มัจฉริยะ

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

มัจฉริยะ

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , มัจฉริยะ

      มัจฉริยะ หมายถึง ความหวง ความตระหนี่ ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี มี 5 อย่างคือ

    1. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ หมายถึง ความหวงถิ่นที่อยู่ ไม่พอใจให้คนต่างชาติต่างนิกายเข้ามาอยู่อาศัยด้วย

      2. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล หมายถึง ความหวงสกุลโดยไม่ยอมให้สกุลอื่นเข้ามาเกี่ยวดองด้วย หรือความหวง กุลอุปัฏฐากของภิกษุ ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น คอยเกียดกันเสีย

      3. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ หมายถึง หวงผลประโยชน์ หาทางกีดกันไม่ให้ลาภหรือผลประโยชน์เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น

    4. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ หมายถึง ความหวงคุณงามความดีไม่ต้องการให้ผู้อื่นมีความดีกว่าตน หรือหวงความงามของร่างกายไม่อยากให้ผู้อื่นมีความงามทางร่างกาย เป็นต้น

      5. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม หมายถึง หวงวิชาความรู้ และคุณพิเศษที่ได้บรรลุไม่ยอมสอนไม่ยอมบอกผู้อื่น เพราะกลัวเขาจะรู้เท่าเทียมตน หรือรู้กว่าตน


หวงคือไล่ ให้คือเรียก
    การที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐ เพราะการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยยากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพวกเราได้มีโอกาสในการสั่งสมบุญและฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง เพื่อทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุด เพราะการสร้างบารมีในเพศภาวะของมนุษย์นี้แหละทำได้ดีที่สุด แม้บางครั้งดูว่าเป็นเรื่องยาก มีอุปสรรคมากมายเกิดขึ้น แต่ก็ง่ายกว่าอัตภาพอื่นมากมายนัก เพราะฉะนั้นเมื่อโอกาสดีมาถึงแล้ว ควรเร่งรีบสั่ง มบุญกันให้เต็มที่

       มีวาระพระบาลีที่ท่านกล่าวไว้ในมัจฉริสูตร ว่า

    "คนตระหนี่กลัวภัยใด ย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทานคนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใด ความหิวและความกระหายนั้น ย่อมถูกต้องคนตระหนี่ ผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะฉะนั้นบุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็น นิมในใจ แล้วให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้และโลกหน้า"

     มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ถี่เหนี่ยว เกิดจากใจที่ไม่คิดจะให้ คิดแต่จะเอาอย่างเดียวมีหลายคนในโลกที่มีสมบัติมากมายก่ายกอง แต่ไม่กล้านำออกไปเพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศลช่วยเหลือคนยากไร้ หรือทำทานกับผู้ทรงศีล บุคคลเหล่านี้มักมีคำพูดติดปากว่า ยังยากจนอยู่หรือยังไม่พร้อม ถ้าไม่อยากยากจนต้องให้ทาน วิธีง่าย ๆ ก็ต้องเริ่มจากฝึกการเป็นผู้ให้เสียก่อนเพราะหวงคือไล่ ให้คือเรียก ยิ่งเราหวงแหนสมบัติมาก ทรัพย์ก็ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทำให้เกิดความเป็นห่วงเป็นกังวลเปล่า ๆ บางคนแอบเอาสมบัติไปฝังเอาไว้ เนื่องจากหวงแหนมาก ตายไปแล้วยังต้องไปเป็นงูบ้าง เป็นหนูบ้าง เพื่อเฝ้าสมบัติที่เคยฝังเอาไว้

     ความหวงแหนทรัพย์สมบัติไม่คิดอยากให้นี้ เป็นอาการของความตระหนี่ นับวันจะเพิ่มพูนกิเล ตัวอื่นเข้ามาในใจโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่ถ้าหากเราฝึกเป็นผู้ให้ ให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ เพราะคิดว่าอยากสละความตระหนี่ออกจากใจ ใจของเราจะขยายกว้างเหมือนทะเล เหมือนท้องฟ้า ตัวของเราก็จะเป็นศูนย์รวมของสมบัติทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้น

     ความตระหนี่มีอยู่ 5 ประการ คือ ตระหนี่ที่อยู่อาศัย หวงแหนไม่อยากให้ใครมาใช้มาอยู่อาศัย ตระหนี่ตระกูล ถือว่าครอบครัวของตนเองสูงศักดิ์ จึงไม่อยากคบกับคนที่ไม่มียศตำแหน่ง หรือคนรวยไม่อยากคบกับคนจน ตระหนี่ลาภ ได้อะไรมาไม่เคยแบ่งบัน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เงินทองที่มีใช้อย่างเหลือเฟอสามารถนำไปบริจาคทำบุญกุศลได้ ไม่คิดให้ใคร ตระหนี่วรรณะ คือถือตัว ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น และไม่ต้องการให้ใครได้ดีกว่าตน และประการสุดท้าย ตระหนี่ในธรรมะ คือหวงวิชาความรู้ กลัวคนอื่นมีความรู้มากกว่าไม่อยากถ่ายทอดวิชาให้กับใคร หรือบอกไปเพียงบางส่วนเท่านั้น

   คนที่มีความตระหนี่หวงแหนทรัพย์ ไม่สามารถให้อะไรกับใครได้เลย ถ้าหากดำเนินชีวิตอย่างประมาท ประกอบแต่อกุศลกรรมด้วยกาย วาจา ใจ จิตก็จะเศร้าหมองไม่ผ่องใสถ้าหากละจากโลกนี้ไปแล้วต้องไปเกิดอยู่ในอบายภูมิ ได้รับทุกข์ทรมานสาหัสไม่มีว่างเว้นจากการถูกทรมานส่วนผู้ที่มีปัญญาดำเนินชีวิตไม่ประมาท ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอยู่ตลอดเวลา จิตใจย่อมผ่องใสไม่เศร้าหมอง เมื่อละจากโลกนี้แล้วไปเสวยสุขอยู่ในสุคติโลกสวรรค์มีความสุขอันเป็นทิพย์ ละเอียดประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไปสมบัติใหญ่ก็จะบังเกิดขึ้นสามารถสร้างบารมีประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน ได้ศึกษาวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     สมัยหนึ่ง เทวดาได้เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เกี่ยวกับวิบากกรรมของคนตระหนี่ว่าเป็นอย่างไร โดยถามว่า "บุคคลเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ดีแต่ว่าผู้อื่น ทำการกีดขวางผู้กำลังให้ทาน วิบากของคนผู้นั้นจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของบุคคลเหล่านั้น จะเป็นเช่นไร ข้าพระองค์จึงมาเพื่อกราบทูลถามพระองค์ และเหตุไฉนข้าพระองค์จึงจะรู้ถึงความข้อนั้น พระเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสตอบว่า "บุคคลเหล่าใดในโลกนี้ เป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นดีแต่ว่าผู้อื่น ทำการกีดขวางบุคคลผู้กำลังให้ทาน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงนรก ในกำเนิดของสัตว์ดิรัจฉานหรือยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ก็เกิดในสกุลที่ยากจน หาผ้าผ่อนท่อน ไบ อาหารความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก คนพาลเหล่านั้นประสงค์สิ่งใดจากผู้อื่นเขาย่อมไม่ได้สิ่งนั้น สมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังไปบังเกิดในทุคติภูมิอีกด้วย"

     เทวดาทูลถามต่อไปว่า "ข้าพระองค์เข้าใจชัดเจนแล้ว แต่จะทูลถามข้ออื่นว่า ชนเหล่าใดในโลกนี้ ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำอันปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพแรงกล้า วิบากของบุคคลเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของบุคคลนั้นจะเป็นเช่นไร ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์ทรงโปรดเมตตาให้รู้ข้อความนั้นด้วยเถิด"

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า "ผู้ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระธรรม และพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพแรงกล้า บุคคลนั้นย่อมปรากฏในสวรรค์อันเป็นแดนเกิด หากถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ได้เสื้อผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานบันเทิงใจอยู่โดยไม่ยาก พึงมีอำนาจแผ่ไปในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นสะสมไว้ นั่นเป็นวิบาก ในภพนี้และในภพหน้าก็บันเทิงในสุคติภูมิ"

     มีเรื่องเล่าในอดีตกาลว่า เศรษฐีผู้หนึ่งชื่อโตเทยยะ มีทรัพย์สมบัติ 45 โกฏิ แต่เป็นคนตระหนี่มาก ทุก ๆ วันเขาจะ อนลูก ๆ ว่าไม่ควรให้ทานกับใคร เพราะให้ไปแล้วทรัพย์สมบัติก็จะหมดไป และไม่ได้อะไรกลับคืนมา ควรจะสะสมทรัพย์เอาไว้ให้มากที่สุด เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว เนื่องจากมีความเป็นห่วงทรัพย์สมบัติมาก และบุญไม่พอที่จะไปเกิดในสวรรค์ จึงมาเกิดเป็นสุนัขอยู่ที่บ้านหลังนั้นสุภมาณพผู้เป็นลูกชายรักสุนัขตัวนั้นมาก ให้กินอาหารอร่อย ๆ เหมือนกับที่ตนเองรับประทาน ให้นอนบนที่นอนอย่างดี

   อยู่มาวันหนึ่งสุภมาณพออกจากบ้านไปทำธุระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านหลังนั้นสุนัขเห็นพระบรมศาสดาจึงลุกขึ้นเห่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับสุนัขตัวนั้นว่า "ดูก่อนโตเทยยะ แม้เมื่อก่อนเจ้ากล่าวหมิ่นประมาทเรา จึงไม่ให้ทานทำให้มาเกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้เจ้าก็ยังเห่าเราเพราะความเขลาและความตระหนี่ กรรมนี้จะทำให้เจ้าต้องไปตกนรกอเวจีอีก"

   สุนัขฟังดังนั้น มีความเดือดร้อนใจ จึงนอนกลิ้งเกลือกบนขี้เถ้าสุภมาณพกลับมาถึงบ้านเห็นสุนัขแสนรู้ของตนเองนอนคุดคู้ซึมเซาอยู่ จึงถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคนใช้ในบ้าน เมื่อได้ฟังแล้วก็ไม่พอใจพระบรมศาสดา เพราะเชื่อว่าบิดาของตนเองไปบังเกิดในพรหมโลก แต่พระบรมศาสดามาหาว่ามาเกิดเป็นสุนัข จึงเดินทางไปที่วัดเพื่อทูลถามข้อเท็จจริงกับพระพุทธองค์พระบรมศาสดาตรัสถามว่า "ดูก่อนสุภมาณพ ทรัพย์ที่บิดาของเธอยังไม่ได้บอกมีอีกไหม" สุภมาณพทูลว่า "หมวกทองคำมีค่าหนึ่งแสน รองเท้าทองคำมีค่าหนึ่งแสนถาดทองคำมีค่าหนึ่งแสน กหาปณะหนึ่งแสนมีอยู่ ก่อนตายพ่อไม่ได้บอกที่ฝังขุมทรัพย์เอาไว้พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำว่า "ขอให้เธอจงกลับไปให้อาหารสุนัขด้วยข้าวมธุปายา อย่างดี แล้วอุ้มไปนอนบนที่นอน เมื่อได้เวลาสุนัขหลับไปหน่อยหนึ่ง จงถามดูเถิด"

     สุภมาณพกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำสุนัขก็บอกหมดทุกสิ่งทุกอย่างที่มานพต้องการรู้ทำให้มั่นใจว่าสุนัขตัวนั้นคือบิดาของตน จึงเกิดความสังเวช ลดใจ คิดว่าพ่อไปเกิดในพรหมโลกแต่กลับมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะความตระหนี่แท้ ๆ ทำให้ชีวิตในสัมปรายภพมีแต่ความทุกข์ยากลำบาก จากนั้นเขาจึงเลิกเป็นคนตระหนี่ และกลับมาเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

     จะเห็นได้ว่า มนุษย์ไม่ควรประมาทในการสั่งสมบุญ เมื่อเรามาเกิด เราก็มาตัวเปล่า เมื่อจะไปก็ไม่สามารถเอาอะไรติดตัวไปได้ ยกเว้นบุญและบาป ที่จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตของเราว่าจะไปสู่สุคติภูมิหรือพลัดตกไปในอบายภูมิ ความตระหนี่สามารถฉุดคร่าชีวิตของเราให้ตกต่ำได้อย่างนี้ทีเดียว

     เพราะฉะนั้น เราไม่ควรตระหนี่ ให้หมั่นทำทานเพื่อขจัดความตระหนี่ออกจากใจ จะได้เลิกอัตคัดขัด น แล้วก็สั่งสมบุญกันให้เต็มที่ เมื่อมีสมบัติมากแล้ว การจะรักษาศีลหรือเจริญภาวนาจะทำได้โดยสะดวก ไม่ต้องลำบากหรือเป็นกังวลในการแสวงหาปัจจัยสี่ และยังสามารถใช้เวลาในการทำหน้าที่ผู้นำบุญยอดกัลยาณมิตร แนะนำธรรมะให้แก่ชาวโลก เป็นการเพิ่มบุญบารมีให้กับตนเองอีกด้วย


ผลกรรมของความเป็นผู้ตระหนี่ลาภ
      มีวาระแห่งพระภาษิตที่ปรากฏอยู่ใน อรรถกถาโลสกชาดก ความว่า

     "ผู้ใดเมื่อถูกกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตพินทุกะจับเท้าแพะเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น"

     เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ในครั้งนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในอาวาสประจำหมู่บ้าน เป็นผู้เรียบร้อย มีศีล หมั่นบำเพ็ญภาวนาโดยมีกุฎมพีท่านหนึ่งเป็นอุปัฏฐาก มัยนั้นมีพระขีณาสพองค์หนึ่งอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ต้องการที่จะเปลี่ยนบรรยากาศการบำเพ็ญเพียร จึงออกจากป่า ได้จาริกมาถึงบ้านที่อยู่ของกุฎมพีผู้เป็นอุปัฏฐากภิกษุรูปนั้น ฝ่ายกุฎมพีครั้นเห็นพระเถระที่มีผิวพรรณวรรณะผ่องใสก็เกิดความเลื่อมใสจึงรับบาตร นิมนต์เข้าไปในบ้าน ประเคนภัตตาหารโดยเคารพ หลังจากที่พระเถระฉันเสร็จแล้ว ท่านก็แสดงสัมโมทนียคาถาที่ไพเราะ แล้วกุฎมพีก็ไหว้พระเถระกล่าวนิมนต์ว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นิมนต์พระคุณเจ้าไปสู่วิหารใกล้บ้านของกระผมก่อนเถิด เวลาเย็น พวกกระผมจะไปเยี่ยม นำน้ำปานะไปถวาย"

      พระเถระจึงไปสู่วิหารตามคำนิมนต์ของอุปัฏฐาก เมื่อไปถึง ท่านก็นมั การเจ้าอาวาสทักทายปราศรัยกันแล้ว จึงนั่ง นทนากัน ท่านเจ้าอาวา ทำปฏิสันถารกับพระเถระถามว่า"ผู้มีอายุ ท่านได้รับภัตตาหารแล้วหรือ" พระเถระตอบว่า "ได้แล้วครับ" "ท่านได้ที่ไหนเล่า" พระเถระก็ตอบว่า "ได้ที่เรือนกุฎมพีใกล้ ๆ วิหารนี้แหละ" 

     ครั้นบอกอย่างนั้นแล้ว ก็ถามถึงเสนาสนะอันควรของตน แล้วจัดแจงปัดกวาดเสนาสนะ เก็บบาตรจีวรไว้เรียบร้อย นั่งทำภาวนาด้วยความสุขในโลกุตรฌานสมาบัติครั้นเวลาเย็น กุฎมพีให้คนถือพวงดอกไม้ และน้ำมันเติมประทีปไปสู่วิหาร นมัสการพระเถระเจ้าอาวาสแล้วถามหาพระอาคันตุกะ เมื่อทราบแล้ว ก็เข้าไปนมัสการและฟังธรรมิกถาจนถึงค่ำ จึงบูชาพระเจดีย์และต้นโพธิ์ จุดประทีปสว่างไสว นิมนต์ภิกษุทั้งสองรูปให้รับบาตร
ในวันรุ่งขึ้น แล้วตนก็กราบลากลับไป

     ฝ่ายพระเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสท่านยังเป็นปุถุชนอยู่ จิตใจก็เกิดความคิดที่ไม่น่าจะเกิดคิดว่า กุฎมพีนี้ถูกพระอาคันตุกะยุให้แตกกับเราเสียแล้ว ถ้าหากเธออยู่ในวิหารนี้ กุฎมพีคงจะเลิกเลื่อมใสเรา จึงเกิดความไม่พอใจในพระเถระอรหันต์คิดว่า เราไม่ควรให้เธออยู่ในวิหารนี้เมื่อถึงเวลาพระเถระมาปรนนิบัติก็ไม่พูดด้วย พระเถระผู้ขีณา พทราบวาระจิตของภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาสแล้วคำนึงว่า พระเถระนี้ไม่ได้ทราบถึงการที่เราขจัดอาสวะสิ้นแล้ว ไม่มีความห่วงใยในตระกูล ในลาภ แล้วท่านก็กลับไปที่อยู่ของตน นั่งเข้านิโรธสมาบัติอย่างมีความสุข

     วันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาสก็ตีระฆังด้วยหลังเล็บ เคาะประตูด้วยเล็บ แล้วไปสู่เรือนของกุฎมพี กุฎมพีรับบาตร นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้ ถามว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญพระอาคันตุกะเถระไปไหนเสียเล่า" ท่านเจ้าอาวาสตอบว่า "อาตมาไม่ทราบความประพฤติของพระอาคันตุกะ อาตมาได้ตีระฆัง เคาะประตู ก็ไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้ สงสัยเมื่อวานฉันโภชนะอันประณีตในเรือนของคุณแล้ว คงอิ่มอยู่จนวันนี้ บัดนี้ยังนอนหลับอยู่มั่ง"

     ฝ่ายพระเถระผู้ขีณาสพ เมื่อถึงเวลาก็ชำระ รีระแล้วทรงบาตรจีวร เหาะไปภิกขาจารในที่อื่นส่วนกุฎมพีนิมนต์พระเถระเจ้าอาวาสให้ฉันข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดแล้ว ก็รมบาตรด้วยของหอม ใส่ข้าวปายา จนเต็ม แล้วกล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญพระเถระนั้นเห็นจะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ขอพระคุณเจ้าจงนำข้าวปายาสนี้ถวายท่านด้วยเถิด" พระเถระเจ้าอาวาสรับบาตรด้วยความจำใจ เดินไปก็คิดไปด้วยความริษยาว่า "ถ้าภิกษุนั้นได้ฉันข้าวปายาสนี้ เดี๋ยวก็คงติดใจ เมื่อเราจะจับคอฉุดลากออกจากกุฏิเห็นจะไม่ไป ถ้าหากเราให้ข้าวปายา นี้แก่คนอื่น เดี๋ยวความจะแตก ถ้าเททิ้งลงในแม่น้ำเนยใสก็จะลอยให้เห็น หากทิ้งบนแผ่นดิน ฝูงกาจะรุมกันกิน ความจะแตกอีกเหมือนกัน เราควรทิ้งข้าวปายาสนี้ที่ไหนดีหนอ"

     ครั้นเดินผ่านนาที่ไฟกำลังไหม้อยู่ ก็คุ้ยถ่านขึ้นแล้วเทข้าวปายา จัดแจงกลบด้วยก้อนถ่านเสร็จเรียบร้อย แล้วจึงเดินกลับวิหาร เมื่อไม่เห็นภิกษุอาคันตุกะ จึงได้ ติคิดได้ว่า "ตายแล้วเราทำกรรมหนักเสียแล้ว ภิกษุนั้นคงจักเป็นพระขีณาสพ ถึงรู้อัธยาศัยของเราแล้วไปเสียที่อื่นเป็นแน่ โอ เพราะท้องเป็นเหตุ เราทำกรรมอันไม่ มควรเลย" ทันใดนั้นความเสียใจอย่างใหญ่หลวงก็เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น กรรมที่ทำกับพระผู้ทรงคุณวิเศษได้ให้ผลในวันนั้นทีเดียว คือเกิดความเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา อยู่มาไม่นาน ก็ตายไปบังเกิดในมหานรก

      ภิกษุนั้นตกนรกหมกไหม้อยู่หลายแสนปี เศษของผลกรรมยังนำให้ไปเกิดเป็นยักษ์ถึง 500 ชาติ ไม่เคยได้กินอาหารอิ่มท้องสักวันเดียวจนถึงวันจะตาย จึงได้กินอิ่ม คือได้กินรกคนอิ่มท้องอยู่วันหนึ่ง ถัดจากเกิดเป็นยักษ์ก็ไปเกิดเป็นสุนัข 500 ชาติ แม้เมื่อเกิดเป็นสุนัขจะได้กินรากอิ่มท้องวันเดียวในวันสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น

     จุติจากเป็นสุนัข ก็มาเกิดในตระกูลคนเข็ญใจตระกูลหนึ่งในแคว้นกาสี มีนามว่ามิตตพินทุกะ นับตั้งแต่วันที่เกิดมาตระกูลก็ยิ่งยากจนหนักลงไปอีก แม้แต่น้ำและปลายข้าวครึ่งท้องก็ไม่เคยได้ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ของเขาไม่สามารถจะทนทุกข์อันเกิดแต่ความอดอยากได้ จึงพูดว่าลูกเอ๋ย เจ้าจงไปหากินเองเถิด เมื่อมิตตพินทุกะไม่มีที่พักอาศัยก็ท่องเที่ยวไปจนถึงเมืองพาราณสี

     ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนศิลปะแก่มาณพ 500 สมัยนั้นชาวเมืองพาราณสีให้ทุนศึกษาแก่คนเข็ญใจ ให้มีโอกาสศึกษาศิลปะ เด็กคนนี้จึงมีโอกาสได้ศึกษาศิลปะ แต่ด้วยความเป็นเด็กที่หยาบกระด้าง ไม่อยู่ในโอวาท เที่ยวชกต่อยเกะกะไปทั่ว แม้พระโพธิสัตว์จะตักเตือนสั่งสอนก็ไม่เชื่อฟัง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจึงเป็นคนโง่เขลาวันหนึ่งเขาหนีเที่ยวไปถึงหมู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่งได้รับจ้างเป็นคนส่งข่าวให้ชาวบ้านเลี้ยงชีวิตและเขาได้หญิงเข็ญใจคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้นมาเป็นภรรยา อยู่ด้วยกันจนมีลูก 2 คน แต่ด้วยกรรมเก่าของมิตตพินทุกะเป็นต้นเหตุให้พวกชาวบ้านชายแดนถูกราชทัณฑ์ถึง 7 ครั้ง ไฟไหม้บ้าน 7 หน บ่อน้ำพังอีก 7 ครั้ง

     จะเห็นได้ว่า กฎแห่งกรรมไม่ได้ยกเว้นใครเลย ผู้ที่ทำกรรมไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือฆราวาสย่อมเป็นผู้ที่รับผลของกรรมนั้น และให้ผลอย่างต่อเนื่องยาวนานจนน่าเบื่อหน่ายดังนั้นคนที่สร้างกรรมที่เป็นบาปอกุศลนั้น ไม่เพียงแต่จะทำตนให้เดือดร้อน ยังก่อให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่อยู่รอบข้าง จนไม่สามารถที่จะทนกระแสแห่งกรรมที่เป็นบาปนั้นได้ จึงต้องระเห็จระเหเร่ร่อนชดใช้กรรมต่อไป เมื่อทราบอย่างนี้แล้วก็ให้ตั้งใจที่จะสร้างแต่กรรมดีสร้างบุญบารมีให้มาก ๆ

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.02408873240153 Mins