ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อินเดีย

วันที่ 10 กพ. พ.ศ.2560

ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อินเดีย

   อินเดียเป็นประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปีที่สำคัญอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาแต่ครั้งโบราณกาลเมื่อกล่าวถึงอินเดีย มิใช่เฉพาะประเทศในซีกโลกตะวันออกเท่านั้นที่รู้จักโดยทั่วกัน แม้แต่ประเทศในซีกโลกตะวันตก ต่างก็รู้จักดินแดนแห่งนี้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (356-323 B.C.) แห่งมาซิโดเนีย ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยยาตราทัพมายังดินแดนแถบนี้ โดยมุ่งหมายจะยึดครองอินเดียให้จงได้ ตามข้อสันนิษฐานของ
นักโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ภาคเหนือของอินเดียได้เคยมีการติดต่อกับอารยธรรม
เมโสโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสมาก่อนแล้ว

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอินเดีย

  อินเดียในยุคโบราณมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุม 5 ประเทศในปัจจุบัน
คือ ประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และอัฟกานิสถาน อินเดียเป็นอนุทวีป
ที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นดินเเดนรูปสามเหลี่ยมหัวกลับขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ใหญ่พอๆ กับ
ทวีปยุโรป และมีพรมแดนที่ถูกปิดทุกด้าน โดยปลายยอดอยู่ทางด้านใต้ ยื่นไปในมหาสมุทรอินเดีย
ผ่นดินส่วนใหญ่จึงแวดล้อมด้วยทะเลส่วนแผ่นดินที่เหลือทั้งหมด จะแวดล้อมไปด้วยเทือกเขา
สูงทั้งสิ้น โดยฝังตะวันออกติดเทือกเขาของพม่า ฝั่งตะวันตก ติดเทือกเขาฮินดูกูช
ส่วนตอนเหนือซึ่งเป็นเหมือนฐานของสามเหลี่ยม ตลอดอาณาเขตมีเทือกเขาหิมาลัย
พาดเป็นแนวยาวสูงตระหง่าน

   อาณาบริเวณของอินเดียโบราณนั้น แบ่งได้เป็น 3 เขต ได้แก่ เขตเทือกเขาหิมาลัย
เขตลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ และเขตที่ราบสูงทางตอนใต้ ด้านเหนือสุดของดินเเดนสลับสล้างไปด้วย
พืดเขาสูงลิบลิ่วซึ่งปกคลุมขาวโพลนด้วยหิมะตลอดปี เป็นแนวกำแพงภูเขามหึมาที่ทอดตัวโค้ง
เหมือนกับดาบโง้ง แบ่งอนุทวีปอินเดียออกจากส่วนอื่นของทวีปเอเชีย ยอดเขาหิมาลัยและ
ทิวเขาการาโกรัม (ฯ) ด้านที่ประชิดกันเป็นส่วนสูงที่สุดในโลกและยาวเรื่อยมาจนถึงปลาย
ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้านแนวเทือกเขาฮินดูกูช (Hindukush) ยามที่ต้องแสง
พระอาทิตย์แลประดุจเอาทองมาทาบทา บางเวลากลับแลดู สลัวด้วยเมฆหมอกที่ สลับซับซ้อน
ไปจนสุดสายตา

   ถัดมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ไพศาล มีทุ่งโล่งสาลีเกษตรที่ได้รับความสมบูรณ์
จากแม่น้ำทั้งหลาย อันมีแม่น้ำสายสำคัญ 3สาย เรียงจากตะวันตกไปหาตะวันออก คือ
แม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา และแม่น้ำพรหมบุตร ซึ่งรับน้ำที่เกิดจากการละลายลงของหิมะที่
ปกคลุมยอดเขาหิมาลัยในฤดูร้อน นำความอุดมสมบูรณ์มาให้อินเดีย จนกระทั่งก่อกำเนิดเป็น
แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของอินเดียมาแต่สมัยโบราณ

   ต่อจากเทือกเขาวินธัย (Vindhyas) ลงมา เป็นที่ราบสูงทางตอนใต้คือบริเวณที่เป็น
คาบสมุทรของอินเดียซึ่งเรียกว่า ที่ราบสูงเดคคาน (Deccan) และทะเลทรายธาร์ (Thar)
ที่ทั้งร้อนและแห้งแล้ง บางคราวดินแดนแห่งนี้ก็หนาวเหน็บจนหิมะจับขาวโพลน บางคราวแผ่นดิน
ก็ร้อนระอุดูเวิ้งว้างปราศจากพืชพันธุ์เพราะแทบจะไม่มีฝนตกเลยส่วนที่ราบต่ำสำหรับปลูกพืช
ผลตามลุ่มน้ำ บางปีก็มีน้ำเอ่อล้นฝังจนเกิดอุทกภัยคร่าชีวิตมนุษย์ไปครั้งละนับร้อยนับพันคน
แต่บางปีในหน้าแล้งแม่น้ำสายใหญ่ๆ ก็กลับกลายเป็นดุจทะเลทรายที่แห้งผาก

   ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถูกแบ่งด้วยภูเขา แม่น้ำ และทะเลทรายออกเป็นเขตๆ จึงกลายเป็น
อุปสรรคต่อการเดินทางไปมาติดต่อระหว่างกัน ทำให้อินเดียแบ่งออกเป็นหลากหลายเผ่าพันธุ์
จำนวนภาษาที่ใช้ก็มีมากกว่าร้อยภาษา ยิ่งอินเดียภาคเหนือกับอินเดียภาคใต้ ด้วยแล้วจะแตกต่างกัน
โดยสิ้นเชิงราวกับเป็นคนละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสีผิว ภาษา หรือพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ล้วนต่างกัน
นยากที่จะกล่าวว่าเป็นผืนดินเดียวกัน ดังนั้นความมีเอกภาพของดินแดนแห่งนี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก
ะมีก็แต่สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชเท่านั้น ที่ทรงแผ่พระราชอำนาจเหนืออาณาจักรอันไพศาล
กว้างไกลไปจนครอบคลุมอนุทวีปเกือบทั้งหมด


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022142016887665 Mins