คารวะ 6 (ความเคารพ 6 ประการ)

วันที่ 27 กค. พ.ศ.2560

คารวะ 6 (ความเคารพ 6 ประการ)


พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , คารวะ 6 (ความเคารพ 6 ประการ) , คารวะ 6 , ความเคารพ

         คารวะ 6 ก็คือ ความเคารพ 6 ประการ ซึ่งมีความหมายและรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.1 ความหมาย
        คารวะ (คา-ระ-วะ) แปลว่า ความเคารพ ความนับถือ แสดงความเคารพ

       ความเคารพ หมายถึง ความตระหนัก ซาบซึ้ง รู้ถึงคุณความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่นยอมรับนับถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดงความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสม ทั้งต่อหน้าและลับหลังวัตถุทั้งหลายในโลก ต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบคุณสมบัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นักวิทยาศาสตร์รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษาโรคมะเร็งได้แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ นั้น ทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของนักปราชญ์ของผู้มีปัญญาเท่านั้น เฉกเช่น คนทั้งหลายในโลกต่างก็มีคุณความดีในตัวต่าง ๆ กันไป มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เท่ากัน ผู้ใดทราบถึงคุณความดีของบุคคลทั้งหลายได้ตามความเป็นจริง ก็จะเป็นประโยชน์ ทำให้มีโอกาสที่จะถ่ายทอดคุณความดีนั้น ๆ จากผู้อื่นมาสู่ตนเอง แต่การที่จะสามารถรู้เห็นถึงคุณความดีของผู้อื่นก็ทำได้ยาก ยิ่งกว่าการรู้คุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ เพราะมีกิเลสมาบังใจ เช่น มีความคิดลบหลู่คุณท่านบ้าง ความไม่ใส่ใจบ้าง ความทะนงตัวบ้าง ทำให้มองคนอื่นกี่คน ๆ ก็ไม่เห็นมีใครดี คนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี คนไหนก็ไม่ดี ไม่เห็นมีใครดีสักคนถ้าจะมีก็เห็นจะมีอยู่คนเดียว...คือ ตัวเอง

      คนพวกนี้เป็นพวกตาไม่มีแวว คือตาก็ใสๆ ดี แต่ไม่เห็นเพราะขาดความสังเกต มองคุณความดีของคนอื่นไม่ออก เมื่อมองความดีของเขาไม่ออก ก็ไม่สนใจที่จะถ่ายทอดเอาความดีของเขาเข้ามาสู่ตัวเอง

      ดังนั้น คนที่มีปัญญามากจนกระทั่งตระหนักในคุณความดีของผู้อื่น จึงจัดเป็นคนพิเศษจริง ๆ เพราะใจของเขาได้ยกสูงขึ้นแล้ว พ้นจากความถือตัวต่าง ๆ เปิดกว้างพร้อมที่จะรองรับความดีจากผู้อื่นเข้าสู่ตน คนชนิดนี้คือ คนที่มีความเคารพ


1.2 ประเภท
      ในโลกนี้มีคนสัตว์สิ่งของ เหตุการณ์ การงาน และอื่น ๆ อีกมากมายจนนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้เรามีความเคารพ ไม่ดูเบา ตระหนักในสิ่งมีคุณค่าที่สำคัญ 6 ประการ ได้แก่

1. ให้มีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2. ให้มีความเคารพในพระธรรม
3. ให้มีความเคารพในพระสงฆ์
4. ให้มีความเคารพในการศึกษา
5. ให้มีความเคารพในความไม่ประมาท
6. ให้มีความเคารพในการต้อนรับแขก

     ความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตระหนักถึงพระคุณความดีอันมีอยู่ในพระองค์ ซึ่งกล่าวโดยย่อได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

      สมัยเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็แสดงความเคารพโดย

1. เข้าเฝ้าทั้ง 3 กาล คือเช้า กลางวัน เย็น
2. เมื่อพระองค์ไม่สวมรองเท้าจงกรม เราจะไม่สวมรองเท้าจงกรม
3. เมื่อพระองค์จงกรมในที่ต่ำ เราจะไม่จงกรมในที่สูงกว่า
4. เมื่อพระองค์ประทับในที่ต่ำ เราจะไม่อยู่ในที่สูงกว่า
5. ไม่ห่มผ้าคลุมบ่าทั้งสอง ในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
6. ไม่สวมรองเท้าในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น
7. ไม่กางร่มในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น 
8. ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่ซึ่งทอดพระเนตรเห็น

     สมัยเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วก็แสดงความเคารพโดย

1. ไปไหว้พระเจดีย์ตามโอกาส
2. ไปไหว้สังเวชนียสถาน คือ ถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ตามโอกาส
3. เคารพพระพุทธรูป
4. เคารพเขตพุทธาวาส คือเขตโบสถ์
5. ไม่สวมรองเท้าในลานพระเจดีย์
6. ไม่กางร่มในลานพระเจดีย์
7. เมื่อเดินใกล้พระเจดีย์ ไม่เดินไปพูดไป
8. เมื่อเข้าในเขตอุโบสถ ก็ถอดรองเท้า หุบร่ม ไม่ทำอาการต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงความกระด้าง หยาบคาย
9. ปฏิบัติตนตามพุทธโอวาทอยู่เป็นนิตย์

     เมื่อเราได้ทราบข้อควรปฏิบัติเพื่อแสดงความเคารพต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อจากนี้ไป จะได้ยกตัวอย่างความเคารพของพระเจ้าปเสนทิโกศลที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งสมัยพุทธกาล มาให้พวกเราได้ศึกษากันดังต่อไปนี้


เรื่องความเคารพอย่างยิ่งในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระเจ้าปเสนทิโกศล
       สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงอาการเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำการเคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งเห็นปานนี้

    พระเจ้าปเสนทิโกศลได้กราบทูลว่า เป็นเพราะทรงเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นเหตุทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ คือ

       1. ทำให้เกิดพระรัตนตรัยขึ้นบนโลก

    2. ทำให้พระภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์แล้วก็บวชยาวไม่สึก ซึ่งต่างไปจากนักบวชอื่นๆที่มักสึกไปครองเรือน

     3. ทำให้พระภิกษุในธรรมวินัยนี้สมัครสมานสามัคคีกัน มีจิตเมตตาต่อกัน ไม่เหมือนกับคฤหัสถ์ที่มักจะวิวาทกัน

     4. ทำให้พระภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอินทรีย์ผ่องใสอันเกิดจากการได้รู้คุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ซึ่งต่างไปจากนักบวชอื่น ๆ มักมีอินทรีย์ไม่ผ่องใส

     5. ทำให้ในสมัยใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่บริษัททั้งหลายอยู่ ในบริษัทนั้นสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอเลย ซึ่งเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกพระสาวกได้ดีแล้วอย่างนี้โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงเคยได้ทอดพระเนตรเห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้ และแม้แต่พระองค์ท่านเองซึ่งเป็นกษัตริย์มีอำนาจมากก็ยังไม่อาจฝึกข้าราชบริพารไม่ให้พูดสอดขึ้นในระหว่างได้อย่างนี้เช่นกัน

      6. ทำให้กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ที่ตั้งใจไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อจะโต้วาทะด้วย กลับพากันยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

      7. ทำให้พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิต...สมณะผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ที่ตั้งใจไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อจะโต้วาทะด้วย กลับขอโอกาสกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อขอออกบวชเป็นบรรพชิต แล้วเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

      8. ทำให้ช่างไม้สองคน คนหนึ่งชื่ออิสิทันตะ คนหนึ่งชื่อปุราณะ ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ชุบเลี้ยงไว้ ให้ใช้ยวดยานของพระองค์ พระองค์ให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นำยศมาให้เขาแต่ถึงกระนั้นเขาจะได้ทำความเคารพนบนอบในพระเจ้าปเสนทิโกศล เหมือนในพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาไม่ เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ทิศใด เขาก็ผินศีรษะไปทางทิศนั้นนอนเหยียดเท้ามาทางพระเจ้าปเสนทิโกศล ทำให้พระองค์ทรงดำริว่าท่านเหล่านี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นแน่

     และประการสุดท้าย ที่ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเคารพนอบน้อมในพระผู้มีพระภาคเจ้า คือข้อที่ว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ เป็นชาวโกศล และมีพระชนมายุ 80 ปี เช่นเดียวกันกับพระองค์

   จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทูลลาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นหม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตรมหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป

      จากเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงมีพระอัจฉริยภาพและคุณธรรมอันสูงส่ง ก่อให้เกิดสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นได้ยากต่างๆ มากมาย ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเคารพเลื่อมใสนอบน้อมต่อพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก ซึ่งเราสามารถที่จะนำเรื่องนี้มาเป็นสิ่งที่ทำให้ระลึกนึกถึงพระพุทธคุณ น้อมใจของเราให้เกิดความเคารพเลื่อมใสต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี

       ความเคารพในพระธรรม คือตระหนักถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

1. เมื่อมีประกาศแสดงธรรมก็ไปฟัง
2. ฟังธรรมด้วยความสงบสำรวม ตั้งใจ
3. ไม่นั่งหลับ ไม่นั่งคุยกัน ไม่คิดฟุ้งซ่าน ขณะฟังธรรม
4. ไม่วางหนังสือธรรมะไว้ในที่ต่ำ
5. ไม่ดูหมิ่นพระธรรม
6. บอกธรรมสอนธรรม ด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด

     เรื่องของความเคารพในพระธรรมนั้นสำคัญมาก เพราะแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรายังทรงให้ความเคารพมาเป็นอันดับแรกหลังจากที่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ ซึ่งมีเรื่องราวดังต่อไปนี้


เรื่องความเคารพในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     สมัยหนึ่ง ภายหลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแถบฝังแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ

      ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าที่สงัด ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพอาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์วิมุตติขันธ์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์-สมาธิขันธ์-ปัญญาขันธ์-วิมุตติขันธ์-วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละแล้วอาศัยอยู่

     ลำดับนั้นสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจ ก็อันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนเหยียดอยู่ ฉะนั้น

    ครั้นแล้ว หัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีมาแล้วตลอดกาลอันล่วงแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีตลอดกาลไกลอันยังไม่มาถึง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละแล้วอาศัยอยู่สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ก็กล่าวนิคมคาถาขึ้นอีกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมมา

   สหัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่ แล้วยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตนหวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม

     จากเรื่องนี้เราจะได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งในอดีต ปัจจุบันและในอนาคต จะทรงเคารพในธรรมเสมอ ดังนั้นเราเองซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนจึงควรให้ความสำคัญกับความเคารพในพระธรรมด้วยเช่นกัน

   ความเคารพในพระสงฆ์ คือตระหนักถึงคุณความดีของพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ ดังนี้

1. กราบไหว้ โดยกิริยาอาการเรียบร้อย
2. นั่งเรียบร้อย ไม่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก
3. ไม่สวมรองเท้า ไม่กางร่ม ในที่ประชุมสงฆ์
4. ไม่คะนองมือคะนองเท้าต่อหน้าท่าน
5. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่แสดงธรรม
6. เมื่อพระเถระไม่เชิญ ไม่อวดรู้แก้ปัญหาธรรม
7. ไม่เดิน ยืน นั่ง เบียดพระเถระ
8. แลดูท่านด้วยจิตเลื่อมใส
9. ต้อนรับท่านด้วยไทยธรรม

      เรื่องของความเคารพในพระสงฆ์นั้น มีตัวอย่างอยู่ 2 เรื่องในสมัยพุทธกาล มาให้พวกเราได้ศึกษากัน ดังต่อไปนี้


เรื่องที่ 1 พระพุทธองค์ตรัสอนให้พระภิกษุเคารพกันตามลำดับพรรษา
     สมัยหนึ่งพระลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งของพระฉัพพัคคีย์ได้รีบเดินทางล่วงหน้าไปก่อนคณะของพระภิกษุสงฆ์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเข้าจองที่พักอาศัยและที่นอนไว้ให้แต่เฉพาะพระอุปัชฌาย์ของตน พระอาจารย์ของตน และพวกของตนเท่านั้น ทำให้เมื่อพระสารีบุตรซึ่งมาถึงในภายหลังไม่มีที่นอนและที่เข้าพักอาศัย ท่านจึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งจนถึงรุ่งเช้าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาพบเข้าจึงสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น

      ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ที่มาด้วยกันทั้งหมด ทรงสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่าจริง พระพุทธองค์จึงทรงติเตียนว่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุเช่นไรควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศบิณฑบาตอันเลิศ

    ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจากตระกูลกษัตริย์-บางพวกว่าจากตระกูลพราหมณ์-บางพวกว่าจากตระกูลคหบดี-ภิกษุใดทรงจำพระสูตรไว้ได้-ทรงพระวินัย-เป็นธรรมกถึก-ได้ปฐมฌาน-ได้ทุติยฌาน-ได้ตติยฌาน-ได้จตุตถฌาน-เป็นพระโสดาบัน-เป็นพระสกทาคามี-เป็นพระอนาคามี-เป็นพระอรหันต์-ได้วิชชา 3-ได้อภิญญา 6 ภิกษุนั้นควรได้อา นะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่แถบหิมพานต์สัตว์ 3 หาย คือ นกกระทา 1 ลิง 1 ช้าง 1 อาศัยต้นไทรใหญ่นั้นอยู่ ทั้งสามสัตว์นั้นมิได้เคารพ มิได้ยำเกรงกัน มีความประพฤติไม่กลมเกลียวกันอยู่สัตว์ 3 หายนั้นปรึกษากันว่า โอ พวกเราทำอย่างไรจึงจะรู้ได้แน่ว่าบรรดาพวกเราผู้ใดเป็นใหญ่โดยกำเนิด พวกเราจะได้สักการะ เคารพ นับถือบูชาผู้นั้น แลจะได้ตั้งอยู่ในโอวาทของผู้นั้น

      นกกระทาและลิงถามช้างว่าสหายท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง ช้างตอบว่าสหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันเดินคร่อมต้นไทรนี้ไว้ในระหว่างขาหนีบได้ ยอดไทรพอระท้องฉันฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้ นกกระทากับช้างถามลิงว่าสหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง ลิงตอบว่าสหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกินยอดไทรนี้ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้ ลิงและช้างถามนกกระทาว่าสหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง นกกระทาตอบว่าสหายทั้งหลายในสถานที่โน้นมีต้นไทรใหญ่ ฉันกินผลจากต้นไทรใหญ่นั้น แล้วได้ถ่ายมูลไว้ ณ ถานที่นี้ ต้นไทรต้นนี้เกิดจากต้นไทรใหญ่นั้น เพราะฉะนั้น ฉันจึงเป็นใหญ่กว่าโดยกำเนิด ลิงกับช้างได้กล่าวกับนกกระทาว่า บรรดาพวกเรา ท่านเป็นผู้ใหญ่กว่า โดยกำเนิด พวกเราจักสักการะ เคารพ นับถือบูชาท่าน และจะตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นกกระทาได้ให้ลิงกับช้าง มาทานศีลห้า และตนเองก็ประพฤติมาทานในศีลห้าสัตว์ทั้งสามมีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวัตรจริยานี้แล ได้ชื่อว่า ติตติริยพรหมจรรย์

คนเหล่าใด ฉลาดในธรรม
ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้
อันมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้ง
สัมปรายภพของคนเหล่านั้นเป็นสุคติแล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แท้จริงสัตว์เหล่านั้นเป็นดิรัจฉาน ยังมีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ การที่พวกเธอเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้มีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ นั่นจะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศน้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่พรรษากว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกลียดกัน เสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับผู้แก่พรรษากว่า รูปใดเกลียดกัน ต้องอาบัติทุกกฎ

      จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะในทางโลกหรือทางธรรม เราจะให้เกียรติและให้ความสำคัญกับผู้ที่มีอาวุโสมากกว่าเสมอ ในทางสงฆ์จะนับถือให้เกียรติกับผู้ที่บวชก่อนหรือมีพรรษามากกว่าว่าเป็นรุ่นพี่ (ภันเต) ส่วนผู้ที่บวชภายหลังหรือมีพรรษาน้อยกว่าจะถูกเรียกว่าเป็นรุ่นน้อง (อาวุโส) แต่ในทางโลกนั้น ผู้ที่มีอายุมากกว่าจะถูกเรียกว่าผู้อาวุโส (ผู้ใหญ่) ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยกว่าจะถูกเรียกว่าผู้น้อย ซึ่งการให้ความเคารพกันตามลำดับดังนี้ จะก่อให้เกิดความงดงาม และการยอมรับกันและกัน คือ รู้จักที่ต่ำที่สูง มี
สัมมาคารวะต่อกัน


เรื่องที่ 2 พระพุทธองค์ตรัสอนคฤหัสถ์เรื่องสมณพราหมณ์ที่ควรแก่การเคารพสักการบูชา

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านครวินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้ศากยบุตรเสด็จออกจากศากยราช กุลทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงบ้านนครวินทะโดยลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะและพราหมณ์ทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล

     ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วบางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งบางพวกประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกมีอาการเฉย ๆ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลายสมณพราหมณ์เช่นไร ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงใน รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเสียงที่รู้ได้ด้วยโ ตกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะร ที่รู้ได้ด้วยชิวหาโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ถ้ายังไม่ปราศจากแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะเคารพ นับถือ
บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัดความขัดเคือง ความลุ่มหลงใน รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ-เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต-กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ -รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา-โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย-ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ยังไม่ปราศจากแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไปกว่าเราดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา

     ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลายสมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์เหล่าใด ปราศจากความกำหนัด ความขัดเคืองความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ-เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต-กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ-รสที่รู้ได้ด้วยชิวหาโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย-ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน แล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ มณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงใน รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต-กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ-รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา-โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย-ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ยังไม่ปราศจากแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของ สมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไปกว่าเรา ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา

      ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไรจึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศราคะเป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศโมหะ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความจริงท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอัน งัด คือป่าดง ที่เป็นที่ไม่มี รูปอันรู้ได้ด้วยจักษุเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต-กลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ-รสอันรู้ได้ด้วยชิวหา-โผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายเมื่อ เห็น-ฟัง-ดม-ลิ้ม-สัมผัส-แล้วจะพึงยินดี แต่ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นจะไม่พึงยินดีเช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อความปราศโมหะ ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลายท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด

     เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้วพระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิดหรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ฉะนั้น พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     จากเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้เราเห็นว่าสมณพราหมณ์ นักบวชหรือพระภิกษุสงฆ์ ที่ควรแก่การเคารพสักการะ นับถือ บูชานั้น จะต้องเป็นผู้ที่ปราศจากหรือปฏิบัติเพื่อความปราศจาก ความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ทั้งหลาย และมีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจาทางใจอยู่ และท่านผู้ที่ปราศจากหรือปฏิบัติเพื่อความปราศจาก เหล่านั้น จะมีลักษณะให้สังเกตเห็นได้ง่ายคือ ท่านย่อมมีปกติเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด และไม่มีความยินดีใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะก่อให้เกิดกิเลสต่าง ๆ ซึ่งความรู้ตรงนี้จะช่วยให้เราสามารถแยกแยะได้ว่า มณพราหมณ์ นักบวช หรือพระภิกษุสงฆ์ เหล่าใด ที่ควรหรือไม่ควรแก่การเคารพสักการะ นับถือ บูชา

     ความเคารพในการศึกษา คือตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพ โดยตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ทั้งทางโลกและทางธรรม จะศึกษาเรื่องใดก็ศึกษาให้ถึงแก่น ให้เข้าใจจริง ๆ ไม่ทำเหยาะแหยะ บำรุงการศึกษาสนับสนุนการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม และไม่นำความรู้ที่ได้มาไปใช้ในทางที่ผิด

      เรื่องของความเคารพในการศึกษานั้น ก็มีตัวอย่างใน มัยพุทธกาลมาให้พวกเราได้ศึกษากัน 2 เรื่อง ดังต่อไปนี้


เรื่องที่ 1 ความเคารพในการศึกษาอันยิ่งของพระราหุล
     ท่านพระราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เกลี่ยทรายประมาณบาตรหนึ่งในบริเวณพระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า วันนี้เราจะได้รับโอวาทประมาณเท่านี้ ได้การตักเตือนประมาณเท่านี้จากสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจากสำนักของพระอุปัชฌาย์ (พระสารีบุตร) แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงตั้งพระราหุลไว้ในเอตทัคคะ จึงทรงตั้งให้เป็นผู้เลิศในการศึกษาว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรดาภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา ราหุลเป็นผู้เลิศของภิกษุเหล่านั้น

    แม้ท่านพระราหุลนั้นก็ได้บันลือสีหนาท ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์อย่างนั้นเหมือนกันว่าพระธรรมราชาผู้เป็นพระชนกของเราทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคะเฉพาะหน้าภิกษุสงฆ์ เพื่อความรู้ยิ่งสิ่งทั้งปวงนี้ พระธรรมราชาทรงยกย่องเราว่าเป็นผู้เลิศของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่การศึกษา และของภิกษุทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธา พระธรรมราชาผู้ประเสริฐผู้เป็นพระสหาย เป็นพระชนกของเรา และพระสารีบุตรผู้รักษาธรรม ผู้มีความอิ่มใจ เป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา ทั้งหมดเป็นคำสอนของพระชินเจ้า

      จากเรื่องนี้ทำให้เราเห็นได้ว่า ผู้ที่มีความเคารพในการศึกษานั้น จะเป็นผู้ที่ใคร่ต่อการเรียนรู้ และพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำตักเตือนอยู่เสมอ ดังเช่นพระราหุล เป็นต้นดังนั้นเราเองก็ต้องฝึกให้มีคุณธรรมข้อนี้เช่นเดียวกับท่านพระราหุล จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความเคารพในการศึกษาอย่างแท้จริง


เรื่องที่ 2 โทษของการไม่เคารพในการศึกษา นำความรู้ไปใช้ในทางผิด
     ธรรมดาของคนพาลมักจะแสวงหาความรู้แล้วนำไปใช้ในทางที่ผิด ท้ายที่สุด การกระทำของตนเองนั้นจะเป็นเหตุให้ตนต้องประสบกับความทุกข์ในปัจจุบันชาติ และยังต้องเสวยผลกรรมในเวลาที่ละจากโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้นความรู้ของคนพาลจึงเป็นเหมือนความรู้อาบ
ยาพิษ ดังเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต

      มีอยู่คราวหนึ่ง ที่พระมหาโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้เลิศด้วยฤทธิ์พร้อมกับพระลักขณเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏเพื่อไปบิณฑบาตโปรดสรรพสัตว์ ท่านมองไปรอบ ๆ แล้วกระทำการยิ้มแย้ม พระลักขณเถระสังเกตเห็นอาการของท่าน จึงถามสาเหตุของการแย้มนั้น ก็ได้รับคำตอบว่า ให้ไปถามอีกครั้งในสำนักของพระพุทธองค์เถิด

    เมื่อหลังจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระลักขณเถระจึงถามเรื่องที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านเล่าให้พระเถระฟัง โดยมีพระศาสดาประทับนั่งเป็นสักขีพยานว่า

    ขณะที่ลงมาจากเขา ท่านได้เห็นเปรตตนหนึ่งมีอัตภาพใหญ่โตทีเดียวประมาณ 3 คาวุตถูกค้อนเหล็ก 6 หมื่นอัน ที่มีไฟติดลุกโพลง ตกลงมากระหน่ำศีรษะของเปรตนั้นค้อนเหล็กได้ทุบศีรษะของเปรตจนแตกกระจาย แล้วศีรษะที่แตกกระจายนั้นก็รวมกันขึ้นใหม่อีก แล้วก็ถูกค้อนทุบแตกกระจายไปอีก เปรตร้องโหยหวนด้วยความทุกข์ทรมานแสนสาหัส

     พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เปรตตนนี้เราเห็นตั้งแต่ตรัสรู้ ครั้งเมื่อนั่งอยู่ที่โพธิมณฑล แต่เราไม่ได้บอกกับใคร เพราะถ้าเราบอกไปแล้วไม่มีใครเชื่อ ความไม่เชื่อนั้น จะเป็นกรรมติดตัวพวกเขาไป แต่วันนี้ เราเป็นพยานของโมคคัลลานะจึงบอกได้"

      จะเห็นได้ว่า ขนาดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบรมครูของพวกเราทั้งหลาย พระองค์ท่านจะตรัสอะไร ยังต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อน เพราะอยากจะให้ถ้อยคำที่ตรัสออกไปเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ฟัง พวกภิกษุก็ทูลถามถึงบุพกรรมของเปรต พระองค์จึงตรัสเล่าให้ฟังว่า ในอดีตกาล มีบุรุษเปลี้ยคนหนึ่งเก่งมาก มีศิลปะในการดีดก้อนกรวดสามารถที่จะใช้ก้อนกรวดดีดไปที่ใบไม้ให้เป็นรูปอะไรก็ได้จะเป็นช้าง ม้า ทำได้หมดเลย ท่านใช้วิชานี้เลี้ยงชีพ โดยการดีดก้อนกรวดให้เด็ก ๆ ดู แล้วก็ได้ของกินของใช้จากเด็กเหล่านั้น

     มีอยู่วันหนึ่ง พระราชาเสด็จผ่านมาประทับใต้ต้นไทร เห็นเงาของใบไม้เป็นรูปต่าง ๆ กระทบพระวรกายของพระองค์ จึงถามว่าเป็นฝีมือของใคร เมื่อรู้ว่าเป็นฝีมือของบุรุษเปลี้ย พระองค์ท่านเลยรับสั่งให้ไป นองงานบางอย่างในพระราชวัง บุรุษเปลี้ยผู้นี้รับ นองพระราชโองการเป็นที่พอพระทัยมาก จึงได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติมากมาย

    ใครก็ตามที่มีความรู้ความสามารถ แล้วนำไปใช้ได้เต็มที่ ตามความต้องการของผู้บังคับบัญชา ซึ่งไม่ผิดศีลผิดธรรม ก็ย่อมนำแต่ความสุขความสำเร็จมาสู่ตนเองและครอบครัวคราวนี้มีผู้ชายคนหนึ่ง เห็นบุรุษเปลี้ยท่านนั้นได้ทรัพย์สมบัติมากมาย จึงคิดว่า แม้คนง่อยเปลี้ยแต่อาศัยศิลปะดีดก้อนกรวด ก็ประสบความสำเร็จในชีวิต แม้ตัวเราก็ควรจะเรียนไว้ เมื่อคิดได้ก็เข้าไปขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ครั้งแรกบุรุษเปลี้ยเห็นว่า ชายหนุ่มคนนี้เป็นคนนิสัยไม่ดี ถ้าสอนศิลปะนี้ให้ไป ก็มีแต่จะทำความพินาศย่อยยับให้เกิดขึ้นกับตนเอง จึงห้ามเอาไว้ แต่ชายหนุ่มก็ไม่เลิกล้มความตั้งใจ เข้าไปปรนนิบัติรับใช้ ทำให้พออกพอใจ จนบุรุษง่อยเปลี้ยรู้สึกสำนึกในบุญคุณ จึงตัดสินใจถ่ายทอดความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่ให้ไป

      ดูลักษณะของคนพาล เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว ใคร ๆ ก็ไม่อาจห้ามปรามได้ บุรุษเปลี้ยถามศิษย์ตนเองว่า ท่านเรียนจบหลักสูตรแล้ว จะไปทำอะไรต่อล่ะ ลูกศิษย์บอกว่า ผมจะทดสอบความรู้ความสามารถดูเสียก่อน อาจารย์ถามต่อว่า เธอจะไปทำอย่างไร ผมจะดีดแม่โคหรือมนุษย์ให้ตาย อาจารย์เลยเตือนว่า ถ้าเธอฆ่าแม่โค จะถูกปรับเสียเงิน 100 กหาปณะ เมื่อฆ่ามนุษย์จะถูกปรับพันกหาปณะ เธออย่านำศิลปะนี้ไปรังแกสัตว์อื่นเลย

     ชายหนุ่มลูกศิษย์ไม่ยอมเชื่อ แต่ก็คิดว่าจะฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ถึงจะไม่โดนปรับ เมื่อเดินไปพบพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งกำลังเดินเที่ยวบิณฑบาต จึงคิดว่า พระสมณะรูปนี้ ไม่มีพ่อไม่มีแม่เอาล่ะเราจะทดสอบศิลปะกับพระสมณะรูปนี้แหละ จึงดีดก้อนกรวด เล็งช่องหูเบื้องขวาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก้อนกรวดเข้าไปโดนช่องหูข้างขวา ทะลุออกช่องหูข้างซ้ายทุกขเวทนาแสนสาหัสได้เกิดขึ้นกับท่าน พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านไม่สามารถเที่ยวบิณฑบาตต่อไปได้ จึงเหาะกลับไปพักที่บรรณศาลา แล้วก็ปรินิพพานที่นั่น

    สาธุชนที่เคยตักบาตร ไม่เห็นท่านออกมาบิณฑบาตจึงตามไปดูที่บรรณศาลา เห็นท่านปรินิพพานแล้วก็ร้องไห้คร่ำครวญ ช่วยกันนำร่างของท่านไปฌาปนกิจส่วนชายหนุ่มก็ไปดูผลงานของตนเอง จำพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ จึงบอกว่านี้เป็นฝีมือของตนเอง พูดด้วยความภูมิใจทีเดียว ไม่ได้สำนึกบาปกรรมที่ตนเองก่อไว้เลย ชาวบ้านรู้เข้า จึงพากันรุมประชาทัณฑ์จนสิ้นชีวิต หลังจากตายไป เขาตกนรกหมกไหม้ยาวนานทีเดียว ถูกไฟนรกเผาผลาญอยู่ในอเวจีมหานรก จนกระทั่งแผ่นดินสูงขึ้น 16 โยชน์ จึงพ้นจากนรกแต่ยังมีเศษกรรมเหลืออยู่ จึงไปเกิดเป็นเปรตที่ถูกค้อนเพลิงทุบหัวได้รับทุกข์ทรมานอยู่ที่ยอดเขาคิชฌกูฏ

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นกับคนพาลย่อมนำมาซึ่งความหายนะเดือดร้อนทั้งแก่ผู้อื่นและตนเอง ดังนั้นหากจะรับใครเป็นลูกศิษย์ หรือหากคิดจะถ่ายทอดความรู้ให้กับใครแล้ว ก็ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพื่อมิให้ความรู้ของเราไปตกอยู่กับคนพาล และคนพาลย่อมไม่เคารพในการศึกษา เพราะเขาจะนำความรู้ที่ร่ำเรียน ไปทำความชั่วร้ายต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้ในที่สุด

      ความเคารพในความไม่ประมาท คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการมี ติกำกับตัวในการทำงานต่าง ๆ แล้วแสดงออกซึ่งความเคารพโดยหมั่นฝึกสติเพื่อให้ไม่ประมาท ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาอยู่เนือง ๆ มิได้ขาด

     เรื่องของความเคารพในความไม่ประมาทนั้น มีตัวอย่าง 5 เรื่องจากสมัยพุทธกาล มาให้พวกเราได้ศึกษากัน ดังต่อไปนี้


เรื่องที่ 1 ความไม่ประมาทเป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหมด
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี 2 เท้าก็ดี 4 เท้าก็ดีมีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่ก็ดีพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปบนแผ่นดินเหล่าใดเหล่าหนึ่งรอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงความรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะความเป็นของใหญ่ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูลประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเหล่าใดเหล่าหนึ่งของเรือนยอด กลอนเหล่านั้นทั้งหมด ไปหายอด น้อมไปสู่ยอด รวมที่ยอด ยอด โลกกล่าวว่า เป็นยอดของกลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นแต่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิ โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมเกิดแต่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาน้อยเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระราชาเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอนุยนต์ไปตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิโลกกล่าวว่าเป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แสงสว่างเหล่านั้นทั้งหมดย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 อันบัณฑิตแบ่งออกแล้ว 16 ครั้งของแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งแสงสว่างเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทฤดู เมื่อฝนขาดปราศจากเมฆแล้ว ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นสู่ท้องฟ้ากำจัดความมืดที่มีในอากาศทั้งหมดแล้ว ย่อมส่องแสง แผดแสงและแจ่มกระจ่าง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆสายใดสายหนึ่ง คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสายน้ำไหลไปสู่ มุทร โน้มไปสู่ มุทร น้อมไปสู่สมุทร มหาสมุทร โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งแม่น้ำเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูลประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯลฯ

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกเรื่องความไม่ประมาทว่าเป็นสุดยอดของกุศลธรรมทั้งหมด ดังนั้นเราทุกคนจึงควรให้ความเคารพในความไม่ประมาทอยู่เนือง ๆ


เรื่องที่ 2 ความไม่ประมาทเป็นธรรมที่ให้สำเร็จประโยชน์
      ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่

     พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นไฉน

    พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท

     ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนรอยเท้าชนิดใดชนิดหนึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งปวงย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเป็นเยี่ยมกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน ฯลฯ ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือความไม่ประมาทนี้แล

    พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า ความไม่ประมาทเป็นธรรมที่ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับเรา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต กล่าวคือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หรือทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า ดังนั้นเราจึงควรหมั่นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทด้วยความเคารพกันอยู่เสมอ


เรื่องที่ 3 ความไม่ประมาทด้วยการระวังภัยที่ยังไม่มาถึง
     พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงเห็นภิกษุทั้งหลายประมาณ 500 รูป ถูกกามวิตกครอบงำ ภายในโกฏิสัณฐารกะ จึงทรงประชุมสงฆ์ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ควรระแวง ก็ควรระแวง ขึ้นชื่อว่ากิเล ทั้งหลาย เมื่อเจริญขึ้นก็ย่อมทำลายเรา เหมือนต้นไทรเป็นต้น เมื่อเติบโตขึ้น ก็ทำลายต้นไม้ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ในปางบรรพ์เทวดา ผู้เกิดที่โกฏสิมพลีงิ้วใหญ่ เห็นนกตัว 1 กินลูกนิโครธ ถ่ายอุจจาระรดกิ่งต้นไม้ของตน ได้ประสบความกลัวว่า ต่อแต่นี้ไปวิมานของเราจักมีความพินาศ แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

     ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดาที่ต้นโกฏสิมพลี ภายหลังพญาครุฑตัวหนึ่งเนรมิตอัตภาพ 150 โยชน์ ใช้ลมปีกพัดน้ำในทะเลแหวกออกเป็น 2ส่วน แล้วเฉี่ยวเอานาคราชตัวหนึ่งยาวพันวาที่หางให้ขยอกเหยื่อที่พญานาคนั้นใช้ปากคาบไว้ทิ้ง บินไปทางยอดป่า มุ่งหมายไปที่ต้นโกฏสิมพลี นาคราชเมื่อห้อยหัวลง จึงคิดว่า เราจัก ลัดตัวให้หลุด จึง อดขนดเข้าไปที่ต้นนิโครธต้น หนึ่งพันต้นนิโครธยึดไว้ ต้นนิโครธก็ถอนขึ้น เพราะความแรงของพญาครุฑและพญานาคร่างใหญ่ พญานาคก็ไม่ปล่อยต้นไม้เลย ครุฑจึงเฉี่ยวเอาพญานาคพร้อมกับต้นนิโครธไปถึงต้นโกฏสิมพลี แล้วให้พญานาคนอนบนด้านหลังของลำต้นไม้ ฉีกท้องกินมันข้นของพญานาคแล้วทิ้งซากที่เหลือลงทะเลไป ก็บนต้นนิโครธนั้นมีนกตัวเมียตัวหนึ่ง เมื่อพญานาคทิ้งต้นนิโครธแล้ว มันก็บินไปเกาะอยู่ระหว่างกิ่งของต้นโกฏสิมพลี รุกขเทวดาเห็นมันแล้วสะดุ้งกลัวตัวสั่นไปโดยคิดว่า นกตัวเมียตัวนี้จักถ่ายอุจจาระรดลำต้นไม้ของเรา ต่อนั้นไปพุ่มไทรหรือพุ่มไม้ป่า ก็จะขึ้นท่วมทับถมต้นไม้ทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นวิมานของเรา ก็จักพินาศ

     เมื่อรุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ ต้นโกฏสิมพลีก็สั่นไปถึงโคน พญาครุฑเห็นรุกขเทวดาสั่นสะท้านอยู่ จึงได้กล่าวถามรุกขเทวดา..... เมื่อครุฑได้ฟังคำตอบของรุกขเทวดาแล้ว จึงกล่าวขึ้นว่า ธีรชนควรระแวงภัยที่ควรระแวง ควรระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนย่อมพิจารณาเห็นโลกทั้งสอง เพราะภัยในอนาคต ครุฑครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้นกนั้นหนีไปจากต้นไม้นั้นด้วยอานุภาพของตน

     พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า เธอทั้งหลายควรระแวงสิ่งที่ควรระแวงดังนี้ ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรมภิกษุประมาณ 500 รูป ดำรงอยู่แล้วในอรหัตผล พญาครุฑ ในครั้งนั้น ได้แก่พระสารีบุตรในบัดนี้ส่วนรุกขเทวดา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล

      จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า รุกขเทวดาที่ต้นโกฏสิมพลี เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท มีความเคารพในความไม่ประมาท เป็นผู้ที่รู้จักระวังภัยที่ยังมาไม่ถึง จึงสามารถรอดพ้นจากภัยในครั้งนี้ไปได้ ดังนั้นเราทุกคนต้องหมั่นระแวดระวังภัยที่ยังมาไม่ถึงด้วย


ความไม่ประมาทอยู่ทุกกาล
เรื่องที่ 4 ความไม่ประมาทด้วยการระวังภัยในอนาคต 5 ประการ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ก็ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย 5 ประการเป็นไฉน คือ

      ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิทประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึงกระนั้น ก็มี มัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่ายจะเสพเสนาสนะอัน งัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนทีเดียว ซึ่งเราประกอบแล้วแม้เป็นผู้ชราก็จักอยู่สบาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ 1 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบางประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมี มัยที่พยาธิจะถูกต้องกายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้วจะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ก็จักอยู่ บายภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ 2 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท...

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี บิณฑบาตก็หาได้ง่ายสะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมี มัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาต หาได้ยากไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ในสมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดีในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย... ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ 3 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท...

      อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล มนุษย์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมี มัยที่มีภัย มีความปันป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย และเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ซึ่งปลอดภัย ในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกันเมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย... ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่ บายแม้ในสมัยที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ 4 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท...

       อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลสงฆ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุกแต่ก็ย่อมมีสมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้วจะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อสงฆ์แตกกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ 5 นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

      จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้พระภิกษุผู้ใคร่ต่อการบรรลุธรรมนั้นให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท อันได้แก่ ความไม่ประมาทในวัย ความไม่ประมาทในความไม่มีโรค ความไม่ประมาทในเรื่องการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอันเกิดจากแสวงหาบิณฑบาตและการแวดล้อมด้วยญาติโยม และความไม่ประมาทในเรื่องความสามัคคีของหมู่สงฆ์ แล้วให้รีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

    ดังนั้น หากเราปรารถนาที่จะได้บรรลุธรรมแล้วไซร้ ก็ควรเร่งทำความเพียรเพื่อให้บรรลุธรรม ก่อนที่ภัยในอนาคตทั้ง 5 ประการจะมาถึงตัวเรา


เรื่องที่ 5 สร้างความไม่ประมาทด้วยการพิจารณาฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ 5 ประการ
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการ อัน ตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ฐานะ 5 ประการนี้เป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ 1 เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ 1 เรามีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ 1 เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น 1 เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 1

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลสตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลสตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

      อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติการอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

    อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพอบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

     อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

    อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตนเป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

     จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เราทุกคนไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เป็นผู้ครองเรือนหรือเป็นนักบวชก็ตาม จะต้องหมั่นพิจารณาธรรม 5 ประการนี้อยู่เนือง ๆ คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก และเรื่องกฎแห่งกรรม เพื่อไม่ให้เรามีความประมาทในเรื่อง ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในความไม่มีโรค ความมัวเมาในชีวิต ความพอใจ ความรักใคร่ในของรัก และการ
ประกอบซึ่งกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ซึ่งเมื่อเราพิจารณาธรรม 5 ประการนี้อยู่เนืองๆแล้ว ย่อมจะละได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ในสิ่งเหล่านี้ และแม้แต่พระอริยะสาวก เมื่อพิจารณาธรรม 5 ประการนี้อยู่เนือง ๆ ว่าโดยที่แท้สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนต้องประสบกับธรรม 5 ประการนี้เช่นเดียวกัน เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรมทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

      ดังนั้น ให้เราทุกคนหมั่นพิจารณาธรรมทั้ง 5 ประการดังกล่าวให้บ่อย ๆ ให้สม่ำเสมอ เราจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความเคารพในความไม่ประมาทอย่างแท้จริง

     ความเคารพในการต้อนรับ คือตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการต้อนรับปฏิสันถาร ว่าทำให้ไม่ก่อศัตรู ปกติคนเราจะให้ดีพร้อม ทำอะไรถูกใจคนทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ อาจมีช่องว่างรอยโหว่ มีข้อบกพร่องบ้าง การต้อนรับแขกนี้จะเป็นการปิดช่องว่างรอยโหว่ในตัว ทำให้ได้มิตรเพิ่ม เราจึงต้องให้ ความสำคัญแก่ผู้มาเยือน ด้วยการต้อนรับ 2 ประการ ดังนี้

       1. อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหารน้ำดื่ม เลี้ยงดูอย่างดี ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ฯลฯ

       2. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม เช่น นทนาธรรมกัน แนะนำธรรมะให้แก่กัน ฯลฯ

    นอกจากตัวเราจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการต้อนรับแขกแล้ว แม้คนในบ้านก็ต้องฝึกให้ต้อนรับแขกเป็นด้วย ไม่เช่นนั้นจะพลาดไป เช่น ข้าราชการผู้ใหญ่บางคนตนเองต้อนรับแขกได้อย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ได้ฝึกคนในบ้านไว้ เวลาตนเองไม่อยู่มีแขกมาหาที่บ้าน เด็กและคนรับใช้พูดจากับเขาไม่ดี ทำให้เขาผูกใจเจ็บ คิดหาทางแก้แค้น หาทางโจมตีเอาจนต้องเสียผู้เสียคนมาก็มากต่อมากแล้ว โดยที่ตนเองก็ไม่รู้สาเหตุว่าเขาเป็นศัตรูเพราะอะไร

      เรื่องของความไม่ประมาทในการต้อนรับปฏิสันถารนั้น มีตัวอย่างมาให้เราได้ศึกษากันดังต่อไปนี้


เรื่องการต้อนรับปฏิสันถารพระภิกษุสงฆ์ย่อมประสบผลบุญโดยฐานะ 5 ประการ

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมเข้าไปหาสกุลใด พวกมนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ 5 ประการ ฐานะ 5 ประการเป็นไฉน  คือ

     สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล จิตของพวกมนุษย์ย่อมเลื่อมใสเพราะเห็นท่านสมัยนั้น กุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์

     สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมลุกรับ (ต้อนรับ) กราบไหว้ให้อาสนะ (ที่นั่ง) สมัยนั้น กุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสกุลสูง

     สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมกำจัดมลทินคือความตระหนี่สมัยนั้น กุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ (เกียรติยศสูง)

     สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมจัดของถวายตามสติกำลัง สมัยนั้นสกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก

     สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมไต่ถามสอบสวน ย่อมฟังธรรมสมัยนั้นสกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ 5 ประการนี้

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า การให้การต้อนรับปฏิสันถารแก่พระภิกษุสงฆ์นั้นมีอานิสงส์ผลบุญมากมายหลายประการ ดังนั้นขอให้เราทุกคนอย่าละเลยในการต้อนรับปฏิสันถารท่าน เพราะจะเป็นทางมาแห่ง วรรค์และมรรคผลนิพพานได้ในที่สุด

     เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคนสิ่งของ เหตุการณ์ การงานในโลกนี้มีหลายแสนหลายล้านอย่าง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราสนใจอย่างจริงจัง 6 อย่าง ดังนั้น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง 6 ประการนี้ มีความสำคัญเพียงใด โปรดดูได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้


เรื่องความสำคัญของความเคารพทั้ง 6 ประการ
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้พระนครกิมมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว

      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ในสิกขา (การศึกษา) ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

      พระกิมมิละกราบทูลถามต่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว

       พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ดูก่อนกิมมิละ พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขาในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

      จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาหรือพระสัทธรรมจะสามารถดำรงอยู่ได้นานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับพุทธสาวกว่า มีความเคารพใน 6 ประการข้างต้นหรือไม่เพียงใด จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาแล้วนำไปปฏิบัติกันให้ดี

       สิ่งที่ควรเคารพทั้ง 6 ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง เมื่อเราสามารถตรองจนตระหนักถึงคุณของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง ทั้ง 6 ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรองถึงความดีของสิ่งอื่น ๆ ได้ชัดเจนและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริงและทำได้จริงผู้หนึ่ง

      เมื่อฝึกตนเองให้มากด้วยความเคารพแล้ว ในไม่ช้านิสัยชอบจับผิดผู้อื่นก็จะค่อย ๆ หายไป เจอใครก็จะคอยมองแต่คุณความดีของเขา ต่อไปความชั่วทั้งหลายเราก็จะนึกไม่ออก นึกออกแต่ความดีและวิธีทำความดีเท่านั้น ตัวเราก็จะกลายเป็นที่รวมแห่งความดีเหมือนทะเลเป็นที่รวมของน้ำฉะนั้น

 

1.3 ข้อควรรู้ 
การแสดงความเคารพ
      การแสดงความเคารพ คือการแสดงความตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เราเคารพด้วยใจจริง ให้ปรากฏชัดแก่บุคคลทั่วไป ด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา มีอยู่หลายวิธี เช่น หลีกทางให้ ลุกขึ้นยืนต้อนรับ การให้ที่นั่งแก่ท่าน การประณมมือเวลาพูดกับท่าน การกราบ การไหว้การขออนุญาตก่อนทำกิจต่าง ๆ การวันทยาวุธ การวันทยหัตถ์ การยิงสลุต การลดธง ฯลฯ

       การแสดงความเคารพที่ถูกต้องตามหลักธรรม หมายถึง การแสดงออกเพราะตระหนักในคุณความดีของสิ่งที่เคารพด้วยใจจริง นักเรียนที่คำนับครูเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกตัดคะแนนความประพฤติ ทหารที่ทำวันทยหัตถ์ผู้บังคับบัญชาเพราะเกรงว่าถ้าไม่ทำจะถูกลงโทษ อย่างนี้ไม่จัดว่าเป็นความเคารพ เป็นแต่เพียงวินัยอย่างหนึ่งเท่านั้น


ข้อเตือนใจ
       ดังได้กล่าวแล้วว่า ความเคารพ คือการตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น ซึ่งผู้ที่จะตระหนักในความดีของคนอื่นและสิ่งอื่นได้ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเป็นทุนอยู่ในใจก่อน คือมีปัญญา ความรู้จักผิดชอบชั่วดีพอสมควร

     และเมื่อเราแสดงความเคารพออกไปแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็จะรู้ทันทีว่า อ้อ คนนี้เขามีคุณธรรมสูง มีความเคารพและมีแววปัญญา เขาก็เกิดความตระหนักในความดีของเรา และแสดงกิริยาเคารพต่อเราที่เรียกว่า รับเคารพ

      แต่ถ้าผู้ใด เมื่อมีคนมาแสดงความเคารพแล้วเฉยเสีย ไม่แสดงความเคารพตอบ ผู้นั้นจัดเป็นคนน่าตำหนิอย่างยิ่ง เพราะการเฉยเสียนั้นเท่ากับบอกให้ชาวโลกรู้ว่า ตัวข้านี้ แสนจะโง่เง่าหามีปัญญาพอที่จะเห็นคุณความดีในตัวท่านไม่ เท่านั้นเอง

     คนที่ไม่อยากแสดงความเคารพคนอื่น หรือเมินเฉยต่อการเคารพตอบ มักเป็นเพราะเข้าใจว่าการแสดงกิริยาเคารพออกมานั้น เป็นการลดสง่าราศีของตนแล้วเอาไปเพิ่มให้แก่คนอื่นเลยเกิดความเสียดายเกรงว่าตัวเองจะไม่ใหญ่โต หรือเกรงว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่าตัวเองใหญ่โต นั้นเป็นการคิดผิดอย่างยิ่ง

 

1.4 อานิสงส์ 

1. ทำให้เป็นคนน่ารัก น่าเอ็นดู น่าเกรงใจ
2. ทำให้ได้รับความสุขกายสบายใจ
3. ทำให้ผิวพรรณผ่องใส
4. ทำให้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีเวร ไม่มีภัย
5. ทำให้สามารถถ่ายทอดความดีจากผู้อื่นได้ง่าย
6. ทำให้ผู้อื่นอยากช่วยเหลือเพิ่มเติมคุณความดีให้
7. ทำให้สติดีขึ้น เป็นคนไม่ประมาท
8. ทำให้เป็นคนมีปัญญาละเอียดอ่อน รู้จริง และทำได้จริง
9. ทำให้เกิดในตระกูลสูงไปทุกภพทุกชาติ
10. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
ฯลฯ

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

**บทความ แนะนำ/เกี่ยวข้อง

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0021145701408386 Mins