พระไตรปิฎกภาษาจีน

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

พระไตรปิฎกภาษาจีน

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระไตรปิฎกภาษาจีน

    พระไตรปิฎกภาษาจีนนี้สืบเนื่องมาจากพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต จึงถือว่าไม่ได้เกิดในอินเดีย ได้รับการแปลอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 6021669 แห่งราชวงศ์สุงในระยะเวลาดังกล่าวได้แปลคัมภีร์พระไตรปิฎกและพระสูตรสำคัญถึง 1,440 คัมภีร์ จำนวน 5,586 เล่ม

    คัมภีร์ที่แปลสู่ภาษาจีนมาจากฉบับสันสกฤตของนิกาย รวา ติวาทเป็นส่วนมากสำหรับผู้แปลนั้นคงจะมีทั้งพระภิกษุและฆราวาสพระภิกษุมีจำนวนถึง 176 รูป โดยมากมาจาก เอเชียกลาง เช่น พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรักษะจากเอเชียกลางได้แปลพระสูตร 42 บท ในรัชกาลพระเจ้ามิ่งตี่แห่งราชวงศ์ั่น ราวพ.ศ.602 จากนั้นก็มีพระอันเสือเกาจากเปอร์เซีย พระสังฆเทวะ ท่านกุมารพุทธิ พระธรรมานันทะ ท่านคุณภัทร เป็นต้นส่วนท่านกุมารชีวะได้ชื่อว่าเป็นนักแปลสำนวนอ่านง่าย เนื่องจากท่านได้แปลเพื่อให้ชาวจีนอ่านเข้าใจง่ายไม่เน้นอรรถร หรือรักษาความเดิมนัก และต่อมาก็คือพระถังซัมจั๋ง ท่านได้แปลคัมภีร์ที่นำไปจากประเทศอินเดียถึง 75 ชุด เป็นหนังสือถึง 1,335 ผูก

    พระไตรปิฎกฉบับภาษาจีนนั้น เดิมคงเขียนลงบนกระดาษม้วนยาว ๆ หลายแผ่นต่อกันแลัวพันเป็นพับ ๆ โดยเขียนเพียงด้านเดียว มีการค้นพบต้นฉบับดังกล่าวในถ้ำตุนหวงทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจีนไม่นาน คัมภีร์ที่ค้นพบมีอายุราวพ.ศ. 949 ปัจจุบันบางส่วนเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากจีนได้ค้นพบระบบพิมพ์ขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 8 จากนั้นได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกออกเผยแผ่หลายฉบับ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์สุง พระเจ้าจักรพรรดิได้มีพระบัญชาให้ทำแม่พิมพ์ 130,000 ชิ้น เพื่อพิมพ์พระไตรปิฎกในปีพ.ศ. 1465 และเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 1526 จากนั้นก็มีฉบับเอกชนชื่อว่า ฉบับวัดตุงชาน ต่อมาเป็นฉบับวัดฟูเจาไกหยวนตลอดจนฉบับมองโกลและฉบับราชวงศ์แมนจูอีก 2 ฉบับ พร้อมกับฉบับล่าสุดท่ีพิมพ์ท่ีเมืองเซี่ยงไฮ้ เรียกว่า พระไตรปิฎกด้วยเครื่องพิมพ์สมัยใหม่ โดยเริ่มพิมพ์ในปีพ.ศ. 2452-2457

     แม้จีนจะมีพระไตรปิฎก แต่นักปราชญ์มหายานของจีนเองก็ยอมรับว่า คัมภีร์ของตนไม่ใช่พุทธพจน์ที่แท้จริงหรือไม่ใกล้เคียงกับพุทธพจน์ ดังผู้รวบรวมพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาภาษาจีนชื่อ Prof. Soothill กล่าวว่า "นิกายมหายาน หากเปรียบเทียบกับนิกายหินยานที่มีหลักธรรมที่น้อยกว่าแล้ว จะถือว่าตัวเองมีหลักธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่า แต่คำสอนนิกายหินยานใกล้เคียงพุทธพจน์เดิมมากกว่าอย่างแน่นอน"

     พระไตรปิฎกภาษาทิเบตแปลมาจากภาษาสันสกฤตในพุทธศตวรรษที่ 12 เนื่องจากพระพุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตช่วงพ.ศ.1160 เมื่อกษัตริย์ทิเบตอภิเษก มร กับเจ้าหญิงเนปาล และเจ้าหญิงจีนที่นับถือพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกนอกจากฉบับภาษาบาลี คือ ฉบับภาษาสันสกฤต ฉบับภาษาจีน และฉบับภาษาทิเบต ทั้งหมดถือว่าเป็นของมหายานที่สืบทอดมาจากสังคายนาครั้งที่ 4 ปีพ.ศ. 643 ณ เมืองเปษวา ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย

    มหายานยอมรับสังคายนาครั้งนี้ซึ่งถือว่า เป็นสังคายนาของนิกายสรวาสติวาทินต่อมานิกายสรวาสติวาทินสูญสิ้นไป แต่มหายานก็ยังใช้คัมภีร์ของนิกายนี้

   พระไตรปิฎกมหายานที่เป็นหลักก็มีฉบับจีนกับทิเบต นอกจากนี้ถือว่าถ่ายทอดหรือรับไปจากจีนและทิเบตหรือหากมีก็ยังไม่ มบูรณ์เท่าที่ควรสำหรับพระไตรปิฎกฉบับสันสกฤตที่เป็นต้นเดิมของมหายานได้สูญหายไปแทบหมดสิ้น ที่พบในพุทธสถานหรือสถูปเจดีย์ก็อยู่ในสภาพกระจัดกระจาย จตุตถสังคายนาเกิดขึ้น เนื่องจากพระเจ้ากนิษกะทรงสับสนในหลักธรรมที่พระสงฆ์แสดงแตกต่างกัน พระปารัศวะแห่งนิกายสรวาสติวาทินจึงถวายความแนะนำให้ทำสังคายนา ณ ชาลันธร แคว้นแคชเมียร์ ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์ พระปารัศวะ
เป็นประธานสังคายนา แต่บางตำราว่าพระวสุมิตรเป็นประธาน พระอรหันต์เข้าร่วมประชุม 500 รูป ร้อยกรองพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤต หลังจากสังคายนาเสร็จแล้วได้จารึกในแผ่นทองแดง และบรรจุลงในพระเจดีย์

    จดหมายเหตุพระถังซัมจั๋งว่า เบื้องต้นพระอริยสงฆ์ 500 รูปสังคายนาอรรถกถาพระสูตรชื่อว่าอุปเทศศาสตร์หนึ่งแสนโศลก ต่อมาสังคายนาอรรถกถาพระวินัยชื่อว่า วินัยวิภาษาศาสตร์หนึ่งแสนโศลก และสังคายนาอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎกชื่อว่า อภิธรรมวิภาษาศาสตร์ หนึ่งแสนโศลก รวมเป็นสามแสนโศลกเก้าล้านหกแสนคำ พระเจ้ากนิษกะรับสั่งให้จารึกอรรถกถาเหล่านั้นลงในแผ่นทองแดง แล้วให้บรรจุลงในหีบศิลาเก็บรักษาไว้ในสถูปและให้พวกยักษ์รักษาป้องกันมิให้พวกนอกศาสนานำไปได้ ผู้จะศึกษาก็มาที่สถูปนี้

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014149149258931 Mins