พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต

     พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤตมีหลายนิกายด้วยกัน แต่ที่ค้นพบและจะนำมากล่าวนี้เป็นของนิกายสรวาสติวาทเท่านั้น ซึ่งมีการค้นพบต้นฉบับพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎกหลายฉบับในเขตเอเชียกลาง และค้นพบพระไตรปิฎกบางส่วนในเมืองโคปาลปุระ นอกจากนี้ยังได้ค้นพบคัมภีร์เศษเสี้ยว (Fragments) ของพระวินัย ในเมืองกิลกิต ประเทศปากีสถาน และมีการคัดลอกต้นฉบับพระวินัยฝ่ายสัน กฤตในทิเบตหลายฉบับ เช่น วินัยสูตร วินัยสูตรฎีกา เป็นต้น

      พระไตรปิฎกภาษาสันสกฤตได้แปลสู่พากย์ภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ พระสูตรที่มีชื่อเหมือนกับฉบับภาษาบาลี แต่มีเนื้อหาไม่เหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะผู้แปลไม่รู้ภาษาจีนดีพอหรือชาวจีนไม่รู้ภาษาสันสกฤตดีพอก็ได้ นิกายสรวาสติวาทแบ่งพระไตรปิฎกออกเป็น 3 คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

พระวินัยปิฎก
         พระวินัยปิฎกฝ่ายสันสกฤตนี้ แบ่งออกเป็น 3 คือ

1) วินยวิภังค์ ตรงกับสุตตวิภังค์ฉบับบาลี
2) วินยวัสดุตรงกับขันธกะฉบับบาลี
3) วินยกษุทระ และอุตตรครัณถะ ตรงกับปริวารวัคค์ฉบับบาลี

      ส่วนฉบับทิเบตได้จัดลำดับสลับกัน โดยเริ่มต้นด้วยวัสดุตามด้วยวินยวิภังค์ ส่วนภิกษุปราติโมกษะ ภิกษุณีปราติโมกษะ และภิกษุณีวิภังค์จัดพิมพ์แยกเล่ม

       คัมภีร์เศษเสี้ยวพระวินัยภาษาสันสกฤต ฉบับที่พบในเอเชียกลางมี 4 เล่ม คือ

1) ว่าด้วยบิณฑบาตของภิกษุ
2) ว่าด้วยการใช้เตียง ตั่ง และไม้เท้า ฯลฯ
3) ว่าด้วยไตรสรณคมน์
4) ยังไม่ทราบว่าเรื่องอะไร

      ส่วนฉบับที่ค้นพบ ณ เมืองกิลลิต ประเทศปากีสถานนั้น ได้พิมพ์ออกเผยแผ่แล้ว 8 เล่ม ว่าด้วยเรื่องพระวินัยของนิกายมูลวาสติวาท 16 เรื่อง คือ ปรวรชยา, โปสถะ, ปรวารณา, วรษะ, จรัมมะ, ไภสัชชะ, จีวระ, กฐินะ, โกสัมพกะ, กรัมะ, ปัณฑุโลหิตกะ, ปุทคละ, ปริวาสิกะ, โปสถสถาปนะ, ศยนาศนะ และสังฆเภทะ

     ท่านเอดวาด เจ โทมัส ยังได้บอกชื่อเรื่องต่างจากนี้และเพิ่มคำว่า "วัสตุ" ท้ายคำด้วย เช่น ศยนาศนะ เปลี่ยนเป็นอธิกรณวัสตุ และสังฆเภทะ เปลี่ยนเป็น ศยนาสนวัสตุ

        นอกจากนี้แล้วยังมีคัมภีร์พระปาติโมกข์ภาษาสันสกฤต 2 ฉบับ คือ ปราติโมกษสูตรของมหาสังฆิกะ และปราติโมกษสูตร ภิกษุวายกะ ได้พิมพ์เผยแผ่ในประเทศอินเดียแล้ว อนึ่ง Prof.Banyui Nanjio แห่งมหาวิทยาลัยโอตานี ประเทศญี่ปุ่น ได้แสดงพระวินัยฉบับภาษาสันสกฤตไว้ 3 นิกาย คือ นิกายสรวาสติวาท นิกายมูลวาสติวาทิน และนิกายธรรมคุปตะ


พระสุตตันตปิฎก
       พระสุตตันตปิฎก ภาษาสันสกฤตแบ่งออกเป็น อาคม 5 คือ ทีรฆาคม, มัธยมาคม, สัมยุกตาคม, เอโกตตราคม และกษุทราคม และมีคัมภีร์อุทาน ธรรมบท ถวีรคาถาวิมานวัตถุ พุทธวงศะ ซึ่งตรงกับฉบับภาษาบาลีในขุททกนิกายส่วนคัมภีร์สุตรนิบาตคงพบแต่เศษเสี้ยว ซึ่งต้นฉบับพบที่มณฑลซินเกียงของจีนในปัจจุบัน

        ทีรฆาคม มีพระสูตรเพียง 30สูตร ซึ่งน้อยกว่าฉบับภาษาบาลี 4สูตร และลำดับพระสูตรก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังพบคัมภีร์เศษเสี้ยวของพระสูตรอีก 2สูตร คือสังคีติสูตร และอาฏานาฏิยสูตร

         มัธยมาคม มีพระสูตร 222 สูตร ซึ่งตรงกับฉบับภาษาบาลีอังคุตตรนิกาย 82 สูตร สังยุตตนิกาย 10สูตร ทีฆนิกาย 9 สูตร และที่เหลือเหมือนในมัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์เศษเสี้ยวยังพบอีก 2สูตร คือ อุปาลีสูตรและศุภสูตร

        สัมยุกตาคม แบ่งออกเป็น 50 ภาค ประกอบด้วย 318สูตร บางพระสูตรไปรวมอยู่ในทีรฆาคม มัธยมาคม และเอโกตตราคม นอกจากนี้แล้วในคัมภีร์เศษเสี้ยวยังมีพระสูตรในสัมยุกตาคมอีก 3สูตร คือ ปวารณาสูตร จันโทรปมสูตร และศักติสูตร

    เอโกตตราคม แบ่งออกเป็น 52 ภาค แต่ไม่ได้ระบุว่ามีกี่สูตร คัมภีร์นี้ยังคงมีความคล้ายคลึงกันมาก เนื่องจากฝ่ายสันสกฤตเองมีพระสูตรน้อยมาก


พระอภิธรรมปิฎก
     พระอภิธรรมปิฎกฝ่ายสันสกฤต ซึ่งอยู่ในพากย์จีนของนิกายสรวาสติวาท มีลักษณะเหมือนหัวข้อธรรมในคัมภีร์พระสูตรทั่วไป ไม่ซับซ้อนยากเหมือนฉบับบาลี แต่ฝ่ายสันสกฤตก็ยืนยันว่าเป็นธรรมเก่าแก่เกิดขึ้นก่อน พ.ศ. 300 และได้ระบุชื่อพระเถระผู้แต่งไว้ด้วยไม่อ้างว่าเป็นพระพุทธพจน์เหมือนฝ่ายเถรวาท อย่างไรก็ตามนิกายสรวาสติวาทได้ชื่อว่าเป็นนิกายนับถืออภิธรรม ดังนั้นจึงมีคัมภีร์อภิธรรม ภาษยะหรืออรรถกถา และปกรณ์วิเศษมากมายเช่น คัมภีร์อภิธรรมโกศะของท่านวสุพันธุ คัมภีร์อภิธรรมมหาวิภาษาศาสตร์ของท่านกาตยายนีบุตร เป็นต้น

        พระอภิธรรมฝ่ายสันสกฤต แบ่งเป็น 7 คัมภีร์ คือ

1) ชญานปรัสถานะ        5) ธาตุกายะ
2)สังคีติประยายะ          6) ธรรมสกันธะ
3) ปรกรณปาทะ            7) ปรัชญัปติศาสตระ
4) วิชญานกายะ

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

      1. ชญานปรัสถานะ เป็นผลงานของท่านกาตยายนีบุตร มีฉบับของท่านสังฆเทวะ แห่งกัศมีระ และท่านกูโฟเนียน (ธรรมปรียะ) แปลสู่ภาษาจีนราว พ.ศ. 926 โดยชื่อว่า "อภิธรรมาษฎครัณถะ" ต่อมาสมณเฮี่ยนจังหรือพระถังซัมจั๋งได้แปลอีกเมื่อราว พ.ศ.1180-1203 โดยให้ชื่อว่า "อภิธรรมศาสตระ" ประกอบด้วย 8 กัณฑ์ หรือบท 44 วรรค คือ

กัณฑ์ที่ 1 ชื่อสังกิรณะ มี 8 วรรค คือ "โลกุตตระ ชญานะ ปุทคละ ศรัทธา อหิกตา รูปะ อนารถะ และเจตนา"
กัณฑ์ที่ 2 ชื่อ "สังโยชนะ"
กัณฑ์ที่ 3 ช่ือ "ชญานะ"
กัณฑ์ที่ 4 ชื่อ "กรรม"
กัณฑ์ที่ 5 ชื่อ "จตุรมหาภูตะ"
กัณฑ์ที่ 6 ชื่อ "อินทริยะ"
กัณฑ์ที่ 7 ชื่อ "สมาธิ"
กัณฑ์ที่ 8 ชื่อ "ทฤษฎิ"

      ท่านยโสมิตรผู้รจนาคัมภีร์อภิธรรมโกศวยาขยากล่าวว่า คัมภีร์ชญานปรัสถานะเหมือนร่างกายส่วนคัมภีร์ที่เหลืออีก 6 เหมือนมือเท้าของคัมภีร์แรก

     2.สังคีติปรยายะ ตามหลักฐานจีนบอกว่า เป็นผลงานของพระสารีบุตร แต่ท่านยโสมิตรและท่านบุสตัน บอกว่าเป็นผลงานของพระมหาเกาษฐิละ จากนั้นพระถังซัมจั๋งได้แปลสู่ภาษาจีน ราว พ.ศ.1203-1206 Prof.Takakusu. ชาวญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นว่า ผู้รจนาคงรวบรวมคัมภีร์นี้ในคราวทุติยสังคายนา เนื่องจากในนิทานวรรคของคัมภีร์กล่าวถึงพระภิกษุชาววัชชีที่แสดงวัตถุ 10 ประการด้วย

     จุดประสงค์การรจนาคัมภีร์ก็เพื่อปรับทัศนคติที่ต่างกันให้เป็นแนวเดียวกัน คัมภีร์นี้ได้จัดออกเป็นหมวด เช่น หมวด 1 หมวด 2 หมวด 3 เป็นต้น ใกล้เคียงกับสังคีติสูตรและทสุตรสูตร ในทีฆนิกายฉบับบาลี

     Prof.B.C.Law กล่าวว่าสังคีติปรยายะเกิดก่อนสังคีติสูตรและเป็นแม่แบบให้สังคีติสูตรส่วน ฯ. กล่าวว่าสังคีติปรยายะเหมือนกับปุคคลบัญญัติ ในอภิธรรมปิฎกฉบับบาลีมากกว่าสังคีติปรยายะนี้แบ่งออกเป็น 12 วรรค คือ นิทานวรรค, เอกธรรมวรรค, ทวิธรรมวรรค, ตริธรรมวรรค, จตุธรรมวรรค, ปัญจธรรมวรรค, ษัฑธรรมวรรค, สัปตธรรมวรรค, อัษฎธรรมวรรค, นวธรรมวรรค, ทสธรรมวรรค และสรุป วรรคท้ายพระพุทธองค์ทรงเตือนหมู่ภิกษุสงฆ์ไม่ให้ประมาทในการศึกษาท่องบ่นสาธยายคัมภีร์อภิธรรมปิฎก

      เนื้อความของสังคีติปรยายะจะเหมือนพระอภิธรรมปิฎกและสังคีติสูตร เนื่องจากเริ่มด้วยเรื่องภิกษุชาววัชชีกับวัตถุ 10 ประการในนิทานวรรค จากนั้นก็ว่าด้วยธรรมหมวดหนึ่งเช่นสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารในเอกธรรมวรรคและว่าด้วยธรรมหมวด 2 เช่น นามและรูป และธรรมหมวด 3 เช่น กุศลธรรม 3 อกุศลธรรม 3 เป็นต้น

       3. ปรกรณปาทะ คัมภีร์นี้มีชื่อเต็มว่า "อภิธรรมปรกรณะ" พระถังซัมจั๋งบอกว่าเป็นผลงานของท่านวสุมิตร อาจารย์สำคัญของนิกาย รวา ติวาทในแคว้นคันธาระ จากนั้นท่านคุณภัทร และท่านโพธยศ ได้แปลสู่ภาษาจีนราว พ.ศ. 978986 Prof.B.C.Law กล่าวว่าคัมภีร์นี้คู่กับคัมภีร์วิภังคะของฝ่ายเถรวาท โดยเฉพาะเนื้อหาสุตตภาชนียะส่วนท่านญาณติโลกภิกขุมีความเห็นว่าคัมภีร์วิภังค์ฝ่ายเถรวาท มีความคล้ายกับคัมภีร์ธรรม กันธะมากกว่า เนื่องจาก 18 บทของวิภังค์และ 21 บทของธรรม กันธะมี 14 บทที่ลงกันได้ปรกรณปาทะนี้มี 8 บท คือ

1) ว่าด้วยหลักธรรมในอภิธรรม คือ จิต จิตตธรรม จิตตวิปปรยุกตะสังสการะและอสัมสกฤตธรรม

2) ว่าด้วยชญานะ 10 มี ธรรมชญานะ ประจิตตชญานะ ฯลฯ และบทสุดท้ายว่าด้วยปัญหา 1,000 ชนิด ซึ่งเกี่ยวกับศิกขาปทะ ศรามัณยผละ ฤทธิปาทะ สมฤตยุปัสถานะ และอารยสัตยะ เป็นต้น

      4. วิชญาณกายะ ท่านเทวศรมาแห่งวัดวิโศก เมืองสาวัตถี รจนาคัมภีร์นี้ไว้ประมาณปี พ.ศ.100 บางท่านสันนิษฐานว่าเกิดหลังตติยสังคายนา เพราะมีข้อความคัดค้านมติพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ จากนั้นพระถังซัมจั๋งได้แปลสู่ภาษาจีน เป็นหนังสือรวมกันถึง 16 ผูก โดยแบ่งเป็น 6 กัณฑ์ คือ

1) ว่าด้วยทัศนะของพระโมคคัลลีบุตร เกี่ยวกับบุคคล อินทรีย์ รูป จิต กิเลสวิญญาณ และโพชฌงค์ ฯลฯ
2) ว่าด้วยบุคคลและศูนยตา
3)ว่าด้วยความเป็นเหตุปัจจัยกันในกระบวนการทางจิตและกัณฑ์สุดท้ายว่าด้วยการวิเคราะห์จิตของพระอรหันต์

      5. ธาตุกายะ ฝ่ายจีนกล่าวว่า คัมภีร์นี้เป็นผลงานของท่านวสุมิตร ราว พ.ศ. 300 Prof.N.Dutt ก็มีความเห็นเช่นกันว่า ท่านวสุมิตรได้รจนา เพื่อขยายบทที่ 4 ของคัมภีร์ปรกรณปาทะของท่านเองส่วนท่านโสมิตรและท่านบุ ตันกล่าวว่าเป็นผลงานของท่านปูรณะจากนั้นพระถังซัมจั๋งได้แปลสู่ภาษาจีนส่วน Prof.Takakusu ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ธาตุกายะ.นภาษาจีนนั้นมี 3 ฉบับ คือ ฉบับใหญ่สุดมี 6,000 โศลก ฉบับกลางมี 900 โศลก และฉบับเล็กสุดมี 600 โศลกส่วนฉบับแปลของพระถังซัมจั๋ง แบ่งออกเป็น 2 กัณฑ์ คือ

1) ว่าด้วยธรรมหลายประเภท เช่น มหาภูมิกธรรม 10 เกลศมหาภูมิธรรม 10 เป็นต้น

2) ว่าด้วยสัมประยุกตะและวิปประยุกตะของธรรม 88 ข้อ แบ่งออกเป็น 16 ตอน เริ่มจากเวทนา 5 วิญญาณ 6 และอกุศลภูมิธรรม คือ อหิริกะและอโนตตัปปะ Prof.La. Valle Possinกล่าวว่า คัมภีร์นี้เก่ามากอาจเป็นแหล่งกำเนิดของคัมภีร์ธาตุกถาฝ่ายบาลี เนื่องจากกล่าวถึงสัมประยุกต์และวิปประยุกต์เหมือนกัน

     6. ธรรมสกันธะ ว่าตามหลักฐานจีน คัมภีร์นี้รจนาโดยพระเมาคัลลายนะส่วนท่านยโ มิตรและท่านบุสตันกล่าวว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตร จากนั้นพระถังซัมจั๋งได้แปลสู่ภาษาจีน ธรรมสกันธะนี้เป็นคัมภีร์ที่สำคัญ เพราะคัมภีร์สังคีติปรยายะได้นำไปอ้างอิงพระญาณติโลกภิกขุกล่าวว่า เทียบไดักับคัมภีร์วิภังค์ฉบับบาลี และจำนวน 12 บทก็ลงกันกับคัมภีร์วิภังค์ถึง 14 บท ธรรมสกันธะ ได้แบ่งออกเป็น 21 บท คือ

1) สิกขาบท
2) พระโสดาบัน
3) อจลศรัทธา
4) อารยผล ฯลฯ

    และสุดท้ายว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท 12 Prof.B.C.Law กล่าวว่า ไม่สามารถเปรียบเทียบกับอภิธรรมปิฎกภาษาบาลีได้ แต่มีหัวข้อคล้ายกับวิภังค์ฝ่ายบาลี หรือวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ก็ได้

      7. ปรัชญัปติศาสตระ ท่านมหาเมาคัลลายนะได้รจนา ต่อมาพระถังซัมจั๋งได้แปลสู่ภาษาจีนส่วนอาจารย์เสถียร โพธินันทะ กล่าวว่า พระธรรมปาละแปลคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น 3 กัณฑ์ ตามฉบับภาษาทิเบต คือ

1) โลกบัญญัติ
2) การณบัญญัติ
3) กัมมบัญญัติ

     Prof.B.C.Law กล่าวว่าคัมภีร์นี้เหมือนกับลักขณสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคฉบับบาลีมาก Prof.Takakusu ให้ความเห็นว่า เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างอภิธรรมฝ่ายเถรวาทกัยอภิธรรมฝ่ายสรวาสติวาท ไม่มีความเหมือนกันเลยส่วนท่านญาณติโลกภิกขุแสดงความคิดเห็นว่า มีเพียงแต่คัมภีร์ธรรมสกันธะเท่านั้นที่ลงกันได้กับคัมภีร์วิภังค์ฝ่ายบาลี นอกจากนี้แตกต่างกันมากมาย คำสอนใดที่ใกล้เคียงกันก็ทำให้ทราบได้ว่า เป็นพุทธพจน์แท้ หรือเป็นพระคัมภีร์ยุคแรกส่วนที่ต่างกันก็ช่วยให้เรามีโลกทัศน์กว้างไกลและช่วยให้เรากล้าตีความพระพุทธพจน์ให้หลากหลายสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เพื่อความเจริญและตั้งมั่นของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.016030331452688 Mins