วิชชาจรณสัมปันโน

วันที่ 10 มิย. พ.ศ.2560

วิชชาจรณสัมปันโน

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , วิชชาจรณสัมปันโน , วิชชา , จรณะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมเทศนา

      คำว่า "วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน" แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

      คุณวิเศษของพระองค์ ในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) วิชชา
2) จรณะ

      อะไรเรียกว่า วิชชา ?
       วิชชาในที่นี้หมายเอาความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้

      มืด คืออะไร ?

     ในที่นี้หมายเอา ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณตรงกันข้ามกับ อวิชชาที่แปลว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ถูกหรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน ไม่รู้ไม่เห็นของจริงคือนิพพาน

      ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่ายึดมั่น คือ ยึดมั่นในขันธ์ 5


บทขยายความ
      พระพุทธคุณประการที่ 3 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ วิชชาจรณสัมปันโน

     พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้แบ่งอธิบายออกเป็น 2 อย่าง คือ วิชชา อย่างหนึ่งและ จรณะ อีกอย่างหนึ่ง

     ในเบื้องต้นที่ท่านขยายความคำว่า "วิชชา" มีคำศัพท์ที่เราควรจะทำความเข้าใจก่อน 2 คำ คือคำว่า ขันธ์ 5 และ อุปาทาน

      ขันธ์ 5 คืออะไร

      ขันธ์ แปลว่า กอง หรือหมวดหมู่

      ขันธ์ 5 คือองค์ประกอบ 5ส่วน หรือ 5 กองของสิ่งมีชีวิตทุก ๆ ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์

      ในเบื้องต้นพระพุทธองค์ทรงชี้ชัดเลยว่าสิ่งมีชีวิตนั้นประกอบด้วย 2ส่วนสำคัญคือ กายและ ใจ ซึ่งพระองค์ใช้คำว่า รูป กับ นาม และกายกับใจนี้ทรงแบ่งออกเป็น 5 กอง รวมเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ

1. รูป
2. เวทนา
3.สัญญา
4.สังขาร
5. วิญญาณ

       ส่วนที่เป็น "กาย" ทรงใช้คำว่า "รูป"

     รูป คืออะไร คือส่วนที่เป็นร่างกายของเรา ประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ซึ่งมาประชุมกันอย่างได้สัดส่วน พระองค์ตรัสไว้ชัดเจนทีเดียว ที่เรียกว่า "รูป" เพราะว่ามันแตก ลายได้ เพราะว่ามันกระทบกระทั่งกับวัตถุภายนอกอยู่ตลอดเวลา กระทบกับความหนาวบ้าง ความร้อนบ้าง ความหิวบ้าง ความกระหายบ้าง ทั้งเหลือบ ยุง ริ้น ไร มาไต่ตอมร่างกายของเรามันก็แตกได้ทำลายได้ พอตากแดดตากฝนเข้าหน่อย มันก็เจ็บไข้ได้ป่วยกันไป แล้วพอถึงวันหนึ่งก็ย่อมแตกสลายไปเป็นธรรมดา ที่เราเรียกว่า "ตาย" ลายกลับเป็นธาตุดินธาตุน้ำ

      ส่วน "ใจ" ก็มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือ เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ

    ก่อนที่จะไปทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบของใจทั้ง 4ส่วนกันต่อไปนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเข้าใจโครงสร้างและกลไกการทำงานของใจเสียก่อน เพราะเป็นพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะช่วยให้เข้าใจองค์ประกอบของใจทั้งหมดในแต่ละส่วนได้อย่างง่าย ๆ และชัดเจนยิ่งขึ้น

    แม้ว่าโดยปกติทั่วไป ใจของคนเรานั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ คือ ชอบซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่น่าพออกพอใจ ตามแต่อำนาจของกิเลสจะพาไป แต่ถึงกระนั้นใจก็ยังมีที่อยู่ของมันเองอย่างถาวร ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านได้ค้นพบว่า แท้ที่จริงแล้วใจนี้มีลักษณะรูปร่างเป็นดวงกลม ใสะอาด บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ที่กลางกลาย เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ หรือที่เรียกกันว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ 7

    โครงสร้างของใจคนเราซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีอยู่ 4 ชั้น คล้ายๆ กับผลของมะพร้าวที่แบ่งเป็นชั้น ๆ เข้าไปตั้งแต่เปลือกแข็ง เปลือกอ่อน กะลา และเนื้อมะพร้าวส่วนขนาดแต่ละชั้นของใจก็มีขนาดไม่เท่ากัน แถมยังมีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันอีกด้วย

    ขนาดของใจหรือเนื้อใจชั้นนอกของแต่ละคนก็ไม่เล็กไม่ใหญ่ โตเท่ากับ "เบ้าตา" ของตัวเอง ทำหน้าที่ "รับ" เปรียบได้กับชั้นเปลือกแข็งของมะพร้าว

       เนื้อใจชั้นที่ 2 โตเท่ากับลูกนัยน์ตาของเรา ทำหน้าที่ "จำ" เปรียบได้กับชั้นเปลือกอ่อน

       เนื้อใจชั้นที่ 3 โตเท่ากับลูกนัยน์ตาดำของเรา ทำหน้าที่ "คิด" เปรียบได้กับชั้นกะลา

       เนื้อใจชั้นที่ 4 โตเท่ากับแววตาดำของเรา ทำหน้าที่ "รู้" เปรียบได้กับชั้นเนื้อมะพร้าว

      ส่วนกลไกการทำงานของใจ ทั้ง 4 ขั้นตอน รับ จำ คิด รู้ จะเริ่มจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของกายก่อน คือ

       เมื่อมีรูปมากระทบตา ประสาทตาก็ส่งต่อไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า "เห็น"

       เมื่อมีเสียงมากระทบหู ประสาทหูก็ส่งต่อไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า "ได้ยิน"

       เมื่อมีกลิ่นมากระทบจมูก ประสาทจมูกก็ส่งต่อไปให้ใจ ใจรับเอาไว้เรียกว่า "ได้กลิ่น"

       เมื่อมีรสมากระทบลิ้น ประสาทลิ้นก็ส่งต่อไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า "ลิ้มรส"

     เมื่อมีสิ่งใดที่มากระทบกาย ประสาทกายก็ส่งต่อไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า "โผฏฐัพพะหรือสัมผัสทางกาย"

      นี่เป็นกลไกการทำงานขั้นตอนที่ 1 คือ "รับ" ซึ่งเกิดขึ้นที่เนื้อใจชั้นนอกสุด แต่แปลกอยู่ตรงที่ว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มาสัมผั ประสาทในตัวแล้ว เมื่อถูกส่งต่อไปที่ใจ ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นภาพให้ใจรับไว้ทั้งหมด เสียงก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพได้ กลิ่นก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพได้รสก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพได้สัมผั ทางกายก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพได้ อุปมาเหมือนกับคลื่นไฟฟ้า ภาพที่เปลี่ยนเป็นคลื่นไฟฟ้า เมื่อเข้าไปในจอทีวี มันก็เปลี่ยนไปเป็นรูป เสียงที่เปลี่ยนเป็นคลื่น เมื่อเข้าไปในเครื่องทีวี เข้าไปในวิทยุก็กลับมาเป็นเสียงได้อีก คือสามารถจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ เพราะฉะนั้นรูป รส กลิ่น เสียงสัมผัส และธรรมารมณ์ทั้งหลายจึงเปลี่ยนไปเป็นภาพได้ทั้งหมด ดังนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ท่านจึงใช้คำว่า "เห็น" (ภาพ) แทนคำว่า "รับ"

     เนื้อใจชั้นที่ 1 เมื่อรับแล้ว ก็ส่งต่อไปยังเนื้อใจชั้นที่ 2 ซึ่งอยู่ลึกกว่า เบา โปร่ง โล่ง และประณีตมากกว่า ทำหน้าที่บันทึกไว้เป็นภาพทั้งหมด เหมือนกับวิดีโอที่สามารถบันทึกภาพไว้ได้การบันทึกนี้ก็คือ "จำ" ทำให้มนุษย์สามารถจำสิ่งต่าง ๆ ได้

      เมื่อเนื้อใจชั้นที่ 2 จำไว้ได้แล้ว ก็ส่งต่อไปยังเนื้อใจชั้นที่ 3 ซึ่งทำหน้าที่ "คิด" แยกแยะหาเหตุ หาผลตามแต่ข้อมูลที่ได้รับเข้ามา

     เมื่อคิดแยกแยะหาเหตุผลแล้ว ก็ส่งต่อไปยังเนื้อใจชั้นที่ 4 ที่อยู่ลึกกว่า เบา โปร่ง โล่งและประณีตมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ทำหน้าที่ตัดสินใจสรุปข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมด เป็น "รู้" ซึ่งความรู้นี้ จะถูกนำไปใช้เป็นความเชื่อ หรือเป็นทิฏฐิต่อไปข้างหน้า

     แต่การที่จะรับ จำ คิด รู้ ได้ถูกต้องหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับมา ถ้ารับมาถูกก็จะจำถูก คิดถูก และรู้ถูกตรงตามความเป็นจริง แต่ถ้ารับมาผิด ก็จะจำผิด คิดผิด และรู้ผิดไปจากความเป็นจริงด้วยเช่นกัน

    ทำนองเดียวกับเวลาที่เราไม่สบาย จะมีอาการปวดหัว ตัวร้อน และรู้สึกไม่ค่อยอยากรับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารจะอร่อยสักปานใด แต่เมื่อเข้าปากแล้ว เพราะความที่เป็นไข้อาหารที่ว่าอร่อยก็เลยพาลไม่มีร ชาติไปได้เหมือนกัน

      หรือในขณะที่อารมณ์ไม่ดี หรือกำลังโกรธใครอยู่ แม้พูดดี ๆ ด้วย ก็ฟังไม่ค่อยจะเข้าหูหาว่าพูดจาเยาะเย้ยถากถางบ้าง เหน็บแนมบ้าง ก็คิดไปต่าง ๆ นานา

      หรือเมื่ออยู่ในที่มืด ๆ เห็นเชือกวางอยู่บนพื้น ก็อาจเข้าใจว่า เป็นงู ครั้นแสง ว่างจ้าไปตาก็พร่าแสบตา มองไม่ถนัดเสียอีก หรืออยู่ใกล้เกินไป ก็จะเบลอ ๆ มองไม่เห็น เหมือนผงเข้าตา ครั้นอยู่ไกลเกินไป ต้องเพ่งต้องจ้อง การเห็นก็ผิดพลาดไปได้ง่าย หรือแม้แต่ขณะขับรถผ่านไปเร็ว ๆ เห็นหมูข้างทางก็อาจมองเห็นเป็นสุนัขไปได้อีกเหมือนกัน

     ดังนั้น ถ้าขั้นตอนการรับของใจถูกต้องแล้ว ขั้นตอนอื่นๆ ทั้งจำ คิด รู้ ก็จะพลอยถูกต้องตามความเป็นจริงไปด้วย แต่หากว่ารับมาผิด ๆ แล้ว ขั้นตอนอื่น ๆ ทั้งจำ คิด รู้ก็จะพลอยผิดทั้งหมด

      จากความรู้เรื่องโครงสร้างและกลไกการทำงานของใจทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว จะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ ที่เป็นองค์ประกอบของใจ คือ เวทนาสัญญาสังขาร และวิญญาณ

      เวทนา แปลว่า ความรู้สึก

    รู้สึกว่าอย่างไร รู้สึกว่าเป็นสุข ก็คือ สบายกายสบายใจ หรือรู้สึกว่าเป็นทุกข์ก็คือไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือว่าเฉย ๆ คือทั้งไม่สุข ไม่ทุกข์

     เวทนาเกิดจากอะไร เกิดจากการที่มีวัตถุภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วก็ส่งไปให้ใจ เมื่อใจรับเอาไว้ แล้วก็เลยเกิดความรู้สึกขึ้นมา

      เช่น มีรูปมากระทบตา ประสาทตาส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ คือ เห็น พอเห็นแล้วก็เลยเกิดความรู้สึกว่า แหม! เห็นรูปนี้สวยจัง เลยสบายใจ หรือไปเห็นสุนัขเน่าทั้งตัว จึงไม่สบายใจนี้ก็เป็นทุกข์ หรือเห็นคนที่มีหน้าตาธรรมดา เห็นแล้วก็เฉยๆ เป็นต้น

       ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพราะมีวัตถุภายนอกมากระทบนี้ เรียกว่า "เวทนาขันธ์"

      เมื่อมีเสียงมากระทบหู ประสาทหูส่งไปให้ใจ ใจรับเอาไว้ เรียกว่า "ได้ยิน" พอได้ยินแล้วก็อาจจะสุข เพราะว่าเสียงนั้นเป็นเสียงชม อาจจะทุกข์ เพราะว่าเขานินทา อาจจะเฉย ๆ เพราะว่าเขาพูดเรื่องอะไรก็ไม่รู้

    เมื่อมีกลิ่นมากระทบจมูก ประสาทจมูกส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า "ได้กลิ่น" พอได้กลิ่นแล้วก็เกิดเวทนา เช่น ถ้าหอมดีจังเลย ก็สบายใจ ถ้าเหม็นจังเลย ก็เป็นทุกข์ หรือมันมีกลิ่นนิด ๆ หน่อย ๆ จึงไม่ได้รู้สึกอะไร เฉย ๆ

     เมื่อรสมากระทบลิ้น ประสาทลิ้นก็ส่งไปให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ เรียกว่า "ลิ้มรส" พอลิ้มรสปุบ ก็เกิดเวทนาขึ้นมาทันที เช่น ถ้ามันอร่อยสุขเวทนาก็เกิด ถ้ามันเผ็ดจนหุบปากไม่ลง หรือขมปีทุกขเวทนาก็เกิด หรือไม่อย่างนั้น มันเฉย ๆ ภาษาพระก็ใช้คำว่า อทุกขมสุขเวทนา คือรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อะไร เฉย ๆ นี้ก็อีกอย่างหนึ่ง

     เมื่อมีวัตถุมากระทบกาย ประสาทกายส่งให้ใจ ใจก็รับเอาไว้ พอรับเอาไว้ก็เกิดเวทนาขึ้นมาว่า มันเย็น มันร้อน มันอ่อน มันแข็ง มันนิ่ง มันกระด้าง ทั้งหมดนี้คือเวทนา

      เพราะฉะนั้น "รับ" กับ "เวทนา" มิใช่อันเดียวกัน เพราะ "รับ" แล้วจึงเกิด "เวทนา" เวทนาเป็นปฏิกิริยาต่อจากการ "รับ" ของใจ เหมือนโดนต่อยแล้วทำให้เจ็บ การโดนต่อยกับรู้สึกเจ็บเป็นคนละอย่างกัน

      สัญญา เป็นองค์ประกอบของใจประการที่ 2 แปลว่า ความจำได้หมายรู้ หรือระลึกถึง

     จำอะไรบ้าง ? จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำสัมผั ทางกาย แล้วก็จำอารมณ์ที่เกิดกับใจได้เช่น ฉันจำได้ว่าเคยโกรธกับอีตาคนนี้ ฉันเคยชอบตาคนนั้น มันก็เป็นอารมณ์ที่เกิดกับใจของเรา ความจำอารมณ์ที่เกิดกับใจเช่นนี้ก็เรียกว่า "สัญญาขันธ์"

     สัญญาขันธ์ เกิดขึ้นเพราะกลไกการทำงานของใจที่สามารถ "จำ" หรือบันทึกข้อมูลไว้ได้ ทั้งภาพ ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งสัมผัสทางกาย และบันทึกได้แม้กระทั่งอารมณ์ที่เกิดกับใจ

     พูดง่ายๆ ก็คือ เพราะใจมีกลไกในการ "จำ" หรือบันทึกข้อมูลได้ จึงเกิดสัญญาความจำได้ หรือระลึกถึง รูป รส กลิ่น เสียงสัมผัสและอารมณ์ที่เคยประสบมาได้

    เพราะฉะนั้น "สัญญา" กับ "จำ" ที่เป็นขั้นตอนการทำงานของเนื้อใจชั้นที่ 2 เป็นคนละอย่างกัน มิใช่อันเดียวกัน อย่าได้เข้าใจสับสน อุปมาเหมือนกับม้วนวิดีโอทัศน์ที่สามารถบันทึกทั้งภาพและเสียงไว้ในแถบแม่เหล็ก ภาพและเสียงกับสัญญาณแม่เหล็กในเนื้อเทปมิใช่สิ่งเดียวกันฉันใดสัญญาที่เป็นข้อมูลกับความสามารถในการบันทึกข้อมูล ที่เรียกว่า "จำ" ที่ฝังอยู่ในเนื้อใจชั้นที่ 2 ก็เป็นคนละอย่างกันฉันนั้น

      สังขาร เป็นองค์ประกอบของใจ ประการที่ 3 แปลว่า ความคิดปรุงแต่ง

     เมื่อมีรูปมากระทบตา ประสาทตาก็รับเอาไว้ ก็ก่อให้เกิดเวทนา แล้วก็ส่งไปให้เนื้อใจ ชั้นที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่จำอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ แล้วจากนั้นก็ส่งไปให้เนื้อใจชั้นที่ 3 ซึ่งมีความใสความโปร่ง ความเบามากขึ้นไปอีก ทำหน้าที่คิด จึงเกิด "ความคิด" ขึ้นมา เช่น คิดจะยืนคิดจะเดิน คิดจะนั่ง คิดจะพูด คิดจะฟัง บางคนก็คิดสั้น คิดยาว คิดลึก คิดซึ้ง ซึ่งแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ

1. คิดดี เรียกว่า "กุศล"
2. คิดชั่ว เรียกว่า "อกุศล" และ
3. คิดไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลาง ๆ ก็เรียกว่า "อัพยากฤต"

    เช่น คิดอายบาป คิดกลัวบาป ก็เป็นหิริโอตตัปปะ คิดที่จะพยายามแก้ไขตนเอง ก็เป็นวิริยะ คิดที่จะเสีย ละ ก็เป็นจาคะ เหล่านี้เป็นความคิดที่ดี

     ส่วนความคิดชั่ว เช่น คิดจะโกง คิดจะลักจะขโมย คิดจะฆ่า คิดจะพยาบาท

    หรือคิดชนิดที่ไม่ดีไม่ชั่ว กลาง ๆ เช่น คิดว่า เดี๋ยวกินแล้วจะไปนอน เดี๋ยวจะเรื่อย ๆเฉื่อย ๆ หิวก็กิน อิ่มก็นอน ร้อนก็อาบน้ำ คือ คิดเหมือนเด็ก

     ความคิดทั้งหมดนี้เรียกว่า "สังขารขันธ์"

     ถ้าพูดง่าย ๆสังขาร คือ ความคิด ได้แก่ คิดดี คิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว มีอยู่ 3 อย่างแค่นี้

    เพราะฉะนั้น "คิด" กับ "สังขาร" ไม่เหมือนกัน เนื้อใจชั้นที่ 3 ทำหน้าที่คิดพอคิดแล้ว มันก็คิดปรุงแต่งให้เกิดได้ทั้งที่ดี ทั้งชั่ว ทั้งเฉย ๆ

     ความคิดดี ความคิดชั่ว ความคิดเฉย ๆ นั้น ท่านเรียกว่า "สังขาร" หรือ ความคิดที่เกิดจากการปรุงแต่ง

    ดังนั้น "คิด" ที่หมายถึง ความสามารถในการคิดของใจ กับ "สังขาร" ที่หมายถึงการปรุงแต่งความคิดไปในอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งที่ดี ที่ชั่ว ที่กลาง ๆ จึงเป็นคนละเรื่องกัน

    วิญญาณ เป็นองค์ประกอบของใจ ประการที่ 4 แปลว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ เมื่อคิดแล้วก็เกิดความรู้ขึ้นมาด้วยในตัวของมันเอง คือ รู้รูปที่เห็นทางตา รู้เสียงที่ได้ยินทางหูรู้กลิ่นที่ได้สูดทางจมูก รู้รสที่ได้ลิ้มทางลิ้น รู้สัมผัสที่ได้แตะต้องทางกาย และรู้อารมณ์ที่นึกที่คิดขึ้นมาจากใจเอง ความรู้นี้เรียกว่า "วิญญาณขันธ์"

     แต่มีศัพท์อีกคำหนึ่งที่มักเข้าใจสับ นกันคือ "วิญญาณธาตุ"

     วิญญาณธาตุ คือ ธาตุรู้ เป็นผู้รู้หรือตัวรู้ส่วนวิญญาณขันธ์ คือ ความรู้

      ตกลงจึงมี 2 อย่าง คือ ผู้รู้ (วิญญาณธาตุ) กับ ความรู้ (วิญญาณขันธ์)

   ถ้าจะอุปมาให้ชัดเจน วิญญาณธาตุหรือจิตนั้น เหมือนดวงไฟส่วนวิญญาณขันธ์เปรียบเหมือนแสงไฟที่ส่องออกมาจากดวงไฟ ดวงไฟมันอยู่เฉย ๆ เมื่อมีไฟฟ้าเข้ามาก็เลยเปล่งแสงออกมาได้ เช่นเดียวกัน ใจหรือวิญญาณธาตุน่ะ อยู่เฉย ๆ แต่ว่าเมื่อมีเสียงมากระทบมีกลิ่นมากระทบ มีรูปมากระทบ จึงเกิดความรู้ออกมาได้

    โดยสรุปคือ เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ นั้นเป็นงานของใจส่วนใจ เป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง ท่านอุปมาให้ฟังเอาไว้ว่า จิตของเราก็เหมือนกระบอกไฟฉายส่วนเวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ เปรียบเหมือนแสงที่พุ่งออกจากไฟฉาย

เพราะเนื้อใจชั้นที่ 1 ทำหน้าที่ "รับ" จึงเกิด "เวทนา" คือ ความรู้สึก
เพราะเนื้อใจชั้นที่ 2 ทำหน้าที่ "จำ" จึงเกิด "สัญญา" คือ ความจำได้หมายรู้
เพราะเนื้อใจชั้นที่ 3 ทำหน้าที่ "คิด" จึงเกิด "สังขาร" คือ ความคิดปรุงแต่ง
เพราะเนื้อใจชั้นที่ 4 ทำหน้าที่ "รู้" จึงเกิด "วิญญาณ" (ขันธ์) คือ ความรู้

     คนนอนหลับ เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ ดับไป แต่ธรรมชาติที่เรียกว่า "จิต" ยังมีอยู่ จิตยังไม่ดับ เพียงแต่ยังไม่ออกฤทธิ์ ยังไม่ทำงานออกมา

     เวลาคนตาย ขันธ์ทั้ง 4 นั้นดับไปหมด แต่จิตก็ยังอยู่ ถ้าจิตนั้นไม่สิ้นกิเลสจิตก็ออกจากร่างไปถือปฏิ นธิในภพต่อ ๆ ไป พร้อมด้วยบุญกรรมที่ทำไว้

    จากเท่าที่เคยศึกษามาในประวัติศาสตร์โลก ผู้ที่สามารถจำแนกแจกแจงให้เห็นองค์ประกอบของชีวิต และอธิบายกลไกการทำงานของใจได้เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจนอย่างพระเดชพระคุณหลวงปู่นี้ ยังไม่มี

    ทำไม ? เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในใจ ฉะนั้นใครที่จะเห็นปฏิกิริยานี้ได้จะต้องเห็นใจของมนุษย์ เห็นใจของสัตวโลกก่อน จึงจะสามารถอธิบายได้ถูกต้อง และอุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้คนสามารถเห็น "ใจ" ได้นั้นคือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายภายในที่มีอยู่ในกายของมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิดนั่นแหละ

    แต่มนุษย์และสัตวโลกไม่เคยเห็นธรรมกายมาก่อน จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เข้าถึง "ธรรมกาย" และทรงอาศัยตาธรรมกาย ไปรู้ไปเห็นกลไกการทำงานของใจ จึงได้ทรงนำมาชี้แจงแสดงให้เราฟังได้อย่างชัดเจนเช่นนี้

     นอกจากนี้พระองค์ยังทรงอาศัยตาธรรมกายไปเห็นอีกว่า ขันธ์ 5 นี้ มีการเกิด การดับอยู่ตลอดเวลา เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เพราะถ้าร่างกายนี้เป็นของของเราจริง เราต้องควบคุมได้ว่า ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย แต่นี่ไม่ใช่ ซึ่งในเรื่องของร่างกายวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ก็ได้เห็นแล้วว่า ร่างกายของคนเราประกอบด้วยเซลล์ (Cell) จำนวนมหาศาล แล้วเซลล์เล็ก ๆ เหล่านี้ก็รวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) จากเนื้อเยื่อก็ประกอบกันเป็นอวัยวะ (Organ) ต่าง ๆ ในร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ก็รวมตัวกันเข้าเป็นคนหรือสัตว์ขึ้นมาและนักวิทยาศาสตร์ยังใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเห็นอีกด้วยว่า เซลล์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของร่างกายมีการเกิดการตายอยู่ตลอด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงของมนุษย์มีอายุเฉลี่ย ๑๒๐ วัน เป็นต้น

  แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่าคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยตาธรรมกายว่าแม้แต่เวทนาคือความรู้สึกสัญญาคือความจำได้สังขารคือความคิดปรุงแต่ง และวิญญาณคือความรู้ของใจ ก็มีการเกิดดับ ๆ อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์

     จากการที่พระองค์ทรงเห็นการเกิดการดับอยู่ตลอดเวลาของขันธ์ 5 นี้ จึงทำให้ทรงเห็นชัดว่า ขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของควรละ ควรปล่อยวางแต่สัตวโลกกลับเกิดความกำหนัดพอใจเสียอีกด้วย เพราะยังไม่บรรลุธรรมกาย ยังมองไม่เห็นความจริง หลงยึดว่าขันธ์ 5 นั่นแหละ เป็นตัวเป็นตนแท้จริงของเขาเอง

   ความกำหนัดพอใจในขันธ์ 5 เกิดขึ้นเพราะคนเรายังไม่เข้าถึงธรรมกาย จึงไม่เห็นกลไกของชีวิตทั้ง 5 ประการ และมองไม่เห็นการเกิดดับของขันธ์ 5 ดังกล่าว จึงทำให้หลงผิดยึดมั่นว่าร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวตนของเรา ความยึดมั่นนี้ ท่านเรียกว่า "อุปาทาน"


พระธรรมเทศนา
     ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื้ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ก็ว่าเมื่อตัดอุปาทานเสียได้จะมองเห็นพระนิพพานอยู่ข้างหน้า

      อวิชชาที่แปลว่า ไม่รู้ นั้น ได้แก่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตของสังขารไม่รู้ปฏิจจ มุปบาทและอริยสัจ

บทขยายความ
    ตรงนี้เท่ากับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำท่านบอกว่า ที่อุปาทานเกิดขึ้นโดยไปยึดมั่นถือมั่นเอาขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ อย่างที่เคยพูดไว้แล้วว่า อวิชชานี้ เป็นรากเหง้า เป็นต้นตอของกิเลสที่หยั่งรากลึกลงไปอยู่ในใจคนและเป็นความมืดที่สามารถแผ่ออกไปหุ้ม ไปคลุมใจไว้ ทำให้มนุษย์ทั้งหลายมองเห็นขันธ์ 5 ได้ไม่ครบหมดทุกส่วน อย่างดีก็เห็นแต่เพียงส่วนที่เป็นกาย แต่มองไม่เห็นส่วนที่เป็น "ใจ"

     เมื่อมองไม่เห็นใจ ก็เลยไม่เห็นกลไกการทำงานของใจทั้ง 4 ขั้นตอน คือ รับ จำ คิด รู้ก็เลยยิ่งไม่รู้จักเวทนา คือความรู้สึก ไม่รู้จักสัญญา คือความจำได้หมายรู้ ไม่รู้จักสังขาร คือความคิดปรุงแต่ง และไม่รู้จักวิญญาณ คือรับรู้

      เพราะฉะนั้น ทั้งมนุษย์ทั้งสัตวโลกอื่น ๆ ไม่มีใครเห็นทั้ง "ใจ" และกลไกการทำงานของใจตนเอง เพราะไม่เห็น ก็เลยทำให้หลงเข้าใจผิด ไปยืดมั่นว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่างเป็นตัวตนหลงเข้าใจว่า รูปเป็นตัวตน เข้าใจว่า เวทนาเป็นตัวตน เข้าใจว่าสัญญาเป็นตัวตน เข้าใจว่าสังขารเป็นตัวตน เข้าใจว่า วิญญาณเป็นตัวตน

      เมื่อไปยืดมั่นอย่างนี้ด้วยอำนาจของอวิชชาที่มาหุ้มใจ จึงทำให้มองไม่เห็นนิพพานทั้ง ๆ ที่นิพพานก็มีอยู่ในศูนย์กลางของธรรมกาย ที่มีอยู่แล้วภายในตัว ไม่เพียงแต่ไม่เห็นเท่านั้นยังไม่รู้สึกเฉลียวใจด้วยว่า นิพพานมีอยู่ข้างใน เป็นต้นแหล่งของความ ว่าง ปัญญา และความสุขแท้จริง แม้กระทั่งมีใครมาบอก ก็ยังไม่เชื่อ ดีไม่ดีกลับไปดูถูกผู้มาบอกด้วยความหลงผิดหรือโกรธ หาว่าเขาหลอกลวงอีก

     เมื่ออวิชชาเข้ามาห่อหุ้มใจ เลยทำให้ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตของสังขาร ที่ว่าไม่รู้อดีตคือไม่รู้ว่า ร่างกายและจิตใจของเรามีความเป็นมาอย่างไร ไม่รู้ปัจจุบัน คือ ไม่รู้ว่าร่างกายและจิตใจที่กำลังดำเนินอยู่นี้มีความแตกดับอยู่อย่างไร ไม่รู้อนาคต คือ ไม่รู้ว่าร่างกายและจิตใจจะเป็นอย่างไรต่อไป ยิ่งไม่มีทางรู้ได้ เว้นเสียแต่จะมี วิชชา ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเห็นด้วยตาธรรมกายเท่านั้น จึงจะสามารถขจัดความมืดที่ห่อหุ้มใจอันเกิดจากอวิชชา ซึ่งเป็นต้นตอของกิเลสได้เด็ดขาด

    เมื่อไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตของทั้งร่างกายและจิตใจ ก็เลยทำให้ยิ่งไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท วงจรลูกโซ่ของเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ ที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้บอกไว้ในตอนสัมมาสัมพุทโธ ว่ามีอวิชชาเป็นสมุทัยหรือเหตุให้เกิดทุกข์นั่นเอง พูดง่าย ๆ

      ก็คือ การที่ทุกข์นานาประการเกิดขึ้นมาได้นั้น ก็เพราะอาศัยปัจจัยที่สืบต่อเนื่องกันมา คือ

1. มี อวิชชา เป็นต้นเหตุของทุกข์
2. เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
3. เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
4. เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
5. เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี อายตนะ 6
6. เพราะมีอายตนะ 6 เป็นปัจจัย จึงมี ผัสะ
7. เพราะมีผัสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
8. เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
9. เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
10. เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ
11. เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
12. เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ และความทุกข์ทั้งปวง

    ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะเอาแต่เพียงตรึกตรองด้วยความคิดนั้นยากที่จะเข้าใจ เพราะแม้แต่พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเอง ซึ่งเวลานั้นถึงท่านจะเป็นพระโสดาบันแล้วก็ตามก็ยังไม่อาจเข้าใจเรื่องปฏิจจ สมุปบาทนี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เช่นในครั้งหนึ่ง พระอานนท์ท่านนั่งสมาธิเพื่อพิจารณาธรรมนี้อยู่ แล้วท่านก็รู้สึกว่า ปฏิจจ มุปบาท ที่เขาว่ากันว่ายากนักหนานั้น ทำไมถึงดูเหมือนง่ายสำหรับท่านเหลือเกิน คิดได้ดังนี้ ท่านก็เลยเข้าไปเฝ้ากราบทูลเล่าความคิดของท่านแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า

    "ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร

     ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะโสก ปริเทว ทุกข โทมนัส และอุปายา ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้"

    นี่มันยากอย่างนี้และท้ายที่สุดก็เลยไม่รู้จักอริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐประจำโลก 4 ประการ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ หลักการดับทุกข์ และทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้


พระธรรมเทศนา
     ขันธ์ 5 เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ 5 หรือวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพนี้เอง มืดมนสวนอยู่ในที่มืดคือโลกนี้เอง ในคำว่า "อนฺธภูโต อย โลโก" ซึ่งแปลว่า โลกนี้มืดผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ 5 อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ 5 กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ 5สัตว์ดิรัจฉานสัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ 5 พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตร์นรกเรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว


บทขยายความ
     แล้วพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านก็อธิบายต่อไปว่า ถ้าตราบใดที่ยังคงยึดมั่นในขันธ์ 5อยู่อย่างนี้ก็ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อีกต่อไป

      กามภพ คือ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ ได้แก่ โลกที่อยู่ของเทวดา โลกมนุษย์ที่เราอยู่และอบายภูมิ

      รูปภพ คือ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน หรือโลกที่เป็นที่อยู่ของรูปพรหม

      อรูปภพ คือ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาน หรือโลกที่เป็นที่อยู่ของอรูปพรหม

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านอธิบายเอาไว้อีกว่า ไม่เฉพาะแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีขันธ์ 5แม้แต่พวกเทวดาที่มีกายทิพย์ ก็ยังประกอบด้วยขันธ์ 5 เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเป็นขันธ์ 5 ที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น เพราะกายทิพย์ก็ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่นเดียวกับกายมนุษย์แต่ว่าเป็นธาตุที่บริสุทธิ์มากกว่า ละเอียดประณีตกว่า จนเราจับต้องไม่ได้ ตาก็มองไม่เห็น แม้แต่จะถ่ายด้วยเอกซเรย์ก็ไม่ติด มีความใสเป็นแก้ว เป็นเพชรส่วนกายรูปพรหมก็ประกอบด้วย ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช่นกัน แต่ละเอียดประณีตบริสุทธิ์มากขึ้นไปกว่ากายของกายทิพย์อีก และกายอรูปพรหมก็ประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ยิ่งละเอียดประณีตบริสุทธิ์มาก ๆ ขึ้นไปอีกถ้าจะอุปมาแล้ว กายมนุษย์ก็เหมือนกับก้อนกรวด ก้อนทราย กายทิพย์ก็เหมือนกับก้อนเพชรก้อนพลอย ซึ่งละเอียดประณีตกว่า ตามองทะลุผ่านได้ กายรูปพรหมก็อุปมาเหมือนวัตถุที่ละเอียดประณีตกว่าเพชรพลอยอีกเป็นล้าน ๆ เท่าส่วนกายอรูปพรหมก็ยิ่งละเอียดประณีตกว่ากายรูปพรหม อีกเป็นล้าน ๆ ๆ เท่าแต่ถึงจะมีความละเอียดประณีตอย่างไรก็ตาม กายเหล่านี้ก็ยังประกอบด้วยขันธ์ 5 มี รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ และมีกิเลสที่ละเอียด ๆ ที่เกิดจากอำนาจอวิชชาห่อหุ้มอยู่

    แต่ว่าความมืดของอวิชชาที่ห่อหุ้มใจของกายทิพย์นั้นยังน้อยกว่าในกายมนุษย์ ความมืดในใจของกายรูปพรหมก็น้อยกว่าในกายทิพย์ และความมืดในใจของกายอรูปพรหมก็น้อยกว่าในกายรูปพรหมส่วนในพวกสัตว์นรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในโลกันตร์นรก มีอวิชชาที่ห่อหุ้มอยู่มากที่สุด ทำให้ใจของสัตว์ในโลกันตร์นรกนั้นมืดจนไม่เหลือความสว่างอยู่ในใจเลย

    การที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะขยายความให้พวกเราเข้าใจคำว่า วิชชา โดยอาศัยคำว่า "อวิชชา" และคำว่า "ขันธ์ 5" มาอธิบาย ซึ่งเราพอจะคิดตรองตามได้ เมื่อเข้าใจคำว่า อวิชชา และคำว่า ขันธ์ 5 แล้ว ก็จะเข้าใจคำว่า "วิชชา" ไปโดยปริยาย

    โดยสรุป วิชชา หมายถึง ความรู้เท่าทันในขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นจากการเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงทำให้สามารถกำจัดความมืดของอวิชชาที่ห่อหุ้มใจได้เด็ดขาด

   แต่ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ก็ยังเป็นเพียงเค้าให้เข้าใจได้บ้างเท่านั้น ถ้าจะให้เข้าใจจริง ๆ ก็มีเพียงวิธีเดียวคือ ทุ่มเทปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ แล้วไปดู ไปเห็น ไปรู้ด้วยตนเอง

    เราได้ทำความเข้าใจพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำเรื่องพระพุทธคุณ ประการที่ 3 คือ วิชชาจรณสัมปันโน กันมาพอ มควรแล้ว โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือความเข้าใจเรื่องของ ขันธ์ 5 และก่อนที่เราจะได้ศึกษาพระธรรมเทศนากันต่อไปจำเป็นจะต้องย้อนสรุปประเด็นหลัก ๆ ของเนื้อหาทั้งหมดที่ได้อ่านกันมาเสียก่อน เริ่มตั้งแต่พระพุทธคุณประการที่ 1 คือ อรหัง ประการที่ 2สัมมาสัมพุทโธ และประการที่ 3 วิชชาจรณสัมปันโน เพื่อให้เห็นภาพรวมและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันของพุทธคุณทั้ง 3 ประการข้างต้น ซึ่งจะเป็นหลักให้สามารถเข้าใจพระพุทธคุณประการอื่น ๆ ต่อไปได้โดยง่าย


อรหัง
      พระพุทธคุณประการที่ 1 คือ อรหัง มีความหมายที่สำคัญอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

    ประการแรก อรหัง แปลว่า ไกลจากกิเลส หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราบกิเลสในพระทัยของพระองค์เองได้หมดสิ้น ชนิดสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษเลยทีเดียว ทำให้พระทัยของพระองค์กับกิเลสไกลกันจนกระทั่งกิเลสไม่สามารถกลับคืนมาสิงในพระทัยของพระองค์ท่านได้อีก

    ประการที่ 2 อรหัง แปลว่า ควรแก่การเทิดทูนบูชา ซึ่งเป็นผลมาจากความหมายประการแรก เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงบริสุทธิ์หมดจดจากกิเล อย่างชนิดที่ไม่มีใครในโลกจะมาเทียบได้ จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้ควรแก่การเคารพเทิดทูนบูชาของทั้งเหล่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

       เพราะฉะนั้น ประเด็นสำคัญของคำว่า "อรหัง" จึงอยู่ที่ความหมายประการแรกคือเป็นผู้ไกลจากกิเลส

     หากจะถามว่า ทำไมพระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากกิเลสก็ได้ความว่า เพราะพระองค์ทรงปราบกิเล ที่อยู่ในใจอย่างสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ จนกระทั่งกิเลสไม่สามารถจะกลับมากำเริบในพระทัยของพระองค์ได้อีกแล้ว และเมื่อถามต่อไปว่า แล้วพระพุทธองค์ทรงอาศัยอะไรไปปราบกิเลสก็จะได้คำตอบว่า พระองค์ทรงอาศัยธรรมกายภายในของพระองค์เอง ไปรู้ไปเห็นกิเลสที่มันทั้งหมัก ทั้งดอง ทั้งห่อหุ้มพระทัยของพระองค์เอาไว้มานานนับอสงไขยภพอสงไขยชาติไม่ถ้วน แล้วก็อาศัยวิชชา คือ ความรู้ที่เกิดจากการเข้าถึงธรรมกายไปทำลายกิเลสให้มันหลุด ลายออกไปจากพระทัยจนหมดสิ้นเหมือนดวงอาทิตย์กำจัดความมืดฉะนั้นจนกระทั่งพระทัยของพระองค์ใสะอาด บริสุทธิ์ กิเลสอะไร ๆ ก็ไม่สามารถมากล้ำกรายเข้าใกล้มาบังคับพระองค์ได้อีกต่อไป

     หากเราสาวเหตุต่อไปว่า พระองค์ทำอย่างไรจึงเข้าถึงธรรมกายได้ ก็ได้คำตอบว่า พระองค์ทรงอาศัยการเจริญสมาธิภาวนาอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จนกระทั่งพระทัยของพระองค์หยุดนิ่ง ถูกส่วน เข้าถึงกายในกายมาตามลำดับ ๆ ตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหมทั้งหยาบ ทั้งละเอียด จนในที่สุดก็เข้าถึงธรรมกาย และธรรมกายในธรรมกายที่ละเอียดลึกซึ้งเข้าไปตามลำดับ ๆ

    เมื่อเราสาวเหตุสาวผลกันมาอย่างนี้ ก็จะได้คำตอบชัดเลยว่า ประเด็นสำคัญของพระพุทธคุณประการแรก อยู่ตรงที่ว่า การที่ใครจะหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ได้มีวิธีเดียวคือการทำสมาธิภาวนาให้ใจหยุดในหยุดไปตามลำดับ ให้เข้าถึงธรรมกายตลอดจนธรรมกายในธรรมกายให้ได้

    วิธีอื่นนอกเหนือจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาธรรมะภาคปริยัติ หรือนำธรรมะมาขบคิดพิจารณาละเอียดลออสักเท่าไรก็ตามที ถ้าไม่ได้เจริญสมาธิอย่างจริงจังแล้วล่ะก็ เป็นไม่มีทางหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ได้เด็ดขาด

   แต่เพราะพระองค์ทรงเจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงธรรมกายได้นี่เอง จึงเป็นเหตุให้ทรงสามารถกำจัดกิเล ของพระองค์ได้หมดสิ้น จึงทรงได้เนมิตกนามว่า "อรหัง"


สัมมาสัมพุทโธ
      พระพุทธคุณประการที่ 2สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง

    การที่จะทำความเข้าใจพุทธคุณประการนี้ ก็ต้องย้อนกล่าวถึงว่า พระองค์ตรัสรู้เป็นอรหังได้ โดยการเจริญสมาธิจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกาย

    ถ้าจะสืบสาวราวเรื่องกันเข้าไปอีกว่า พระองค์ทรงทราบวิธีการทำสมาธิที่ทำให้เข้าถึงธรรมกายได้อย่างไร ไปทรงเล่าเรียนมาจากใคร  ที่ไหน  ตรงนี้ตอบได้เลยว่า ไม่มีใครหรืออาจารย์ท่านใดสอนให้ทั้งนั้น แต่พระองค์ทรงค้นพบได้ด้วยตัวของพระองค์เอง

    จริงอยู่ที่ครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเคยไปเรียนการทำสมาธิเบื้องต้นกับท่านอาฬารดาบจนกระทั่งได้อรูปฌานที่ 3 (อากิญจัญญายตนฌาน) และเรียนกับท่านอุทกดาบ จนกระทั่งได้อรูปฌานที่ 4 (เนวสัญญาณาสัญญายตนฌาน) แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้ช่วยให้พระองค์ตรัสรู้ธรรมได้

    นั่นแสดงว่า การทำสมาธิแบบที่พระองค์ทรงค้นพบนั้น แตกต่างออกไปจากการทำสมาธิด้วยวิธีต่าง ๆ ของนักบวชนอกพระพุทธศาสนาบรรดามีเหล่านั้นทั้งหมด

    ต่างกันตรงไหน ต่างกันตรงที่พระองค์ทรงค้นพบ "ศูนย์กลางกาย ฐานที่ 7" ว่าเป็นที่เดียวที่สามารถทำให้เข้าถึงธรรมกายได้ และเป็นที่เดียวที่จะปราบกิเลสให้หมดไปได้

  หรือจะพูดให้ง่ายไปกว่านี้ ก็ต้องบอกว่าสมาธิในพระพุทธศาสนา เป็นสมาธิประเภทเดียวที่ทำให้เข้าถึงธรรมกายได้ เราเรียกว่าเป็น "สัมมาสมาธิ"ส่วนสมาธิประเภทอื่น ๆ นอกพระพุทธศาสนา แม้ว่าจะช่วยให้ผู้ฝึกสามารถทำใจให้หยุดนิ่งได้ขนาดไหนก็ตามทีเถอะ แต่ถ้าไม่ได้กำหนดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 แล้วล่ะก็ เป็นไม่มีทางพบเห็นธรรมกายในตนเองโดยเด็ดขาด

     เพราะฉะนั้น ประเด็นสำคัญของพุทธคุณประการนี้ คือ ทรงค้นพบวิธีเข้าถึงธรรมกายได้ด้วยพระองค์เอง ว่าต้องเอาพระทัยไปหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเท่านั้นจึงจะถึงธรรมกาย ถ้าไปจรดหยุดนิ่งตรงที่อื่นนอกเหนือจากนี้จะไม่มีทางเข้าถึงธรรมกายเด็ดขาดเพราะทรงค้นพบอย่างนี้ จึงทำให้พระองค์ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ในที่สุดจึงทรงได้พระคุณนามประการที่ 2 ว่า "สัมมาสัมพุทโธ"


วิชชาจรณสัมปันโน
    พระพุทธคุณประการที่ 3 วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำอธิบายไว้ชัดเจนแล้ว จึงขอยกมาสรุปไว้อีกครั้งหนึ่ง

       คำว่า "วิชชาจรณสัมปันโน" แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

       คุณวิเศษของพระองค์ ในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) วิชชา
2) จรณะ

       อะไรเรียกว่า วิชชา ?
       วิชชาในที่นี้หมายเอาความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้

       มืด คืออะไร ?
      ในที่นี้หมายเอา ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชาที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูกหรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน ไม่รู้ไม่เห็นของจริงคือนิพพาน

       ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่า ยึดมั่น คือ ยึดมั่นในขันธ์ 5

     ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื้ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ก็ว่า เมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นพระนิพพานอยู่ข้างหน้า

     อวิชชาที่แปลว่า ไม่รู้ นั้น ได้แก่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจ

     ขันธ์ 5 เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ 5 หรือวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็พ้นจากภพไม่ได้คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือ โลกนี้เอง

     ในคำว่า "อนฺธภูโต อยํ โลโก" ซึ่งแปลว่า โลกนี้มืด ผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ 5 อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด

      กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ 5

      กล่าวคือมนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ 5

      สัตว์ดิรัจฉานสัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ 5 พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตร์นรกเรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

    เมื่อเราสามารถทำความเข้าใจภาพรวมของพระพุทธคุณทั้งสองประการแรกคือ อรหังและสัมมาสัมพุทโธได้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเรื่อง วิชชาจรณสัมปันโน ในพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำในตอนต่อไป


พระธรรมเทศนา
      วิชชาที่ว่านี้หมายเอา วิชชา 3 คือ

1. วิปัสสนาวิชชา
2. มโนมยิทธิวิชชา
3. อิทธิวิธีวิชชา

      แต่ถ้านับรวมตลอดถึง อภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชาเข้าด้วยกันแล้วรวมกันเป็น 8 คือ

4. ทิพพจักขุวิชชา
5. ทิพพโสตวิชชา
6. ปรจิตตวิชชา
7. ปุพเพนิวา วิชชา
8. อาสวักขยวิชชา

      ส่วนจรณะ นั้นมี 15 คือ

1. ศีลสังวร
2. อินทรียสังวร
3. โภชเนมัตตัญุตา
4. ชาคริยานุโยค
5. ศรัทธา
6. สติ
7. หิริ
8. โอตตัปปะ
9. พาหุสัจจะ
10. อุปักโม
11. ปัญญา
(12.15.) รูปฌาน 4 จึงรวมเป็น 15


วิปัสสนา
       ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอาวิปัสสนาวิชชาขึ้นแสดงก่อน

     "วิปัสสนา" คำนี้ แปลตามศัพท์ว่า เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่าเห็นต่าง ๆ เห็นอะไร  เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร  แจ้งโดยสามัญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนสัตว์ บุคคล เรา เขา

       มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร  เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร 

      ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสียส่งใจไปจดจ่ออยู่ที่ศูนย์ดวงปฐมมรรค เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น

      ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น

      กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌานและอรูปฌาน ก็ยังอยู่ในกระเปาะภพของตน ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่เรียกกันว่า "ฌานโลกีย์" ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปั นาก็ต้องอาศัยทางสมถะเป็นรากฐานก่อน จึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้

      การบำเพ็ญ มถะนั้นส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคตรงศูนย์ คือกึ่งกลางกายภายใน ตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อม ซ้าย ขวา หน้า หลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็น กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้น ๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับจากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วน รูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไปกายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหมกายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วนวอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น

     "อาตาปีสัมปชาโน สติมา" ประกอบความเพียรมั่น รู้อยู่เสมอไม่เผลอเพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้นก็ถอดส่งไปยังที่ต่าง ๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับ เห็นทั้งตื่น ๆ

     การนอน คนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้วจะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไรทำได้ตามใจชอบ พวกฤษีที่ได้บำเพ็ญฌานเขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้น มถะนั้นเอง

      สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤษี กล่าวคือ อาฬารดาบ และอุทกดาบ ก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไปจนในที่สุดพระองค์ได้บรรลุวิปั นาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว จึงมองเห็นสามัญลักษณะ เห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่ คือ โลก ออกมาได้แล้ว

    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยญาณธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมเหล่านั้น เพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาณ จึงผิดกัน ภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่ พระองค์รู้เห็นหมด แต่มิใช่ รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น

     การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่น พระยสะกับพวกไปพบซากศพ และช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่าง ๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่างสีสัณฐาน ก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน
สีก็ดำด่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโกหดสั้นเล็กลงทุกที ๆ แล้วแขนขาหลุดจากกันจนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมดก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกัน ล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์

      พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็นซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้ไปพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าการเห็นด้วยตามนุษย์ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัย เพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น

    การเห็นด้วยตาทิพย์ ตารูปพรหม และอรูปพรหมก็เช่นเดียวกันเป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้

      รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ เรียกว่า "เบญจขันธ์" คือ ขันธ์ 5

     รูป จะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบ ๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลมไฟ ประกอบกันเข้ารวมกันเป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่น ร่างกายมนุษย์และสัตว์

    ที่เรียกว่า "รูป" เพราะเหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตก ลายไปด้วยเหตุต่าง ๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตก ลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูปนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูป เป็นต้น แต่ว่ายังไม่นำมาแ ดงในที่นี้

     การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไป ๆ ละเอียดเข้า ซึ้งเข้าทุกทีจนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขาอะไรสักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไปตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็น เกิดดับ ๆ ๆ ๆ คู่กันไปทีเดียว

     ที่เห็นว่าเกิดดับ ๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไรเราเอาของฝาด เช่น เปลือก นุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่า ๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่า ตีน้ำให้เป็นฟองเราจะเห็นมีสิ่งหนึ่งปรากฏทวีขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่างสิ่งนี้เรียกว่า "ฟองน้ำ" ดูให้ดีจะเห็นในฟองนั้นมีเม็ดเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกันเรียกว่า "ฟองน้ำ" เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็ก ๆ นั้นพอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับ ๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้

     เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ อีก 4 กองนั้นก็ทำนองเดียวกันเห็นเกิดดับ ๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมี และเกิดขึ้นประจำกับขันธ์ 5 เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้ว ธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอก เป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบ ๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้ว เกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมันสิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยงสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืน
ยึดว่าเป็นตัวตน

     เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร  อุปาทานนั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่พระปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสถามว่า "เมื่อมันมีอาการแปรผันไปเป็นธรรมดา แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้ว เบญจขันธ์นี้ จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม" ตอบว่า "ไม่เที่ยง" "เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข " ตอบว่า "เป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า" "ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน " "ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า"

      อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน  ตัณหานั่นเอง ได้แก่

      กามตัณหา ความทะยานอยากเกี่ยวด้วยอารมณ์ 6 มีรูป เป็นต้น

      ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ ถือว่า เที่ยงถาวร

      วิภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ 6 ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ ถือว่า ขาดสูญ

    เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น ดังเช่นสามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน เมื่อเขายังไม่หย่ากันสามีไปทำอะไรเข้าก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้าฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดจากกันแล้ว มิใยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร  ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น

     นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทาน อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า "ปฺจุปาทานกฺขนฺธาทุกฺขา" รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้ หมดทุกข์

    ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะมีใครเป็นทุกข์และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่

     เหตุใดพระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญโดยสุขุมแล้วจะมองเห็นว่า พระองค์ทรงสอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิด ใช้วิจารณปัญญาสอดส่องเห็นได้เอง

      เช่น พระองค์ตรัสถึง "อนิจจัง" ก็เพื่อให้ค้นคิดหา "นิจจัง"

      ตรัสถึง "ทุกขัง" ก็เพื่อให้ค้นคิดหา "สุขัง"

      ตรัสถึง "อนัตตา" ก็เพื่อให้คิดหา "อัตตา"

   คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณาย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น

     เช่น มีคน 2 คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า "คนสองคนนั้น รู้จักไหม " เราตอบว่า "คนสูงเรารู้จัก" เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลยเขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่า "คนต่ำเราไม่รู้จัก" นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตาฉันนั้นอะไรเล่าเป็นนิจจังสุขัง อัตตา  ก็คือ ธรรมกาย นี้เอง เป็นตัวนิจจังสุขัง อัตตา

     ติด หลุด เป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ

     ปล่อยอุปาทานไม่ได้เรียกว่า "ติด"

     ปล่อยได้เรียกว่า "หลุด"

     ติด คือ ติดอยู่ในโลก หลุด คือ พ้นจากโลก เรียกว่า "โลกุตระ" เข้าแดนพระนิพพาน ต้องปล่อยอุปาทานทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหมกายอรูปพรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ ดังกล่าวมานั้นด้วยตาธรรมกายจึงเป็นวิปัสสนาวิชชา อันจะเป็นทางให้หลุดได้

      วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น 10 ประการ คือ

      1.สัมมสนญาณ พิจารณาย่นย่อนามรูป คือความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้น ๆ

   2. อุทยัพพยญาณ คำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกายดังอุทาหรณ์เรียกฟองน้ำดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็นเกิดดับ ๆ ๆ ๆ ติดต่อกันไป

     3. ภังคานุปัสสนาญาณ คำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียว ให้เห็นว่าสังขารร่างกายที่เกิดมาแล้วนี้ รังแต่จะแตกดับอย่างเดียว และก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง ทั้งตัวเรือนก็เซซวนชวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้ เราพูดกันอยู่หยก ๆ พอขาดคำเราอาจจะตาย เพราะโรคภัยอันตรายล้อมอยู่รอบข้าง ไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด

  4. ภยตูปัฏฐานญาณ คำนึงให้เห็นว่าสังขารร่างกายเป็นภัยเสมือนสัตว์ดุร้าย ไม่น่าจะเข้าใกล้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่น อันจะดูดดึงให้ใจเราหมกมุ่นเป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ

      5. อาทีนวญาณ นี่เป็นอีกแง่หนึ่ง ให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่า ถ้าเรามีอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเป็นตนของเราแล้ว จะให้ทุกข์โทษ ดังกล่าวในประการที่ 4 นั้นดุจเดียวกัน

    6. นิพพิทาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน 1-2-3-4-5 นั้นแล้ว ก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลังไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว

     7. มุญจิตุกัมยตาญาณ ถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขาร คือไม่อยากมีสังขาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ ๆ เช่น ฆ่าตัวตาย ให้ดำเนินการที่จะคิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง

      8. ปฏิสังขาญาณ คิดคำนึงหาทางพ้นต่อไป แต่หาทางออก ทางพ้นไม่ได้ เพราะได้เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้ว พะอืดพะอมอย่างนี้เรียกว่า "กลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำรอกไม่ไหว" ต่อไปก็ถึง

      9.สังขารุเปกขาญาณ วางใจเป็นกลางไว้ เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้าคายไม่ออกแล้ว ก็อมเฉยไว้ก่อน ต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น คือ

     10. อนุโลมญาณ คำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริง นี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจ 4

     โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความ ก็หันเข้าหาหลักธรรมกายนั่นเอง พิจารณาเห็นแจ้งชัด อริยสัจ 4 ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปั นาวิชชา

     แต่ละอย่าง ๆ ที่กล่าวมาใน 10 ข้อนี้ เป็นอาการหรืออารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตระ

     คำว่า "สังขารร่างกาย" ในที่นี้ หมายถึง นามรูป นั่นเอง ที่เรียกว่า "นามรูป" นั้น ได้แก่ รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ 5 อย่างนี้ รวมกันย่นย่อลงเรียกว่า "นามรูป"

     มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ ใครบำเพ็ญได้ถึงที่ย่อมทำได้ คือทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก ดังเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ นึกจะให้เทวดา มนุษย์เห็นกัน เทวดาก็มองเห็นมนุษย์ มนุษย์ก็มองเห็นเทวดา ซึ่งมีปรากฏในเทโวโรหนสูตรนั้นเพราะมีธรรมกาย ธรรมกายนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

    อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏได้ต่าง ๆ ดังเช่น เนรมิตจักรเนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐานในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมภูบดีจนพระเจ้าชมภูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน เป็นต้น

     ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มองเห็นอะไรๆ ได้หมดไม่ว่าอยู่ใกล้ไกลอย่างไร ดังเช่น เรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสดา ให้ทรงปิดพระเนตรเสียแล้วพระมเหศวรซ่อนตัว โดยจำแลงตัวให้เล็กแทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเมล็ดทรายใต้เชิงเขาพระสุเมรุ พระองค์ก็มองเห็น ทรงเรียกให้ขึ้นมายังหาว่าเป็นอุบายของพระองค์จะเดาลักเค้าเอา ในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้น ให้เห็นประจักษ์ ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกาย มองซ้อนตากายอรูปพรหม จะเห็นชัดคล้ายกับว่าแว่นหลาย ๆ ชั้นซ้อนกัน

     ทิพพโสต แปลว่า หูทิพย์ ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมด โดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกายย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหูทิพย์ ได้ยินอะไรหมด

     ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงรู้ถึงวาระจิตของผู้อื่นได้ดังมีเรื่องพวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์ คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดา ถ้าแก้ไม่ได้จะจับโยนข้ามมหาสมุทร ครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่า "มานี่" ยังมิทันจะได้พูดอะไรต่อไป พระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่า อาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไร พระองค์ทรงตอบเย้ยไปว่า "จะเรียกตถาคตไยเล่า เข้าไปหา ท่านจะจับเราโยนข้ามมหาสมุทร" แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่า "ปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้นพ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหม แล้วเราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วยว่า พ่อท่านได้รับบอกมาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า" นี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้

    ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ ว่าชาติใดเป็นอะไร เกิดที่ใดมาแล้ว ดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐาน ไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวงสงสัยอย่างไร เป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณแน่แท้

    อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไป กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชา วะ ทั้ง 4 ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถีทางที่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย


จรณะ 15

     ต่อไปนี้ถึงเรื่อง จรณะ 15 จักได้ขยายความพอสมควร

     จรณะ แปลว่า ประพฤติ หรือธรรมควรประพฤติ

     1. ศีลสังวร ได้แก่ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์

     2. อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจมิให้อารมณ์ส่วนที่จะชักนำไปทางชั่วเข้าติดอยู่ได้ แต่การสังวรเหล่านี้มีประจำพระองค์เป็นปกติอยู่ มิจำต้องพยายามฝนอย่างเช่นปุถุชนทั้งหลาย

    3. โภชเนมัตตัญุตา การรู้ประมาณในการบริโภคพอสมควรไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยาที่เราควรเจริญรอย ตาม ว่าโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ถ้ามากเกินไปแทนที่จะมีคุณแก่ร่างกายกลับเป็นโทษ

   4. ชาคริยานุโยค ทางประกอบความเพียรทำให้พระองค์ตื่นอยู่เสมอคือรู้สึกพระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได้เป็นปกติ

     5. สัทธา พระองค์ประกอบด้วยสัทธาอย่างอุกฤษฏ์ ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก เป็นต้น พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีบริจาคของนอกกายทานอุปบารมี ละเนื้อเลือดเมื่อทำความเพียร ทานปรมัตถบารมี ละได้ถึงชีวิต
มาแล้วอย่างสมบูรณ์

     6. สติ นั้น ได้แก่ ที่เรียกว่า "สติวินัย" พระองค์ไม่เผลอในกาลทุกเมื่อเราผู้ปฏิบัติควรเจริญรอยตามดังแนวที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอนให้มีสติอยู่เสมอสติในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านหมายเอาสติที่ตรึกถึง กาย เวทนา จิต ธรรม

      7. หิริ การละอายต่อความชั่ว

      8. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวบาป ทั้ง 2 ประการนี้เป็นจรณะที่ติดประจำพระองค์อยู่อย่างสมบูรณ์

    9. พาหุสัจจะ ฟังมาก นี่ก็มีประจำพระองค์มาแต่ครั้งยังสร้างบารมีพระองค์ทรงเอาใจใส่ฟังธรรมในสำนักต่าง ๆ เป็นลำดับมา จนกระทั่งอาฬารดาบ และอุทกดาบ ซึ่งได้ทรงเรียนรู้รูปฌาน อรูปฌาน มาจากสำนักนี้

     10. อุปักโม ความเพียรไม่ละลด ดั่งเช่น ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 เป็นประจำ

1) เวลาเช้าบิณฑบาต
2) เวลาเย็นทรงแสดงธรรม
3) เวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทแก่ภิกษุ
4) เวลาเที่ยงคืนทรงเฉลยปัญหาเทวดา
5) เวลาใกล้รุ่งพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด

     11. ปัญญา มีความรู้ ความเห็นกว้างขวาง หยั่งรู้เหตุ รู้ผลถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด

    จรณะยังประกอบด้วยรูปฌานอีก 4 จึงรวมเป็นจรณะ 15 รูปฌาน 4 นั้น พระองค์ได้อาศัยมาเป็นประโยชน์ที่จะขยับขยายโลกิยปัญญาให้เป็นโลกุตระเป็นพวกสมาธินั่นเอง

    แลในจำพวกสมาธินั้น อัปปนาสมาธิจึงเป็นองค์ปฐมฌาน แม้กระนั้นยังเป็นโลกีย์ ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย หยั่งรู้ด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นโลกุตระฌาน 8 นั้นเป็นจรณะส่งข้ามโลก พระองค์เรียนฌานนั้นจากดาบ ต่อจากนั้นพระองค์มาแสวงหาด้วยพระองค์เอง จึงได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุทโธ


บทขยายความ
    พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้แปลคำว่า "วิชชาจรณสัมปันโน" ไว้ว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ แล้วได้อธิบายให้พวกเราเข้าใจทั้งคำว่า "วิชชา" และคำว่า "จรณะ" อย่างละเอียดลออชัดเจนดีเหลือเกิน ซึ่งไม่ยากสำหรับคนรุ่นหลังอย่างเรา ๆ ที่จะทำความเข้าใจตามท่านได้ทัน เพราะท่านทั้งยกเรื่องราวตัวอย่าง ทั้งยกอุปมาอุปไมยขึ้นมาประกอบการอธิบาย ทำให้เราอ่านไปก็เห็นภาพตามไปด้วยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น จะไม่อธิบายรายละเอียดอะไรอีก แต่ก็จะสรุปภาพรวมให้พวกเราเห็นชัดเจนกันอีกครั้งก็แล้วกัน

    ความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะของพระองค์นี้ เป็นเหตุเป็นผลสืบเนื่องมาจากพระพุทธคุณ 2 ประการแรก คือ เพราะความที่พระองค์ทรงเข้าถึงธรรมกาย เป็นอรหังและสัมมาสัมพุทโธนี้เอง พระทัยของพระองค์จึงสว่างไสว ทรงเห็นโลกหมดทั่วทุกโลกด้วยตาธรรมกาย และทรงรู้สรรพสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยญาณธรรมกาย จึงทำให้ทรงได้ "วิชชา" คือความรู้ที่สามารถกำจัดความมืดที่ปิดบังครอบงำสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ให้รู้เห็นความจริงของชีวิตไปเสียได้

    ความมืดที่ปิดบังสัตวโลกไว้ก็คือ ขันธ์ 5 จึงเท่ากับบอกว่า เพราะพระองค์เข้าถึงธรรมกาย จึงทรงไปพบความลับของขันธ์ 5 ว่า นี่แหละคือตัวการสำคัญที่ปิดบังสัตวโลกทุกประเภทให้หลง ยึดมั่นถือมั่นเอาว่า ขันธ์ 5 (รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ) นั้น เป็นตัวเป็นตนที่แท้จริง จึงทำให้สัตวโลกทั้งหลายเข้าไม่ถึงธรรมกาย ก็เลยไม่ได้ "วิชชา" ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันไม่รู้จักจบจักสิ้นอย่างนี้

     แต่เพราะพระองค์ทรงเข้าถึงธรรมกาย จึงทรงเห็นความจริงชัดเจน แล้วประกาศเปรี้ยงออกมาเลยว่า ขันธ์ 5 ไม่ใช่ตน ในขณะที่ใคร ๆ ยึดว่าใช่ และเพราะใคร ๆ ไปยึดเอาว่าร่างกายนี้เป็นตัวเรา เวลาโดนเขาตบหน้าฉาดเดียว ชาตินี้ทั้งชาติฝังใจเจ็บไม่มีลืม ทั้ง ๆ ที่เวทนาคือ ความเจ็บตรงนั้น หายไปตั้งนานแล้ว แต่เพราะความที่ผูกใจเจ็บ ไปคิดว่าขันธ์ 5 เป็นตัวเราผ่านไปแล้ว 5 ปี 10 ปี ก็ยังไม่หายเจ็บ ความโกรธก็เลยหุ้มใจมืดไปหมด

    เมื่อพระองค์ทรงเข้าถึงธรรมกายที่เป็นของจริงแท้แน่นอน จึงทรงทราบว่าขันธ์ 5 นั้นยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ ทำไมจึงทราบ ก็เพราะทรงเอาธรรมกายเข้ามาเปรียบ ธรรมกายเป็นธรรมขันธ์ ไม่ตกอยู่ในไตรลักษณ์ พอเปรียบเข้าอย่างนี้ ก็ทรงทราบทันทีเลย ว่าขันธ์ 5 นี้ไม่ใช่ตัวตน

   เมื่อก่อนก็ทรงเปรียบกายมนุษย์กับกายทิพย์ ทรงเห็นกายทิพย์สว่างกว่าประณีตกว่าก็ทรงหลงใหลได้ปลื้มกับกายทิพย์ ทรงคิดว่านี่แหละเป็นที่สุดไม่มีกิเลสแล้ว พอเข้าถึงกายพรหมก็ทรงเห็นกายพรหมดีกว่ากายทิพย์อีก พอเข้าถึงกายอรูปพรหม โอ้โ! ยิ่งดีกว่าประณีตกว่ากายรูปพรหมอีก แต่ว่าพอมาเข้าถึงธรรมกายเท่านั้น ทรงทราบทันทีว่ากายทั้งหมดที่ผ่านมามันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของจริง พอหลุดออกมาได้ก็ทรงทราบว่า กายทั้งหลายเหล่านี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ธรรมกายเป็น นิจจังสุขัง อัตตา เมื่อพระองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้วความสว่างก็บังเกิดขึ้นมาทันที กิเลสใหญ่น้อยทั้งหลาย ก็ห่อหุ้ม บีบคั้น บังคับ กัดกร่อนพระทัยของพระองค์ไม่ได้อีกต่อไป

     พระองค์ทรงเห็นต่อไปอีกว่า ที่พระองค์สามารถเข้าถึงธรรมกายได้นั้น ก็เพราะอาศัยจรณะ 15 ประการ ที่ได้ทรงประพฤติปฏิบัติมานับภพนับชาติไม่ถ้วน เท่ากับบอกว่า เหตุที่มนุษย์ในโลกนี้ ศา ดาต่าง ๆ ในโลกนี้ แม้จะเคยฝึกสมาธิมาบ้างอย่างอาฬารดาบส อุทกดาบสหรือใครก็ตาม แต่ก็ยังไม่เข้าถึงธรรมกาย ก็แ ดงว่าจรณะของเขายังไม่พอ ถ้ามีจรณะพอแล้วละก็จะต้องเข้าถึงธรรมกายได้อย่างพระองค์แน่นอน

     เพราะฉะนั้นการที่พระองค์ทรงเป็น อรหังและสัมมาสัมพุทโธ ได้นั้น พื้นฐานของจรณะของพระองค์ต้องหนักแน่นมั่นคงอย่างต่อเนื่องเป็นเลิศ ไม่มีใครเทียบได้เลย

     แม้ว่าจรณะนี้จะเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางประจำโลกก็จริง แต่คนอื่นไม่พบ พระองค์ทรงพบ หรือคนอื่นอาจจะพบ แต่ก็พบเพียงบางส่วน ทำให้ไม่สามารถบำเพ็ญภาวนาไปจนถึงที่สุดได้ ทั้งอาฬารดาบ อุทกดาบ แม้ทุ่มเทฝึกสมาธิมาตลอดชีวิตก็ติดก็ตันอยู่แค่นั้นเพราะจรณะไม่พอ แต่จรณะของพระองค์หนักแน่น มั่นคงพอ เมื่อพอแล้วจึงทรงเข้าถึงธรรมกายเพราะเข้าถึงธรรมกาย จึงเป็นอรหัง ควรแก่การกราบไหว้เคารพเทิดทูนบูชา และเป็นสัมมาสัมพุทโธ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

     พระพุทธคุณทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนี้ จะเห็นว่ามีความเกี่ยวเนื่องถึงกันและกันอย่างที่ว่ามานี้ และพระพุทธคุณทั้ง 3 ประการนี้ ยังเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลเป็นพระพุทธคุณอีก 6 ประการที่เหลือต่อไปอีก

 

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010773801803589 Mins