ศาสนาคริสต์

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2559

ศาสนาคริสต์

1. ประวัติความเป็นมา

    ศาสนาคริสต์เป็นศาสนา 1 ในบรรดา 3 ศาสนาของศาสนาโลก คำว่า Christ มาจากภาษาโรมันว่า Christius และคำนี้ก็มาจากภาษากรีกอีกต่อหนึ่ง คือคำว่า Christos ซึ่งแปลมาจากคำว่า เมสสิอาห์ (Messiah) ในภาษาฮิบรู

  คำว่า เมสสิอาห์ แปลว่า พระผู้ปลดเปลื้องทุกข์ภัย หรือพระผู้ช่วยให้รอด คือ รอดพ้นไม่ตกนรกจากคำพิพากษาในวันตัดสินโลก หรือเมื่อว่าโดยความหมาย เมสสิอาห์ก็คือตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพนั่นเอง ดังนั้นคำว่า Christ จึงเป็นศัพท์สูง ดุจคำว่า Prophet ศาสดาพยากรณ์ หรือศาสดาประกาศกในศาสนายิว และตรงกับคำว่า นบี ในศาสนาอิสลามนั่นเอง

   ศาสนาคริสต์เกิดในปาเลสไตน์ เมื่อ พ.ศ. 543 โดยคิดตามปีเกิดของพระเยซูผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว เพราะศาสนาคริสต์ ก็นับถือพระเจ้าองค์เดียวกับศาสนายิว คือพระเยโฮวาห์ อีกทั้งได้รับคัมภีร์พันธสัญญาเดิม (Old testament) แม้พระเยซูเองก็ไม่เคยประกาศตั้งศาสนาคริสต์มีแต่บอกว่าท่านนับถือศาสนายิว การที่ท่านเที่ยวสั่งสอนธรรมต่างๆ แตกออกไปบ้างก็เพื่อให้ศาสนายิวสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้น ดังที่พระเยซูกล่าวว่า1) “อย่าคิดว่าเรามาเลิกล้างธรรมบัญญัติ และคำของผู้เผยแพร่ พระวจนะ เรามิได้มาเลิกล้าง แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการŽ” ส่วนคำว่าศาสนาคริสต์เพิ่ง เกิดขึ้นและนำมาใช้หลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว

    สมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ท่านถูกรบกวนล้างผลาญโดยประการต่างๆ จากพวกหัวเก่า ที่นับถือศาสนายิว จนในที่สุด พระเยซูก็ถูกประหารชีวิต โดยถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขน เรื่องนี้ทำให้พวกสาวกและผู้นับถือพระเยซูโกรธเคืองมาก ทั้งทำให้คนทั้งหลายเห็นใจพระเยซูที่ไม่ผิดแต่กลับต้องมาสังเวยชีวิตเพราะพวกอธรรม อีกทั้งได้ฟังข่าวอภินิหารของพระเยซูคืนชีพ ทำให้เกิดศรัทธาจึงพากันเรียกการนับถือพระเยซูว่าเป็นศาสนาใหม่ แยกตัวออกจากศาสนายิว และตั้งชื่อศาสนาใหม่ว่า ศาสนาคริสต์ โดยเซนต์ปอล เป็นผู้ตั้งขึ้น เพราะฉะนั้นศาสนาคริสต์ จึงเกิดขึ้นเพราะเหตุการณ์บังคับให้จำต้องตั้งศาสนา

  ศาสนาคริสต์ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ เจริญเติบโตแพร่หลายไปได้น้อยมากเพราะมีผู้คอยขัดขวางทำลายล้าง พระเยซูเอง ก็มีเวลาเป็นศาสดาเพียง 3 ปีเท่านั้นก็สิ้นชีพเพราะถูกตรึงไม้กางเขน ศาสนาคริสต์เพิ่งมาเจริญเติบโตหลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว โดยการเผยแผ่ศาสนาอย่างจริงจังของเหล่าสาวกและศาสนิก แล้วความสำเร็จก็มาถึง เมื่อพระเจ้าคอนสแตนตินทรงเลื่อมใส ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์ทุกอย่าง จนได้นามว่าพระเจ้าอโศก แห่งศาสนาคริสต์ เช่น ทรงสร้างโบสถ์เซนต์ปีเตอร์หลังแรกถวาย ทรงพระราชทานที่ดินและ ทรัพย์สินมากมายให้ศาสนาคริสต์ ทรงออกกฎหมายมิลานในปี พ.ศ. 856 ให้วังวาติกัน เป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง จัดเก็บภาษีเอง ไม่ขึ้นกับบ้านเมือง ทางบ้านเมืองจะเข้าไปแทรกแซงในศาสนจักรไม่ได้ ให้สันตะปาปามีอำนาจเท่าราชา และทรงยกย่องสันตะปาปาให้มีอำนาจเหนือศาสนจักรทั้งปวง ทรงจัดประชุมสันนิบาตศาสนาคริสต์ทั้งหมดขึ้นเป็นครั้งแรก ทรงนำไม้กางเขนมาเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ และในปี พ.ศ. 868 ทรงออกกฎหมายให้ทุกคนมีศรัทธาทางการ คือนับถือศาสนาคริสต์เท่านั้นจึงจะถูกต้อง

     ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 868-1597 ศาสนาคริสต์จึงได้เจริญเติบโตขนานใหญ่ จากศาสนาประจำชาติของประเทศอิตาลี กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติของทุกประเทศในทวีปยุโรป และต่อมาได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และ ทวีปออสเตรเลียด้วย และตั้งแต่ พ.ศ. 1597-2060 สันตะปาปาหรือโป๊ปมีอำนาจสูงสุดยิ่งกว่าพระราชา ไม่มีใครทัดทานอำนาจได้จนสามารถแต่งตั้งและถอดถอนพระราชาก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะถือว่าสันตะปาปา เป็นตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ ส่วนพระราชาเป็นเพียงผู้แทนคนในประเทศนั้นๆ เท่านั้น

    แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2060 ศาสนาคริสต์ก็เริ่มชะงักเพราะฝีมือของมาร์ติน ลูเธอร์ นักบวชในศาสนาคริสต์ชาวเยอรมัน เกิดในประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 ที่เมืองไอสเลเบน (Eisleben) นครแซกโซนี (Saxony) พ.ศ. 2048 ได้ออกบวช และในปี พ.ศ. 2054 ได้ไปเฝ้าสันตะปาปาที่วังวาติกัน เห็นที่อยู่ของนักบวชหรูหรา และมีความเป็นอยู่อย่างฟุ้งเฟ้อ ผิดวิสัยของนักบวช ทั้งซ้ำเติมด้วยความเศร้าใจที่ทราบว่า สันตะปาปาเลโอที่ 10 ปรารถนาจะสร้างโบสถ์หลังใหม่ให้ใหญ่กว่าและวิจิตรกว่าโบสถ์ที่เคยมีมา โดยการออก ใบไถ่บาปขาย เพื่อหาเงินมาสร้างโบสถ์เซนต์ปีเตอร์หลังใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2058 ใครที่ซื้อ ใบไถ่บาปแล้ว สามารถล้างบาปได้ทันทีมิต้องมาล้างบาปกับพระ และยิ่งซื้อไว้มากก็ไถ่บาปได้มาก หรือยังไม่มีบาปจะซื้อไว้ก่อนก็ได้ หากทำบาปต่อไปก็จะได้ไถ่บาปเช่นกัน มาร์ติน ลูเธอร์หมดความอดทน เห็นว่าโป๊ปว่าเอาเองทั้งนั้น ไม่มีในคัมภีร์ จึงได้ทำการคัดค้านเป็นการใหญ่และชี้แจงว่า คำสั่งสอนที่แท้จริงของพระเยซูเป็นอย่างไร มาร์ติน ลูเธอร์ ทำงานอย่างรวดเร็วเพราะมีการศึกษาดี ทั้งได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง จนเป็นเหตุให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2060

 

2. ประวัติศาสดา

2.1    ถิ่นกำเนิดพระเยซู

    ศาสดาของศาสนาคริสต์ มีนามว่า "เยซูŽ” หรือ "จีซัส”Ž ถือกำเนิดในหมู่ชนชาติอิสราเอล (ยิว) มารดาชื่อ มาเรีย และบิดาชื่อ โยเซพ มีอาชีพเป็นช่างไม้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ หุบเขากาลิลี (Callilee) เมืองนาซาเรธ ตามคัมภีร์ไบเบิลเล่าไว้ว่า มาเรีย ผู้เป็นมารดาของ พระเยซูนั้น เดิมโยเซฟได้สู่ขอหมั้นกันไว้แล้ว ก่อนที่จะอยู่กินด้วยกันก็เห็นว่า มาเรียมีครรภ์ด้วยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้ว แต่โยเซฟคู่หมั้นของเขาเป็นคนดี สัตย์ซื่อ ไม่พอใจที่จะแพร่งพรายความเป็นไปของนางนั้น หมายจะให้นางนั้นหลบไปเสียอย่างลับๆ แต่เมื่อโยเซฟยังวิตกในเรื่องนี้อยู่ ก็มีทูตองค์หนึ่งของพระเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟในความฝันกลˆาวว่า

     “โยเซฟ บุตรดาวิดอย่าวิตกในการที่จะรับมาเรียมาเป็นภรรยาของเจ้าเลย เพราะว่าผู้ซึ่งปฏิสนธิในครรภ์ของนางนั้นเป็นโดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์ นางนั้นจะประสูติบุตรเป็นชาย แล้วเจ้าจงเรียกนามท่านว่า เยซูŽ ”

   เมื่อโยเซฟตื่นขึ้นก็ปฏิบัติตามคำของทูตแห่งพระเจ้าคือไปรับมาเรียมาอยู่กินด้วยกันแต่มิได้ร่วมสู่สมอย่างสามีภรรยา

    มาเรียนั้นมีประวัติว่าพื้นเพเดิมเป็นคนอนาถาและเกิดเมื่อมารดาบิดามีอายุมากแล้ว ถูกส่งเข้าไปอยู่ในความอุปถัมภ์ของโบสถŒยิว ต่อมาบิดามารดาถึงแก่กรรม มาเรียจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกกำพร้า โยเซฟชายชราช่างไม้ซึ่งมีอายุถึง 80 ปีแล้วได้ไปสู่ขอนางมาเลี้ยงดู ทางวัดจึงจัดการแต่งงานให้

2.2    พระเยซูประสูติ

    เมื่อมาเรียมีครรภ์แก่ ทั้งโยเซฟและมาเรียต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเดิมตั้ง 100 ไมล์ และเป็นการเดินทางที่ยากลำบากมาก เพราะเป็นเขาหินทั้งนั้น การที่ต้องเดินทางไปครั้งนี้ก็โดยคำสั่งของรัฐบาล ให้ไปลงทะเบียนสำมะโนครัวในเมืองที่เป็นภูมิลำเนาเดิม ดังกล่าวแล้วว่า โยเซฟมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองเบธเลเฮม จึงต้องเดินทางไปที่นั่น และเมื่อถึงเมืองเบธเบเฮมแล้ว มาเรียได้คลอดบุตรในที่พักแรมแห่งหนึ่ง

2.3    การศึกษา

   ในขณะที่พระเยซูยังเด็กมาก โยเซฟกับมาเรียได้อพยพพาพระเยซูไปอยู่ประเทศอียิปต์ ไม่ทราบว่าอยู่นานเท่าไร ภายหลังได้กลับมาอยู่นาซาเรธ และได้เข้าโรงเรียนในมณฑลกาลิลี สำหรับที่นี่มีคนปะปนกันอยู่หลายชาติหลายภาษา เช่น อียิปต์ อัสซีเรีย อาหรับ และกรีก พระเยซูได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีเท่าที่คนจนๆ สมัยนั้นจะพึงได้ และมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า พระเยซูรู้หลายภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษากรีก

    นอกจากนี้พระเยซูยังสนใจในการศึกษาเรื่องศาสนาเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะ พระคัมภีร์เก่า (Old Testament) จะอ่านมาก จำมาก จนมีความรู้แตกฉานในพระคัมภีร์ ในขณะนั้นมีผู้รู้ทางศาสนาที่เพียรพยายามสถาปนาตนเองเป็นคณาจารย์อยู่คนหนึ่ง ชื่อโยฮัน ซึ่งเป็นลูกของนักบวชได้ศึกษาความรู้ทางศาสนาตั้งแต่เด็กจนอายุมากขึ้น จึงได้ปลีกตัวไปบำเพ็ญธรรมอยู่ในถ้ำที่เปลี่ยวและเงียบสงบ จนอายุ 30 ปี ก็ตั้งตนเป็นคณาจารย์สั่งสอนศิษย์ พระเยซูก็ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ตั้งลัทธิล้างบาป ทำนองเดียวกับพราหมณ์คือ ล้างบาปโดยวิธีลงไปอาบน้ำในเเม่น้ำจอร์แดน ซึ่งพระเยซูก็ได้เคยลงไปอาบ

2.4    พระเยซูตรึกตรองธรรม

   เมื่อพระเยซูได้ศึกษาและบำเพ็ญเพียรจากอาจารย์จนเห็นว่าพอควรแล้วจึงได้ลาอาจารย์ไปอยู่ในที่วิเวก โดยเฉพาะโขดหินริมฝั่งทะเล นับว่าพระเยซูโปรดมาก นั่งตรึกตรองธรรม คราวละนานๆ นอกจากนี้ยังได้ทดลองอดอาหารเป็นเวลา 40 วัน จนกระทั่งอายุย่างเข้า 30 ปี พระเยซูจึงเริ่มทำการสอนศาสนาแก่ศิษย์ ชั่วระยะเวลาไม่นานนักก็ต้องสะดุดหยุดลงชั่วคราว เนื่องจากอาจารย์โยฮัน ซึ่งเป็นอาจารย์ของพระเยซูนั้นถูกจับโดยคณะกรรมการได้ตั้งข้อหาว่า ท่านทำการสอนนอกเหนือคำสอนของพระเจ้าในศาสนายิว เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์ถูกจับ พระเยซูเสด็จออกจากเมืองนาซาเรธไปพักอยู่ที่เมืองคาเปอร์นัม ครั้นเมื่อแน่ใจว่าพ้นเขตอันตรายแล้วจึงเริ่มทำการสอนใหม่

2.5    การแสดงเทศนาบนภูเขา

     การแสดงเทศนาบนภูเขา2)

    คำสอนหรือการเทศนาอันยิ่งใหญ่ของพระเยซู คือ ครั้งที่เรียกว่า เทศนาบนภูเขาŽ เทศนาครั้งนี้มีความสำคัญมากถือว่าเป็นปฐมเทศนา เป็นการแสดงหลักใหม่ หลักสำคัญของศาสนาคริสต์ และการเทศนาครั้งนี้มีคนฟังเป็นจำนวนมาก ใจความสำคัญของเทศนาครั้งนี้พอจะสรุปสาระได้ ดังนี้

1)    ทรงปลุกปลอบใจ ให้ความหวัง เพราะความหวังเป็นคุณธรรมสำคัญอันหนึ่งในศาสนาคริสต์ พระองค์เริ่มตรัสว่า ผู้ที่รู้สึกถึงความบกพร่องทางจิตใจจะได้รับความสุข เพราะว่าสวรรค์เป็นของเขาแล้ว ผู้เศร้าโศกจะได้พบทางบรรเทาทุกข์ ผู้หิวกระหายจะอิ่มหนำสำราญ ผู้มีความเมตตาปรานีอยู่ในใจจะได้รับความเมตตาปราณีเช่นเดียวกัน ผู้มีใจบริสุทธิ์ได้ชื่อว่าเห็นพระเจ้า ผู้ระงับการแตกแยกรักษาความสามัคคีได้ชื่อว่าเป็นลูกพระเจ้า ผู้ที่สามารถทนการประทุษร้ายเบียดเบียนได้ ทนการข่มเหงนินทาได้ จะได้รับบำเหน็จจากสวรรค์ เพราะพวกมนุษย์ทั้งหลายก็ล้วนแต่ถูกข่มเหง ถูกนินทาทั้งนั้น

2)    ทรงห้ามไม่ให้ฆ่าคน แม้การด่าว่าหรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่ดีแก่ใครๆ ก็ไม่ควรทำ การโกรธกันในระหว่างพี่น้องเป็นโทษอย่างหนัก ผู้ใดบูชาพระเจ้าในขณะที่กำลังโกรธอยู่กับ พี่น้องการบูชานั้นจะไม่เกิดผล ฉะนั้นผู้ใดนำเครื่องบูชามาแล้ว ถ้านึกได้ว่ายังมีเรื่องโกรธเคืองกับพี่น้องให้วางเครื่องบูชาไว้หน้าแท่น ไปคืนดีกับพี่น้อง เสียก่อนจึงค่อยบูชา ถ้าพิพาทเป็นคดีก็ให้พยายามไกล่เกลี่ยคืนดีกันกับคู่ความ

3)    ทรงห้ามล่วงประเวณีชายหญิง ไม่เว้นแม้แต่จะงดเว้นการล่วงประเวณีด้วย กาย วาจาเท่านั้น แม้การล่วงประเวณีด้วยใจก็ไม่ควรให้มีขึ้น หมายความว่า แม้แต่จะคิดล่วง ประเวณีก็ไม่ควรคิด ถ้าหากนัยน์ตาของเราจะชักจูงให้เราทำผิด เพราะมองเห็นความสวย ความงามก็ควักนัยน์ตาออกมาเสียดีกว่าที่จะผิดไปจริงๆ

4)    แต่ก่อนสอนกันว่า "อย่าทนสบถ" คือ ทำผิดคำพูด เมื่อสาบานไว้ว่าจะทำอย่างไรต้องทำตามที่สาบานไว้ แต่พระเยซูทรงสอนใหม่ว่า อย่าสบถสาบานเลยดีกว่า จงประพฤติตนให้เป็นคนซื่อตรง ให้คนทั้งหลายเขาเชื่อถือโดยมิต้องสบถสาบานเลยดีกว่า

5)    แต่เดิมสอนกันว่า "ตาแทนตา ฟันแทนฟัน" หมายความว่า ใครทำกับเราอย่างไร ให้เราทำตอบแทนอย่างนั้น ถ้ามาทำให้เราตาบอด ก็ให้ทำให้เขาตาบอดบ้าง ใครมาทำให้เราฟันหัก ก็ให้ทำให้เขาฟันหักบ้าง แต่พระองค์สอนว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดมาตบ แก้มขวาของเรา ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาตบอีก ถ้าผู้ใดมาเอาเสื้อของเราไป ก็จงเพิ่มเสื้อคลุมให้เขาด้วย ถ้าถูกเกณฑ์ให้เดินทาง 40 เส้น จงเดินไปเสีย 80 เส้น

6)    เดิมสอนกันว่า "ให้รักมิตรและเกลียดศัตรู" แต่พระองค์สอนให้รักแม้กระทั่ง ศัตรู จงอวยพรแก่ผู้ที่แช่งด่าเรา จงทำคุณแก่ผู้ที่เกลียดชังเรา พระเจ้าประทานแสงสว่างให้คนดีและคนชั่ว ประทานฝนให้ทั้งคนมีธรรมและคนอธรรม รัฐบาลยังเก็บภาษีทั้งคนดีและคนไม่ดี

7)    อย่าทำบุญเอาหน้า อย่าเป่าแตรเมื่อบำเพ็ญทาน อย่าประกอบการกุศลเพื่อหวังความสรรเสริญ สิ่งใดที่มนุษย์รู้พระผู้เป็นเจ้าจะไม่รับรู้ แต่การทำดีที่มนุษย์ไม่ทราบพระเจ้าจะรับทราบอย่างสมบูรณ์ ถ้าท่านถือศีลด้วยการอดอาหารก็ไม่จำเป็นต้องหน้าซีดเชียวให้คนอื่นแลเห็น ให้การกระทำของท่านปรากฏแก่พระเจ้าเท่านั้นก็พอแล้ว

8)    ถ้าท่านให้อภัยแก่คนทั้งหลาย พระเจ้าก็จะให้อภัยแก่ท่านเหมือนกัน ถ้าท่านไม่ให้อภัยแก่คนทั้งหลายพระเจ้าจะไม่ให้อภัยแก่ท่าน

9)    อย่าสะสมทรัพย์ไว้ในโลกนี้ แต่จงสะสมไว้บนสวรรค์ ไม่ต้องสะสมโดยกลัวว่าจะไม่มีอะไรกิน ไม่มีอะไรดื่ม ฝูงนกทั้งหลายมิได้สะสมธัญญาหารไว้ พระเจ้ายังเลี้ยงนก ทั้งหลายได้ มนุษย์สำคัญกว่านก ไฉนพระเจ้าจะไม่ช่วยเลี้ยง ไม่จำเป็นต้องขวนขวายในการ แต่งกายประดับประดา กษัตริย์โซโลมอนเป็นผู้ทรงเครื่องต้นประดับตบแต่งอย่างเต็มที่ ก็ไม่เห็นจะสวยงามไปกว่าดอกไม้ที่บานอยู่โดยธรรมชาติ ซึ่งปราศจากเครื่องตกแต่งเพิ่มเติม ไม่จำเป็นต้องทุกข์ถึงวันพรุ่งนี้ เพราะเรื่องที่จะต้องทุกข์ในวันนี้ก็มีมากพออยู่แล้ว

10)    ถ้าไม่อยากให้ใครกล่าวโทษเรา เราก็อย่ากล่าวโทษเขา เราชอบมองหาผงในดวงตาของคนอื่น แต่ไม่ระวังดุ้นฟืนที่อยู่ในดวงตาของเรา อย่าให้ของประเสริฐแก่สุนัข อย่าให้แก้วมุกดาแก่สุกร เพราะมันจะเหยียบย่ำของเหล่านั้นและมันจะหันมากัดเราอีกด้วย

11)    อยากได้ก็ต้องขอ อยากพบก็ต้องหา อยากจะให้ประตูเปิดรับก็ต้องเคาะประตูแต่เข้าประตูเล็กดีกว่าเข้าประตูใหญ่ เพราะประตูใหญ่มักจะนำไปสู่หายนะและมีคนเข้าไปมากแล้ว จงระวังผู้ที่ปรากฏกายเป็นมุนี แต่ดวงใจเป็นสุนัขป่า เราจะรู้จักคนได้ด้วยผลของงาน เช่นเดียวกับที่เราจะรู้จักต้นไม้ก็ด้วยผลไม้ เราไม่สามารถจะเก็บผลองุ่นจากต้นระกำ ไม่สามารถจะเก็บมะเขือเทศจากต้นไม้มีหนาม ต้นไม้ดีย่อมจะเกิดผลดี ต้นไม้ชั่วย่อมจะเกิดผลชั่ว

2.6    การเผยแผ่ศาสนา

     ในการเผยแผ่ศาสนาของพระเยซูคริสต์ นอกจากพระองค์จะสอนธรรมง่ายๆ แต่ลึกซึ้งและกินใจแล้ว พระองค์มีคุณลักษณะพิเศษ คือ มีความสามารถในการรักษาโรค และมีพลังจิตที่สูง เช่น การรักษาโรคเรื้อนให้หาย รักษาคนเป็นง่อยให้เดินได้ รักษาคนใบ้ให้พูดได้ รักษาคนตาบอดให้กลับแลเห็นได้ พอพระองค์แตะตัวคนป่วยหรือเพียงแต่พูดกับคนป่วยเพียงคำเดียวโรคก็จะหาย หรือบางครั้งคนป่วยมาแตะต้องผ้าที่พระเยซูนุ่งห่มโรคก็จะหายเช่นกัน พระเยซูจะรักษาโรคควบคู่ไปกับการเทศน์สอนทุกครั้ง จึงปรากฏว่าการเผยแผ่คำสอนของ พระเยซูได้ผลเร็ว

    พระเยซูออกเดินทางท่องเที่ยวประกาศศาสนาบริเวณชายฝั่งแม่น้ำจอร์แดน ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสในคำสอนของพระองค์ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนยากจน เช่น เป็นชาวประมง ช่างไม้ ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทที่ทุรกันดาร เพราะพระองค์ไม่สามารถจะเข้าไปเผยแผ่ในเมืองใหญ่ได้ พระองค์ไม่พยายามประกาศคำสอนอันลึกซึ้ง แต่พยายามให้คนทั่วไปเข้าใจคำสอน ซึ่งเป็น คำสอนที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ ซึมซาบ น่าฟัง ไม่น่าเบื่อ ถือว่าพระเยซูเป็นนักพูดและนักบรรยายที่ดีเยี่ยมคนหนึ่ง คำสอนของพระองค์บางครั้งก็ขัดแย้งกับความเชื่อเก่า จึงทำให้พระองค์มีทั้ง คนรัก เลื่อมใสเคารพมาก และมีศัตรูมากเช่นกัน ศัตรูก็คือพวกยิว (ยูดาห์) ซึ่งเห็นว่าคำสอนของพระองค์ผิดแผกแตกต่างจากหลักของโมเสส ทั้งๆ ที่พระเยซูรับรองว่าไม่มีเจตนาจะลบล้างทำลายบัญญัติหรือคำสอนของศาสนาเดิม แต่จริงๆ แล้วคำสอนของพระเยซูก็ขัดแย้งกับของโมเสสหลายข้อ ดังเช่นคำเทศนาบนภูเขาของพระเยซูจะขัดแย้งกับบัญญัติ 10 ประการหลายข้อ และคำสอนในที่อื่นๆ ก็ขัดแย้งกับบัญญัติอยู่อีก

2.7    คำสอนที่ขัดแย้งกัน

    โมเสสสอนให้สามีภรรยาหย่าขาดจากกันได้ แต่พระเยซูไม่สอนให้มีการหย่าขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน มีคนมาโต้แย้งว่า โมเสสสอนให้หย่ากันได้ พระเยซูก็ให้เหตุผลว่า เมื่อพระเจ้าสร้างอาดัมกับอีวาให้เป็นเพื่อนชีวิตอยู่ด้วยกันได้ ไม่ได้ทรงอนุญาตว่าจะให้เลิกใช้ชีวิตร่วมกันได้ เมื่อใดพระเจ้าสร้างอีวาโดยดึงเอาซี่โครงซี่หนึ่งของอาดัมมาสร้าง จึงถือว่า ผัวเมียเป็นคนคนเดียวกัน ผัวเมียจะแยกกันไม่ได้

    โมเสสวางข้อบัญญัติอย่างเคร่งครัดว่า มนุษย์ต้องหยุดงานวันสับบาธ (ซาบัท) หรือวันสะบาโต แต่พระเยซูไม่ถือเคร่งครัดในเรื่องนี้ เมื่อมีคนเจ็บป่วยมาขอให้รักษาในวัน สับบาธพระองค์ก็ทรงรักษาให้ เมื่อมีคนมาทักท้วงว่าทำไมไม่หยุดงานวันสับบาธ พระองค์ก็ตอบว่า ถ้าลูกแกะของท่านพลัดตกลงไปในบ่อน้ำในวันสับบาธ ท่านจะปล่อยให้ลูกแกะนั้นตายหรือ

2.8    ตำหนิคนรวย

    นอกจากนี้ พระเยซูยังกล่าวตำหนิคนมั่งมีร่ำรวย มีหลายครั้งหลายคราที่คำสอนของพระองค์กระทบกระเทือนคนมั่งคั่ง ครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสว่า เอาอูฐลอดเข้ารูเข็มยังง่ายกว่า ที่จะเอาคนมั่งมีขึ้นสวรรค์ เพราะคนมั่งคั่งจะเข้าถึงพิภพสวรรค์แท้ได้ยากมาก

     ครั้งหนึ่ง พระเยซูประทับอยู่ในโบสถ์ยิวกับสาวก มีคนเอาเงินมาทำบุญให้โบสถ์ยิวเป็นอันมาก พวกที่ร่ำรวยบริจาคเงินคนละมากๆ มียายแก่ยากจนคนหนึ่งเอาทองแดงมาบริจาค 1 อัน พระเยซูตรัสแก่สาวกว่า ยายแก่ได้บุญมากกว่าพวกมั่งคั่งร่ำรวยเหล่านั้น เพราะพวกร่ำรวยทำบุญจากเงินที่เหลือใช้อย่างมาก ทำมากเท่าไรก็ไม่เดือดร้อน จึงไม่นับว่าเป็นการเสียสละ แต่ยายแก่นั้นทำบุญจากเงินที่จำเป็นสำหรับชีวิตของยายมาก ยายต้องเสียสละจริงๆ และต้องเดือดร้อนลำบากจากการเสียสละนี้จริงๆ คำสอนของพระเยซูเช่นนี้จึงเป็นปรปักษ์ต่อคนรวยทำให้คนรวยเป็นศัตรูต่อพระเยซู ซึ่งคนรวยส่วนมากเป็นคนมีความรู้ และมีอิทธิพลมาก

    การสร้างศัตรูกับนักบวชในศาสนาเดิมของพระเยซู ก็นับว่าเป็นอันตรายต่อพระองค์ ไม่น้อย โดยพระเยซูกล่าวโจมตีนักบวชหลˆานี้ว่า เป็นพวกหน้าซื่อใจคด ปิดพิภพสวรรค์ไว้ไม่ให้มนุษย์ขึ้นถึง กล่าวอ้างตัวเองเป็นคนนำทางให้มนุษย์ แต่ตัวเองกลับตาบอด ตาบอดแล้วยังมาทำตัวเป็นผู้นำทางคนอื่น พวกนี้กรองน้ำเวลาดื่ม โดยอ้างว่าเกรงจะกลืนลูกน้ำเข้าไป แต่ความจริงเขากลืนอูฐเข้าไปเป็นตัวๆ

2.9    ศัตรูเริ่มปรากฏ

      เมื่อพระเยซูไม่เกรงกลัวอำนาจอิทธิพลจากพวกที่ทำไม่ถูกต้อง พระองค์กล้าแสดงความจริงที่พระองค์เห็นว่าถูกต้อง ศัตรูของพระองค์ก็ได้แสดงตัวออกมาเป็นระยะๆ ทั้งลับและเปิดเผย ผู้ที่มาฟังเทศน์และถามปัญหาธรรม ก็มีทั้งผู้ศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ และมีทั้งศัตรูที่มาคอยจับผิด โดยตั้งปัญหาถามเพื่อหวังผลร้ายแก่ผู้ตอบ เช่น ครั้งหนึ่งมีคนถามว่า ชาวยิวจะควรเสียภาษีให้แก่ซีซาร์ (จักรพรรดิโรมัน) หรือไม่ ปัญหาเช่นนี้ถ้าตอบไปทางใดทางหนึ่งเสียเป็นอันตรายทั้งนั้น คือ ถ้าตอบว่าไม่ควรเสียภาษีก็จะเป็นความผิดฐานกบฏต่อพระจักรพรรดิโรมัน แต่ถ้าตอบว่าควรเสียภาษีก็จะทำให้ชาวยิวเกลียด เพราะชาวยิวเดือดร้อนมากเรื่องการ เสียภาษีแก่โรมัน

     ก่อนที่พระเยซูจะตอบปัญหา ได้เรียกเอาเงินตราจากผู้ถามอันหนึ่ง แล้วย้อนถาม ผู้ถามว่า รูปภาพและคำจารึกในเงินตรานี้เป็นของใคร ผู้ตอบตอบว่า เป็นของซีซาร์ พระเยซูจึงตรัสต่อไปว่า ของซีซาร์ก็จงคืนไปให้ซีซาร์ ของพระเจ้าก็ถวายคืนแด่พระเจ้า คำตอบอันชาญฉลาดเช่นนี้ทำให้พระเยซูพ้นภัย

2.10    การได้สาวกคนสำคัญ

     ในการเผยแผ่คำสอนจนมาถึงช่วงนี้นับว่าได้ผลมาก มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาก แต่ที่ นับว่าเป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนานั้น ก็คือสาวกคนสำคัญ 12 คน ดังต่อไปนี้

1.    ซีมอน หรือเปโตร
2.    อันเดรอา หรืออันดรูว์ (เป็นน้องชายของเปโตร)
3.    เจมส์ หรือยาคอบ (บุตรเซเบดาย)
4.    จอห์น หรือโยฮัน (น้องชายยาคอบ มิใช่คณาจารย์โยฮัน)
5.    ฟิลิปส์
6.    บาร์โธโลมิว
7.    โธมัส
8.    มัทธาย
9.    ยาคอบ (บุตรอาละฟาน)
10.    เลบบายส์ (ธาดาย)
11.    ซีมอน (ชาวคานาอัน)
12.    ยูดาห์ อิสการิโอต

      สาวก 4 คนข้างต้น เป็นชาวประมง คนที่ 1 กับคนที่ 2 คือ เปโตรกับอันเดรอา ซึ่งเป็นพี่น้องกันนั้น พระเยซูไปพบกำลังตีอวนจับปลา ตรัสถามว่า เขากำลังทำอะไร คนทั้งสองตอบว่ากำลังตีอวนจับปลา พระเยซูตรัสว่า ไปตีอวนจับคนดีกว่า คนทั้งสองเลยทิ้งอวนตามพระองค์ไป เดินไปตามทางพบชาวประมงพี่น้องอีก 2 คน คือ ยาคอบกับโยฮัน (สาวกคนที่ 3 และ 4) เป็นชาวประมงเหมือนกัน กำลังนั่งชุนอวนอยู่ เห็นเปโตรกับอันเดรอา ตามพระเยซูไปก็เลยขอตามไปด้วย ในบรรดาสาวกทั้งหมดนี้ โยฮัน (คนที่ 4 ) กับมัทธาย (คนที่ 8) เป็นคนสำคัญในการเขียนคัมภีร์ไบเบิล (คัมภีร์ใหม่) และเขียนประวัติต่างๆ ของพระเยซู เราได้จากสาวกทั้ง 2 นี้มาก

    สาวกคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ยูดาห์ อิสการิโอตนั้น เป็นเหมือนพระเทวทัตในศาสนาพุทธ เพราะว่ายูดาห์นี้เองเป็นผู้ทำลายพระเยซู โดยไปรับสินบน และเป็นผู้ชี้องค์พระเยซูให้โรมันจับ แต่ลงท้ายยูดาห์ อิสการิโอต ก็อดสูต่อพฤติกรรมอันเลวร้ายของตัวเองไม่ได้ จึงฆ่าตัวตายด้วยการผูกคอตัวเองชดใช้กรรม

2.11    ภัยกำลังก่อตัว

    ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ศัตรูของพระเยซูมีมากจนเกินกว่าบารมีของพระเยซูจะต้านทานได้ จะอาศัยสาวกเป็นที่พึ่งพาอาศัยก็ไม่ได้ แม้แต่คณาจารย์โยฮัน ซึ่งเป็นอาจารย์ที่เคยไปศึกษาศาสนาด้วย และเป็นผู้มีบารมีสูงเพราะมีลูกศิษย์มาก ก็ยังถูกจับฐานสอนผิดเพี้ยนไปจากคำสอนของศาสนาเดิม และที่สุดก็ถูกฆ่าตาย พระเยซูเห็นตัวเองอย่างนี้ก็ทรงรู้พระองค์ว่า อันตรายจะต้องมาถึงตัวสักวันหนึ่ง และทรงทราบเหมือนกันว่า ในบรรดาสานุศิษย์ใกล้ชิดขนาดเป็นสาวกคนสำคัญก็ยังไว้ใจไม่ได้สักคน

2.12    พวกยิวเริ่มแผนทำลายพระเยซู

    พวกนักบวชยิวได้กระพือข่าวโฆษณาชวนเชื่ออยู่เรื่อยๆ ว่า พระเยซูซ่องสุมสมุนพรรคพวกเพื่อก่อการกบฏต่อโรมัน และจะสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์ยิว การปล่อยข่าว เช่นนี้ นักบวชยิวทำมานานแล้ว จนข่าวลือที่ว่านี้ไปเข้าหูพวกโรมัน ส่วนพระเยซูเองก็รู้ว่ามีนักบวชยิวปล่อยข่าวทำลายตน แต่พระองค์มิได้หาทางแก้ไขหรือป้องกันตัวเพราะถือว่า ตนเองบริสุทธิ์ คณะกรรมการศาสนา เมื่อเห็นว่าทางโรมันนิ่งเฉยไม่เอาเรื่องจึงตั้งตนเป็นโจทก์เองโดยขอให้โรมันส่งทหารไปจับตัวพระเยซูมาลงโทษ

2.13    ลางร้ายปรากฏ

   ขณะนั้นพระเยซูประทับอยู่ที่หมู่บ้านเมธาเนีย มีเหตุการณ์ที่เป็นลางเกิดขึ้นคือ มีหญิงคนหนึ่งถือผอบน้ำมันหอมมีราคาแพงมาเฝ้าพระเยซู แล้วเทน้ำมันหอมลงบนพระเศียรของพระเยซูในขณะที่พระองค์กำลังเสวยพระกระยาหารอยู่ พวกสาวกเห็นเช่นนั้นก็กล่าวกับหญิงนั้นว่าทำให้เสียของทำไม เอาน้ำมันหอมไปขายแล้วเอาเงินมาแจกแก่คนจนไม่ดีกว่าหรือ พระเยซูตรัสว่าที่เขาทำเช่นนี้ได้ชื่อว่า เป็นการรดน้ำศพของพระองค์ เพราะพระองค์จะต้องสิ้นชีพในไม่ช้า

2.14    สาวกไม่เชื่อ

  อิสการิโอตทรยศต่อพระเยซูด้วยการรับอาสาจะพาทหารโรมันไปจับพระเยซู โดยให้ทหารโรมันสังเกตอาณัติสัญญาณว่า ถ้าเขาเข้าไปจูบแสดงความเคารพต่อคนไหนก็จงทราบว่า คนนั้นคือพระเยซู ให้ทหารโรมันจับตัวได้ทันที ในการอาสาทำเช่นนี้ ยูดาห์ อิสการิโอต ได้รับเงินเป็นค่าจ้าง 30 แผ่น กรรมการศาสนาต้องการจับกุมพระเยซู แต่กระทำได้ยากเนื่องจากพระองค์นั้นอยู่ไม่เป็นที่ การแต่งกายก็มิได้แตกต่างจากคนอื่นๆ และชอบอยู่ปะปนกับผู้คนทั่วไป

2.15    ทรงเสวยปัสคาร่วมกับสาวก

    ครั้นถึงวันต้นเทศกาลถือศีลปัสคา (เทศกาลกินขนมปังไม่มีเชื้อ) พวกสาวกมาทูลถามว่า จะให้เตรียมเสวยปัสคาที่ไหน พระเยซูตรัสสั่งให้เข้าไปหาบ้านใครก็ได้ในเมือง ขออาศัยทำพิธีเลี้ยงปัสคา พวกสาวกเตรียมสถานที่เรียบร้อย พระเยซูก็เสด็จเข้าไปในบ้านนั้น พร้อมด้วยสาวกคนสำคัญ 12 คน ร่วมกันนั่งรับประทานโต๊ะเดียวกันรวมทั้งพระเยซูด้วยเป็น 13 คน พระเยซูตรัสว่า การร่วมรับประทานอย่างนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย เพราะอีกไม่นานเหตุร้ายจะ เกิดขึ้นแก่พระองค์ ในระหว่างเวลารับประทานอาหาร พระเยซูตรัสว่า พระองค์ทรงทราบว่า คนหนึ่งในบรรดาสาวก 12 คน จะทรยศโดยอาสานำทหารมาจับพระองค์

    ในการเลี้ยงครั้งนั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังมาหักส่งให้สาวกคนละชิ้น บอกให้กินเพราะเป็นเสมือนเนื้อในกายของพระองค์ จากนั้นก็รินเหล้าองุ่นแจกสาวกและตรัสว่าให้ดื่มเพราะเป็นเสมือนโลหิตของพระองค์

2.16    พระเยซูถูกจับ

   เมื่อเลี้ยงอาหารกันเสร็จแล้ว พระเยซูและสาวกก็พากันขึ้นภูเขา ทรงสั่งให้สาวกพักอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ส่วนพระองค์ปลีกตัวไปสวดมนต์ พวกสาวกพากันนอนหลับหมด พระเยซูทรงเตือนให้สาวกตื่นเพื่อระวังภัย ทำอย่างนี้อยู่ถึง 3 ครั้ง สาวกก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ก็พอดีกับที่มีคนถือไม้พลองเป็นอาวุธกรูกันเข้ามายังภูเขาที่พักของพระเยซูและสาวก ขณะเดียวกัน ยูดาห์ อิสการิโอต สาวกผู้ทรยศได้ตรงเข้าจูบพระเยซู เป็นสัญญาณตามที่นัดหมายกันไว้ ทหารโรมันก็จับพระเยซูไป พระเยซูได้ตรัสแก่ทหารที่มาจับว่า จะต้องถือไม้พลองมาทำไม พระองค์มี มือเปล่าไม่มีพิษภัยอะไร ถ้าอยากจับพระองค์จะจับเวลาอยู่ในโบสถ์หรืออยู่ที่ไหนก็ได้

2.17    คณะกรรมการศาสนาสอบความผิด

    พระเยซูทรงเหลียวมองหาสาวกก็ไม่เจอสักคนเดียว คงจะกลัวถูกจับจึงหลบหนีกันไปหมด พระเยซูถูกนำไปที่บ้านมหาปุโรหิต (สังฆราชยิว) ผู้เป็นประธานกรรมการ (Synodus) และคณะกรรมการก็ได้ทำการสอบสวนชำระความทันทีที่บ้านนั้น โดยเรียกหลายคนมาเป็นพยาน พยานทุกคนก็ให้การปรักปรำพระเยซู โดยเฉพาะข้อที่ว่า พระเยซูตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ของยิว อ้างตนเป็นลูกของพระเจ้า เป็นเมสสิอาห์ พระเยซูไม่ตอบ แม้ประธานจะถามอะไรพระเยซูก็ทรงนิ่ง แต่เมื่อถูกถามว่า พระเยซูเชื่อพระองค์ว่าเป็นลูกพระเจ้าและเป็นเมสสิอาห์ จริงหรือ พระเยซูรับว่าจริงในข้อนี้ ที่ประชุมจึงมีมติให้ลงโทษประหารชีวิตพระเยซู

   ในขณะที่พระเยซูนั่งอยู่นั้น มีหลายคนเข้ามาทำร้ายตบตี ถ่มน้ำลายรด เอาผ้าปิดตา พระองค์แล้วกลั่นแกล้งพระเยซูให้ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน แต่พระเยซูก็นิ่งเฉย ไม่ขัดขืน ตอบโต้

2.18    ต้องคำพิพากษาประหารชีวิต

    เป็นอันว่า สภาการศาสนาได้พิพากษาประหารชีวิตพระเยซู แต่การที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาโทษร้ายแรงอย่างนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้สำเร็จราชการโรมันก่อน จึงจะดำเนินการได้ ฉะนั้นพอสว่างพระเยซูก็ถูกนำตัวไปให้ผู้สำเร็จราชการโรมัน โดยมีข้อหาว่าพระเยซูจะตั้งตนเป็นกษัตริย์ยิว ซึ่งเป็นการกบฏต่อซีซาร์

  ผู้สำเร็จราชการโรมัน ถามพระเยซูว่า ท่านได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินยิวจริงหรือ พระเยซูตรัสตอบว่า "อาณาจักรของข้าพเจ้ามิได้อยู่ในโลกนี้" ผู้สำเร็จราชการโรมันพยายามถามหลายอย่างก็ไม่สามารถจับได้ว่า พระเยซูทำผิดในข้อหาใด แต่หน้าที่ผู้สำเร็จราชการเป็นหน้าที่การเมืองและเห็นว่าชาวยิวเป็นอันมากไม่ชอบพระเยซู มีแต่คนเกลียดชังและเป็นศัตรูต่อพระเยซู ส่วนศิษย์สาวกของพระเยซูก็ไม่เห็นมีใครมาแสดงตัวเพื่อปกป้องเป็นพยานให้พระองค์สักคนเดียว ผู้สำเร็จราชการโรมันเห็นว่า มติมหาชนรุนแรงมาก จึงสั่งให้ลงโทษพระเยซู โดยการโบย และในระหว่างที่โบยนั้นก็มีชายคนหนึ่งเอาเถาไม้ที่มีหนามขดเป็นวงกลม กดสวมเศียรพระเยซู พร้อมกับพูดว่า นี้คือมงกุฎของพระราชาองค์ใหม่แห่งยิว

   ระยะเวลานั้นใกล้จะถึงวันอีสเตอร์ ซึ่งเป็นวันพิธีการทางศาสนาวันหนึ่งของยิว ในวันนี้จะมีการอภัยโทษแก่นักโทษประหาร พอดีมีนักโทษประหาร 3 คน รวมทั้งพระเยซูเป็น 4 คน ผู้สำเร็จราชการจึงคอยดูว่ามติมหาชนจะอภัยโทษแก่พระเยซูหรือไม่ พอถึงวันอีสเตอร์มติมหาชนมิได้อภัยโทษแก่พระเยซู

2.19    พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้สำเร็จราชการโรมันก็เอาน้ำมาล้างมือของตน แล้วประกาศว่า ขอวางเฉย ไม่ขอเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ต่อไป พวกยิวเห็นเช่นนั้น ก็คิดว่าผู้สำเร็จราชการยอมให้พลเมืองจัดการ จึงพากันจับเอาพระเยซูไปตรึงบนไม้กางเขน ที่ภูเขาเหนือเมืองเยรูซาเล็ม ในเวลาเที่ยงวัน และพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ในเวลาบ่ายวันนั้นนั่นเอง คำวิงวอนสุดท้ายที่พระเยซู ตรัสแก่พระเจ้าซึ่งพระเยซูเรียกว่าพระบิดาเสมอนั้นมีว่า ขอพระบิดาได้โปรดประทานอภัยให้แก่คนที่ทำการร้ายครั้งนี้ เพราะเขาไม่รู้ว่าเขาได้ทำอะไรไปŽ

   นักโทษประหารอีก 2 คน ก็ถูกตรึงพร้อมกับพระเยซู พระเยซูอยู่ตรงกลาง พวกสาวกคนสำคัญของพระเยซู ไม่มีใครกล้าแสดงตัวในเหตุการณ์การประหารชีวิตพระเยซู คงอาจกลัวว่าภัยจะมาถึงตัว แต่มีอยู่คนหนึ่งซึ่งไม่แสดงตนว่าเป็นสาวกพระเยซู เพียงนับถือพระเยซูอยู่ห่างๆ เป็นคนมีฐานะดีอยู่ในเมืองชื่อว่า โยเซฟ ได้เข้าไปหาข้าหลวงโรมัน ขอศพพระเยซูไปทำพิธีฝัง ซึ่งก็ได้รับอนุญาต

 

3. การแพร่ขยายของศาสนา

การแพร่ขยายของศาสนา3)

    พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า หลังจากพระเยซูคริสต์ได้สิ้นพระชนม์แล้ว 3 วัน พระองค์ได้ทรงฟื้นคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์ สาวกทั้งหลายจึงได้เริ่มออกเทศนาสืบทอดคำสอนของพระองค์ในประเทศอิสราเอล และค่อยๆ ขยายออกไปยังดินแดนต่างๆ ในแถบทะเลเมดิเตอร์-เรเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโรมัน

    สาวกคนสำคัญๆ ที่ควรรู้จักมีดังนี้

    1.    นักบุญเปโตร ได้รับการแต่งตั้งจากพระเยซูคริสต์เองให้เป็นหัวหน้ามาก่อน ท่านจึงเป็นประมุขสูงสุดคนแรกของศาสนาคริสต์ ท่านมีฐานะเป็นเสมือนสมเด็จพระสันตะปาปาได้ไปเทศนาเผยแผ่ศาสนาถึงกรุงโรม และได้เลือกกรุงโรมเป็นศูนย์กลางดำเนินงานต่างๆ แต่การเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในระยะแรกได้รับการต่อต้านจากเจ้าหน้าที่แห่งอาณาจักรโรมัน และมีกฎหมายหลายฉบับของอาณาจักรโรมันห้ามนับถือศาสนาคริสต์ มีการจับกุมผู้ฝ่าฝืนไปลงโทษเป็นตัวอย่างเป็นครั้งคราว แม้ท่านนักบุญเปโตรก็ถูกพวกโรมันจับและถูกประหารชีวิตในที่สุด

    2.    นักบุญเปาโล เดิมทีท่านมีชื่อว่า ซอล ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ปอล หรือเปาโล ชาวยิวที่อาณาจักรโรมันได้แต่งตั้งท่านให้ไปปกครองพวกเดียวกันและร่วมมือกับ คณะกรรมการศาสนายิวต่อต้านการเผยแผ่คำสอนของพระเยซูคริสต์และเหล่าสาวก ท่านได้ทำการขจัดกวาดล้างขัดขวาง และทำลายสาวกของพระเยซูคริสต์ ครั้นเมื่อเปาโลได้พิจารณาหลักคำสอนประกอบกับเกิดความประทับใจในความศรัทธาต่อพระเจ้าของชาวคริสต์แล้ว ทำให้เปาโลเปลี่ยนใจมายอมรับนับถือคำสอนของพระเยซูคริสต์ ทั้งนักบุญปีเตอร์ และนักบุญเปาโลได้ร่วมมือกันทำการเผยแผ่ นักบุญปีเตอร์ได้ปฏิบัติในหมู่ชาวยิว ส่วนนักบุญเปาโลได้ออกเดินทางไปเผยแผ่ในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก

    ช่วงเวลาประมาณ 15 ปี หลังพระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์แล้ว นักบุญเปาโลประสบความสำเร็จ สามารถสร้างโบสถ์แห่งแรกเพื่อใช้สอนศาสนาของพระเยซูคริสต์ที่เมือง อันติโอโคส ในกรีซ ประกาศศาสนาเมสสิอาห์แยกตัวออกจากศาสนายิวและได้เผยแผ่ศาสนาใหม่นี้ให้แพร่หลายเข้าไปในอาณาจักรโรมัน ได้รับการต่อต้านปราบปรามอย่างรุนแรงและเหี้ยมโหดสมัยพระจักรพรรดิเนโร (พ.ศ. 597-611) ด้วยเหตุที่ พ.ศ. 607 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ ในกรุงโรม พระจักรพรรดิเนโรทรงกล่าวโทษว่าพวกคริสเตียนเป็นผู้วางเพลิง จึงทรงสั่งให้ลงโทษอย่างรุนแรง เช่น จับพวกคริสเตียนผูกเข้ากับเสาเอาน้ำมันยางราดตัว และจุดต่างคบเพลิงในเวลากลางคืน บ้างก็ให้เอาหนังสัตว์พันตัวแล้วให้สุนัขใหญ่กัดฉีก ในที่สุดกองทหารคิดกบฏขึ้น พระจักรพรรดิเนโรเสด็จหนีไปซ่อน เมื่อทหารไปจับ พระองค์จึงทรงรีบปลงพระชนม์ตัวเองก่อน

    การตั้งหลักอย่างมั่นคงของศาสนาคริสต์เริ่มขึ้นตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อ พระจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช (พ.ศ. 849-880) ทรงครองราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรง ประกาศให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาคริสต์ในปี พ.ศ. 856 โดยพระราชกฤษฎีกาแห่ง เมืองมิลาน ต่อมาพระจักรพรรดิเทโอโดซีอุสทรงประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ ของอาณาจักรโรมันในปี พ.ศ. 934 ดังนั้นศาสนาคริสต์จึงตั้งหลักมั่นคงแผ่อิทธิพลไปทั่วยุโรป ทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา และได้เผยแพร่เข้ามายังประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยพวกสอนศาสนาชาวโปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศสซึ่งได้เข้ามาพร้อมกับพวกพ่อค้า แต่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยไม่ได้แพร่หลายมากเหมือนในประเทศอื่นๆ

 

4. กำเนิดและวิวัฒนาการนิกายสำคัญในศาสนาคริสต์

    ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 กำเนิดคริสต์ศาสนจักรแรกที่มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยพระสังฆราช คณะนักบวชอาวุโส และผู้ช่วยนักบวช มีสาวกเป็นฝ่ายทำหน้าที่แสดงเทศนา ศูนย์กลางของศาสนาอยู่ที่สำนักวาติกันในกรุงโรม

   ครั้นเวลาล่วงมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการบริหารศาสนจักรใหม่ พระสังฆราชมีฐานะเป็นหัวหน้าศาสนจักร มีนักบวชอาวุโส และผู้ช่วยนักบวชเป็นผู้ช่วย การแสดงเทศนาเป็นหน้าที่ของพระสังฆราชและนักบวชอาวุโสเท่านั้น

    ความแตกแยกได้ค่อยๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 และที่ 5 ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในยุคนั้นพระจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชทรงย้ายราชธานีไปอยู่ในภาคตะวันออกของอาณาจักร ทรงตั้งชื่อราชธานีว่่า คอนสแตนติโนเปิล หรือกรุงโรมตะวันออก อาณาจักรโรมันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขต คือ โรมันตะวันตก ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม และโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนดิโนเปิล ทั้งสอง เขตต่างถือว่ามีความสำคัญมาก จึงมีความเป็นตัวของตัวเองในทางความคิด ประเพณี และวัฒนธรรม โรมันตะวันตกใช้ภาษาละติน ส่วนโรมันตะวันออกใช้ภาษากรีก การแข่งขันกันทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมย่อมมีผลกระทบต่อวงการศาสนาด้วย

   ครั้นเมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกเริ่มสลายตัวลงไปในคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 นั้น อาณาจักรโรมันตะวันออกซึ่งเรียกว่า ไบแซนไทน์ หรือไบแซนทีน ก็เริ่มเข้มแข็งและเป็นอิสระในทุกด้าน เริ่มแยกอำนาจจากการปกครองของสันตะปาปา ซึ่งก่อนนั้นสันตะปาปาเป็นประมุขสูงสุดของทั้ง 2 ฝ่าย และในที่สุดได้มีการแตกแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ครั้งแรก คือ นิกายโรมันคาทอลิกฝ่ายตะวันตก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม และนิกายออร์ทอดอกซ์ฝ่ายตะวันออก มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในเวลาต่อมาการแตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ของศาสนาคริสต์ ครั้งสำคัญครั้งที่ 2 เป็นผลให้เกิดศาสนาคริสต์นิกายใหม่ 3 นิกาย แต่ศาสนิกทุกนิกายนับถือเคารพพระเยซูคริสต์และพระเจ้าองค์เดียวกันคือ พระเยโฮวาห์

4.1    นิกายโรมันคาทอลิก

     คำว่า "คาทอลิกŽ" แปลว่า สากล เพราะความเชื่อเดิมมีว่า ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาสากล ชาวคาทอลิกมีความเชื่อและปฏิบัติตามคำสอนและประเพณีดั้งเดิมศาสนาคริสต์โดยเคร่งครัด

   ปัจจุบันสันตะปาปาเป็นประมุขปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลก โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่นครรัฐวาติกัน กรุงโรม ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี นครรัฐวาติกัน เป็นรัฐอิสระตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม สันตะปาปาทรงบริหารงานโดยแบ่งหน่วยงานเป็นกระทรวงเหมือนรัฐทั่วไปและปฏิบััติหน้าที่เฉพาะในกิจการเกี่ยวกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก และกระทรวงเหล่านั้น ประกอบด‰วยกระทรวงการปกครอง กระทรวงเผยแผ่ กระทรวงอบรมนักบวช กระทรวงคำสอน และกระทรวงอื่นๆ

ลำดับชั้นของนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิก เรียงตามลำดับสูงสุดลงไปดังนี้

1.    สันตะปาปา หรือโป๊บ เป็นประมุขสูงสุดของนิกายโรมันคาทอลิก
2.    คาร์ดินัล ที่ปรึกษาสันตะปาปา ในการปกครองศาสนจักรสากล มีหน้าที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ มีสิทธิ์เลือกตั้งสันตะปาปาองค์ใหม่ได้เมื่อองค์เดิมสิ้นพระชนม์ และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นสันตะปาปาด้วย
3. มุขนายก หรือสังฆราช (บิชอป) ประมุขของคริสต์ชนในระดับท้องถิ่น เป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชน
4.    บาทหลวง ผู้นำทางศาสนาในชุมชนต่างๆ เช่น การประกอบพิธีกรรม การเทศน์สั่งสอน เป็นต้น โดยคัดเลือกจากผู้มีประสงค์จะบวชที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 23 ปี
5.    ภราดาและแม่ชี นักบวชชายและนักบวชหญิง เป็นผู้บวชรับใช้ศาสนา เช่น ให้บริการทางศาสนา และการสาธารณสุข เป็นต้น โดยปกติจะครองความเป็นโสดไปตลอดชีวิต

4.2    นิกายออร์ทอดอกซ์

    นิกายนี้แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม สังฆราชเป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักร ประจำอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ส่วนหลักคำสอนที่สำคัญของนิกายนี้แทบไม่แตกต่างจากนิกายโรมันคาทอลิก ลักษณะที่แตกต่างไปจากนิกายโรมันคาทอลิก มีดังนี้

1. ไม่ยอมรับอำนาจของสันตะปาปาที่นครรัฐวาติกัน แต่ละประเทศมีประมุขทางศาสนาของตน

2. รูปแบบพิธีกรรม ภาษา การปกครอง และระเบียบที่เกี่ยวกับนักบวช เปลี่ยนแปลงไป เช่น นักบวชมีสิทธิ์แต่งงานได้

    ปัจจุบัน ผู้นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์มีอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ บัลแกเรีย โรมาเนีย แอลบาเนีย รัสเซีย และแอฟริกาเหนือในประเทศเอธิโอเปีย

4.3    นิกายโปรเตสแตนด์

   นิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2060 โดยนักบวชหนุ่มชาวเยอรมันชื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้ทนดูความเสื่อมโทรมของศาสนาที่กรุงโรมไม่ได้ โดยเฉพาะการที่สันตะปาปาโลภ เห็นแก่เงิน จนถึงกลับมีการเปลี่ยนแปลงพิธีล้างบาปด้วยการเอาเงินไปให้แก่โบสถ์แทนการสารภาพบาป จึงคัดค้านและตั้งนิกายขึ้นใหม่ เพราะกล้าคัดค้านข้อปฏิบัติของสันตะปาปาที่กรุงโรม นิกายนี้จึงชื่อว่า โปรเตสแตนต์ แปลว่า นิกายคัดค้าน

    นิกายนี้ถือปฏิบัติตามคัมภีร์ไบเบิล ไม่ยอมรับบัญญัติหรือคำสั่งใดๆ ของสันตะปาปา จากกรุงโรมทั้งสิ้น ไม่มีนักบวชถือพรหมจรรย์ ไม่ยึดถือไม้กางเขนว่าสำคัญ พระบัญญัติ 10 ประการ ตัดข้อ 4 ออก แล้วเพิ่มใหม่เป็นข้อ 10 ว่า ”เจ้าอย่าละโมบในภริยา ทาส ปศุสัตว์ หรือสิ่งใดอันเป็นของเพื่อนบ้านŽ”

    นอกจากนิกายใหญ่ 3 นิกายนี้แล้ว ยังมีนิกายอื่นๆ ที่คริสต์ศาสนิกชนนับถือกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้ ได‰แกˆ

   1)    นิกายเอปิสโคปัล เป็นนิกายของอังกฤษ หรือที่เรียกว่า Church of England ผ่านมาจากกรุงโรม ในศตวรรษที่ 17 ของคริสต์ศักราช ในระหว่างราชวงศ์สจ๊วต ครองเกาะอังกฤษ เมื่อโรมันคาทอลิกเข้ามานั้น ราชวงศ์อังกฤษไม่พอใจในความหรูหราของพวกนักบวช จึงประกาศฟื้นฟูศาสนาที่เรียกว่า Restoration ot the Stuarts ใน พ.ศ. 2203 ในศาสนาของอังกฤษ เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสันตะปาปาแห่งกรุงโรม แต่ให้ขึ้นตรงต่ออาณาจักรอังกฤษ ประมุขใหญ่ก็ ไม่เรียกสันตะปาปา แต่ให้เรียกว่า อาร์ชบิชอป การฟื้นฟูคราวนี้ทำกันรุนแรงถึงชีวิต อังกฤษไม่ยอมให้ศาสนจักรอังกฤษมีชีวิตอันหรูหราอย่างศาสนจักรกรุงโรม พิธีต่างๆ ในโรมันคาทอลิก ถูกตัดออกไปหลายพิธี เช่น พิธี Mass เป็นต้น

   2)    นิกายคาทอลิกฝรั่งเศส เรียกว่า คณะเยซูอิต (Jesuit) คือ ผู้นับถือพระเยซู แต่คณะเยซูอิตในฝรั่งเศสไม่เหมือนเอปิสโคปัลในอังกฤษ คือ เมื่อข้ามฝั่งมาถึงฝรั่งเศส และแสดงอำนาจคล้ายกับพวกนักบวชในกรุงโรม ทำงานสัมพันธ์กับคาทอลิกในกรุงโรมตลอดมา อำนาจที่คณะเยซูอิตมีอยู่ คือ ควบคุมการศึกษาของชาติทั้งหมด เพราะคนทั้งหลายพากันยอมรับในเบื้องแรกว่า ไม่มีครูผู้ใดจะดีเท่านักบวช จึงทำให้พวกนักบวชมีอำนาจอยู่ในหมู่พลเมือง เป็นเวลานาน

   3)    นิกายเควกเกอร์ (Ouaker) เรียกโดยความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า สมาคมสหาย (Society of Friends) เป็นนิกายคริสต์อีกแบบหนึ่งเกิดขึ้นในอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2290 ผู้ก่อตั้งชื่อ ยอร์ช ฟอกซ์ ความมุ่งหมายเพื่อรื้อฟื้นความนับถือในศาสนาดั้งเดิม อาจหมายถึงหลักคตินิยมของคริสต์ในสมัยแรก ตามประวัติว่า ฟอกซ์ได้รับนิมิตจากพระเจ้า เหมือนกับศาสดาผู้ตั้งศาสนาอื่นๆ เมื่อราว 20 ปี ฟอกซ์เป็นคนพูดเพราะ สอนให้คนดำเนินชีวิตโดยสามัญ ให้ถือเอา พระอำนาจของพระเยซูคริสต์โดยการปฏิบัติตามคำสอนให้เคร่งครัด สอนให้ยึดหลักศาสนามาเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ไม่นิยมพิธีกรรม ปฏิเสธการติดอยู่ในธรรมเนียมโบราณ และไม่ยอมติดอยู่ในคัมภีร์จนเกินไป

    หลักคำสอนของเควกเกอร์ให้ปฏิบัติง่ายๆ มีอยู่ 10 ข้อ ดังนี้

1.    พระมหาอำนาจของพระเจ้า (พระบิดา) อยู่กับคนทุกคน
2.    พระจิตอันบริสุทธิ์ อยู่กับผู้ศรัทธาเสมอ
3.    พระบุตร คือ พระเยซู ทรงความเป็นประธานอยู่ในโบสถ์ในที่อันเป็นแหล่งของการบูชา
4.    ความเป็นนักบวชของผู้มีศรัทธา อยู่ที่ความสงบ
5.    การเทศนาสั่งสอนคน ควรทำได้อิสระ
6.    มีความเสมอภาคในระหว่างเพศ
7.    การทำพิธีศีลจุ่ม และพิธีศีลมหาสนิท ให้เป็นไปโดยน้ำใสใจจริง ไม่ใช่เป็นไปโดยบัญญัติ
8.    การทำสงคราม เป็นการผิดบัญญัติ
9.    การสาบาน เป็นการผิดบัญญัติ
10. ชีวิตควรดำเนินไปอย่างสามัญธรรมดา และโดยภราดรภาพลัทธิเควกเกอร์แพร่หลายอยู่มากในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในรัฐเพนซิลเวเนีย ถึงกับเรียกรัฐนั้นว่า รัฐเควกเกอร์ ผู้นำลัทธินี้ไปสู่อเมริกา ชื่อ วิลเลียมเพน

4.4    นิกายดีอิสม์ (Deism)

    ดีอิสมŒ Deism คือ นิกายที่เชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่จริง แต่เป็นไปในลักษณะทางวิทยาศาสตร์ คัดค้านลัทธิที่คู่กันไป คือ Atheism อันเป็นลัทธิปฏิเสธความเป็นอยู่ของพระเจ้า นิกายนี้สอนให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่ แต่พระเจ้านั้นไม่ใช่เป็นผู้ครอบงำการกระทำของมนุษย์ เป็นคติคัดค้านคติสอนของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาที่นับถือพระเจ้า

    พวกดีอิสต์ มีบัญญัติ 3 และศรัทธา 4

บัญญัติ 3 คือ

1.    เป็นสิทธิและหน้าที่ของคนทุกคนที่จะค้นคิดถึงเรื่องคติแห่งชีวิตสำหรับตนเองและบุคคลไม่ควรคิดถึงอำนาจภายนอก คัมภีร์ก็ดี โบสถ์วิหารก็ดี เป็นเครื่องประกอบแต่เพียงส่วนนอก หาได้เกี่ยวถึงจิตใจหรือจริยธรรม อันบุคคลพึงปฏิบัติเพื่อคติแห่งชีวิตไม่
2.    ความรอบรู้เรื่องพระเจ้า ควรจะเป็นความรอบรู้ที่ถูกต้อง ประกอบด้วยเหตุผล ประกอบด้วยศรัทธา ความรู้สึกสำนึก และศาสนา
3.    ความรอบรู้เรื่องพระเจ้า จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของธรรมชาติและความจริงอันมั่นคง

ศรัทธา 4 คือ

1.    ศรัทธา มีพระเจ้าองค์เดียว พระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในจักรวาล เป็นผู้ทรงปัญญา มีความบริสุทธิ์ แต่พระองค์ไม่สำแดง และสำแดงไม่ได้ซึ่งพระรูปของ พระองค์เองนั้นแก่บุคคลใด
2.    โลก เป็นไปตามระเบียบ ตามธรรมชาติ เพื่อความดี ในสุดท้ายโลกกำลัง หมุนไป เพื่อความราบรื่นที่สุดแห่งโลกจะมีแต่ความดี
3.    ชีวิต จะมีการสืบต่อไปชั่วกาลยาวนาน ชีวิตนั้นเป็นอมตะ เพราะว่าพระเจ้าทรงพอพระทัยในการสร้างของพระองค์ พระองค์จะไม่ทรงแยกชีวิตออกไปจากโลก
4.    พระเจ้าเป็นผู้ทรงอำนาจอันถาวร พระอำนาจนั้นส่งให้เกิดคุณความดีและความรักเป็นภราดร

    พวกดีอิสต์ปฏิเสธเพศอำนาจหลายอย่างที่ปรากฏในคัมภีร์เก่าและคัมภีร์ใหม่ อาทิเรื่องพระเยซูภายหลังสิ้นชีพ ทรงมาปรากฏพระกายให้เห็นด้วยพระอานุภาพของพระเจ้าหรือของพระองค์เองอย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นเรื่องไม่มีเหตุผล และเชื่อว่าตามเหตุผลเมื่อมนุษย์เป็นคนดีอยู่ตามธรรมชาติแล้ว เรื่องของนรกเป็นอันมีไม่ได้ พวกดีอิสต์เป็นพวกมองโลกข้างดี เป็นพวกถือความรัก ความเมตตาปรานี เป็นรากฐานของชีวิต และที่ดีที่สุด คือ เป็นผู้ถือเหตุผลเป็นใหญ่

4.5    นิกายมอร์มอน (Mormonism)

    ลัทธิมอร์มอน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า The Charch of Jesus Christ คือ นิกาย ยีซัสไคร้สต์ของบรรดาสาวกผู้มาในภายหลัง ศาสนิกของลัทธินี้ มีคัมภีร์สำคัญเล่มหนึ่ง เรียกว่า Book of Mormon ผู้ตั้งลัทธิ ชื่อ โยเซฟ สมิธ เป็นชาวนาเมืองเวอร์มอนด์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2324 เป็นเด็กเอาใจใส่ในศาสนาเมื่ออายุ 15 ปี เกิดศรัทธาเชื่อว่าตนเองเป็นผู้ได้รับสาส์นมาจากสวรรค์ตามตำนานว่า มีเทพเจ้าองค์หนึ่งชื่อ โมโนรี นำเอาข้อความในคัมภีร์มาบอกแก่โยเซฟ สมิธ ประหนึ่งว่าเป็นความฝัน เทวดาองค์นั้นมาเข้าฝันบอกความแก่สมิธว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 963 ได้ฝังคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ไว้เล่มหนึ่งที่ภูเขาคุโมร่าห์ ทางภาคเหนือของนิวยอร์ก เทวดาองค์นั้นบอกว่าคัมภีร์เล่มนี้ เทพผู้เป็นบิดาของตนชื่อ มอร์มอน รจนาไว้ย่อๆ มีเหลืออยู่แต่ใจสำคัญขอให้ไปเอามา โยเซฟ สมิธ ก็ไปเอาคัมภีร์นั้นมา นัยว่ามีคำจารึกเป็นภาษาโบราณ สมิธแปลออกพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2373

    หลักของมอร์มอน มีดังนี้

1.    เราเชื่อในพระเจ้า ผู้เป็นพระบิดานิรันดร เราเชื่อในพระบุตร (Son) ของพระองค์และเชื่อในพระจิต
2.    เราเชื่อว่ามนุษย์จะได้รับการลงโทษ เพราะบาปของคนแต่ละคน หาใช่ต้อง รับบาปอันตกทอดมาจากอาดัม ซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกของพระเจ้านั้นหาไม่
3.    เราเชื่อว่ามนุษย์ชาติทั้งหลายจะพ้นภัยได้ด้วยการช่วยเหลือของพระเยซูเจ้า โดยการที่มนุษย์ยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
4.    เราเชื่อว่าคำสอนเหล่านี้ คือ ศรัทธาในพระเยซู ในความสำนึกผิด ในพิธีไถ่บาป และในพระจิต
5.    เราเชื่อว่ามนุษย์จะเข้าถึงพระเจ้า โดยการสั่งสอนของศาสดาพยากรณ์ โดยการสั่งสอนบัญญัติ และการรักษาไว้ซึ่งบัญญัติ
6.    เราเชื่อในความมีอยู่ของสถาบันศาสนาแต่เก่าก่อนของสาวกของศาสดาพยากรณ์ของนักแสดงธรรมและผู้ประกาศศาสนาอื่นๆ
7.    เราเชื่อว่ารางวัลแห่งการใช้วาจา (สั่งสอน) การพยากรณ์ (คือ การสั่งสอนของศาสดาพยากรณ์) เทพนิมิต และรักษาใจให้สูงขึ้นได้ด้วยศรัทธา
8.    เราเชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นวจนะของพระเจ้า เมื่อคัมภีร์นั้นได้ถ่ายทอดออกมาอย่างถูกต้องและเชื่อว่าคัมภีร์มอร์มอนเป็นวจนะของพระเจ้า
9.    เราเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้เห็นซึ่งสิ่งทั้งหลาย และเชื่อว่าพระองค์จะทรงเปิด สิ่งสำคัญอื่นๆ อีก ที่มีส่วนสัมพันธ์อยู่กับอาณาจักรของพระเจ้า
10.    เราเชื่อในการรวมกลุ่มของชาวอิสราเอล และการจะรักษาให้คงไว้ซึ่งเผ่าอิสราเอลทั้ง 10 เผ่า และเชื่อว่าองค์การไซโอนจะตั้งขึ้นได้ในโลก และเชื่อว่าโลกนี้จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นเป็นสวรรค์
11.    โดยความสำนึกที่ให้เราระลึกอยู่ เราขออ้างถึงสิทธิแห่งการเคารพบูชาต่อพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ และอนุญาตให้คนทั้งหลายมีสิทธิเช่นเดียวกัน ขอให้เขาทั้งหลายจงบูชาพระองค์ จะด้วยวิธีใดที่ไหน หรืออย่างไร สุดแต่เขาจะทำได้
12.    เราเชื่อในการที่เราเป็นพลเมืองของกษัตริย์ ของผู้ปกครอง ของประธานาธิบดี ของท่าน ผู้พิพากษา เราขอเชื่อฟังท่าน ขอเคารพท่าน ขอรักษาไว้ซึ่งกฎแห่งรัฐ ซึ่งเราอาศัยอยู่
13.    เราเชื่อว่าเราจะเป็นคนมีเกียรติ เป็นคนจริง มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และกระทำความดีแก่คนทั้งหลาย

    โยเซฟ สมิธ ประกาศคำสอนของตน ได้สาวกมาพอสมควร แต่ต้องประสบ กับผู้คัดค้านไม่น้อยเหมือนกัน ใน พ.ศ. 2372 ก็ประกาศตัวเป็น ผู้อันพระเจ้าทรงเจิมแล้วŽ เหมือนกับพระเยซูได้รับเจิมจากยอห์น ในปีต่อมา สานุศิษย์ช่วยกันสร้างวิหารขึ้นเป็นครั้งแรกในนิวยอร์ก โยเซฟ สมิธตั้งตัวเป็นศาสดาพยากรณ์คนแรกของโบสถ์หลังนี้ จากนั้นก็เที่ยวสอนทั่วไปเรื่อย มลรัฐโอไฮโอ แอริโซนา และอิลลินอยส์ กลายเป็นศูนย์กลางของมอร์มอน

4.6    นิกายคริสเตียนไซแอนส์ (Christian Science)

    การที่เรียกว่า นิกายไซแอนติสต์ ผู้ก่อตั้งเป็นหญิงชื่อ มารี เบเกอร์ เอดดี้ ชาวอเมริกัน มีเรื่องเล่าค่อนข้างพิสดารว่า เมื่อ พ.ศ. 2409 เอดดี้อ่านคัมภีร์มัธทาย บทที่ 9 หัวข้อที่ 6-8 ในขณะที่กำลังป่วยหนัก เกิดศรัทธาอะไรขึ้นมาไม่ทราบ ความเจ็บป่วยหายไปทันที ตั้งแต่นั้นมา เธอเกิดความเลื่อมใสในศาสนาอย่างแรง ประกาศแก่คนทั้งหลายว่า พระเจ้านั้นคือดวงใจของเรา การรักษาโรคทางวิทยาศาสตร์ คือ การรักษาโรคด้วยอำนาจใจ ได้แก่ อำนาจของพระเจ้า พระเจ้าในที่นี้ เอดดี้ หมายถึง พระเยซู เอดดี้ประกาศคำสอนตามแบบวิทยาศาสตร์ของตนเองได้ประมาณ 10 ปี ออกหนังสือเผยแผ่และตั้งโบสถ์ ”ไซแอนติสต์Ž” ขึ้นในบอสตันเมื่อ พ.ศ. 2422 ด้วยความช่วยเหลือด้านงบประมาณจากผู้เลื่อมใส และแต่งหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง ให้ชื่อว่า Science and Health with a key to Scriptures ถือเอาหนังสือเล่มนี้เป็นคัมภีร์

     เอดดี้ถือกฎซึ่งปรากฏในคัมภีร์โยฮัน บทที่ 8 ข้อที่ 32 ว่า ”สูเจ้าจะต้องรู้ความจริงและความจริงจะทำให้สูเจ้าเป็นอิสระ”Ž กฎข้อนี้กลายเป็นข้อปฏิบัติอยู่ในหมู่ศาสนิกของนิกายไซแอนติสต์ ในปัจจุบันมีโบสถ์ไซแอนติสต์อยู่ทั่วโลกประมาณ 3,000 แห่ง มีกว่า 2,000 แห่ง ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา

4.7    นิกายยูนิเตเรียน (Unitarianism)

    ยูนิเตเรียน ชื่อนี้ออกมาจากคำสอนที่มีว่าพระเจ้าเป็นหนึ่ง ปฏิเสธหลักตรีเอกานุภาพ หรือหลักตรีนิติ ซึ่งถือว่าอำนาจทั้งสาม คือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต รวมเข้าเป็นหนึ่งนั้นใช้ไม่ได้ นอกนั้นยูนิเตเรียนประกาศว่า ถ้าจะนับถือพระเจ้า พระเจ้านั้นก็ต้องเป็นองค์เดียว นอกจากนั้นยังปฏิเสธคำสอนเรื่องบาปตกทอดของอาดัม ปฏิเสธเรื่องมนุษย์ต้องได้รับโทษหรือมีบาปเป็นนิรันดร และเรื่องการเปลื้องบาป ซึ่งมีอยู่ในคัมภีร์เก่าทั้งหมด

    ยูนิเตเรียนต้องการเสรีภาพในทางศาสนาไม่ยอมผูกมัด ด้วยบัญญัติหรือพิธีกรรมใด เพียงให้มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง เป็นรากฐานเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่ก่อนยูนิเตเรียนปฏิเสธ คัมภีร์ไบเบิล เพิ่งมารับรองเมื่อไม่นานนี้เอง แต่กระนั้นก็ยังอธิบายว่าไม่ให้งมงายในคัมภีร์ ให้ถือเอาเหตุและผลเป็นหลัก

     ผู้นำของนิกายยูนิเตเรียนมีอยู่ด้วยกันหลายคน เช่น วิลเลียม เอลเวอรี แซนนิ่ง ธีออโดร์ ปากเกอร์ ราฟวัลโด อีเมอร์สัน และฮามิลตัน ทอม เป็นต้น นิกายนี้มีการประชุมว่า เสรีภาพทางศาสนาเป็นเรื่องสำคัญไม่ยอมถูกผูกมัดด้วยบัญญัติหรือพิธีกรรมแสดงว่ามีผู้นับถือกัน เป็นหลักฐานมีโบสถ์วิหารของยูนิเตเรียนอยู่ในสหรัฐอเมริกามากกว่าที่อื่น

4.8    นิกายพยานพระเยโฮวาห์

    นิกายพยานพระเยโฮวาห์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Jehovahžs Witnesses ตามประวัติ มีว่าประมาณ 80 ปีมานี้ มีพวกโปรเตสแตนต์หลายพวกด้วยกัน ตามประเพณีรู้สึกว่าสับสนในคำสอนและความไม่ชัดแจ้งของหลักคำสอนต่างๆ ในศาสนาคริสตŒ จึงได้มีการรวมกลุ่มกัน จัดขึ้นที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย หาช่องทางการปฏิบัติคำสอนให้กลับคืนเข้าสู่รูปแบบฉบับเดิม โดยเฉพาะแบบอย่างในการนมัสการพระเจ้า คือ พระเยโฮวาห์

    ผู้ตั้งนิกายนี้ชื่อ ชาร์ล รัสเซลล์ (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2459) เป็นชาวอเมริกา ได้รับการศึกษาอย่างสามัญ แต่เป็นคนใฝ่ในทางศาสนา ได้พบคำสอนที่กล่าวถึงเรื่องมนุษย์ต้องได้รับโทษตกทอดมาจากอาดัม และต้องมีบาปอยู่อันเป็นนิรันดร ซึ่งเนื้อความนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์เก่าก็ปฏิเสธ ประกาศว่า คำสอนอันนี้ผิด และประกาศว่า พระเยซูจะเสด็จกลับมา สู่โลกเป็นครั้งที่สองในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2517 ปีนั้น และวันนั้นเป็นวันขอบคุณพระเยโฮวาห์หรือวันแห่งพยานพระเยโฮวาห์ และภายหลังจากนี้ มนุษย์ที่ตายไปจะกลับคืนมามีชีวิตทั้งหมด การพิพากษาความผิดของมนุษย์จะต้องสิ้นเวลาราว 1,000 ปี เมื่อเสด็จมาแล้วจะมีการ ตั้งอาณาจักรของเมสิอาห์ขึ้นมาบนพื้นธรณี

    ตามที่สั่งสอนกันมา พยานแห่งพระเยโฮวาห์มีการออกนามสกุลศาสดาพยากรณ์ ผู้อุบัติมาก่อนสมัยพระเยซู มีโนอาห์ อับราฮัม โมเสส เจรามิอาห์และถึงพระเยซูเป็นคนสุดท้าย คำสอนอ้างว่าศาสดาพยากรณ์เหล่านี้ คือ พยานแห่งพระเยโฮวาห์ คำสอนทำให้ความตื่นเต้นเกิดแก่ชนชั้นกรรมกรและคนชั้นกลางอย่างกว้างขวาง ใน พ.ศ. 2421 คณะพยานพระเยโฮวาห์ ได้ตั้งสมาคมเผยแผ่ลัทธิของตนเองเรียกว่า หอสังเกตการณ์ ได้พิมพ์หนังสือชื่อเดียวกับสมาคม ออกจำหน่ายไปอย่างกว้างขวาง สมาคมนักเรียนไบเบิลระหว่างชาติ ได้เป็นกำลังในการจำหน่ายและเผยแผ่ลัทธิของนิกายนี้เป็นอันมาก สมาคมนี้พิมพ์หนังสือชุดหนึ่ง เรียกว่า เป็นจำนวนหลายล้านเล่ม จำหน่ายดีไม่มีเหลือ ได้ผลเป็นเงินทองและความเลื่อมใส ช่วยให้ คณะพยานพระเยโฮวาห์เผยแผ่อยู่ทั่วโลก ไม่น้อยกว่า 2,100 เล่ม ชาร์ล รัสเซลล์ ผู้เริ่มตั้ง เพิ่งสิ้นชีพ เมื่อ พ.ศ. 2459 ระหว่างสงครามโลกครั้งแรก

    หลักของนิกายพยานพระเยโฮวาห์อ้างคำสอนอันปรากฏในคัมภีร์ไอซาห์ บทที่ 23 ข้อ 10-12 ที่กล่าวไว้ว่า "พระเยโฮวาห์ตรัสว่า สูเจ้าเป็นพยานของเรา สูเจ้าเป็นผู้รับใช้ซึ่งเราเกิดขึ้นก่อนหน้าเรา และเกิดขึ้นภายหลังเรา พระเยโฮวาห์ได้ตรัสว่าเราได้ประกาศแล้ว เราได้ช่วยแล้ว เราได้สำแดงแล้ว ไม่มีพระเจ้าอื่นในระหว่างสูเจ้า เพราะฉะนั้นสูเจ้าจงเป็นพยานแห่งเรา ฯลฯŽ”

4.9    นิกายเซเวนต์ตี้เดย์ แอดเวนทิสต์ (Seventy-day Adventists)

    นิกายแอดเวนทิสต์ หรือที่เรียก Seventy-day Adventists เป็นนิกายของผู้ที่มีความเชื่อว่าเวลาที่พระเยซูมาอุบัติใหม่จะมีขึ้นในระหว่างที่โลกได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เวลาแห่งการเสด็จมาอุบัตินั้น กำหนดว่า 4 อาทิตย์ ก่อนวันคริสต์มาส (25 ธันวาคม) แต่ละวันอาทิตย์ มีการตระเตรียมเพื่อการฉลองในวันประสูติ (25 ธันวาคม) ที่เรียกว่า Feast of Nativity

4.10    นิกายอัสสัมชัญ (Assumption)

    นิกายอัสสัมชัญสอนให้นับถือพระแม่มารีพระมารดาของพระเยซูผู้บริสุทธิ์ สอนว่าพระแม่เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ภายหลังเมื่อสิ้นชีพแล้วด้วยอำนาจแห่งพระบุตร คือ พระเยซู

      คติอันนี้เริ่มขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 4 แห่งคริสต์ศักราชโดยศาสนาจารย์คนหนึ่ง ชื่อ เอส เอปิฟาอุส คนนี้เชื่อและสอนต่อไปว่าพระแม่มารีผู้บริสุทธิ์ จะกลับมาอุบัติอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับพระบุตร คือ พระเยซู

     นิกายอัสสัมชัญ มีพิธีสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า Feast of Assumption เป็นการบูชาวิญญาณของพระแม่มารีผู้บริสุทธิ์ กระทำในวันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี

4.11 นิกายเซนต์คาเบรียล (Gabriel)

   คาเบรียล เป็นชื่อของเทวดาชั้นมหาราชองค์หนึ่ง ซึ่งชาวคริสต์ถือว่า พระเยโฮวาห์เจ้าเป็นผู้ส่งลงมาบันดาลให้เกิดเทพนิมิตต่อหน้าศาสดาพยากรณ์ดาเนียล ดังข้อความปรากฏในคัมภีร์ดาเนียล บทที่ 8 ข้อ 16-27 ว่า เทวดาองค์หนึ่งเป็นองค์เดียวกับที่นำโองการของ พระอ้าหล่าเจ้ามาเป็นนิมิตแก่พระมะหะหมัด แต่เรียกนามว่า ยิบราอิล ในเรื่องมีอยูˆวˆา

   มหาราชองค์นี้มาสอนศาสดาพยากรณ์ดาเนียลอยู่ถึง 17 สัปดาห์ และเชื่อกันว่าเป็นผู้มาประกาศการกำเนิดของยอห์น ผู้ให้ศีลจุ่มแก่พระเยซู และมาประกาศว่าพระแม่มารี ผู้บริสุทธิ์ เป็นมารดาของพระเยซูด้วย

4.12    นิกายแบปทิสต์ (Baptist)

    นิกายนี้คือพวกที่นับถือว่า การทำศีลจุ่ม เป็นพิธีที่ล้างบาปได้โดยแท้จริง ตามประวัติการรับพิธีศีลจุ่มของพระเยซูนั่นเอง ความนับถือของนิกายนี้กว้างขวางออกไปว่า พระเยซูและบรรดาสาวกผู้ใกล้ชิดของพระองค์ทั้ง 12 คนเท่านั้น เป็นผู้สั่งสอนที่แท้จริง สาวกทั้ง 12 คน เป็นผู้สืบหลักศาสนาที่แท้จริงมาด้วยเทวอำนาจโอวาทต่างๆ ของพระเยซูดำรงความแท้จริงอยู่ได้ เพราะการกระทำของสาวกทั้ง 12 สรุปแล้วพวกนี้นิกายนี้นับถือคุณความดีของสาวก 12 คน ว่าเป็นผู้สืบต่อโอวาทของพระเยซูอย่างแท้จริง

    นิกายแบปทิสต์ แยกออกเป็นแบปทิสต์ย่อยๆ อีกกว่า 10 นิกาย

4.13    นิกายคาลวิน

   นิกายนี้ จอห์น คาลวิน นักบวชชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ตั้งระหว่าง พ.ศ. 2052-2107 คติของคาลวินรับความสูงสุดและความศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์ว่า เป็นโองการของพระเจ้า ยอมรับนับถืออานุภาพของพระจิต ที่บันดาลให้เกิดสิ่งใดได้ทุกสิ่ง แม้แต่พระคัมภีร์สอนให้มนุษย์กระทำหน้าที่เพื่อน้ำพระทัยของพระเจ้า อ้างตัวอย่างอาดัมมนุษย์คนแรกของพระเจ้า ผู้ไม่ทำตามคำสั่งของพระเจ้าถือว่าละหน้าที่เป็นบาป

   คาลวินสนับสนุนโปรเตสแตนต์อย่างรุนแรงมาก แต่มีคติที่ผิดแผกไปจากโปรเตสแตนต์เดิม ก็เพียงแต่การนับถือพระคัมภีร์เท่านั้น

4.14    นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian)

    เพรสไบทีเรียน มาจากคำว่า เพรสไบเทอร์ แปลว่า พระผู้เป็นใหญ่ เป็นนิกายหนึ่งของโปรเตสแตนต์ นิกายนี้มุ่งหมายให้มีการจัดการปกครองในวงการของนักบวชให้เป็นระเบียบแบบแผน เช่น ให้มีหน้าที่ปกครองพวกหนึ่ง ให้มีหน้าที่รักษาพระบัญญัติ ทำพิธี และรักษาสถานที่ไปแต่ละพวก มีบิชอป (หัวหน้านักบวช) เป็นประธาน แล้วมีมิสเตอร์ มินิสเตอร์รวมกันทำงานเหมือนสภาขึ้นตรงต่อบิชอป เกิดขึ้นด้วยการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงหลักเดิมของโปรเตสแตนต์ ให้คงที่อยู่ตามหลักของลูเทอร์

   ความเชื่อของเพรสไบทีเรียน มีศรัทธาเป็นหลักใหญ่ ถือว่าพระพรของพระเจ้า เพื่อช่วยเปลื้องทุกข์ให้มนุษย์นั้นมาถึงโดยตรงแก่ผู้มีศรัทธา

4.15    นิกายเมธอดิสต์ (Methodist)

   นิกายเมธอดิสต์เป็นนิกายใหญ่ในฝ่ายโปรเตสแตนต์อีกนิกายหนึ่ง ยอห์น เวสลีย์ (ระหว่าง พ.ศ. 2256-2334) ชาวอังกฤษเป็นผู้ตั้ง

   ความมุ่งหมายของผู้ก่อตั้งต้องการให้การนับถือศาสนาหรือพระเจ้าเป็นไปโดยอิสระแก่ใจเป็นไปโดยเหตุผลให้เหมาะแก่ชีวิตของบุคคล ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งต้องการรวบรวมพวกโปรเตสแตนต์ที่แตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ ได้อยู่ในแบบเดียวกัน

     ฝ่ายโปรเตสแตนต์ยังมีนิกายลูเทอแรน แองกลิคัน และอื่นๆ ส่วนใหญ่มีกิจปฏิบัติคล้ายๆ กัน

4.16    นิกายฟรานซิสกันส์ (Franciscans)

    นิกายฟรานซิสกันส์ (Franciscans) ชื่อนี้มาจาก Saint Francis of Assisi (ระหว่าง พ.ศ. 1724-1769) เกิดที่อัสซีซี ประเทศอิตาลี นิกายนี้ได้ชื่อจากผู้ตั้ง เป็นฝ่ายโรมันคาธอลิกที่เคร่งครัดที่สุด และมีชื่อที่สุดที่บวชทนไม่ว่าชายหรือหญิง

    นิกายฟรานซิสกันส์ มีนักบวชเรียกว่า ไฟร์อาร์ แบ่งออกเป็น 4 พวก คือ พวกที่ นุ่งห่มผ้าสีเทา พวกนุ่งห่มผ้าสีน้ำตาล พวกนุ่งห่มผ้าสีดำและพวกที่นุ่งห่มผ้าสีขาว ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามสังกัดของนิกายในกลุ่มเดียวกัน 4 สังกัด

    นิกายฟรานซิสกันส์ เป็นนิกายทิ้งสมบัติบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัด จำกัดเครื่องใช้ จำกัดอาหาร ยอมรับทานจากผู้อื่น พยายามปฏิบัติตนให้เหมือนพระเยซูได้เท่าไร ยิ่งเป็น ฟรานซิสกันส์ได้เท่านั้น

    ศาสนาคริสต์ซึ่งมีนิกายใหญ่อยู่ 3 นิกาย คือ ดังที่อธิบายมาแล้ว ยังมีแตกแยกออกเป็นนิกายน้อยใหญ่อีกเป็นอันมาก มีจริยธรรมวางไว้เพื่อคริสต์ศาสนิกชนจะพึงปฏิบัติตามคำสอนของผู้เป็นศาสดา

 

5. คัมภีร์ในศาสนา

    คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล หรือภาษาอังกฤษว่า Holy Bible คำว่า Bible มาจากภาษาละตินและภาษากรีกว่า Biblia แปลว่า หนังสือหลายเล่ม (The Books) เป็น คำพหูพจน์ของคำว่า Biblion คัมภีร์ไบเบิลมีกำเนิดมาจากการเขียนขึ้นของมนุษย์โดยการดลใจจากพระเจ้า (Inspiration) เป็นคัมภีร์ซึ่งชาวคริสต์ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระวาจาของพระเจ้า (The Word of God)

     คัมภีร์ไบเบิล4) แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ คือ

ก. พระคัมภีร์เก่า หรือพันธสัญญาเดิม (Old Testament)

   ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ร่วมกันทั้งชาวยิวและชาวคริสต์ มีความจุประมาณ 3/4 ของคัมภีร์ไบเบิลทั้งหมด บันทึกไว้เป็นภาษาฮีบรูโบราณ และภายหลังได้แปลเป็นภาษาละตินและภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ

     ตอนที่ 1    เพนทาทุก (Pentateuch) แปลว่า หนังสือ 5 เล่ม ซึ่งบางครั้งรวม เรียกว่า คัมภีร์โทราห์ (Torah) แปลว่า กฎหมาย เป็นคัมภีร์ส่วนที่ได้บันทึกไว้ถึงการกระทำและกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พระเจ้าได้ทรงกำหนดให้ชาวยิวยึดถือปฏิบัติ ในเชิงประวัติแล้วอาจกล่าวได้ว่า เพนทาทุกเป็นหนังสือที่ว่าด้วยการเริ่มต้นของชาวยิว 5 เล่ม คือ

-    ปฐมกาล (Genesis) หนังสือเล่มแรก คือ ความเป“นมาของจักรวาลและมนุษยชาติ รวมทั้งเรื่องราวของมนุษยŒคูˆแรก คือ อาดัมและอีวา เรื่อยมาจนถึงอับราฮัมได‰ทำสัญญาพิเศษตˆอพระเจ‰า สัญญานี้ได‰สืบทอดตˆอมาในบรรดาลูกหลานของอับราฮัมซึ่งเป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอลนั่นเอง

-    อพยพ (Exodus) เป็นหนังสือเล่มที่สอง กล่าวถึงเรื่องราวที่พระเจ้าได้ช่วย ชาวอิสราเอลให้รอดพ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ โดยทรงมอบหมายให้โมเสสเป็นผู้นำชาวอิสราเอลออกมาสู่ความเป็นอิสระ นอกจากนั้นพระเจ้ายังทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่สายตาของชาวอิสราเอลด้วย เช่น การช่วยให้ชาวอิสราเอลรอดพ้นจากเงื้อมมือ ของพวกอียิปต์ที่ทะเลแดง เป็นต้น จากนั้นก็กล่าวถึงพันธสัญญาที่พระเจ้ามอบหมายให้แก่ ชาวอิสราเอลผ่านโมเสสที่ภูเขาซีไน เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการ

-    เลวีนิติ (Leviticus) กล่าวถึงวิธีประกอบศาสนพิธีในกรณีต่างๆ รวมทั้งกฎ ข้อห้าม โดยเฉพาะกฎที่นักบวชต้องถือปฏิบัติโดยย่อ อาจกล่าวได้ว่าอพยพและเลวีนิติ เป็นรากฐานแห่งกฎเกณฑ์ที่จะรักษาไว้ซึ่งพันธสัญญาที่ชาวอิสราเอลได้ถวายไว้แก่พระเจ้า

-    กันดารวิถี (Numbers) และ - เฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) เป็นหนังสือที่เล่าถึงประวัติของชาวอิสราเอลที่เร่ร่อนอยู่นานถึง 40 ปี จนได้เข้าไปสู่ที่ราบโมอับ และในที่สุดก็จะได้เข้าสู่ดินแดนคานาอัน ซึ่งถือเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land) ต่อไป

       ตอนที่ 2    ศาสดาพยากรณ์ (Prophets) พระคัมภีร์เก่าส่วนนี้เป็นบันทึกเรื่องราวคำสอน และคำทำนายของศาสดาพยากรณ์ของชาวยิวซึ่งเกิดขึ้นในสมัยต่างๆ กัน แบ่งเป็น บทย่อยได้ถึง 21 ตอน โดยเนื้อหาสาระแล้วอาจแบ่งเป็นภาคใหญ่ ๆ ได้ 3 ภาค คือ ภาคประวัติศาสตร์ ภาคศาสดาพยากรณ์ และภาคศาสดาพยากรณ์ย่อย (เพราะเรื่องราวของศาสดาพยากรณ์เหล่านี้มีน้อยกว่า)

      ตอนที่ 3    ฮาจิโอกราฟา (Hagiographa) พระคัมภีร์เก่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งไม่อาจจัดอยู่ในจำพวกที่กล่าวถึงแล้ว เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น เป็นวรรณคดีหลัก ของพันธสัญญาเดิมที่มีความไพเราะในเชิงกวีสูง ได้แก่ เพลงสดุดี สุภาษิต เพลงคร่ำครวญ และเป็นพงศาวดาร เป็นต้น

     ข. พระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่ˆ (New Testament)ในขณะที่พระคัมภีร์เก่าเป็นที่ยอมรับนับถือทั้งในหมู่ชนชาวยิว และชาวคริสต์ แต่พระคัมภีร์ใหม่กลับเป็นที่ยอมรับนับถือกันในหมู่ชนชาวคริสต์เท่านั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ พระวรสาร (Gospels) มีจำนวน 4 เล่ม หนังสือกิจการอัครธรรมทูต (Acts) 1 เล่ม จดหมายของบรรดาสาวกถึงคริสต์ชนในที่ต่างๆ 21 เล่ม (Epistles) และหนังสือวิวรณ์ (Revelation) 1 เล่ม ดังนี้


พระวรสาร 4 คัมภีร์ (The Gospels)

      คัมภีร์ไบเบิลในส่วนที่เป็นพระวรสาร 4 คัมภีร์ มีดังนี้

1. พระวรสารของนักบุญมัทธิว (มธ.) มีจำนวน 28 บท
2. พระวรสารของนักบุญมาระโก (มก.) หรือมาร์ค (Mark) มีจำนวน 16 บท
3. พระวรสารของนักบุญลูกา (ลก.) หรือลูค (Luke) มีจำนวน 24 บท
4. พระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน.) มีจำนวน 21 บท

    เนื้อหาในพระวรสารเกี่ยวกับการเทศน์สอนสาวกเพื่อยืนยันสิ่งที่พวกเขาได้ประสบมา ในขณะมีชีวิตอยู่ร่วมกับพระเยซู และยืนยันว่าพระเยซูเป็นพระเมสสิอาห์บุตรของพระเจ้า ดังนั้นพระวรสารทั้ง 4 เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับชีวิต และคำสอนของพระเยซูที่ไม่ธรรมดา ซึ่งไม่เหมือนหนังสือประวัติบุคคลทั่วๆ ไป แต่เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ว่า พระเยซูเป็นพระเจ้าจริง

     พระวรสารทั้ง 4 เล่มนี้ เฉพาะของนักบุญมัทธิวที่เขียนด้วยภาษาอาราเมอิค (Aramaic) ถูกยกย่องให้เป็นเล่มแรก ส่วนฉบับปัจจุบันที่อยู่ในคัมภีร์ไบเบิลนั้น ไม่ใช่ฉบับเดียวกับที่ใช้ภาษาอาราเมอิคแต่เป็นฉบับที่มีผู้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยนำเอาฉบับที่เป็นภาษากรีก มารวมกับฉบับของนักบุญมัทธิวและของนักบุญมาร์คหรือมาระโก รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏนาม ทั้งหมดนี้ถูกเรียบเรียงใหม่แต่ยังคงเรียกว่าพระวรสารของนักบุญมัทธิว ในพระวรสาร เล่มนี้ได้กล่าวถึงกำเนิดของพระเยซู การเทศนาสั่งสอนโดยเฉพาะการเทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแถลงการณ์ฉบับแรกของพระเยซูที่ประกาศโครงการปฏิรูปแนวทางดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเชื่อกันว่าเทศนาบทนี้เป็นตอนที่ไพเราะที่สุดในงานนิพนธ์ของนักบุญมัทธิว

     สำหรับพระวรสารของนักบุญมาระโกหรือมาร์ค (Mark) นั้น มีเนื้อหาที่เน้น เฉพาะการเป็นพระเมสสิอาห์ของพระเยซูมากกว่าเน้นเสนอคำสอน

    ส่วนพระวรสารฉบับของนักบุญลูกาหรือลุค (Luke) เป็นพระวรสารที่เน้นเฉพาะในเรื่องคำสอนของพระเยซู แต่มีการจัดลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ตามแบบพระวรสารของนักบุญมัทธิว

    พระวรสารทั้ง 3 เล่มข้างต้นที่กล่าวมานี้ มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมาก ซึ่งต่างจากพระวรสารของนักบุญยอห์นที่มีเนื้อหาบางส่วนเป็นลักษณะเฉพาะ และไม่ปรากฏใน พระวรสารเล่มอื่นๆ เพราะเหตุว่าท่านเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดพระเยซูมากที่สุด และมีส่วนร่วมในชีวิตของพระเยซูมาโดยตลอด จึงได้รับรู้ในสัจธรรมต่างๆ มากมาย

     พระวรสารของนักบุญยอห์นนี้มีเนื้อหาเน้นหนักการประกาศว่า พระเยซูเป็น พระเมสสิอาห์หรือพระคริสต์ เพื่อมาไถ่บาปมนุษย์ด้วยการรับทรมานต่างๆ จนต่อมาได้กลับคืนชีพ และได้ส่งสาวกออกไปประกาศคำสอนพร้อมด้วยพระจิตของพระเจ้าและอำนาจในการยกบาป นักบุญยอห์นจึงเป็นพยานสำคัญที่ยืนยันความเป็นพระเมสสิอาห์ของพระเยซูเจ้า

      นอกจากนี้ พระวรสารเล่มนี้ยังกล่าวถึงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของพระเยซู เช่น ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลอภัยบาป ศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ต่อมาได้กลายเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์


หนังสือกิจการของอัครทูต (The Acts of the Apostles)

    หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการเผยแผ่ศาสนาของสาวกคนสำคัญ หลังจากที่พระเจ้าได้รับพระเยซูขึ้นสู่สวรรค์ การเผยแผ่ศาสนานี้อัครทูตได้ทำสิ่งอัศจรรย์หลายอย่างในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นได้รับมอบอำนาจนี้จากพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ ทำให้มี ผู้นับถือเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก การเผยแผ่ศาสนาของอัครทูตหลายท่านเป็นไปอย่างเข้มแข็งและมั่นคง ทำให้ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์เกิดความขัดเคืองใจหาทางกลั่นแกล้งด้วยความริษยา แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้รายงานกิจการของอัครทูตทั้งหมด แต่ก็ทำให้เราเห็นถึงความ ตั้งใจมั่นและความเด็ดเดี่ยวของท่านเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซนต์ปอลและเซนต์ปีเตอร์ มีส่วนทำให‰ศาสนาคริสต์แพร่หลายออกไปจนถึงต่างแดน ทำให้ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะชนชาติยิวเท่านั้น แต่คนต่างชาติทุกคนก็สามารถได้รับหนทางแห่งความรอดได้เช่นกัน


จดหมายของบรรดาสาวก (The Pauline and Cathplic Epistles)

      จดหมายเหล่านี้มีทั้งหมด 21 เล่ม ซึ่งเรียงลำดับตามที่จัดไว้ในพระคริสตธรรมใหม่1 มีดังนี้คือ

1.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวโรม
2.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ (Corinthians) ฉบับที่หนึ่ง
3.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ (Corinthians) ฉบับที่สอง
4.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย (Galathians)
5.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (Ephesians)
6.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี (Philippians)
7.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี (Colossians)
8.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา (Thessalonians) ฉบับที่หนึ่ง
9.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา (Thessalonians) ฉบับที่สอง
10.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวทิโมธี (Timothy) ฉบับที่หนึ่ง
11.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวทิโมธี (Timothy) ฉบับที่สอง
12.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวทิตัส (Titus)
13.    จดหมายของท่านนักบุญเปาโลถึงชาวฟีเลโมน (Philemon)
14.    หนังสือถึงชาวฮิบรู (Hebrews)
15.    จดหมายของท่านนักบุญยาคอบหรือเจมส์ (James)
16.    จดหมายของท่านนักบุญเปโตร (Peter) ฉบับที่หนึ่ง
17.    จดหมายของท่านนักบุญเปโตร ฉบับที่สอง
18.    จดหมายของท่านนักบุญยอห์น (John) ฉบับที่หนึ่ง
19.    จดหมายของท่านนักบุญยอห์น ฉบับที่สอง
20.    จดหมายของท่านนักบุญยอห์น ฉบับที่สาม
21.    จดหมายของท่านนักบุญยูดา (Jude)

   จดหมายของนักบุญเปาโล (The Pauline Epistles) เป็นจดหมายที่นักบุญเปาโลเขียนถึงผู้คนในที่ต่างๆ เช่น ชาวคริสต์ในกรุงโรม คริสตจักรในเมืองโครินธ์ คริสตจักรใน แคว้นกาลาเทีย และศิษย์ชื่อทิโมธี เป็นต้น มีทั้งสิ้นรวม 13 ฉบับ มีเนื้อหาแสดงความคิดเห็นและตีความคำสอนของพระเยซู

   จดหมายของนักบุญยาคอบ (James หรือ Jacob) เป็นจดหมายที่นักบุญยาคอบ ผู้เป็นญาติผู้น้องของพระเยซูเขียนถึงชาวยิวในดินแดนต่างๆ เช่น ซีเรีย และอียิปต์ แสดงแนวทางปฏิบัติต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

  จดมายของนักบุญยอห์น (John) เป็นจดหมายที่นักบุญยอห์นเขียนขึ้นโดยมิได้ ระบุผู้รับ มีเนื้อหาแสดงประสบการณ์ทางศาสนาของท่าน

  จดหมายของยูดา (Jude) เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นโดยยูดาเพื่อเตือนชาวคริสต์ให้ตระหนักถึงความหลงผิดและการถูกชักจูงโดยนักเทศน์จอมปลอม และกล่าวถึงการลงโทษของพระเจ้า

  จดหมายของนักบุญเปโตร (Peter) เป็นจดหมายที่นักบุญเปโตรเขียนถึงชาวคริสต์เชื้อสายยิวที่มีอยู่ตามแคว้นต่างๆ นอกดินแดนปาเลสไตน์เพื่อให้อดทนต่อการถูกเบียดเบียนและความทุกข์ทรมานโดยยึดแนวทางของพระเยซูเป็นแบบอย่าง


หนังสือวิวรณ์ (Revelation)

   หนังสือวิวรณ์เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการเปิดเผยของพระเจ้าผ่านทางบรรดา ประกาศก กล่าวถึงชัยชนะของพระเจ้าและการสถาปนาอาณาจักรสวรรค์ โดยพระองค์ทรงเลือก นักบุญยอห์นให้เป็นพยานฝ่ายพระวจนะของพระเจ้าและเป็นพยานของพระเยซูคริสต์ใน ทุกเหตุการณ์ที่ท่านได้พบเห็น นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ ยังพยากรณ์เรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจบุคคลทั้งหลายให้รีบเร่งทำความดี เพราะว่าเวลาที่โลกจะสิ้นไปได้ใกล้เข้ามาแล้ว วันที่โลกถึงกาลแตกดับ พระเจ้าจะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาโลก ผู้ทำตามพระบัญญัติเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์อยู่ในอาณาจักรพระเจ้า ผู้ทำลายโลกและอยู่นอกคำสอนของพระเจ้าจะต้องถูกทำลายล้าง ภาษาที่ปรากฏในหนังสือวิวรณ์นี้มีลักษณะเป็นภาษาวรรณกรรมที่มุ่งสร้างศรัทธาของผู้นับถือและกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวการทำความชั่ว ดังนั้นผู้อ่านจะต้องระวังในการตีความ เพราะไม่สามารถตีความตามอรรถและพยัญชนะ ผู้อ่านจะต้องพยายาม ค้นหาแก่นที่ซ่อนอยู่ในภาษาสัญลักษณ์นั้น จึงจะเข้าถึงสัจธรรมที่พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะเปิดเผย

 

6. หลักคำสอนที่สำคัญ

   หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์เป็นหลักคำสอนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์และจริยธรรมทางสังคม ที่ควรกล่าวถึงในที่นี้มีอยู่ 5 เรื่อง คือ หลักตรีเอกานุภาพ หลักความรัก หลักอาณาจักรของพระเจ้า พระเจ้าผู้เป็นอันติมสัจจ์ และบทเทศนาบนภูเขา (ปฐมเทศนา)

12.6.1    หลักตรีเอกานุภาพ (Trinity)

     ตรีเอกานุภาพ ตามคำนิยามของศาสนจักร หมายถึง ความเชื่อว่าพระเจ้าทรง มี 3 ภาค ในองค์เดียวกัน ความหมายตามคำนิยามนี้เกิดขึ้นราวคริสตŒศตวรรษที่ 4 ถึง คริสตŒศตวรรษที่ 5 และมิได้มีบัญญัติอยู่ในพระคริสตŒธรรม (Bible) มาแต่เดิม ภาคทั้งสาม ของพระเจ้า ได้แก่ พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิต หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Holy Spirit)

     - พระบิดา หมายถึง พระเจ้าผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ผู้ทรงสร้างโลก สรรพสิ่ง และมนุษย์ และทรงรักมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น บิดารักบุตร ในพระคริสต์ธรรมใหม่5) พระเยซูทรงกล่าวถึงพระเจ้าในฐานะพระบิดาอยู่บ่อยครั้ง เช่น

     “ในพวกท่านมีใครบ้างที่จะเอาก้อนหินให้บุตรเมื่อเขาขอขนมปัง หรือให้งูเมื่อบุตรขอปลา เหตุนั้น ถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนบาปยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตนยิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จงประทานของดีแก่ผู้ที่ขอต่อพระองค์Ž”

      - พระบุตร หมายถึง พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้เสด็จมาในโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้าได้ พระเยซูทรงมีธรรมชาติแท้จริงเป็นพระเจ้า แต่เมื่อทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ก็ทรงทนทุกข์ทรมานเช่นมนุษย์ทั้งหลาย ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์และทรงฟื้นขึ้นจากความตายเช่นพระเจ้า (ผู้อยู่เหนือความตาย) กำเนิดของพระเยซูในฐานะพระบุตรของพระเจ้ามีปรากฏอยู่ใน พระคริสต์ธรรมใหม่6) ว่า ”พระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเราบริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง เราทั้งหลายได้เห็นพระสิริของพระองค์ คือพระสิริอันสมกับพระบุตร องค์เดียวของพระบิดาŽ” และ ”ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรองค์เดียวผู้ทรงสถิต อยู่ในพระทรวงของพระบิดา พระองค์ได้ทรงสำแดงพระเจ้าแล้วŽ”

     - พระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ พระจิต หมายถึง พลังอำนาจของพระเจ้าอันเป็นพลังแห่งความรักที่เชื่อมพระบิดากับพระบุตรเข้าด้วยกัน และเป็นพลังอำนาจของพระเจ้าที่ทรง แสดงต่อมนุษย์เพื่อดลบันดาลให้มนุษย์กลับใจมาประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของพระเจ้า พระคริสต์ธรรมใหม่7)กล่าวถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่หลายตอน เช่น ตอนที่ทูตสวรรค์แจ้งให้ มาเรียหรือมารีทราบว่านางจะตั้งครรภ์ด้วยอำนาจของพระเจ้า ดังบทสนทนาตอนหนึ่งว่า

      ฝ่ายมารี (มาเรีย) ทูลทูตสวรรค์นั้นว่า ”เหตุการณ์นั้นจะเป็นไปอย่างไรได้ เพราะข้าพเจ้ายังหาได้ร่วมกับชายไม่Ž”

     ทูตสวรรค์จึงตอบนางว่า ”พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาบนเธอ เพราะฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ เหตุฉะนั้น บุตรที่จะเกิดมานั้นจะได้เรียกว่าวิสุทธิ์ และเรียกว่าพระบุตรของพระเจ้า”

      หลังจากที่พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังคงมีบทบาทอยู่ในโลกนี้ เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และนำทางมนุษย์ให้ประจักษ์ในอำนาจของพระเจ้า

6.2    หลักความรัก (Love หรือ Agape)

     หลักความรักเป็นหลักคำสอนทางจริยธรรมที่สำคัญที่สุดของศาสนาคริสต์ ความรักในที่นี้มิใช่ความรักอย่างหนุ่มสาวอันประกอบด้วยกิเลสตัณหาและอารมณ์ปรารถนาอันเห็นแก่ตัว แต่หมายถึงความเป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระคริสต์ธรรมทั้งพระคริสต์ธรรมใหม่และพระคริสต์ธรรมเก่า ต่างก็มีคำสอนที่เน้นเรื่องความรัก ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์

   ในพระคริสต์ธรรมเก่า ความรักเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างพระเจ้ากับชนชาติอิสราเอล โดยที่พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้ความรักแก่ชนชาติอิสราเอลก่อน จากนั้น ชาวอิสราเอลจึงสนองตอบความรักของพระเจ้า พระคริสต์ธรรมเก่าบันทึกหลักความรัก8) ไว้ว่า

     จงอย่าเกลียดชังพี่น้องของเจ้าอยู่ในใจ แต่เจ้าจงตักเตือนเพื่อนบ้านของเจ้าเพื่อจะไม่ต้องรับโทษเพราะเขา เจ้าอย่าแค้นหรือผูกพยาบาทลูกหลานญาติพี่น้องของเจ้า แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเองŽ

    ในพระคริสต์ธรรมใหม่ คำสอนเรื่องหลักความรัก9)ได้เปลี่ยนไป โดยให้พระเยซูเป็นสัญลักษณ์ของความรักสูงสุดที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ เห็นได้จากการที่พระเยซูทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อให้ผู้มีศรัทธาในพระองค์จะได้พ้นจากความผิดบาป เจตนารมณ์ของพระเยซูที่ทรงยอมสละพระชนมชีพเพื่อไถ่บาปของมวลชนนั้น ปรากฏอยู่ในคำอธิษฐานของพระองค์ก่อนที่ทหารโรมันจะเข้าจับกุม และพระคริสต์ธรรมใหม่ได้บันทึกความสำคัญของความรัก10) ไว้ว่า

    “มีธรรมาจารย์คนหนึ่ง เมื่อมาถึงได้ยินเขาไล่เลียงกันและเห็นว่าพระองค์ทรงตอบเขาได้ดี จึงทูลถามพระองค์ว่า ธรรมบัญญัติข้อใด เป็นเอก เป็นใหญ่กว่าธรรมบัญญัติทั้งปวงŽ พระเยซูจึงตรัสตอบคนนั้นว่า ธรรมบัญญัติเอกนั้นคือว่า โอชนอิสราเอลจงฟังเถิด พระเจ้าของเราทั้งหลายทรงเป็นพระเจ้าองค์เดียว และพวกท่านจงรักพระเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน ด้วยสุดความคิดและด้วยสิ้นสุดกำลังของท่านและธรรมบัญญัติที่สองนั้น คือ จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ธรรมบัญญัติอื่นที่ใหญ่กว่าธรรมบัญญัติทั้งสองนี้ไม่มีŽ”

     คำว่า เพื่อนบ้าน หมายถึงเพื่อนมนุษย์ทั่วไป พระเยซูทรงสอนให้มนุษย์เผื่อแผ่ความรักไปรอบด้าน ไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง หลักคำสอนสำคัญนี้มีอยู่ในบทเทศนาบนภูเขา ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์แสดงออกได้โดยความเมตตากรุณาและความเสียสละ ส่วน ความรักที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าแสดงออกโดยความศรัทธา ความศรัทธาสรุปได้ 5 ประการ คือ

1.    ศรัทธาว่าพระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว
2.    ศรัทธาว่าพระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
3.    ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า
4.    ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด
5.    ศรัทธาในแผ่นดินสวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้าที่กำลังจะมาถึง

   หลักความรักและหลักอาณาจักรของพระเจ้ามีความสัมพันธ์กัน มนุษย์จะสามารถ เข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าได้ก็โดยอาศัยความรักเป็นคุณธรรมนำทาง และอาณาจักรของพระเจ้าก็เป็นอาณาจักรที่บริบูรณ์ด้วยรัก

6.3    อาณาจักรพระเจ้า

   อาณาจักรพระเจ้าหมายถึง หลักการดำเนินชีวิตที่แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ และช่วยยกระดับจิตของผู้ที่ยอมรับคำสอนและปฏิบัติตามให้สูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติตามคำสอน เหล่านี้จะเป็นผู้เผยแผ่คำสอนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในหมู่ชนที่ใกล้ชิด

    อาณาจักรพระเจ้าที่พระเยซูนำมาสอนแก่ประชาชนมีความหมาย 2 อย่าง คือ หมายถึงอาณาจักรพระเจ้าในโลกนี้ และอาณาจักรพระเจ้าในโลกหน้า

    อาณาจักรพระเจ้าในโลกนี้ คือ แผ่นดินพระเจ้าที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตนี้แต่ยังไม่สมบูรณ์ การจะเข้าถึงอาณาจักรพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ได้จะต้องเข้าถึงในชีวิตหน้า คือหลังจากตายแล้วเท่านั้น อาณาจักรพระเจ้าในโลกนี้จะเป็นรากฐานสำหรับอาณาจักรพระเจ้าในโลกหน้าซึ่งเรียกว่า แผ่นดินสวรรค์ เมื่อมนุษย์ยังอยู่ในโลก จะมีคนดีและคนชั่วปะปนกันเพราะพระเจ้าทรงเปิดโอกาสให้มนุษย์ เพื่อสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตใจเพื่อจะได้ดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร แต่ในกาลสุดท้าย คือ ในวันพิพากษา คนดีคนชั่วจะถูกแยกออกจากกันตามกรรมของแต่ละฝ่ายที่ได้กระทำมา การที่จะเข้าถึงอาณาจักรพระเจ้านั้นมนุษย์จะต้องแสดงออกถึงการกระทำอันเหมาะอันควร หลักแห่งความดีที่พระเยซูทรงสอนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกปฏิบัติอย่างใด ดีหรือชั่ว คือมีอิสรภาพในการเลือกวิถีทางดำเนินชีวิตของตนเอง

  หลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอาณาจักรพระเจ้าในโลกนี้คือการปฏิบัติตามพระบัญญัติให้ครบถ้วน ซึ่งสรุปได้ 2 ประการ คือ รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ และรักเพื่อนมนุษย์เหมือน รักตนเอง ดังนั้นมนุษย์จะเข้าถึงก็ต่อเมื่อรู้จักสละทรัพย์สมบัติภายนอกและมีความมานะพากเพียร เพราะอาณาจักรแห่งพระเจ้าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางวิญญาณ ผู้ที่ยังไม่สามารถสละสมบัติทางโลกได้ย่อมไม่อาจเข้าถึงอาณาจักรพระเจ้า

   พระเยซู11)ทรงสอนว่า การที่จะสละความสุขทางโลกเพื่อหันเข้าหาอาณาจักรพระเจ้า มิใช่จะปฏิบัติได้โดยง่ายดังที่ทรงเปรียบเทียบว่า ”อูฐลอดรูเข็มยังง่ายกว่าคนร่ำรวยจะเข้าแผ่นดินสวรรค์Ž” ความจริงทรัพย์สมบัติในตัวมันเองมิใช่สิ่งเลวร้ายแต่การที่มนุษย์ไปยึดติดมัน ทำให้เป็นอุปสรรคไม่อาจเข้าถึงอาณาจักรพระเจ้าได้ เนื่องจากคนเราจะเป็นข้าสองเจ้าบ่าว สองนายไม่ได้ ดังนั้นเมื่อจะยึดพระเจ้าก็ต้องสละสมบัติทางโลก เมื่อจะยึดสมบัติทางโลกก็ต้องสละพระเจ้า ความยึดติดในสมบัติทางโลกเป็นสิ่งอันตราย เพราะเมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสของ สิ่งเหล่านี้ เขาจะยอมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง อิสรภาพ ฯลฯ ความโลภจะเข้ามาเกาะกุมจิตใจจนบุคคลนั้นไม่มีเวลาที่จะนึกถึงพระเมตตาคุณแห่งพระเจ้า มนุษย์จะต้องเลือกเอาระหว่างสองทางนี้

   ส่วนอาณาจักรพระเจ้าในโลกหน้า หมายถึง การเข้าถึงชีวิตนิรันดรหลังจากตายแล้ว ซึ่งพระเจ้าเป็นผู้ทรงตัดสิน ผู้ใดปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์อย่างครบถ้วน และเชื่อในพระองค์ จะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ คือมีชีวิตนิรันดร ไม่มีความทุกข์ยากใดๆ ตลอดไป ส่วน ผู้ฝ่าฝืนบัญญัติจะถูกตัดสินให้ลงนรก ได้รับความทุกข์อย่างสาหัสจากไฟเผาผลาญ

    ลักษณะคำสอนของพระเยซู พระองค์ทรงเน้นให้มนุษย์มุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่า คือชีวิตในอาณาจักรพระเจ้าหรือแผ่นดินสวรรค์ ตอนหนึ่งพระเยซูตรัสว่า ”อย่าสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกนี้ ที่ตัวหนอนและสนิมอาจทำลายได้ ขโมยอาจลักเอาไปได้ แต่จงสะสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่หนอนหรือสนิมไม่อาจทำลายได้ และที่ขโมยไม่ลักเอาไปได้”12)Ž และ แต่ท่านทั้งหลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์ก่อนŽ13)

6.4    พระเจ้าผู้เป็นอันติมสัจจ์

    พระเจ้าของศาสนาคริสต์คือ พระเยโฮวาห์ ซึ่งเป็นองค์เดียวกับพระเจ้าของศาสนายิว ดังที่กล่าวมาแล้ว พระเยซูคงถือหลักเดิมอันเกี่ยวกับพระเจ้าของยิว แต่ได้มีการดัดแปลง บางประการ เช่น การยกฐานะของพระเจ้าซึ่งเป็นพระเจ้าของชาวยิวโดยเฉพาะแต่เดิมมาให้ทรงมีฐานะเป็นพระเจ้าของมวลมนุษย์ทั้งหลาย อันถือว่าเป็นศรัทธาที่บุคคลอุทิศต่อพระเจ้า ทรรศนะดังกล่าวเป็นที่เชื่อถือของชาวคริสต์มาจนถึงปัจจุบัน ดังพระบัญญัติ 2 ข้อที่พระเยซูทรงย่อบัญญัติทั้งหมดของพระเจ้า14) คือ ”จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสุดความคิดของเจ้า… จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเองŽ”

   ทั้งศาสนาคริสต์และศาสนายิวต่างมีความเชื่อร่วมกันว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ในสากลพิภพหามีผู้อื่นยิ่งกว่าพระองค์ไม่ มีคำสอนเป็นอันมากที่พรรณนาลักษณะของพระเจ้าไว้ เช่น

1.    ทรงเป็นจิตบริสุทธ์ ไม่มีรูปร่าง
2.    ทรงมีอยู่นิรันดร ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย
3.    ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง
4.    ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง
5.    ทรงสามารถทุกอย่าง
6.    ทรงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด
7.    ทรงบริสุทธิ์ทุกประการ ไม่มีบาปเลย
8.    ทรงมี 3 ภาคที่เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ (The Triune God or The Trinity) คือ

     พระบิดา (God the Father ) พระบุตร (God the Son) และพระวิญญาณ (God the Spirit)

6.5    คำเทศนาบนภูเขา

    คำสอนของพระเยซูที่เทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) นั้นเป็นคำสอนที่จัดว่าเป็นระบบมากที่สุด และแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ของพระเยซูที่ต้องการปฏิรูปชีวิตมนุษย์ ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง อีกทั้งเป็นหลักจริยธรรมที่พระองค์ทรงมอบให้แก่มนุษย์ทุกคนได้ปฏิบัติเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ดังนั้นคำสอนที่ปรากฏในเทศนาบนภูเขาจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงแนวทางปฏิบัติของชาวคริสต์ที่ควรแก่การศึกษา ดังมีรายละเอียดที่ปรากฏอยู่ใน พระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่โดยเรียงตามลำดับดังนี้

1.    ผู้เป็นสุข หรือบรมสุข 8 ประการ

     จากมัทธิว บทที่ 4 ข้อ 3-12 ที่ปรากฏในพระคริสตŒธรรมใหม่15)

3    ”บุคคลผู้ใด รู้สึกบกพร่องฝ่ายวิญญาณ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขาŽ”
4    ”บุคคลผู้ใดโศกเศร้า ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับการปลอบประโลมŽ”
5 ”บุคคลผู้ใดมีใจอ่อนโยน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับแผ่นดินโลกเป็นมรดกŽ”
6 “    บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์Ž ”
7 ”บุคคลผู้ใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับพระกรุณาตอบŽ”
8 ”บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้าŽ”
9 “    บุคคลผู้ใดสร้างสันติ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงเรียกเขาว่าเป็นบุตรŽ”
10    ”บุคคลผู้ใดต้องถูกข่มเหงเพราะเหตุความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่า    แผ่นดินสวรรค์เป็นของเขาŽ”
11    ”เมื่อเขาจะติเตียนข่มเหงและนินทาว่าร้ายท่านทั้งหลายเป็นความเท็จเพราะเรา กับท่านก็เป็นของเขาŽ”
12    ”จงชื่นชมยินดี เพราะว่าบำเหน็จของท่านมีบริบูรณ์ในสวรรค์ เพราะเขาได้    ข่มเหงผู้เผยพระวจนะทั้งหลายที่อยู่ก่อนท่านเหมือนกันŽ”

    เราจะเห็นได้ว่า คำสอนในตอนนี้มีลักษณะส่งเสริมการให้กำลังใจแก่คนทุกคน เพื่อให้พวกเขาสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่างไม่หวั่นไหว บุคคลใดก็ตามที่ยึดถือคำสอนเป็นหลักชัยของชีวิต แม้ว่าตนเองจะรู้สึกว่ามีความบกพร่องไม่ดีพอ เป็นคนมีทุกข์โศกเศร้า เป็น คนจิตใจอ่อนโยน เป็นคนรักความถูกต้องเที่ยงธรรม เป็นคนจิตใจกรุณา เป็นคนจิตใจบริสุทธิ์ เป็นคนสร้างสันติภาพ และเป็นคนที่ถูกกลั่นแกล้งข่มเหง บุคคลเหล่านี้ย่อมรับอนุญาตจากพระเจ้าให้อยู่ในอาณาจักรสวรรค์ พวกเขาไม่จำเป็นต้องยินดียินร้ายต่อคำนินทาว่าร้ายของผู้อื่น และไม่ต้องหวั่นเกรงต่อการข่มเหงของผู้ข่มเหงเหล่านั้น

2.    เกลือแห่งแผ่นดินโลก

    จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 13 ของพระคริสตธรรมใหม่16) ได้กล่าวว่า

13    ”ท่านทั้งหลาย เป็นเกลือแห่งโลก ถ้าเกลือนั้นหมดรสเค็มไปแล้ว จะทำให้    กลับเค็มอีก อย่างไรได้ แต่นั้นไปก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร มีแต่จะทิ้งเสีย สำหรับคนเหยียบย่ำŽ”
คำสอนนี้ต้องการให้มนุษย์ดำรงรักษาความดีงามเหมือนเกลือรักษาความเค็ม เพราะถ้าเราทิ้งความดีงามไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเกลือที่หมดรสเค็ม ประโยชน์ที่จะพึงมีก็หมดไป หาคุณค่าใดไม่ได้เลย

3.    ความสว่างของโลก

    จากมัทธิวตอนที่ 5 ข้อ 14-16 ของพระคริสตธรรมใหม่17) ความว่า

14    ”ท่านทั้งหลายเป็นความสว่างของโลก นครซึ่งอยู่บนภูเขาจะปิดบังไว้ไม่ได้Ž”
15    ”เมื่อจุดตะเกียงแล้ว ไม่มีผู้ใดเอาถังครอบไว้ ย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียง จะได้    ส่องสว่างแก่ทุกคนที่อยู่ในเรือนนั้นŽ”
16    ”ท่านทั้งหลายก็เหมือนกับตะเกียง จงส่องสว่างแก่คนทั้งปวง เพื่อว่าเมื่อเขา    ได้เห็นความดีที่ท่านทำ เขาจะได้สรรเสริญพระบิดาของท่านผู้ทรงอยู่ในสวรรค์Ž”

   คำสอนในตอนนี้เป็นการส่งเสริมและให้กำลังใจแก่ผู้ทำความดี และปฏิบัติตามคำสอน ที่บัญญัติไว‰อย่างมั่นคง ความดีที่เขาทำไว้นั้นจะมีผลต่อโลกและผู้อื่น อีกทั้งเป็นผลให้ผู้ที่เห็นความดีนั้นยังสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบิดา เปรียบเหมือนกับลูกที่ดีบิดาย่อมได้รับ การยกย่องเพราะความดีของลูกนั้น

4.    พระคัมภีรŒภาคพันธสัญญาใหม่ (The New Testament)

     จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 17 ของพระคริสตธรรมใหม่18) ความว่า

17    ”อย่าคิดว่าเราเลิกล้างธรรมบัญญัติ และคำของผู้เผยวจนะ เรามิได้มาเลิกล้าง แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการŽ”
คำสอนในตอนนี้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของพระเยซูที่มุ่งชี้แจงให้บุคคลทั้งหลายในขณะนั้นได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การเผยแพร่ศาสนาที่ได้ดำเนินอยู่นั้นมิได้เป็นไปเพื่อ การล้มล้างหรือยกเลิกพระบัญญัติเดิมที่ชาวยิวได้นับถือสืบกันมา หากแต่ว่าเป็นการปฏิรูป คำสอนเดิมให้มีความเข้มข้นและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

5.    ความโกรธ

     จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 21-26 ของพระคริสตŒธรรมใหม่19) ความว่า

21    ”ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แต่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ถ้าผู้ใดฆ่าคน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษŽ”
22    ”เราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดโกรธพี่น้องของตน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษา    ลงโทษ ถ้าผู้ใดจะพูดกับพี่น้องว่า อ้ายโง่Ž ผู้นั้นต้องถูกนำไปที่ศาลสูงให้ พิพากษาลงโทษและผู้ใดจะว่า อ้ายบ้าŽ ผู้นั้นจะมีโทษถึงไฟนรกŽ”
23    ”เหตุฉะนั้น ถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และระลึกขึ้นได้ว่า พี่น้องมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับท่านŽ”
24    ”จงวางเครื่องบูชาไว้ที่หน้าแท่นบูชา กลับไปคืนดีกับพี่น้องผู้นั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาถวายเครื่องบูชาของท่านŽ”
25    ”จงปรองดองกับคู่ความโดยเร็วในขณะที่พากันไปศาลเกลือกว่าคู่ความนั้นจะ    อายัดท่านไว้กับผู้พิพากษาแล้ว ผู้พิพากษาจะมอบท่านไว้กับผู้คุม และท่านจะ    ต้องถูกขังไว้ในเรือนจำŽ”
26    ”เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ท่านจะออกจากที่นั่นไม่ได้ จนกว่าจะได้ใช้หนี้    จนครบŽ”

     คำสอนในตอนนี้ได้สะท้อนถึงข้อห้ามในบัญญัติเดิมที่ว่า อย่าฆ่าคน แต่พระเยซูได้มาขยายคำสอนนี้ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยชี้ให้ทุกคนพึงระวังในด้านจิตใจด้วยมิใช่ระวังแต่ทางกายเพียงทางเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความโกรธซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ให้ผลในทางกาย การฆ่ายากที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีความโกรธมาเป็นตัวกระตุ้น ในชีวิตประจำวันของเราจะเห็นได้ว่า การเข่นฆ่าทำลายกันล้วนมีสาเหตุมาจากความโกรธทั้งนั้น ความโกรธจึงเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ทุกคนต้องระวังอย่าให้เกิดขึ้นได้ เพราะถ้าความโกรธอยู่กับผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นอยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งอาจจะแสดงออกมาทางกาย วาจา ใจ ดังนั้นถ้ามีเรื่องเคืองใจกับผู้ใดก็ควร ปรับความเข้าใจกับผู้นั้นก่อนกระทำกิจอื่นๆ แม‰ในขณะกำลังจะทำความดีก็ตาม ความในใจที่มีอยู่จะต้องปลดเปลื้องให้หมด อย่าได้ติดค้างไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อทับถมมากเข้าจะมีผลทางกาย ในที่สุดทำให้เกิดการเข่นฆ่าทำลายล้างซึ่งกันและกัน

6.    การล่วงประเวณี

     จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 27-30 ในพระคริสตŒธรรมใหม่20) ความว่า

27    ”ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขาŽ”
28    ”ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองผู้หญิงเพื่อให้เกิดใจกำหนัดในหญิงนั้น ผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับหญิงนั้นแล้วŽ”
29    ”ถ้าตาข้างขวาของท่านทำให้ตัวหลงผิด จงควักออกทิ้งเสีย เพราะว่าถึงจะเสีย    อวัยวะอย่างหนึ่ง ก็ยังดีกว่าตัวของท่านจะต้องลงนรกŽ”
30    ”ถ้ามือข้างขวาทำให้หลงผิด จงตัดทิ้งเสีย เพราะถึงจะเสียอวัยวะอย่างหนึ่ง ก็ดีกว่าตัวท่านจะต้องลงนรกŽ”

    คำสอนในตอนนี้ได้แสดงให้เห็นถึง การปฏิรูปทางความคิดแต่เดิมที่มุ่งหมายเฉพาะการล่วงประเวณีที่เกิดขึ้นทางกาย แต่พระเยซูได้สอนให้ลึกซึ้งไปกว่านี้ โดยเตือนให้ ทุกคนระวังการล่วงประเวณีทางใจ ซึ่งเกิดจากความกำหนัดความพอใจในทางจิตวิญญาณ เมื่อภายในตัวเรามัวหมองไม่ดีแล้ว ก็ยากที่จะให้ภายนอกสดใสได้ การสูญเสียทางกายที่ เกิดขึ้นก็ไม่รุนแรงเท่ากับการสูญเสียทางจิตวิญญาณ ดังนั้นถ้าร่างกายของเราส่วนใดส่วนหนึ่งทำผิดทำบาป เราควรทำลายส่วนนั้นทิ้งเสีย เพราะถึงจะเสียอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดีกว่า ตัวเราจะต้องลงนรก

7.    การหย่าร้าง

    จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 31-32 ของพระคริสตŒธรรมใหม่21) ความว่า

31    ”ยังมีคำกล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดจะหย่าภรรยา ก็ให้ทำหนังสือหย่าให้แก่ภรรยานั้นŽ”
32    ”ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า ถ้าผู้ใดจะหย่าภรรยาเพราะเหตุอื่นนอกจากการ    เล่นชู้ ก็เท่ากับว่าผู้นั้นทำให้หญิงนั้นผิดศีลล่วงประเวณี และถ้าผู้ใดจะรับหญิง ซึ่งหย่าแล้วเช่นนั้นมาเป็นภรรยา ผู้นั้นก็ผิดศีลล่วงประเวณีด้วยŽ”

   คำสอนในตอนนี้แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์อันยาวไกลของพระเยซูที่เห็นว่า แต่เดิมมา ที่มีการอนุญาตให้บุคคลทั้งหลายหย่ากันอย่างง่าย เพียงแค่ทำหนังสือหย่ากันก็เป็นการ เพียงพอแล้วนั้น เท่ากับเปิดโอกาสให้บุคคลไม่เกรงกลัวต่อบาป การแต่งงานก็จะเกิดขึ้นเพราะความพอใจแต่ขาดความรับผิดชอบและการหย่าร้างก็จะมีมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี ผู้ชี้นำและทำความเข้าใจในเรื่องนี้ก่อนที่สังคมจะเต็มไปด้วยคนทำชั่วเพราะความไม่รู้จริง

8.    การสบถสาบาน

    จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 33-37 ของพระคริสตŒธรรม22) ความว่า

33 ”อีกประการหนึ่งท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าเสีย คำสัตย์สาบาน คำสัตย์สาบานที่ได้ถวายต่อองค์พระผู้เป็นเจ้านั้น ต้องรักษา ไว้ให้มั่นŽ”
34    ”ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า อย่าสาบานเลย โดยอ้างถึงสวรรค์ก็อย่าสาบาน    เพราะสวรรค์เป็นที่ประทับของพระเจ้า”
35    ”หรือโดยอ้างถึงแผ่นดินโลกก็อย่าสาบาน เพราะแผ่นดินโลกที่รองพระบาท    ของพระเจ้า หรือโดยอ้างถึงกรุงเยรูซาเล็ม ก็อย่าสาบานเพราะกรุงเยรูซาเล็ม    เป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์Ž”
36    ”อย่าสาบานโดยอ้างถึงศีรษะของตน เพราะท่านจะกระทำให้ผมขาวหรือดำ    ไปสักเส้นหนึ่งก็ไม่ได้Ž”
37    ”จริงก็จงว่าจริง ไม่ก็ว่าไม่ พูดแต่เพียงนี้ก็พอ คำพูดเกินนี้ไป มาจากความชั่วŽ”

    คำสอนในตอนนี้ได้ทำให้เห็นว่า พระเยซูต้องการสอนให้บุคคลยึดถือสัจจะและความจริงใจอย่างมั่นคง โดยไม่จำเป็นต้องไปอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันคำพูดของตนเอง คนที่มีจิตใจมั่นคงในคำสอนของศาสนาย่อมไม่กล่าวคำเท็จ และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะพูด คิด และกระทำทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์มั่นคง

9.    การตอบแทน

     จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 38-39 ในพระคริสตธรรมใหม่23) ความว่า

38    ”ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ตาแทนตา และฟันแทนฟันŽ”
39    ”ฝ่ายเราบอกท่านว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ก็จงหัน    แก้มซ้ายให้เขาด้วยŽ”

    คำสอนในตอนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระเยซูไม่ต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีจิตใจอาฆาตแค้นต่อกัน คำสอนในตอนนี้ทำให้นึกถึงการละอัตตาในพุทธศาสนา ตราบใดที่คนเรายังมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนอยู่ก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรเพื่อผู้อื่น และพระเจ้าได้ เพราะจิตของเขาจะเต็มไปด้วยผลประโยชน์และการอาฆาตแค้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นไปเพื่อความสุขความพอใจของตนเองเท่านั้น และในที่สุดก็นำไปสู่ความเห็นแก่ตัว

10.    รักศัตรู

    จากมัทธิวบทที่ 5 ข้อ 43-44 ในพระคริสตธรรมใหม่24) ความว่า

43    ”ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า จงรักคนสนิท และเกลียดชังศัตรูŽ”
44    ”ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อผู้ที่ข่มเหงท่านŽ”

 คำสอนในตอนนี้สะท้อนให้เห็นถึงหลักแห่งความเมตตากรุณาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย แม้แต่ศัตรูผู้ที่คิดร้าย เหมือนดั่งดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างให้แก่โลกอย่างทั่วหน้าโดยไม่เลือกแหล่งที่ บุคคลใดที่ทำดังนี้ได้แล้ว บุคคลนั้นได้ชื่อว่ามนุษย์ที่สมบูรณ์เต็มที่ เพราะสามารถต้านทานกระแสกิเลสในจิตใจได้

11.    การทำทาน

    จากมัทธิวบทที่ 6 ข้อ 1-4 ในพระคริสตธรรมใหม่25) ความว่า

1    ”จงระวัง อย่ากระทำศาสนกิจเพื่ออวดคนอื่น ถ้าทำอย่างนั้นท่านจะไม่ได้รับบำเหน็จจากพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์Ž
2    ”เหตุฉะนั้น เมื่อท่านทำทานอย่าเป่าแตรข้างหน้าท่าน เหมือนคนหน้าซื่อใจคด กระทำในธรรมศาลาและตามถนน เพื่อให้คนสรรเสริญ เราบอกความจริงแก่ท่านว่าเขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้วŽ    ”
3    ”ฝ่ายท่านทั้งหลายเมื่อทำทาน อย่าให้มือซ้ายรู้การซึ่งมือขวากระทำนั้นŽ”
4    ”ทานของท่านจะต้องเป็นทานลับ และพระบิดาของท่านผู้ทรงเห็นในที่ลี้ลับ จะทรงโปรดประทานบำเหน็จแก่ท่านŽ”

    คำสอนในตอนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระเยซูต้องการให้บุคคลทำดีจนเคยชินเป็นนิสัย มากกว่าที่จะทำความดีเพื่อหวังบำเหน็จรางวัล ซึ่งนั่นไม่ใช่ความดีที่แท้จริง เพราะความดีที่ แท้จริงคือการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ

12.    ทรัพย์สมบัติในสวรรค์

    จากมัทธิวบทที่ 6 ข้อ 19-21 ในพระคริสตธรรมใหม่26) ความว่า

19    “    อย่าสั่งสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลกที่อาจเป็นสนิม และที่แมลงกิน เสียได้ และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้Ž”
20    ”แต่จงสั่งสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่ไม่มีแมลงจะกิน และไม่มีสนิมจะกัด    และที่ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้Ž”
21    “    เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วยŽ”

   จากคำสอนนี้ ทำให้เกิดแนวคิดในเรื่องการทำจิตให้หมดความยึดถือในทรัพย์สมบัติภายนอกกาย เพราะยิ่งสะสมมากเท่าใด ยิ่งเป็นภัยแก่ตนมากเท่านั้น แต่ความดียิ่งทำมากเท่าใด สวรรค์ย่อมเป็นที่ไปสำหรับบุคคลนั้น โดยที่โจรก็ไม่สามารถปล้นชิงไปได้

13.    การกล่าวโทษผู้อื่น

    จากมัทธิบทที่ 7 ข้อ 1-6 ในพระคริสตธรรมใหม่27) ความว่า

1    ”อย่ากล่าวโทษเขา เพื่อพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษท่านŽ
2    ”เพราะว่าท่านทั้งหลายจะกล่าวโทษเขาอย่างไร พระเจ้าจะทรงกล่าวโทษท่าน    อย่างนั้น และท่านจะตวงให้เขาด้วยทะนานอันใด พระเจ้าจะได้ทรงตวงให้ทˆาน    ด้วยทะนานอันนั้นŽ”
3    ”เหตุไฉนท่านมองดูผงที่ในตาพี่น้องของท่าน แต่ไม‰ทั้งท่อนที่อยู่ในตาของท่าน    ท่านก็ไม่รู้สึกŽ”
4    ”เหตุไฉนท่านจะกล่าวแก่พี่น้องว่า ให้เราเขี่ยผงออกจากตาของเธอ แต่ที่จริง    ไม้ทั้งท่อนมีอยู่ในตาของท่านเองŽ”
5    ”ท่านคนหน้าซื่อใจคด จงชักไม้ทั้งท่อนออกจากตาของท่านก่อน แล้วท่านจะเห็น    ได้ถนัด จึงจะเขี่ยผงออกจากตาพี่น้องของท่านได้Ž”
6    ”อย่าให้ของประเสริฐแก่สุนัข อย่าโยนไข่มุกให้แก่สุกร เกลือกว่ามันจะเหยียบย่ำ เสีย และจะหันกลับมากัดตัวท่านด้วยŽ”

   คำสอนในตอนนี้ทำให้เกิดความคิดที่ว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล อย่างนั้นŽ เรากล่าวโทษผู้อื่นอย่างไร และเราก็จะถูกกล่าวโทษเช่นนั้นบ้าง คนส่วนมากไม่ใคร่มองตนเอง แต่มักเพ่งโทษของผู้อื่น จึงมองไม่เห็นความชั่วของตนทำให้เป็นผู้ที่โลกทัศน์มืดมัวและปัญญามืดบอด

14.    ขอ หา เคาะ

    จากมัทธิวบทที่ 7 ข้อ 7-12 ในพระคริสตธรรมใหม่28) ความว่า

7    ”จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่านŽ”
8    ”เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขาŽ”
9    ”ในพวกท่านมีใครบ้างที่จะเอาก้อนหินให้บุตร เมื่อเขาขอขนมปังŽ”
10    ”หรือให้งูเมื่อบุตรขอปลาŽ”
11    ”เหตุฉะนั้น ถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนบาป ยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน    ยิิ่งกว่านั้นสักเท่าใด พระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะประทานของดีแก่ผู้ที่    ขอต่อพระองค์Ž”
12    ”จงปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน นั่นคือธรรมบัญญัติ และคำสั่งสอนของบรรดาผู้เผยพระวจนะŽ”

  คำสอนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าย่อมมีน้ำพระทัยเมตตาแก่ผู้ทุกข์ยากที่ร้องขอความช่วยเหลือ พระเจ้ายอมไม่ทอดทิ้งแต่จะประทานของดีให้แก่พวกเขา พระองค์ดีต่อพวกเขาอย่างไร พวกเขาก็ควรที่จะดำเนินตามรอยพระองค์ ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นปฏิบัติ เช่นนั้นต่อพวกเขา

 

7. หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด

   ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาเอกเทวนิยม เชื่อว่ามีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียวเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่ง พระเจ้าองค์นั้นก็คือพระเยโฮวาห์ ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์เดียวกับพระเจ้าในศาสนายิว เพียงแต่พระเยซูปฏิรูปลบเหลี่ยมลบมุมพระเจ้าเสียใหม่ เช่น พระเยโฮวาห์ในศาสนายิวจะทรงมีเมตตาก็เฉพาะผู้นับถือพระองค์ แต่ทรงดุร้ายอาฆาตพยาบาทต่อผู้ไม่เคารพต่อพระองค์ ดังมีข้อความปรากฏในคัมภีร์29) ว่า “    ถ้าเมืองไหนไม่ยอมเป็นไมตรี แต่จะสู้รบกับพวกเจ้า เจ้าจงตีเมืองนั้นให้ได้ เจ้าจงปลิดชีพผู้ชายทุกคนด้วยคมดาบ แต่จงเว้นผู้หญิงและเด็กทั้งหลาย ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย จงยึดเอามาเป็นของเจ้าŽ” หรือสอนว่า30) ”เจ้าจงบอกแก่อิสราเอลว่า ผู้ใดแช่งพระเจ้าของตน ต้องฆ่าผู้นั้น เอาก้อนหินขว้างเขาให้ตาย ถ้าผู้ใดฆ่ามนุษย์ต้องฆ่า ผู้นั้นเสีย ถ้าผู้ใดฆ่าสัตว์ของผู้อื่น ผู้นั้นต้องชดใช้สัตว์นั้นแก่เจ้าของ ใช้สัตว์แทนสัตว์ ถ้าผู้ใด กระทำให้ผู้อื่นพิการ ก็ต้องกระทำให้ผู้นั้นเป็นเช่นเดียวกัน ใช้หัวแทนหัว ตาแทนตา ฟันแทนฟัน เขากระทำให้ผู้อื่นพิการอย่างใด ก็ต้องทำให้เขาพิการอย่างนั้นŽ ”

    แต่พอมาถึงในศาสนาคริสต์ พระเยโฮวาห์ทรงมีเมตตาทั้งต่อผู้นับถือและไม่นับถือ พระองค์ ทรงให้อภัยแม้ต่อผู้ที่สาปแช่งพระองค์ และก็เพราะพระองค์มีพระเมตตากรุณาต่อมนุษย์ชาติ จึงทรงส่งพระบุตรเพียงองค์เดียวของพระองค์มาช่วยไถ่บาปมนุษย์ พระเยซูมั่นคงในเรื่องพระเจ้ามาก และเชื่อว่าตนเป็นบุตรของพระเจ้า ดังที่พระเยซูกล่าวว่า31)

“เชื่อเถิดเราอยู่ในพระบิดา และพระบิดาก็ทรงอยู่ในเราŽ ”

“เรารู้จักพระเจ้า เพราะเรามาจากพระองค์ และพระองค์ทรงใช้เรามาŽ ”

    และโดยที่เชื่อมั่นอย่างนี้ พระเยซูจึงดำเนินชีวิตแนบแน่นอยู่กับพระเจ้าตลอดมา อย่างเช่น เมื่อพระเยซูออกเทศนาสั่งสอน มีคนสงสัยว่าคำสอนที่พระเยซูสั่งสอนเอามาจากไหน เพราะไม่เห็นพระเยซูไปเรียนกับใคร พระเยซูก็ตอบว่า32) ” คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามาŽ” หรือพระเยซูบอกพวกสาวกว่า ตัวท่านมาจากพระเจ้า จะอยู่กับสาวกไปสักระยะหนึ่งแล้วก็จะกลับไปหาพระเจ้าอีกดังที่พระเยซูกล่าวว่า33) ”เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายต่อไปอีกสักหน่อย แล้วจะกลับไปหาพระองค์ผู้ทรงใช้เรามาŽ ”

   ในศาสนาคริสต์เชื่อว่ามีพระเจ้าซึ่งเป็นพระบิดา พระบุตร และพระจิต แต่ทั้ง 3 เมื่อว่าโดยสภาวะก็เป็นอย่างเดียวกันดุจรูป 3 เหลี่ยม มี 3 มุม แต่ก็เป็นรูปเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระบิดา พระบุตร พระจิต จึงเรียกรวมกันว่า ตรีเอกานุภาพ ส่วนเหตุที่พระเจ้าทรงส่งพระบุตรมา ก็เพราะความกรุณาของพระองค์ที่จะให้พระบุตรมาช่วยแนะนำเรื่องที่ถูกต้อง ตายไปแล้วจะได้ไปสวรรค์ เพราะฉะนั้นพระเยซูจึงชื่อว่าพระผู้ช่วยให้รอด คือให้คนรอดจากการพิพากษาใน วันตัดสินโลก ไม่ตกนรก

    ศาสนาคริสต์เชื่อว่า34) เมื่อคนตายแล้วไม่สูญเพราะวิญญาณเป็นอมตะ วิญญาณจะคอยวันพิพากษาโลก เมื่อถึงวันพิพากษาโลก จะมีปรากฏการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้น คือ ดวงอาทิตย์จะมืดมิด ดวงจันทร์จะไม่ส่องแสง ดวงดาวทั้งหมดจะตกจากท้องฟ้า จะมีแต่เสียงสะเทือนสะท้านน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก มนุษย์ต่างร้องไห้เซ็งแซ่เพราะความกลัว จากนั้นพระเยซูซึ่งเป็นพระบุตรของพระเจ้าแล้ว จะเสด็จมาพร้อมทั้งเทพบริวารบนก้อนเมฆ ด้วยฤทธานุภาพและรัศมีอันเรืองรอง ทรงให้เทพบริวารเป่าแตรเสียงดังยิ่งนัก เรียกวิญญาณทั้งหมดให้มา รวมกัน แล้วพระองค์ก็ทรงตัดสิน ผู้ที่ทำบาปไว้มากก็จะตกนรกชั่วนิรันดร ส่วนผู‰ที่มีบุญมากก็จะขึ้นไปบนสวรรค์อยู่กับพระเจ้าชั่วนิรันดร มีแต่ความสุขตลอดไป นี่เป็นจุดหมายสูงสุดของศาสนาคริสต์ ส่วนเมื่อไรจะเป็นวันโลกสลายนั้น ไม่มีใครทราบแม้พระเยซูก็ไม่ทราบ พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะทรงทราบ ศาสนาคริสต์เชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีเพียงครั้งเดียว เมื่อตายไปแล้วจะอยู่ในสวรรค์หรือนรกชั่วนิรันดร เพราะฉะนั้นนรกสวรรค์จึงเป็นโลกนิรันดร ส่วนโลกนี้เป็นโลกชั่วคราว เป็นเพียงสถานที่อาศัยสำหรับสร้างบุญ-บาป เพื่อไปสู่โลกหน้าเท่านั้น ก็นรกนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานเหลือเกิน พระเยซูสงสารคนไม่อยากให้ตกนรก จึงรณรงค์ให้คนเชื่อท่าน ใครที่เชื่อพระเยซูจะรอดพ้น ไม่ต้องตกนรก ดังที่พระเยซูกล่าวว่า ”เราเป็นแสงสว่างของโลกŽ”

 

8. พิธีกรรมที่สำคัญ

พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเรียกว่า พิธีศีลศักดิ์สิทธ์ (Sacraments) 7 ประการ35) คือ

    1. ศีลล้างบาป หรือศีลจุ่ม (Baptism) ผู้นับถือศาสนาคริสต์ทุกคนต้องผ่านพิธี ศีลล้างบาป (นิกายโปรเตสแตนต์เรียกว่า ศีลจุ่ม) เสียก่อนจึงจะเป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์ การรับศีลล้างบาปรับได้ครั้งเดียวเท่านั้นแล้วไม่ต้องรับอีกจนตลอดชีวิต แม้จะเปลี่ยนไปนับถือ ศาสนาอื่น และในภายหลังกลับมานับถือศาสนาคริสต์อีกก็ไม่ต้องรับศีลล้างบาป ที่เรียกว่า ศีลล้างบาป เพราะศาสนาคริสตŒเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด ที่เรียกว่าบาปกำเนิด บาปนี้ติดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งตามพระคัมภีร์เก่าว่า มาจากมนุษย์คู่แรกคืออาดัมและอีฟ

การล้างบาปทำได้โดยเอาน้ำรดที่หน้าผาก จะให้ผู้ใดเป็นผู้ล้างบาปให้ก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวคริสต์ด้วยกัน เมื่อเอาน้ำเทรดหน้าผากให้กล่าวว่า ”ฉันล้างท่านในนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิตŽ” นอกเหนือจากนั้นถือเป็นพิธีประกอบ อาจทำหรือไม่ทำก็ได้ เช่น การสวดมนต์ รับศีล และอดอาหาร เป็นต้น

      2.  ศีลกำลัง (Confirmation) เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ผู้ให้ศีลกำลังโดยปกติต้องมีตำแหน่งเป็นพระสังฆราช และผู้รับศีลต้องอยู่ในวัยที่รู้เหตุผลแล้ว (อายุ ระหว่าง 9-14 ปี) พิธีนี้พระสังฆราชจะเอามือทั้งสองวางที่ศีรษะของผู้รับศีลเจิมหน้าผากด้วยน้ำมันมะกอกเป็นรูปกางเขนและประกาศว่า ผู้รับศีลนั้นเป็นผู้ได้รับความรอดในนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต

     3.  ศีลมหาสนิท (Holy Communion) ฝ่ายคาทอลิกเรียกว่า ศีลมหาสนิท ฝ่ายโปรเตสแตนต์เรียกว่า มิสซา (Missa) เป็นพิธีกรรมเพื่อน้อมจิตระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูบนไม้กางเขน ผู้ที่สมควรรับศีลนี้ต้องเป็นผู้ที่เชื่อหรือยอมรับว่า พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแทนเขา และแสดงว่าเป็นการร่วมกับฝ่ายจิตและวิญญาณระหว่างพระเยซูกับชาวคริสต์ เป็นการยอมรับว่าพระเยซูมาสถิตอยู่ในกายตน ก่อนเข้าพิธีต้องมีการ เตรียมใจ มีเจตจำนงซื่อตรง แต่งกายสุภาพ และต้องอดอาหารเพื่อรับศีล ก่อนรับศีลต้อง สวดมนต์ภาวนาโดยสวดบทแสดงความเชื่อ และแสดงความวางใจในศีล บทแสดงความทุกข์ถึงบาปและความรักต่อพระองค์ ตลอดจนแสดงความปรารถนาดีที่จะรับศีล พระผู้ทำพิธีจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่น ซึ่งมีความหมายถึงเนื้อและเลือดของพระเยซู (ปัจจุบันแจกแต่ขนมปัง เพราะมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก) นิกายโรมันคาทอลิกถือว่าขนมปังและเหล้าองุ่นเป็นเนื้อและเลือดของพระเยซูจริงๆ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์ถือว่าพระเยซูเสด็จมาประทับท่ามกลางพิธี และขนมปังก็คือขนมปัง ไม่ใช่เนื้อของพระเยซู

     4. ศีลแก้บาป หรืออภัยบาป (Confession) เป็นพิธีที่ชาวคริสต์ที่สำนึกว่าตนได้ทำบาปลงไป จะต้องไปหาบาทหลวง เพื่อสารภาพถึงการทำความผิดนั้น และขออภัยโทษจากพระเจ้า บาทหลวงในฐานะผู้แทนของพระเจ้าจะเป็นผู้ยกบาปนั้นให้ ก็การที่จะได้รับอภัยบาปจากพระเจ้าได้ก็ต่อเมื่อมีความสำนึกผิดอย่างจริงใจ ส่วนโทษของบาปหรือบาปกรรมที่ติดตัวไป หาได้หมดสิ้นไปไม่ จนกว่าจะใช้กรรมหมดสิ้นด้วยการทำดี

   5. ศีลเจิมผู้ป่วย (Holy Unction) เป็นพิธีที่ทำเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย และศีลนี้จะรักษาโรคทางกายให้บรรเทาเบาบางหรือให้หายได้หากพระเจ้าทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่วิญญาณของผู้รับศีลนั้น ในการทำพิธี นักบวชผู้ทำพิธีจะให้ศีลด้วยการเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ตามร่างกายของผู้ป่วย เช่น ที่ตา หู จมูก ปาก มือ และเท้าของผู้ป่วยพลางสวดอ้อนวอนขอให้พระเจ้าโปรดอภัยบาปอันได้กระทำลงไปแล้วแม้ด้วยอวัยะดังกล่าว

    6. ศีลบวชเป็นบาทหลวง (Ordination) เป็นพิธีที่เจ้าอาวาสในวัดทำให้แก่ผู้เข้า พิธีบวชเพื่อจะเป็นนักบวชในศาสนา (คือบาทหลวง) และมอบอำนาจที่จะทำหน้าที่นักบวชต่อไป การเป็นนักบวชศาสนาคริสต์ถือเป็นกิจอันยิ่งใหญ่และเป็นเกียรติอันสูงส่ง เพราะนักบวชจะบำเพ็ญกรณียกิจแทนพระเยซูคริสต์เพื่อเป็นสิริมงคลของพระเจ้าและเพื่อความรอดของวิญญาณ

   7. ศีลสมรส (Matrimony) เป็นศีลซึ่งรวมชายหญิงคู่หนึ่งต่อพระพักตร์พระเจ้าเพื่อจะได้สร้างครอบครัวชาวคริสต์ที่สมบูรณ์ต่อไป สามีภรรยาจะอยู่ร่วมกันได้ต้องมีความรักและซื่อสัตย์ต่อกัน ยอมรับลูกทุกๆ คนที่พระเจ้าประทานมาให้ พิธีแต่งงานต้องทำต่อหน้าบาทหลวงเจ้าอาวาสหรือผู้แทน และต่อหน้าพยานอีกสองคน ซึ่งพิธีจะทำในโรงสวด โดยคู่ บ่าวสาวหมอบลงหน้าแท่นบูชารับพรจากบาทหลวงผู้ทำพิธี เป็นการประกาศความรักและความซื่อสัตย์ระหว่างตนให้พระเจ้าทรงทราบ

    ศีลทั้ง 7 นี้ ถือปฏิบัติกันทั้งนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกาย โปรเตสแตนต์นับถือเฉพาะศีลล้างบาป และศีลมหาสนิทเท่านั้น นิกายออร์ทอดอกซ์ ถึงแม้จะถือศีล 7 อย่างเหมือนกับนิกายโรมันคาทอลิก แต่ก็มีความเชื่อในเรื่องอื่นๆ แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

   1.    นิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า โป๊ปหรือสันตะปาปาเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นตัวแทนพระเยซู จึงเสมือนเป็นตัวแทนของพระเจ้าบนพื้นพิภพ โป๊ปจึงสามารถตีความใน พระคัมภีร์ได้ สามารถออกคำสั่งสอนได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด สามารถล้างบาปให้ใครก็ได้ แต่นิกายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าโป๊ปเป็นบุคคลธรรมดา ไม่มีอำนาจวิเศษแต่อย่างใด ดังนั้นโป๊บก็ทำผิดได้เหมือนคนธรรมดา พระคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้นที่จริงแท้ สมบูรณ์แท้ ด้วยเหตุนี้นิกาย ออร์ทอดอกซ์ จึงให้ความสำคัญต่อพระคัมภีร์มากกว่าโป๊ป

    2.    นิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า พระเยซูมี 2 สภาวะ คือ พระเจ้ากับมนุษย์ เพราะก่อนที่จะมาอุบัติเป็นพระเยซูก็ได้เป็นพระเจ้ามาก่อนแล้ว เมื่อมาเกิดเป็นพระเยซูก็เป็นมนุษย์ แต่หลังจากพระเยซูฟื้นคืนชีพแล้วก็เป็นพระเจ้าอีก ส่วนนิกายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่า พระเยซูมีสภาวะทั้ง 2 อย่างอยู่ในตัวแล้ว หรือทรงเป็นพระเจ้าในร่างมนุษย์

    3.    นิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า พระนางมาเรียตายแล้วร่างกายไม่เน่า และได้ถูก อัญเชิญขึ้นไปอยู่บนสวรรค์สวมมงกุฎเป็นราชินีแห่งเทพนารีทั้งหลาย แต่นิกายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่า พระนางมาเรียเป็นมนุษย์ธรรมดามิได้ถูกอัญเชิญขึ้นสวรรค์ทั้งร่าง วิญญาณพระนางต่างหากที่พระเจ้าโปรดให้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์

    4.    นิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า บรรดานักบุญเป็นผู้วิเศษ จึงควรหล่อเป็นรูปไว้เคารพบูชา และสวดขอพรเพื่อให้นักบุญได้นำความต้องการของตนไปเสนอต่อพระเจ้าอีก ทอดหนึ่ง แต่นิกายออร์ทอดอกซ์ไม่เชื่อดังกล่าว อีกทั้งจะเป็นการเบียดบังความศรัทธาต่อพระเจ้าให‰ลดลงด้วย จึงห้ามปั้น ห้ามหล่อรูปนักบุญไว้เคารพบูชา

   5.    นิกายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า เมื่อคนตายแล้ว วิญญาณที่มีบาปไม่มากถึงกับจะต้องตกนรก แต่ก็ไม่มีบุญพอที่จะขึ้นสวรรค์ จึงจำต้องพาไปอยู่ในแดนชำระ (Purgatory) เสียก่อน แล้วค่อยมาคอยวันพิพากษาโลกเพื่อขึ้นสวรรค์ ส่วนนิกายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่า ไม่มีสถานที่ชำระดวงวิญญาณดังกล่าว เมื่อคนตายแล้วก็รอวันพิพากษาโลกเลยทีเดียว

   ส่วนความเชื่อที่ตรงกันทั้ง 3 นิกาย ก็มีเหมือนกัน คือ 1. เชื่อว่าพระเยซูเป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ 2. เชื่อว่าพระเยซูทรงสละชีพเพื่อไถ่บาปให้แก่มนุษย์ 3. เชื่อว่าพระเยซูฟื้นคืนชีพได้อีกหลังจากถูกประหารชีวิต 4. เชื่อว่ามีวันพิพากษาโลก ทุกชีวิตจะได้รับการตัดสินให้ไปอยู่ในสวรรค์หรือนรกชั่วนิรันดร 5. เชื่อศีลล้างบาป 6. เชื่อศีลมหาสนิท

    นอกจากศาสนกิจต่างๆ ดังแสดงมาแล้ว ก็ยังมีพิธีกรรมที่ชาวคริสต์กระทำกันอีกมากมาย เช่น ไปโบสถ์ ไปวัดในวันพระ ชาวคริสต์ในสมัยแรกๆ จะถือวันเสาร์เป็นวันพระและวันเริ่มต้นของสัปดาห์เหมือนอย่างศาสนายิว เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ในสมัยของเซนต์ปอล36) และถือกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาทิตย์ ชาวคริสต์จะไปโบสถ์เพื่อปฏิบัติศาสนกิจเป็นการพัฒนาจิตใจ

   เมื่อถึงวันคริสต์มาส ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองรื่นเริงเป็นการใหญ่เพราะถือว่าเป็น วันคล้ายวันเกิดของพระเยซู ซึ่งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ถือว่าวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเยซู แต่นิกายออร์ทอดอกซ์ตะวันออกถือว่า วันเกิดของพระเยซูตกอยู่ในเดือนมกราคม แต่ก่อนถึงวันคริสต์มาส 4 สัปดาห์ เป็นเทศกาล แอดเวนต์ (Advent) ชาวคริสต์จะพากันอ่านคัมภีร์พันธสัญญาเดิม เพื่อเตรียมตัวต้อนรับ วันคริสต์มาส และหลังจากวันคริสต์มาสผ่านพ้นไปแล้ว 12 วัน ก็ถึงวันอีปิฟานี (Epiphany) ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองถึงวันที่มีนักปราชญ์ตะวันออกมาเยือนพระเยซูตอนเกิดใหม่ และ ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันกลับฟื้นคืนชีพของพระเยซู เพราะ ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูถูกตรึงไม้กางเขนสิ้นชีพในเย็นวันศุกร์ ครั้นรุ่งเช้าวันอาทิตย์ พระเยซู ก็ฟื้นคืนชีพสู่สวรรค์ และหลังจากวันอีสเตอร์ไปอีก 50 วัน ก็ถึงวันเพนตีโคสต์ (Pentecost) ซึ่งเป็นวันที่ชาวคริสต์เฉลิมฉลองถึงวันที่โมเสสได้รับพระบัญญัติ 10 ประการ จากพระเจ้า บนยอดเขาซีไนเหล่านี้เป็นต้น แต่พิธีกรรมเหล่านี้ นิกายอิงลิช พูริตัน ปฏิเสธทั้งหมด ไม่กระทำกิจกรรมดังนิกายอื่น เพราะเห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญอะไร

 

9. สัญลักษณ์ของศาสนา

   ในศาสนาคริสต์ทุกนิกายใช้เครื่องหมายเหมือนกัน คือ ไม้กางเขน เดิมไม้กางเขนเป็นเครื่องมือสำหรับประหารชีวิตนักโทษในปาเลสไตน์ สมัยโบราณนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตแล้ว จะถูกตรึงเข้ากับไม้กางเขนแล้วยกขึ้นตั้งให้ตากแดดไว้จนกว่าจะตายด้วยความร้อนและความหิวกระหาย พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเช่นนั้น ศาสนาคริสต์จึงถือว่า ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเสียสละอันยิ่งใหญ่นิรันดรของพระเจ้า

 

10. ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน

    ศาสนาคริสต์ในปัจจุบันมีผู้นับถือมากที่สุดในโลก มีศาสนิกกว่า 2,100 ล้านคนกระจายไปทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ทั้งนี้ก็เพราะศาสนาคริสต์มีวิธีการเผยแผ่ที่ดี พรั่งพร้อมด้วยบุคลากร ทุนทรัพย์ และอำนาจ ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าศาสนาแห่งความรัก พระเยซูเน้นถึงความรักว่าสำคัญที่สุด มีความรักอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์ รักเพื่อนบ้าน รักครอบครัว แล้วจะได้ความรักตอบแทน ซึ่งมีค่ากว่าสมบัติใดๆ ให้รักโลก ทำตนเป็นคนของโลก และก็ด้วยอิทธิพลคำสอนดังกล่าวจึงมีหมอสอนศาสนาคริสต์ออกไปเผยแผ่ศาสนาทั่วโลก ทั้งช่วยจัดตั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลควบคู่ไปด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะดำเนินรอยตามพระเยซูซึ่งเป็นทั้งหมอกายหมอใจ ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยทั้งโรคกายโรคใจ

     ดังนั้น การช่วยเหลือกันในรูปแบบต่างๆ จึงมีอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวคริสต์ สะท้อนถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ดังกล่าวมาแล้ว แต่ภายในศาสนาคริสต์เองกลับแตกแยกกัน แบ่งเป็นนิกายใหญ่น้อยมากมาย และแต่ละนิกายต่างก็ยึดมั่นในปรัชญาของตน ไม่ปรองดองเข้าหากัน ทั้งยังไม่มีองค์การใดที่คอยประสานรอยร้าวได้ ดังนั้นศาสนาคริสต์ถึงแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ แต่ก็อยู่ในฐานะที่รวมกันได้แค่เพียงหลวมๆ ตลอดทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก็มีการขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาคริสต์ จึงทำให้ชาวคริสต์รุ่นใหม่มีความสนใจในศาสนาน‰อยลง หรือไมˆก็ไมˆสนใจเลย บ‰างก็หันไปนับถือศาสนาอื่น ซึ่งก็มีมากขึ้นตามลำดับ

 

 


1) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : คัมภีร์มัทธิว, 2527 หน้า 17.
2) Hopfe, lewis M”Religions of the World” 3fd edition} 1983 p.377-378.
3) ดนัย ไชยโยธา. นานาศาสนา, 2539 หน้า 174-175.
4) Macdonald, R.C. What the Bible Teaches, 1973 p.4-6.
5) องค์การกีเคียนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 7, 2527 หน้า 24-25.
6) องค์การกีเคียนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : ยอห์น 1. หน้า 360-361.
7) องค์การกีเคียนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : ลูกา 1, หน้า 221.
8) เลวีนิติ 19 : Ninian Smart and Richard D. Hecht, eds, Sacred Texts of the World : A Universal Anthology, 1982 p. 80.
9) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : ยอห์น 17, 2527 หน้า 441-442.
10) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มาระโก 12. หน้า 193.
11) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 19, 2527 หน้า 23-24.
12) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 6, หน้า 19.
13) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 6, หน้า 33.
14) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 22. หน้า 36-39.
15) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 2, 2527 หน้า 12-13.
16) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 13.
17) , 18) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 14.
19) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, 2527 หน้า 15.
20) , 21) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 16.
22) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 17.
23) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 17-18.
24) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 18.
25) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 5, หน้า 19.
26) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 6, หน้า 21.
27) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 6, หน้า 24.
28) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 7, หน้า 24-25.
29) องค์การเผยแพร่พระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, :อพยพ, 2514 หน้า 21.
30) องค์การเผยแพร่พระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, :อพยพ, 21 หน้า 23-25.
31) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : จอห์น 14. 2527 หน้า 11.
32) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : จอห์น 7. หน้า 16.
33) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : จอห์น 7. หน้า 33.
34) องค์การกีเคี้ยนอินเตอร์เนชั่นแนล. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ : มัทธิว 24. หน้า 29-31.
35) เสรี พงษ์พิศ. ศาสนาคริสต, 2529 หน้า 274-297.
36) Hopfe, lewis M. Religions of the World, 1994 p.347.


หนังสือ DF 404 ศาสนศึกษา
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015551010767619 Mins