คณะกรรมการได้เรียนรู้ว่าการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ไม่ใช่งานกิจกรรมอีกแล้ว แต่ได้กลายเป็นภารกิจ เป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำต่อไป


วิวัฒนาการระหว่างการสอบครั้งที่ 6 - 10

     ในช่วงเวลาระหว่างการสอบครั้งที่ 6 - 10 นั้น ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นตามลำดับ หลังจากผ่านความยุ่งยากในการจัดสถานที่เพื่อการสอบชิงชนะเลิศครั้งแรกไปแล้ว ในช่วงเวลาอีก 4 ปี ต่อจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2530- 2534 ได้มีการเตรียมสถานที่ จัดกำหนดการให้นักเรียนได้สวดมนต์ทำวัตรเช้า และถวายสังฆทานก่อนสอบ มีสถานที่สำหรับประชุมอาจารย์ ประการสำคัญคือ มีอาหารกลางวันเลี้ยงนักเรียน อาจารย์ ผู้ปกครองและญาติมิตรที่ตามมาเชียร์ บางโรงเรียนที่ต้องการ พักค้างทั้งก่อนและหลังการสอบก็ได้รับความสะดวกจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุดงค์ของวัดพระธรรมกายเป็นอย่างดี

     สิ่งใหม่ในครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2531) คือการทำ จดหมายข่าวทางก้าวหน้าŽ เพื่อประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัลทุนการศึกษา มีพิธีรับรางวัลที่ศาลาพระเกี้ยว ในวันปิดงานนิทรรศการ

     ในการสอบครั้งที่ 8 (พ.ศ. 2532) ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงานทะเบียนและประมวลผลทำคะแนน ทำให้สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นในปีต่อๆ มา

      ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดนิทรรศการ ทางก้าวหน้าŽ และจัดพิธีรับรางวัลที่ศาลาพระเกี้ยวซึ่งต้องแบ่งเป็น 2 วัน เพราะจำนวนนักเรียนที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ มากขึ้น โรงเรียนในกรุงเทพฯ รับรางวัลวันเปิดงานนิทรรศการ และโรงเรียนในภูมิภาครับรางวัลในวันปิดนิทรรศการ


เปลี่ยนสถานที่และรูปแบบพิธีรับรางวัล

     ดังนั้นในการสอบครั้งที่ 9 พ.ศ. 2533 จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกอย่างหนึ่ง คือการเปลี่ยนสถานที่และรูปแบบพิธีรับรางวัล โดยจัดพิธีรับรางวัลที่สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย คณะกรรมการ ได้กราบอาราธนาพระอุปัชฌาย์ของธรรมทายาท คือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต ป.ธ. 7) มาเป็นประธาน และท่านได้เมตตารับเป็นประธานติดต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2536

    เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ถึงแก่มรณภาพเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 พระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้เมตตามาเป็นประธานในพิธีรับรางวัลจนถึงปี พ.ศ. 2540


จุดหักเหที่สำคัญ

     จุดหักเหที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขยายตัวของกิจกรรมนี้ คือการจัดตั้ง ชมรมพุทธศาสตร์- สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธชินวงศ์Ž เมื่อวันศุกร์ ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 โดยพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ตั้งชื่อให้ และอนุญาตให้ใช้สำนักงานกัลยาณมิตรเป็นที่ทำการ ชั่วคราว เพื่อให้บัณฑิตชมรมพุทธฯ รุ่นพี่ทำหน้าที่ประสานงานกับรุ่นน้องจากสถาบันต่างๆ

      ในการจัดสอบครั้งที่ 10 (พ.ศ. 2534) นั้นเอง ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระพุทธ-ชินวงศ์ (ปัจจุบันเป็นชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์) ก็ได้เริ่มทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการกลางแทนชมรมพุทธศาสตร์ จุฬาฯ

 

ช่วงที่ 3 งานประจำขยายตัว

      ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2540 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

      มีการเปลี่ยนระบบการสอบ เป็นการวัดผลจากการสอบรอบเดียวตั้งแต่การสอบครั้งที่ 11 (พ.ศ. 2535) เพื่อความสะดวกต่ออาจารย์และนักเรียนจำนวนมากที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการเดินทางหลายครั้ง

      การยุติการสอบสองรอบ จึงมีทั้งฝ่ายอาจารย์ที่โล่งใจสะดวกสบายขึ้น และฝ่ายอาจารย์ที่เสียดายประสบการณ์ต่างๆ ที่นักเรียนได้เรียนรู้ แต่ผลที่ได้จากการจัดสอบรอบเดียวนั้นทำให้เกิดการ ขยายตัวที่เด่นชัด 2 ประการ คือ ทำให้มีนักเรียนระดับประถมศึกษาเข้าสอบเพิ่มขึ้นทุกปี และทำให้มีการเพิ่มสนามสอบโรงเรียนในแต่ละอำเภอได้มากขึ้น

      ได้มีการยกเลิกระบบโควต้าในการสอบครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2536) ให้สมัครได้โดยไม่จำกัดจำนวนนักเรียน และได้เพิ่มรางวัลประเภททีมในการสอบครั้งที่ 13 (พ.ศ. 2537) โดยการคิดคะแนนสูงสุดของนักเรียน 40 คนแรก

      ในปีต่อมา การสอบครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2538) คณะกรรมการลองแยกการสอบประเภททีมให้มาสอบ ที่วัดพระธรรมกายในเดือนพฤศจิกายน มีโรงเรียนสมัครมาสอบเป็นจำนวนมาก แต่ไม่อาจเดินทางมาใน วันสอบเพราะเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลาง

      การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญอีกครั้ง คือการเริ่มใช้กระดาษคำตอบที่ตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ ในการสอบครั้งที่ 15 (พ.ศ. 2539) โดยเริ่มใช้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อน มีการวางระบบการทำงานของ ซุปเปอร์ไวเซอร์Žอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการแบ่งพื้นที่สนามสอบในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครเป็นภาค โดยให้อยู่ภายใต้การดูแลของซีเนียร์ ซุปเปอร์ไวเซอร์Žซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เคยทำหน้าที่เป็น ซุปเปอร์ไวเซอร์Ž มาแล้ว

      วิวัฒนาการในการสอบครั้งที่ 16 (พ.ศ. 2540) ทำให้สามารถรองรับการขยายตัวครั้งใหญ่ในยุคต่อไป มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ประการ

ประการแรก คือ การใช้กระดาษคำตอบที่ตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนทุกระดับ ซึ่งนักเรียนระดับประถมศึกษาสามารถปรับตัวได้อย่างดี

ประการที่สอง คือ การเริ่มระบบใหม่ประกาศผลสอบเฉพาะนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ที่ได้รับรางวัลเท่านั้น

ประการที่สาม คือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งระบบ ทันใช้งานกับจำนวนนักเรียนที่ เข้าสอบถึงหลักล้านในการสอบครั้งต่อไป

 

ช่วงที่ 4 การจัดสอบเพิ่มเป็นหลักล้าน

โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าครั้งที่ 17 พ.ศ. 2541

     โครงการตอบปัญหาธรรมะ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2541 เป็นโครงการที่ได้รับการกล่าวขานกันมาก มีผู้กล่าวถึงหลายลักษณะ เช่น จากจดหมายข่าว ทางก้าวหน้าŽ ฉบับประกาศผลสอบครั้งที่ 17 ได้เขียนไว้ว่า

ประวัติศาสตร์จะต้องจารึกกับเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทย กว่าล้านคน ณ ผืนแผ่นดินไทย

ประวัติศาสตร์จะต้องบันทึกกับงานระดับโลกด้วยมือของเยาวชนไทยนับหมื่นคน

ประวัติศาสตร์จะต้องจดจำกับการทุ่มเททั้งกายและใจของเยาวชนเหล่านี้

ประวัติศาสตร์จะยังไม่สมบูรณ์หากขาดงานนี้ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 17Ž

     จึงถือว่าเป็นยุคใหม่ของการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ที่เดินทางมาถึงจุดที่สามารถทำให้โครงการเข้าไปสู่ระบบการศึกษาของชาติได้ทุกระดับ ทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ

     ดังตอนหนึ่งจากจดหมายข่าว ทางก้าวหน้าŽ ฉบับที่ 17 ดังนี้  โครงการนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นโครงการแรก และโครงการเดียว ณ ปัจจุบันนี้ ที่มีผู้ร่วมโครงการเป็นล้านคน ความสำเร็จของงานนี้เกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายที่ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุน ตั้งแต่ผู้บริหารการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ ผู้อำนวยการ อาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่ โรงเรียนทั่วประเทศ ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ อาจารย์ประสานงาน อาจารย์กรรมการคุมสอบโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ อาสาสมัครนิสิตนักศึกษา จากชมรมพุทธศาสตร์สถาบันต่างๆ กว่า 1,000 คน ได้เดินทางไปเชิญชวนโรงเรียนต่างๆ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ของประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีมาก จนทำให้ตัวเลขเป็นอย่างที่เห็นนี้ คือ 1,355,154 คน จาก 4,106 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศŽ

     ในเรื่องของการจัดสอบของเยาวชนนับล้านนั้น ทำโดยอาสาสมัครระดับอุดมศึกษาที่เรียกว่า ผู้ประสานงานจัดสอบ หรือ ซุปเปอร์ไวเซอร์ (Supervisors) กว่า 13,168 คน ที่ผ่านการอบรมแล้ว เป็นตัวแทนนำข้อสอบไปยังโรงเรียนที่เป็นสนามสอบทั่วประเทศ กว่า 2,824 สนามสอบ ไม่ว่าจะอยู่เหนือสุด ใต้สุด บนเขา บนดอย บนเกาะ ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทุรกันดาร หรืออยู่ห่างไกลเพียงไหน อาสาสมัครเหล่านี้ก็เดินทางไป เพื่อนำแสงสว่างแห่งธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปสู่เยาวชนไทยที่กำลังรอคอย การสอบด้วยความหวัง

     การสอบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ที่ผ่านมานั้น นับเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เยาวชนไทยนับล้านเกิดการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เยาวชนของชาติหันมาศึกษาธรรมะมากขึ้น และเมื่อได้ศึกษามงคลสูตรแล้ว ก็เกิดพัฒนาการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังผลการวิจัยเรื่องผลกระทบเชิงสังคมโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ของ ผศ.นาถ พันธุนาวิน และคณะวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ผู้บริหาร และอาจารย์ประสานงานโครงการ มีความเห็นตรงกันว่า โครงการนี้มีส่วน ในการแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียน ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีพฤติกรรมดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการในทุกพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด

     ไม่เพียงแต่เยาวชนของชาติที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ แม้แต่คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง และอาจารย์ประสานงานของเยาวชนเหล่านั้น ก็ได้รับประโยชน์ ได้ศึกษาธรรมะด้วย จึงเรียกว่า นี่เป็นโครงการส่งเสริมคุณธรรมระดับชาติเลยทีเดียว เป็นโครงการระดับชาติ ที่จัดโดยเยาวชนไทย เพื่อเยาวชนไทย และคนไทยทุกคน


โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2542
ปีแห่งความสับสน

     ประวัติศาสตร์การตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 18 ต้องจดจารึกไว้ว่า ปีการศึกษา พ.ศ. 2542 เป็นปีแห่งความสับสน

     ในช่วงต้นปีผู้บริหารและอาจารย์ประสานงานหลายโรงเรียนปฏิเสธที่เข้าร่วมกิจกรรม แต่ยังมีอีกจำนวนมากที่ยืนยันว่าจะเข้าร่วมกิจกรรม ทางก้าวหน้าŽ โดยไม่สนใจว่าข่าวในทางลบเกี่ยวกับวัด พระธรรมกาย เพราะว่า  โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์กับนักเรียนŽ

      หลายโรงเรียนยืนอยู่บนทางสองแพร่งในตอนต้นปี แล้วถอนตัวตอนกลางปี ในขณะที่โรงเรียน ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ต้นต้องเผชิญกับสถานการณ์ในวินาทีสุดท้ายที่ต้องเลือก ระหว่างคำสั่งของกระทรวงศึกษาอันไม่เคยมีปรากฏมาก่อน และความรับผิดชอบต่อความคาดหวังของลูกศิษย์นับร้อยนับพันคนที่ตั้งใจเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อมาสอบ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 18 นี้

      ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาทั่วประเทศ ได้รับคำสั่งให้หยุดการเรียนการสอนในตอนบ่ายวันศุกร์ อันเป็นกำหนดเวลาสอบ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 18 เพื่อให้อาจารย์ดูวีดีโอของกระทรวงศึกษาธิการ

      ในตอนบ่ายวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้มีคำสั่งด้วยวาจาโดยทางโทรศัพท์ สั่งห้ามโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาร่วมกิจกรรม ทางก้าวหน้าŽ

      ปฏิกิริยาตอบรับคำสั่งนี้มีหลายแบบ ผู้บริหารและอาจารย์ประสานงานที่เป็นข้าราชการประจำ ต่างมีเหตุผลของตนในการตัดสินใจในการสนองตอบต่อคำสั่งดังกล่าว

      บรรดา Supervisors ที่เดินทางไปตามโรงเรียนที่เป็นจุดนัดหมายกับอาจารย์ประสานงาน ต่างแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าเต็มกำลัง สติปัญญา กำลังกาย กำลังใจที่มีอยู่ นับเป็นประสบการณ์อันมีคุณค่า สอนให้ทุกคนเข้มแข็ง พร้อมที่จะกลับมาทำหน้าที่ใหม่ในปีหน้า

      บัดนี้ในประวัติศาสตร์การร่วมแรงร่วมใจของนิสิตนักศึกษาในการทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้ปรากฏร่องรอยของความบอบช้ำ ความงุนงงสับสน ความผิดหวัง ความเศร้าโศกเสียใจ ของเยาวชนนับล้าน ที่ไม่เข้าใจเหตุผลในการตัดสินใจของผู้ใหญ่ผู้สั่งการแต่ด้วยความเพียรพยายามของหลายๆ ฝ่ายจึงทำให้มีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2 ล้านคน  “    ทางก้าวหน้าŽ” ก้าวสู่ระดับสากล

     ในขณะเดียวกัน ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 18 นี้ ได้เดินทางเขาสู่เส้นทาง สากลŽ ซึ่งในปีนี้ได้มีองค์กรนานาชาติซึ่งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศจำนวน 15 โล่มาให้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับเยาวชนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภทอีกด้วย


โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ครั้งที่ 19 พ.ศ. 2543

     สำหรับในครั้งที่ 19 ได้มีการเพิ่มระดับการสอบขึ้นอีก 2 ระดับ คือ ระดับอนุบาล 1 ถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และระดับครูอาจารย์ ซึ่งระดับการสอบแต่เดิมนั้น นับถอยจากครั้งที่ 18 จนถึงครั้งที่ 1 นั้น โดยภาพรวมมีเพียงระดับประถมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอุดมศึกษา และระดับนักเรียนทหาร-ตำรวจ 4 เหล่าทัพเพียงเท่านั้น แล้วที่พิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการสอบในปีนี้ก็คือ นอกจากจะมีรางวัลทุนการศึกษาประเภทบุคคลระดับประเทศ (ในแต่ละระดับการสอบ) ตั้งแต่รางวัลชนะเลิศจนถึงรางวัลที่ 10 เหมือนทุก ๆ ปีแล้ว ในปีนี้ ยังมีรางวัลทุนการศึกษาประเภทบุคคลระดับจังหวัด (ในแต่ละระดับการสอบ) เพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรางวัลทุนการศึกษาประเภททีม (ในแต่ละระดับการสอบ เป็นทุนการศึกษาที่มอบให้โรงเรียนเพื่อใช้ในการส่งเสริมกิจกรรมและการศึกษาพระพุทธศาสนา)

     สำหรับระดับอนุบาล 1 ถึงระดับ ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เพิ่มขึ้นมาในการจัดการสอบในครั้งที่ 19 นี้ได้ใช้หนังสือมงคลชีวิตบัณฑิตน้อย เนื้อหาที่ใช้สอบเน้นที่มงคลที่ 1 ไม่คบคนพาล มงคลที่ 2 คบบัณฑิต มงคลที่ 3 บูชาบุคคลที่ควรบูชา มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา มงคลที่ 25 มีความกตัญญู เป็นหนังสืออ้างอิง ในการสอบโดยจัดทำเป็นรูปแบบการ์ตูนธรรมะ ภาพสีสวยสด ดูแล้วทำให้เด็กน่าอ่าน ซึ่งได้รับการตอบรับจากโรงเรียนทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก

     ส่วนในระดับครูอาจารย์นั้น ได้ใช้หนังสือมงคลสูตร 38 ประการ เป็นหนังสืออ้างอิงที่ใช้ในการสอบ โดยการสอบแบ่งเป็น 2 รอบ คือ รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ สำหรับรางวัลรอบชิงชนะเลิศจะได้รับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งเงินรางวัล 100 ทุน อีกทั้งรางวัลประกาศนียบัตรอีกด้วย

     พร้อมกันนี้ทางองค์กรต่างประเทศทางด้านการศึกษา และการศาสนาก็ได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศ จำนวน 18 โล่ มาให้กับเยาวชนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภทอีกด้วย


โครงการตอบปัญหาธรรมทางก้าวหน้า ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2544

     เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตภูมิภาคได้มีความตื่นตัว กระตือรือร้นในการศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น จึงแยกรางวัลทุนการศึกษาประเภทบุคคลระดับจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพฯ (ในแต่ละระดับการสอบ) ออกมาต่างหาก เป็นอีกประเภทหนึ่งโดยมีรางวัลชนะเลิศถึงรางวัลที่ 20 รวมทั้งหมดถึง 1,520 ทุนการศึกษา และรางวัลทุนการศึกษาประเภทบุคคลระดับจังหวัดเฉพาะกรุงเทพฯ(ในแต่ละระดับการสอบ) โดยมีรางวัลชนะเลิศถึงรางวัลที่ 50 รวมทั้งหมดถึง 50 ทุนการศึกษา ระดับครูอาจารย์นอกจากจะใช้หนังสือมงคลชีวิตทางก้าวหน้า เนื้อหามงคลสูตร 38 ประการแล้ว ยังเพิ่มเติมหนังสือคัมภีร์กู้วิกฤติชาติ เนื้อหาสิงคาลกสูตร เพิ่มเข้าไปอีกด้วย โดยเนื้อหาที่ใช้สอบนั้น หนังสือมงคลชีวิตฉบับทางก้าวหน้า 50 เปอร์เซ็นต์ หนังสือคัมภีร์กู้วิกฤติชาติ 50 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับการสอบในระดับอนุบาล 1 ถึง ระดับประถมศึกษา ปีที่ 2 ในครั้งที่ 20 นี้ หนังสืออ้างอิงแยกออกเป็น 2 เล่ม คือ หนังสือมงคลชีวิตบัณฑิตน้อยฉบับอนุบาล สำหรับระดับอนุบาล และหนังสือมงคลชีวิตบัณฑิตน้อยฉบับประถมสำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2 และในปีนี้ก็อีกเช่นเดียวกันทางองค์กรต่างประเทศทางด้านการศึกษาและการศาสนาก็ได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศจำนวน 18 โล่ ให้กับเยาวชนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภทอีกด้วยเช่นเดียวกัน


โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าครั้งที่ 21 พ.ศ. 2545

      สำหรับโครงการในปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา โดยคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ นี้เป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ทำให้มีหลักในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิเช่น ปัญหายาเสพติดและอบายมุขทั้งปวง ปัญหาครอบครัว ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาอื่นๆ อีกมากมายนั้นลดน้อยลงไป ดังนั้นจึงได้ร่วมจัดโครงการนี้กับชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้จัดพิมพ์หนังสือมงคลชีวิตฉบับทางก้าวหน้าโดยคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เนื้อหามงคลสูตร 38 ประการ สำหรับการสอบในระดับประถมศึกษาตอนต้น ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับครูอาจารย์อีกด้วย พร้อมกันนี้ทางองค์กรต่างประเทศทางด้านการศึกษาและการศาสนายังได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศจำนวน 18 โล่ ให้กับเยาวชนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภทอีกด้วย


โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าครั้งที่ 22 พ.ศ. 2546

      สำหรับในการจัดสอบครั้งที่ 22 นี้ ทางภาครัฐให้การสนับสนุนโครงการเป็นอย่างดี โดย คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา ได้ร่วมกันกับทางชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ในการดำเนินกิจกรรมโครงการในด้านต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการได้เรียบร้อยเป็นอย่างดี และยิ่ง ไปกว่านั้น สำหรับการสอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าในระดับครูอาจารย์ในครั้งที่ 22 นี้ ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบโล่เกียรติยศ ให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับครูอาจารย์ อีกทั้ง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้มอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ ให้กับครูอาจารย์ทุกท่าน ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ และประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติพิเศษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์ประสานงานหลักโครงการอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการปรับรูปแบบการสอบระดับครูอาจารย์จากการสอบประเภทบุคคลในครั้งที่ 20 และ 21 เป็นการสอบประเภททีมในครั้งที่ 22 นี้ โดยทางโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องส่งทีมอาจารย์เข้าสอบทีมละ 3 คน และได้มีการเพิ่มเงินรางวัลระดับประเทศสำหรับรางวัลที่ 1-20 คือ จากเงินรางวัลโดยยอดรวม 229,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 330,000 บาท และได้มีการเพิ่มรางวัลในระดับจังหวัดคือ รางวัลที่ 1-3 เพิ่มเติมขึ้นมาอีก ดังนี้ รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 4,500 บาท จำนวน 76 รางวัล รวมผู้ได้รับรางวัล 228 คน รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 3,000 บาท จำนวน 76 รางวัล รวมผู้ได้รับรางวัล 228 คน รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 1,500 บาท จำนวน 76 รางวัล รวมผู้ได้รับรางวัล 228 คน ซึ่งทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นมานี้เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจกับครูอาจารย์ทุกท่านที่เข้าร่วมสอบ ตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ระดับครูอาจารย์ในครั้งที่ 19 นี้ด้วย นอกจากนี้ทางองค์กรต่างประเทศทางด้านการศึกษาและการศาสนายังได้มอบโล่รางวัลเกียรติยศจำนวน 17 โล่ ให้กับเยาวชนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศในแต่ละประเภทอีกด้วย


โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2547

      สำหรับในการจัดสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ครั้งที่ 23 นี้ ได้แบ่งระดับของผู้สอบเป็น 5 ระดับเหมือนในการสอบในครั้งที่ผ่านมาคือ ระดับอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 2 ระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอุดมศึกษา ระดับนักเรียนทหาร-ตำรวจ ระดับครูอาจารย์ และในปีนี้อีกเช่นเดียวกันทางภาครัฐบาลได้ให้การสนับสนุนส่งเสริมโครงการในทุกระดับของการสอบเป็นอย่างดียิ่ง โดยเริ่มตั้งแต่ คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภาได้ร่วมกับทางชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ในการดำเนินกิจกรรมโครงการในด้านต่างๆ ตลอดทั้งโครงการ และในปีนี้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องการศึกษาของเยาวชนตั้งแต่ในระดับอนุบาล จนถึงระดับมัธยมศึกษาปลาย ทุกสังกัด ทั่วประเทศได้ออกจากจดหมายไปถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศให้ความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 23 ในระดับอนุบาล 1 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 2 ระดับประถมศึกษาตอนต้นถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับครูอาจารย์อย่างเต็มที่ และสำหรับการสอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าในระดับครูอาจารย์ในครั้งที่ 23 นี้ ทาง ฯพณฯ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติในการมอบโล่เกียรติยศ มาให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับครูอาจารย์ อีกทั้ง ฯพณฯ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ประจำโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ครั้งที่ 23 พ.ศ. 2547 และท่านยังได้ให้เกียรติลงนามในประกาศนียบัตร เชิดชูเกียรติ เพื่อมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจ แก่ครูอาจารย์ ตลอดจนคณะบริหาร การศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในปีนี้อีกด้วย

 


หนังสือ DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023621563116709 Mins