โลกบาลธรรม

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

โลกบาลธรรม

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , โลกบาลธรรม , หิริโอตตัปปะ

       ธรรมเป็นโลกบาล คือ ธรรมคุ้มครองโลก มี 2 อย่าง

1. หิริ ความละอายแก่ใจ
2. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป

    1. หิริ หมายถึง ความละอายแก่ใจตนเอง ในการกระทำทุจริตต่าง ๆ ทั้งมีอาการรังเกียจต่อบาปทุจริต เสมือนบุคคลเห็นสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ แล้วไม่อยากเข้าไปใกล้ ไม่อยากจับต้อง

      2. โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของการกระทำชั่วทุจริต เสมือนคนเห็นงูกลัวต่อพิษของมันแล้วหลีกเลี่ยงเสียให้ห่างไกล ธรรม 2 อย่างนี้ เรียกว่า กุศลธรรมก็ได้เทวธรรมก็ได้ เพราะถ้าโลกขาดธรรม องอย่างนี้ โลกย่อมถึงความสับ สนวุ่นวาย แต่ถ้ามนุษย์มีหิริและโอตตัปปะ ไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง โลกก็จะสงบร่มเย็นอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


1.1 เทวธรรมคืออะไร
     ในอดีตกาลมีพระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในนครพาราณสี ในแคว้นกาสีพระโพธิสัตว์ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัต เมื่อครบทศมา พระนางประสูติพระโอรสพระญาติทั้งหลายตั้งพระนามว่า มหิสสาสกุมาร พระกุมารเมื่อเจริญวัยทรงวิ่งเล่นได้ มเหสีก็ประสูติพระโอรสองค์ที่สองพระนามว่า จันทกุมาร

      จันทกุมารเจริญวัยทรงวิ่งเล่นได้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็สวรรคต พระราชาทรงตั้งพระสนมให้เป็นพระอัครมเหสี พระอัครมเหสีนั้นได้เป็นที่รักเป็นที่โปรดปรานของพระราชาไม่นานพระนางก็ประสูติพระโอรสพระญาติทั้งหลายตั้งพระนามของพระโอร นั้นว่าสุริยกุมาร

       พระราชาทรงเห็นพระโอรสแล้วมีพระหฤทัยยินดีตรัสว่า "นางผู้เจริญ เราจะให้พรแก่บุตรของเธอ" แต่พระเทวีเก็บพรนั้นไว้ จะรับเอาพรนั้นในเวลาต้องการ และเมื่อพระโอรสนั้นเจริญวัยแล้ว พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ในกาลที่พระโอรสของหม่อมฉันประสูติ พระองค์ทรงประทานพรไว้มิใช่หรือ ขอพระองค์จงประทานราชสมบัติแก่พระโอรสของหม่อมฉันเถิด" พระราชาทรงห้ามว่า "พระโอร องพระองค์ของเรารุ่งเรืองอยู่เหมือนกองเพลิง เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่โอรสของเธอ" ทรงเห็นพระนางอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ทรงพระดำริว่า พระนางนี้จะพึงคิดทำกรรมอันลามกแก่โอรสทั้งหลายของเรา

      จึงรับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้งสองมาแล้วตรัสว่า "พ่อทั้งสอง ในเวลาที่สุริยกุมารประสูติพ่อได้ให้พรไว้ บัดนี้มารดาของสุริยกุมารนั้นทูลขอราชสมบัติ พ่อไม่ประสงค์จะให้แก่สุริยกุมารนั้นธรรมดามาตุคามผู้ลามกจะพึงคิดทำสิ่งอันลามกแก่พวกเจ้า เจ้าทั้งสองต้องเข้าป่าไปก่อน ต่อเมื่อพ่อล่วงไปแล้ว จงกลับมาครองราชสมบัติในนครอันเป็นของตระกูล"

      พระราชาทรงกันแสงคร่ำครวญจุมพิตที่ศีรษะแล้วทรงส่งโอรสนั้นไปสุริยกุมารทรงเล่นอยู่ที่พระลานหลวง เห็นพระโอรสทั้งสองนั้นถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจากปราสาท ทรงเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่าเราก็จักไปกับพระเจ้าพี่ทั้งสอง จึงออกไปพร้อมกับพระโอรสทั้งสองนั้นเองพระโอรสเหล่านั้นเสด็จเข้าไปยังป่าหิมพานต์

       พระโพธิสัตว์แวะลงข้างทางประทับนั่งที่โคนไม้ เรียกสุริยกุมารมาว่า "พ่อสุริยะ เจ้าจะไปยัง ระนั้นเพื่ออาบและดื่มน้ำแล้ว จงเอาใบบัวห่อน้ำดื่มมาให้เราทั้งสองด้วย" สระน้ำนี้เป็นที่อยู่ของผีเสื้อน้ำตนหนึ่งซึ่งได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณ ท้าวเวสวัณตรัสกะผีเสื้อน้ำนั้นว่า "เจ้าจะได้กินคนที่ลงยังสระน้ำนี้ ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรมเท่านั้น เจ้าจะไม่ได้กินผู้ที่ไม่ได้ลงสระ"

     ตั้งแต่นั้นมา รากษสหรือผีเสื้อน้ำนั้นจึงถามเทวธรรมกะคนที่มาลงสระ แต่ก็ต้องถูกจับกินเพราะไม่รู้เทวธรรมสุริยกุมารไปถึงยังสระนั้นไม่ได้พิจารณาลงไปยังสระนั้นทันที รากษสจับสุริยกุมารนั้นแล้วถามว่า "ท่านรู้เทวธรรมหรือ "

        สุริยกุมารนั้นกล่าวว่า "เออ ฉันรู้ ก็พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่าเทวธรรม" รากษสจึงกล่าวกะสุริยกุมารนั้นว่า "ท่านไม่รู้จักเทวธรรม" แล้วก็พาดำไปพักไว้ในที่อยู่ของตน

       ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นสุริยกุมารนั้นชักช้า จึงส่งจันทกุมารไปตาม รากษสก็จับจันทกุมารนั้นแล้วถามว่า "ท่านรู้เทวธรรมไหม " จันทกุมารกล่าวว่า "เออ ฉันรู้ ทิศทั้ง 4 ชื่อว่าเทวธรรม" รากษสกล่าวว่า "ท่านไม่รู้เทวธรรม" แล้วพาจันทกุมารนั้นไปไว้ในที่อยู่ของตนเช่นเดิม

       เมื่อจันทกุมารล่าช้าพระโพธิสัตว์คิดว่าอันตรายอย่างหนึ่งจะพึงมี จึงเสด็จไปที่สระนั้นด้วยพระองค์เอง เห็นรอยเท้าลงของพระอนุชาทั้งสองจึงดำริว่าสระนี้คงเป็นสระที่รากษสหวงแหนจึงได้สอดพระขรรค์ถือธนูยืนอยู่ ผีเสื้อน้ำเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ลงน้ำ จึงแปลงเป็นเหมือนบุรุษผู้ทำงานในป่า กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า "พ่อหนุ่ม ท่านเหน็ดเหนื่อยในหนทาง ทำไมจึงไม่ลงสระนี้ เพื่ออาบ ดื่มกินเหง้าบัว ประดับดอกไม้ไปตามสบาย"

       พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นรู้ว่านี่คือยักษ์ จึงกล่าวว่า "ท่านจับน้องชายของเรามาหรือ" ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า "เออ เราจับมา แล้วจะทำไม" พระโพธิสัตว์ถามว่า "จับน้องฉันไปทำไม" เราได้พรจากท้าวเวสสุวรรณให้สามารถจับคนที่ลงมาในสระแห่งนี้" พระโพธิสัตว์ถามว่า "ท่านสามารถจับได้ทุกคนจริงหรือ มียกเว้นบ้างไหม "

      ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า "เราได้ทั้งหมด ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรม" พระโพธิสัตว์นั้นตรัสถามว่า "ท่านมีความต้องการเทวธรรมหรือ " "ใช่แล้ว เราอยากรู้จักเทวธรรม" "ถ้าอยากรู้จริง เราจะบอก อยากฟังไหมล่ะ" "อยากฟังซิ พ่อหนุ่ม ถ้าอย่างนั้นก็บอกมาเลย เราจะตั้งใจฟัง"

       พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "แต่ตัวเราสกปรกยังบอกเทวธรรมให้ไม่ได้หรอก เพราะเป็นการไม่ให้ความเคารพในธรรม" ยักษ์เห็นว่าบุรุษหนุ่มที่ยืนอยู่ต่อหน้า มีความองอาจสง่างาม น่าเลื่อมใสน่าจะมีคุณธรรมอยู่ภายในเป็นแน่ จึงให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำ ให้ประดับดอกไม้ให้ลูบไล้ของหอม ได้ลาดบัลลังก์ให้ในท่ามกลางประรำที่ประดับแล้ว

     พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนอาสนะให้ยักษ์นั่งแทบเท้าแล้วตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตฟังพระธรรมโดยเคารพ" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา     สุกฺกธมฺมสมาหิตา
สนฺโต สปฺปุริสา โลเก      เทวธมฺมาติ วุจฺจเรฯ

     สัตบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก

     ผีเสื้อน้ำครั้นได้ฟังธรรมเทศนานี้ มีความเลื่อมใสจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า "ดูก่อนบัณฑิต เราเลื่อมใสท่าน จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะให้นำคนไหนมา" พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "ท่านจงนำน้องชายคนเล็กมา" ยักษ์กล่าวว่า "ดูก่อนบัณฑิต ท่านรู้แต่เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น" พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า "เพราะเหตุไร " ยักษ์กล่าวว่า "เพราะเหตุที่ท่านเว้นพี่ชายเสียให้นำน้องชายมา ชื่อว่าไม่กระทำกรรมของผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด"

      พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "ดูก่อนยักษ์ เรารู้เทวธรรมทีเดียว และประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น เพราะว่าเราทั้งหลายเข้าป่านี้เพราะอาศัยน้องชายนี้ ด้วยว่าพระมารดาของน้องชายนี้ ทูลขอราชสมบัติกะพระบิดาของพวกเรา เพื่อประโยชน์แก่น้องชายนี้ แต่พระบิดาของพวกเราไม่ให้พรนั้น เพื่อจะทรงอนุรักษ์พวกเรา จึงทรงอนุญาตการอยู่ป่า พระกุมารนั้นติดตามมากับพวกเรา แม้เมื่อพวกเรากล่าวว่า ยักษ์ในป่ากินพระกุมารนั้นเสียแล้ว ใคร ๆ จักไม่เชื่อด้วยเหตุนั้น เรากลัวแต่ภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชายคนเล็กนั้นนั่นแหละมา" ยักษ์มีจิตเลื่อมใสให้สาธุการแก่พระโพธิสัตว์ว่า "สาธุสาธุ ท่านบัณฑิต ท่านรู้เทวธรรมทั้งปฏิบัติในเทวธรรมเหล่านั้น"

        ดังนี้แล้ว จึงได้นำน้องชายแม้ทั้งสองคนมาให้.

      ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกะยักษ์นั้นว่า " หาย ท่านบังเกิดเป็นยักษ์มีเนื้อและเลือดของคนอื่นเป็นภักษา เพราะบาปกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้ท่านยังกระทำบาปนั่นแลซ้ำอีก ด้วยว่าบาปกรรมจักไม่ให้พ้นจากนรกเป็นต้น เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป ท่านจงละบาปแล้วกระทำแต่กุศล" พระโพธิสัตว์นั้นครั้นแนะนำสั่งสอนยักษ์นั้นแล้ว ยักษ์เกิดความเลื่อมใสมาก จึงทำการคุ้มครองรักษาเป็นอย่างดี เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระโพธิสัตว์จึงพายักษ์ไปเมืองพาราณสี ยึดราชสมบัติประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระจันทกุมาร ประทานตำแหน่งเสนาบดี
แก่สุริยกุมาร ให้สร้างที่อยู่ในที่อันน่ารื่นรมย์ให้แก่ยักษ์ ได้ทรงกระทำโดยประการที่ยักษ์นั้นได้บูชาอันเลิศ ดอกไม้อันเลิศ ของหอมอันเลิศ ผลไม้อันเลิศ และภัตอันเลิศ พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติโดยธรรมได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว


1.2 วิธีการฝึกให้มีหิริและโอตตัปปะ

วิธีฝึกให้เป็นคนมีหิริ
         บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น การจะเป็นคนมีหิริได้ต้องคำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก 4 ประการ

       1. พิจารณาถึงชาติกำเนิด ได้แก่ พิจารณาว่าการทำบาปนี้ ไม่เป็นกรรมของคนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ เป็นกรรมของคนชั้นต่ำ ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่านไม่ควรกระทำบาปกรรมอย่างนี้ เมื่อพิจารณาได้แล้วจึงไม่ทำบาป มีการทำปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น

      2. พิจารณาถึงวัย ได้แก่ ให้พิจารณาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมที่คนหนุ่ม ๆ เขาทำกันเพราะความประมาท ไม่เข้าใจความจริงของชีวิตส่วนตัวเราแก่ชรา ผ่านโลกและชีวิตมาเยอะแล้ว มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ตั้งอยู่ในฐานะเป็นที่พึ่งของคนรุ่นใหม่ ท่านไม่ควรทำบาปอกุศล มิเช่นนั้นจะเป็นต้นแบบที่ไม่ดีให้อนุชนรุ่นหลังเอาเยี่ยงอย่าง ว่าแล้วก็ไม่ทำบาปชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น

       3. พิจารณาถึงความกล้าหาญ ได้แก่ ให้พิจารณาว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ เป็นกรรมของคนอ่อนแอ ขี้ขลาด มีนิสัยลับ ๆ ล่อ ๆ กรรมนี้บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความกล้าหาญเช่นท่าน ผู้กล้าที่แท้จริงควรกล้าละชั่วทั้งในที่ลับและเปิดเผย กล้าทำความดีแม้น้อยนิด ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ว่าแล้วก็ไม่ทำบาป ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น

      4. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต ได้แก่ บุคคลพิจารณาความเป็นพหูสูตอย่างนี้ว่าชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมของคนอันธพาล โง่ เขลา เบาปัญญา ไร้การศึกษา แต่คนผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิตเช่นท่าน มีการศึกษาสูง ได้รับการยกย่องจากผู้คนมากมายว่าเป็นผู้รอบรู้แล้วผู้รู้จะทำบาปทั้ง ๆ ที่รู้ได้อย่างไร ว่าแล้วก็ไม่ทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น


วิธีฝึกให้เป็นคนมีโอตตัปปะ
    การฝึกให้มีโอตตัปปะ ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจากภายนอกเป็นสมุฏฐาน โดยการพิจารณาว่า ถ้าท่านจักทำบาป ท่านจักเป็นผู้ถูกติเตียนในบริษัท 4 และว่าวิญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่านเหมือนชาวเมืองติเตียนของไม่สะอาด คนไม่มีศีลคือคนไม่สะอาด คนไม่สะอาดย่อมเป็นที่รังเกียจ เมื่อเป็นที่รังเกียจจะดำเนินชีวิตในสังคม ให้เขาเคารพ นับถือ ยกย่อง เกรงใจได้อย่างไร เมื่อคิดดังนี้แล้วย่อมไม่กระทำบาปกรรม

      หิริชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างไร กุลบุตรบางคนในโลกนี้ กระทำตนให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า ไม่กระทำบาปด้วยคิดว่า บุคคลผู้บวชด้วยศรัทธาเป็นพหูสูต มีวาทะคือสอนในการกำจัดกิเลสเช่นท่าน ไม่ควรกระทำบาปกรรม หิริย่อมชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "บุคคลนั้นกระทำตนนั่นแหละให้เป็นใหญ่ ละอกุศล เจริญกุศลละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่"

       โอตตัปปะชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างไร  กุลบุตรบางคนในโลกนี้กระทำโลกให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้า และไม่กระทำบาปกรรมสมดังที่ตรัสไว้ว่า ก็โลกสันนิวา นี้ใหญ่แล อนึ่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุรู้จิตของผู้อื่น อยู่ในโลกสันนิวา อันใหญ่แลสมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเห็นในที่ไกลบ้าง เห็นในที่ใกล้บ้าง รู้จิตด้วยจิตบ้างสมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นย่อมรู้เราอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่ เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่นมีอยู่ แม้เทวดาเหล่านั้นย่อมเห็นแต่ที่ไกลบ้าง ย่อมเห็นในที่ใกล้บ้าง ย่อมรู้ใจด้วยใจบ้าง แม้เทวดาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่ เขากระทำโลกนั่นและให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละธรรมอันมีโทษเจริญธรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ โอตตัปปะย่อมชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้


ทำไมคนถึงไม่ทำบาป
        หิริตั้งอยู่ใน ภาวะน่าละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะน่ากลัว หิริตั้งอยู่โดยภาวะที่น่าละอาย ความกลัวแต่อบายชื่อว่า ภัย โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น

        หิริและโอตตัปปะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการงดเว้นจากบาป เนื่องจากบุคคลบางคนมีความละอายใจซึ่งเกิดจากความรู้สึกภายใน ไม่ทำบาปกรรม เหมือนชายหนุ่มเมื่อจะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น เมื่อไม่มีสถานที่เหมาะสมให้ขับถ่าย แม้จะมีคนเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม ถูกความละอายกำกับไว้ จึงยอมอดทนอดกลั้นไว้ ไม่ยอมขับถ่ายส่วนบุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่ทำบาปกรรม ในข้อนั้นมีความอุปมาดังต่อไปนี้

        ในก้อนเหล็ก 2 ก้อน ก้อนหนึ่งเย็นแต่เปอนคูถ ก้อนหนึ่งร้อนไฟติดโพลง ในก้อนเหล็ก 2 ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับก้อนเย็นเพราะก้อนเย็นเปอนคูถ ไม่จับก้อนร้อนเพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น

        หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัวโทษและเห็นภัย คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ 4 ประการ คือ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ 1 พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดา 1 พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก 1 และพิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี 1 แล้วไม่ทำบาป

         คนบางมีโอตตัปปะซึ่งมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย โดยปรารภเหตุ 4 ประการ จึงไม่ทำบาป ได้แก่

1. ภัยในการติเตียนตน
2. ภัยในการที่คนอื่นติเตียน
3. ภัยคืออาชญา
4. ภัยในทุคติ


1.3 อานิสงส์ของการมีหิริโอตตัปปะ

1. รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ได้ตลอดไป
2. รักษาทรัพย์ไว้ได้
3. เป็นคนมีชื่อเสียง
4. ทำให้ไม่ประมาทในวัยและชีวิต
5. เป็นคนมีความอาจหาญร่าเริง
6. ไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
7. เป็นคนมีปัญญา เป็นพหูสูต เตือนตัวเองได้ไปทุกภพทุกชาติ
8. ติเตียนตัวเองไม่ได้
9. คนอื่นติเตียนไม่ได้
10. ปลอดจากอาชญาและภัยทุกชนิด
11. ไม่พลัดไปเกิดในอบายภูมิ
12. บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ง่าย

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011120994885763 Mins