อัตตัญญุตา (ความเป็นผู้รู้จักตน)

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

อัตตัญญุตา
(ความเป็นผู้รู้จักตน)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อัตตัญญุตา  (ความเป็นผู้รู้จักตน) , อัตตัญญุตา

     เมื่อพระภิกษุฝึกฝนตนเองจนเป็นธัมมัญญู ผู้รู้จักธรรม (รู้จักเหตุ) เป็นอัตถัญูผู้รู้จักนัยหรือความหมายของคำสอน (รู้จักผล) ได้แล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ฝึกในขั้นตอนที่ 3 คือ อัตตัญญู ต่อไป

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นอัตตัญญูบุคคล ไว้ดังนี้

      "ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญูภิกษุเป็นธัมมัญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้."

       คำแปลและความหมาย

       อัตตะ แปลว่า อาตมา ตัว จิต วิญญาณ

       ผู้เป็นอัตตัญญู หรืออัตตัญญุตา หมายถึง ความรู้จักตน คือรู้ว่า เรานั้นว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าบัดนี้มีเท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลดี

       ดังนั้น อัตตัญญู จึงหมายถึง ความรู้จักตน คือรู้จักตนเองว่ามีคุณธรรมมากน้อยเพียงใด เมื่อรู้แล้วจะได้เร่งพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข เพื่อเพิ่มพูนคุณธรรมให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างรวดเร็ว

       คุณธรรม คืออะไร
       คุณธรรม แปลว่า ภาพคุณงามความดี

       คำว่า คุณ แปลว่า ประโยชน์ ความดี ความไม่มีโทษ ความไม่มีความชั่ว

      คำว่า ธรรมะ แปลว่า ความจริง ธรรมชาติ บุญ ความถูกต้อง ความดีงาม ความไม่เป็นพิษเป็นภัย ความไม่กลับกลอก

    เพราะฉะนั้น คุณธรรมจึงหมายถึงความถูกต้องดีงามที่เกิดขึ้นมาในกาย วาจา ใจ คนที่มีคุณธรรมจึงเป็นบุคคลที่ควบคุมทั้งกาย วาจา และใจ ไม่ให้คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วได้ รวมทั้งสามารถเสริมและสนับสนุนตัวเองและคนอื่น ให้คิด พูด ทำในสิ่งที่มีประโยชน์ ถูกต้องดีงาม ด้วยความจริงใจอยู่เป็นนิจ


คุณธรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
      เมื่อพระภิกษุรู้จักธรรม และเข้าใจความหมายแล้ว จึงนำธรรมะซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาฝึกปฏิบัติ เพื่อขัดเกลากาย วาจา ใจ ให้ใสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เมื่อฝึกปฏิบัติต่อเนื่องเรื่อยไป จนกระทั่งกลายมาเป็นนิสัยรักการทำความดี เกลียดความชั่วฝังแน่นติดตัวไป ซึ่งก็คือคุณธรรมประจำใจของพระภิกษุนั่นเอง

    เมื่อคุณธรรมเกิดขึ้นมาแล้ว พระภิกษุต้องหมั่นตอกย้ำฝึกฝนตนเองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่อยไป หมั่นสังเกต พัฒนา และปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสม อย่าประมาทเพียงเพราะคิดว่า เราฝึกมามากพอแล้ว ดีแล้ว เพราะตราบใดที่ยังไม่สามารถกำจัดอาสวกิเลสให้หมดสิ้นได้ คุณธรรมภายในก็จะยังไม่มั่นคง


ความสำคัญของการประเมินคุณธรรม
      การประเมินคุณธรรมของตนเองอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้ว่าคุณธรรมของเราขณะนี้มีความเจริญก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ห่างไกลจากมาตราฐานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องเรื่อยไปหากหยุดนิ่ง หรือลดลง ต้องรีบหาทางแก้ไข ว่าสาเหตุคืออะไร มีอะไรเป็นอุปสรรค เช่น เป็นเพราะมีความเพียรไม่สม่ำเสมอใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็เพียรให้มากกว่าเดิม หรือเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมไม่ดี ต้องแก้ไขที่สิ่งแวดล้อมสุขภาพไม่ดี ก็แก้ไขที่สุขภาพ ความเข้าใจของเราผิดพลาดก็แก้ไขที่ความเข้าใจ เป็นต้น

      การหมั่นสังเกตและแก้ไข จะช่วยให้เราไม่ตกอยู่ในความประมาท ทำให้สามารถฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมั่นคงได้ ตรงกับความประสงค์ของพระพุทธองค์


ธรรม 6 ประการสำหรับใช้ประเมินคุณธรรม
       การจะวัดสิ่งใด ๆ ต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมกันมาใช้วัด เช่น หากต้องการวัดความยาว คงต้องอาศัยไม้บรรทัด หรือตลับเมตร ถ้าจะวัดน้ำหนัก ต้องอาศัยเครื่องชั่ง ถ้าจะวัดเวลา ก็ต้องอาศัยนาฬิกา เป็นต้น ฉันใด หากต้องการวัดคุณธรรมหรือประเมินคุณธรรม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมตนเองตามพระธรรมวินัย ก็ต้องอาศัยหลักธรรม 6 ประการ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในเรื่องอัตตัญญู มาเป็นตัววัด

        ธรรม 6 ประการได้แก่ ศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ มีรายละเอียดดังนี้คือ

1. ศรัทธา
    ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ ความเลื่อมใสในทางธรรมหมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ความมั่นใจในความจริง ความดีสิ่งดีงาม และในการทำความดี
ไม่ลู่ไหล ตื่นตูม ไปตามลักษณะอาการภายนอก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 อย่างคือ

       1. กัมมสัทธา ความเชื่อในเรื่องกรรม หรือกฎแห่งกรรมว่ามีจริง

       2. วิปากสัทธา ความเชื่อในผลของกรรม ว่าทำดีต้องได้รับผลดีจริง ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่วจริง

      3. กัมมัสสกตาสัทธา ความเชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ใครทำกรรมใดไว้ ย่อมเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น

       4. ตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึง

       1) เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง คือ พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองจริง

       2) เชื่อว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์ดีจริง เป็นไปเพื่อความเจริญในกุศลธรรมแต่ฝ่ายเดียว

      3) เชื่อว่าเมื่อนำคำสอนของพระพุทธองค์มาปฏิบัติแล้วย่อมได้ผลดีจริง คือ ปฏิบัติแล้วสามารถหมดกิเลสตามพระองค์ไปได้จริง

     ในบรรดาศรัทธาทั้ง 4 ตถาคตโพธิสัทธามีความสำคัญที่สุด เพราะความเชื่ออื่น ๆ นั้นอาศัยความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพื้นฐาน

    ในทางปฏิบัติศรัทธามีลักษณะเป็นความสว่างที่เกิดขึ้นในใจ เมื่อเกิดแล้ว จะส่งผลให้คน ๆ นั้นอยากทำความดีด้วยกาย วาจา และใจ ซึ่งเป็นต้นทางให้กุศลธรรมเจริญขึ้นมา

       สำหรับผู้มีศรัทธา ก็ควรพัฒนาศรัทธาของตนนั้นให้มั่นคง กลายเป็น อจลศรัทธา คือความเลื่อมใสศรัทธาชนิดที่หมดความสงสัยใดๆในพระรัตนตรัย เมื่อมีศรัทธาตั้งมั่น จึงจะมั่นใจได้ว่า คุณธรรมความดีของเราจะก้าวหน้า ไม่เสื่อมสลายหรือลดน้อยลงไปได้เลย


2. ศีล
      ศีล แปลว่า ความประพฤติดีทางกายและวาจา การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อยข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้อยู่ในความดีงาม การรักษาปกติตามระเบียบวินัย ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ

   ศีลจึงเป็นเครื่องควบคุมกายและวาจาให้เรียบร้อยดีงาม ซึ่งสำหรับพระภิกษุนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมไว้เป็น 4 ประเภท เรียกว่า ปาริสุทธิศีล ได้แก่

   1. ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการเว้นจากข้อที่พระพุทธองค์ทรงห้าม และทำตามข้อที่ทรงอนุญาต และประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย แบ่งออกได้ 3 หัวข้อด้วยกัน คือ

1) ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร
2) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
3) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

      2. อินทรียสังวรศีล คือสำรวมระวังในอินทรีย์ทั้ง 6 ไม่ให้บาปอกุศลครอบงำใจ

      3. อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบด้วยการเลี้ยงชีพที่ผิด เช่น หลอกลวงเขา หรือประจบเขาเพื่อหวังสิ่งของ เป็นต้น

      4. ปัจจัยสันนิสิตศีล หรือปัจจเวกขณศีล คือ การพิจารณาใช้ อยปัจจัย 4 ให้ถูกต้องตามวัตถุประ งค์และประโยชน์ของสิ่งนั้น

       ศีลทั้ง 4 ประเภท มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การรักษา กาย วาจา และใจ ให้คิดดี พูดดีและทำดีนั่นเอง


3.สุตะ
       สุตะ แปลว่า ได้ยิน ได้ฟังแล้ว
    โดยความหมายสุตะหมายถึงการฟัง หรือการศึกษาเล่าเรียน การศึกษาในสมัยก่อนหรือแม้แต่ปัจจุบัน ก็อาศัยจากการฟัง และการดูหรืออ่านเป็นหลัก เป็นการเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ ที่ทำให้เราได้ปัญญา ซึ่งการศึกษาธรรมะก็มีหลายวิธี เช่น การฟังเทศน์ การค้นคว้าจากตำรับตำรา การสนทนาธรรม การประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

     โดยสรุปแล้วสุตะ คือการหมั่นเข้าไปแสวงหาความรู้สะสมข้อมูลธรรมะใหม่ ๆ อยู่เสมอเมื่อฟังแล้วก็นำมาตรึกตรองตาม ถ้ามีปัญหา หรือข้อสงสัยใด ๆ ก็ไม่ยอมปล่อยผ่าน หมั่นเข้าไปสอบถามกับผู้รู้ให้เข้าใจ เพราะการหมั่นฟังธรรม ย่อมจะได้รับอานิสงส์ 5 ประการ ได้แก่

1. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. เข้าใจสิ่งที่เคยฟังแล้ว ได้อย่างชัดเจน กระจ่างยิ่งขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยได้
4. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตรงไปตามความเป็นจริง
5. ผู้ฟังมีจิตเลื่อมใส

      ผลที่สุดจากการฟังธรรม จิตของเราจะเลื่อมใสคือเกิดศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอยากที่จะศึกษาคำสอนของพระองค์เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

      เพราะฉะนั้น การปล่อยชีวิตให้ผ่านไปวัน ๆ ไม่หมั่นศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทำให้ความรู้ของเราไม่ก้าวหน้า ปัญญาก็จะไม่เพิ่มพูน ดังนั้นการสั่งสมความรู้ธรรมะยิ่งมากเท่าไร ยิ่งเป็นผลดี เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์กับการฝึกฝนอบรมตนเอง ยังเป็นประโยชน์กับการแนะนำผู้อื่นด้วย การมีสุตะเหมือนกับการมีอาวุธไว้สู้กับข้าศึกภายใน คือกิเลสที่ฝังแน่นอยู่ในใจตน


4. จาคะ
      จาคะ แปลว่า การสละ การเสียสละ การทำให้หมดไปจากตน การ ละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ การ ละกิเลส

      จาคะกับทานใช้ในความหมายที่ใกล้กัน ทานมักจะหมายถึงการให้ทานเป็นสิ่งของ แต่จาคะจะรวมการสละอารมณ์ที่เกิดจากการถูกกิเลสครอบงำ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น

       จาคะ เป็นเรื่องของการเสียสละอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่

     1. ละทรัพย์สินสิ่งของ ออกมาทำบุญทำทานสร้างบุญสร้างกุศล เพื่อเป็นเสบียงบุญไปในภพชาติเบื้องหน้า การมีทรัพย์สมบัติมาก มักจะทำให้ใจเป็นห่วงกังวล เกิดความตระหนี่หวงแหนได้ง่าย จึงต้องแก้ไขด้วยการให้ทาน เมื่อให้แล้วก็ตัดใจ ไม่ให้มีความอาลัยหรือเสียดายทรัพย์ในภายหลัง

      เมื่อตัดความตระหนี่ถี่เหนียว ความหวงแหนในทรัพย์สมบัติ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบ คือ ความโลภได้แล้ว การสละกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในใจจะสามารถสละได้ง่ายขึ้น และเมื่อหวนนึกถึงการทำทานอย่างต่อเนื่องในครั้งก่อน ๆ ของตน ก็จะทำให้ใจรวมหยุดนิ่งได้ง่าย

      2. สละความสะดวกสบายที่มากเกินจำเป็น ซึ่งเป็นเหตุให้เกียจคร้าน ความเพียรย่อหย่อน เช่น แค่เดินไปใกล้ ๆ ก็อยากให้มีรถไปส่ง ไม่อยากเดิน นั่งอยู่ในห้องธรรมดาได้ ก็อยากได้เครื่องปรับอากาศ ขาดความอดทน จึงกลายเป็นคนประเภทหนักไม่เอาเบาไม่สู้ ติดความสบาย เมื่อรักสบาย เท่ากับตามใจกิเลสกลายเป็นคนเอาแต่ใจตัวเอง และไม่รักที่จะฝึกฝนอบรมตน

     3. สละอารมณ์ คือ ละอารมณ์ที่ไม่ดีต่าง ๆ ออกไปจากใจให้หมด ทั้งอารมณ์ที่เกิดเพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อสละอารมณ์ได้ ใจก็คลายจากสิ่งต่าง ๆ นอกตัว กลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายใน เช่น เมื่อใจถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ จึงทำให้ใจไม่ผ่องใสจิตไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นสมาธิ การสละนิวรณ์ 5 ได้ จึงให้ผลในทางตรงกันข้าม คือสามารถหยุดใจ และจิตก็ตั้งมั่นได้

    ดังนั้น เราจึงควรหมั่นฝึกใจด้วยการ ละอารมณ์ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย เพื่อรักษา ภาพความเป็นปกติของใจ ดังที่พระมงคลเทพมุนีได้เคยกล่าวถึงการ ละอารมณ์และผลจากการ ละอารมณ์ไว้ว่า

     "ทานในพระปรมัตถ์ 6 คือ มีอายตนะ 6 คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ ละความยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้..ความยินดีเหล่านี้ หากถอนอารมณ์ออกเสียได้ ไม่ให้เสียดแทงเราได้ พิจารณาว่านี้เป็นอารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้หยุดให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์เป็นทาน ย่อมมีกุศลใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่งใหญ่ทางปรมัตถ์"


5. ปัญญา
   ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียน และคิด ปรีชาหยั่งรู้เหตุผลความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใชประโยชน์เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ความรอบรู้ในกองสังขาร มองเห็นตามเป็นจริง

     ปัญญามีอยู่ 3 ระดับ ได้แก่

1. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือได้ยินได้ฟังมาจากผู้อื่น

2. จินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการคิดพิจารณาหาเหตุผล โดยอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่เป็นพื้นฐาน

3. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม

   ปัญญาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาให้พระภิกษุเข้าถึง คือปัญญาที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา หรือที่เรียกว่า อธิปัญญา

     อธิปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 หมายถึงความรู้ของพระอริยเจ้าที่รู้ในความทุกข์ รู้ว่าเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นคืออะไร รู้ว่าทุกข์สามารถที่จะดับหรือกำจัดได้ และเห็นวิธีปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์นั้น

     ความรู้เช่นนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า คือปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ ซึ่งก็คือการเห็นไตรลักษณ์ คือเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็เสื่อม ลายไปในที่สุดสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นภูเขา บ้านเรือน รวมถึงตัวของเราเองล้วนตกอยู่ในความเกิดและความดับ ร่างกายนี้มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นความรู้เท่าทันและทั่วถึงในความเกิดและความดับในตัวของเราว่า ตัวตนของเรานี้ แท้ที่จริงไม่ใช่เป็นของของเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา มีวันที่จะแตก ลายไปได้ ความรู้เท่าทันในการเกิดและดับ จึงหมายถึงการรู้เท่าทันในสังขาร รู้เท่าทันในตัวของตัวเอง


6.ปฏิภาณ
     ปฏิภาณ แปลว่า เชาวน์ไวในการกล่าวแก้ หรือโต้ตอบได้ฉับพลันทันที และแยบคายปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า ความคิดทันการ

   ปฏิภาณ หมายถึง ความสามารถในการตีกลับ โต้กลับ คือเป็นการเอาปัญญามาใช้โต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว เป็นคุณธรรมที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง หากใครมีปฏิภาณมาก มีความเฉียบแหลม เชาวน์ไวไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็จะมีมากตามไปด้วย

     ผู้มีปฏิภาณ คือผู้ที่สั่งสมปัญญาไว้มาก ในทางพระพุทธศา นามีคำที่ใช้เรียกผู้มีปัญญาแตกฉานว่า ปฏิสัมภิทา มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. อรรถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือความหมาย
2. ธรรมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
3. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือภาษา
4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

     ในบรรดาความแตกฉานเหล่านั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ถือว่าเลิศที่สุด เพราะผู้ที่แตกฉานในปฏิภาณนี้ต้องเป็นผู้ที่แตกฉานในอรรถในธรรมและในนิรุตติไปพร้อมกัน จึงจะสามารถนำความรู้ที่ตนเองแตกฉานนั้นมาใช้โต้ตอบหรือแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์

       สำหรับบุคคลผู้สามารถโต้ตอบปัญหานี้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. ตอบไม่แม่นยำ และช้า
2. ตอบไม่แม่นยำ แต่เร็ว
3. ตอบแม่นยำ แต่ช้า
4. ตอบแม่นยำ และเร็ว

     ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ ผู้ที่ตอบปัญหาได้แม่นยำ และเร็ว คือผู้ที่มีปฏิภาณดีที่สุด ซึ่งการจะมีปฏิภาณดีอย่างนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่มีการสั่งสมปัญญามามากและฉลาด หรือมีความคล่องแคล่วในการใช้ปัญญา ถ้าอุปมาปัญญาเหมือนข้าวของเครื่องใช้ที่แต่ละชิ้นก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป ผู้มีปฏิภาณคงเปรียบได้กับผู้ที่ฉลาดในการนำข้าวของนั้นมาจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อถึงคราวต้องใช้ก็ทราบได้ทันทีว่า ต้องใช้ของชิ้นใด อยู่ตรงไหน จึงสามารถหยิบมาใช้ได้ตามชอบใจ รวดเร็วและทันท่วงที


ความสำคัญของธรรม 6 ประการ
     การที่พระพุทธองค์ทรงให้พระภิกษุใช้ธรรมทั้ง 6 ประการมาประเมินคุณธรรมที่เกิดขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความจริงที่สำคัญของธรรมทั้ง 6 นี้ อย่างน้อย 3 ประการ คือ

     1. ต้องเป็นธรรมที่สามารถใช้ประเมินคุณธรรมที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าพระภิกษุจะฝึกฝนอบรมตนเองด้วยวิธีการไหน หรือมีรายละเอียดในการฝึกแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เช่น พระภิกษุที่ฝึกปฏิบัติกรรมฐานด้วยวิธีอสุภะ อานาปานสติ กสิณ อนุสติ หรือวิธีอื่นใด ผลที่เกิดขึ้นต้องสามารถใช้ธรรม 6 ประการนี้มาประเมินได้เสมอ

    2. ต้องเป็นธรรมที่สามารถใช้ประเมินคุณธรรมของพระภิกษุได้ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่พระภิกษุปุถุชน จนถึงพระอริยเจ้า

      3. คุณธรรมสูงสุดที่พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมาย คือ การสิ้นกิเลสอาสวะได้บรรลุอรหัตผล ดังนั้นธรรมทั้ง 6 ประการที่ใช้ประเมิน ต้องมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างกัน โดยต้องมีลักษณะส่งเสริมกันและกันไปสู่การบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด

      วิธีการประเมินตนเองด้วยธรรมทั้ง 6 ประการ

     สำหรับการนำธรรมทั้ง 6 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณมาใช้ประเมินคุณธรรมในตนเอง มีแนวทางดังต่อไปนี้


1. วิธีประเมินตนเองด้วย ศรัทธา
สำหรับพระภิกษุ

    การมีศรัทธา หมายถึงการมีความเชื่อมั่นในปัญญาตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่า ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อมั่นว่าสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งสอนทั้งหมดดีจริง และเป็นสิ่งที่พระภิกษุต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นการจะรู้ว่าตัวเองเชื่อมั่นมากแค่ไหน ให้พิจารณาว่า เราได้ทุ่มเทฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจ ตามที่พระองค์ทรงสอนขนาดใช้ชีวิตเป็นเดิมพันหรือไม่ เป็นเกณฑ์

   ความเลื่อมใสในระดับใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน หมายความว่า พระภิกษุจะต้องพากเพียรปฏิบัติชนิดไม่มีข้อแม้ เงื่อนไข และข้ออ้างใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคหรือลำบากยากแค้นเพียงใด ก็ต้องเพียรพยายามเรื่อยไป โดยมีเป้าหมายคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน

     ด้วยวิธีการอย่างนี้ พระภิกษุจึงต้องหมั่นพิจารณาศรัทธาที่ตนเองมีอยู่เสมอ เช่น ประเมินตนเองว่า วันนี้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองไปมากน้อยแค่ไหน ยังคงมีความตั้งใจที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้ก้าวหน้าหรือไม่ หรือมีข้อวัตรปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ ใด ๆ ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ เป็นต้น

       ดังนั้น วิธีการประเมินศรัทธาของพระภิกษุ คือ ให้พิจารณาว่า ตนเองพยายามฝึกฝนขัดเกลา กาย วาจา ใจ ตามคำสอนของพระพุทธองค์อย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วหรือยัง


สำหรับฆราวาส
      อาจใช้หลักการประเมินแบบเดียวกันกับพระภิกษุ ด้วยเหตุที่บทฝึกปฏิบัติของฆราวาส คือ การทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ฆราวาสจึงควรพิจารณาตนเองว่า เราทุ่มเทฝึกปฏิบัติได้ดีเพียงใด อาทิเช่น การทำทาน อาจพิจารณาดังนี้

        1. เราทำทานสม่ำเสมอทุกวันหรือไม่
        2. เราสามารถทำทานตามหลักการทำทานที่ได้บุญมากหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
            2.1 รักษาใจให้ผ่องใสทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำได้หรือไม่
            2.2 จัดเตรียมทานได้ประณีตหรือไม่
            2.3 วัตถุทาน เจตนา ผู้รับทานของเรา บริสุทธิ์หรือไม่
            2.4 เราให้ทานด้วยความเคารพเลื่อมใสและให้ด้วยมือตนหรือไม่

       ส่วนการรักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนา ก็สามารถใช้หลักการในทำนองเดียวกันโดยอาศัยเกณฑ์ที่ว่า "เราทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสร้างบารมี เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่"


2. วิธีประเมินตนเองด้วย ศีล
สำหรับพระภิกษุ

    ให้ประเมินจากความผ่องใสของใจ โดยนึกถึงวัตรปฏิบัติอันหมดจดทางกายทางวาจาของเราทีไรแล้วใจสว่าง มีปีติเบิกบาน เย็นกายเย็นใจสัมผัสได้ถึงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดย

      1. หมั่นประเมินโดยทบทวนตัวเองว่า ในแต่ละวัน เรามีความเคร่งครัดในการรักษาศีลมากน้อยเพียงใด เช่น ความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในปาริสุทธิศีล โดยพิจารณาว่า เรามีกำลังใจที่จะปฏิบัติตามศีลที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ หรือที่ทรงอนุญาตไว้เคร่งครัดเพียงใดสมบูรณ์หรือบกพร่องด่างพร้อยแค่ไหน เป็นต้น

      2. หมั่นประเมินว่า เราปฏิบัติกิจวัตรกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่ เช่น การสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การเล่าเรียนศึกษาธรรมะ เป็นต้น

       3. การประเมินศีลในทางธรรมปฏิบัติให้พิจารณา จากการ "เข้าถึงดวงศีลภายใน" ซึ่งหมายถึง "อธิศีล" ดังพระธรรมเทศนาของพระมงคลเทพมุนีที่ว่า

      "ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

     ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึง ไปเห็นเป็นปรากฏขึ้น ในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ ๆ"

        4. พยายามฝึกหัดขัดเกลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ตนเองเห็นได้มากน้อยเพียงไร


สำหรับฆราวาส
      สำหรับฆราวาส ก็เช่นเดียวกัน ให้ประเมินจากความผ่องใสของใจ โดยอาศัยพิจารณาจากความเคร่งครัดในศีล 5 หรือศีล 8 ที่ตนรักษา และที่สุดก็สามารถประเมินจาก "ดวงศีล" เช่นกัน


3. วิธีประเมินตนเองด้วยสุตะ
สำหรับพระภิกษุ

      การประเมินด้วยสุตะ หรือการฟังธรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้สามารถประเมินโดยอาศัยแนวทาง 4 ประการดังนี้

     1. ประเมินจากความกระตือรือร้นในการฟังหรืออ่านธรรมะว่ามีมากน้องแค่ไหน เช่น มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าหาพระอุปัชฌาย์อาจารย์เพื่อฟังหรือสอบถามธรรมะเพียงใด มีความรู้สึกเบื่อหน่ายในการศึกษาหาความรู้หรือไม่ มักจะใจลอยหรือหลับในเวลาฟังธรรมหรือไม่เป็นต้น

     2. ข้อคิดจากการฟังหรืออ่านธรรมะมากน้อยเพียงใด มีความเข้าใจละเอียดลึกซึ้งแค่ไหนเช่นสิ่งที่ศึกษามาคืออะไร พระองค์สอนเช่นนั้นทำไม และเราจะนำไปปฏิบัติได้อย่างไร เป็นต้น

      3. พิจารณาเห็นความบกพร่องในตนเองที่ต้องเร่งแก้ไขมากน้อยเพียงใด

      4. พยายามฝึกหัดขัดเกลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ตนเองเห็นได้มากน้อยเพียงไร

สำหรับฆราวาส
       สามารถประเมินด้วยหลักการเดียวกันกับพระภิกษุเช่นกัน คือ

      1. มีความกระตือรือร้นในการเข้าวัดฟังธรรมแค่ไหน ขวนขวายหาหนังสือธรรมะมาอ่านมากน้อยเพียงใด

      2. ข้อคิดจากการศึกษาธรรมะที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด

      3. เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ทั้งในด้านของนิสัย หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขหรือไม่

     4. พยายามฝึกหัดขัดเกลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองไปได้มากน้อยเพียงไร และทำได้อย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เป็นต้น


4.วิธีประเมินตนเองด้วย จาคะ
สำหรับพระภิกษุและฆราวาส

     การประเมินด้วยจาคะหรือการสละ ทั้งในส่วนของพระภิกษุและฆราวาสสามารถประเมินโดยอาศัยแนวทาง 4 ประการดังนี้

  1. ประเมินจากการ "สละสิ่งของ" โดยพิจารณาว่า เราเป็นผู้รักการให้หรือไม่ ให้แล้วยังมีความตระหนี่ หวงแหน รู้สึกเสียดายในภายหลังหรือไม่ เป็นต้น

    2. ประเมินจากการ "สละความสะดวกสบาย" โดยพิจารณาว่า เราเป็นคนประเภทติดสบายหรือไม่ หรือชอบเกี่ยงงอน งานหนักไม่เอางานเบาไม่สู้ ซึ่งเป็นเหตุให้กลายเป็นคนเกียจคร้านในการทำความดี เป็นต้น

   3. ประเมินจากการ "สละอารมณ์" คือ ละความชอบใจ ไม่ชอบใจ ความยินดียินร้ายโดยพิจารณาว่า เราสามารถ ละเรื่องเหล่านี้ได้ดีเพียงใด รวดเร็วแค่ไหน

   4. ในทางธรรมปฏิบัติ ให้ประเมินจากการ " ละนิวรณ์ 5" โดยพิจารณาการที่ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงดวงสว่างภายในกลางกาย ที่เรียกว่า "ปฐมมรรค"


5. วิธีประเมินตนเองด้วย ปัญญา
สำหรับพระภิกษุและฆราวาส

    การประเมินด้วยปัญญา หรือความรอบรู้ ความรู้เท่าทันในสังขาร ทั้งพระภิกษุและฆราวาสามารถประเมินโดยอาศัยแนวทาง 2 ระดับ ได้แก่

    1. ปัญญาทางโลก หรือปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ หรืออาศัยการคิดพิจารณาด้วยสมอง ได้แก่ ปัญญาในระดับสุตมยปัญญา และจินตมยปัญญาสามารถประเมินได้ใน 2 ประเด็น คือ

           1.1 ประเมินจากการ "ความสามารถในการทำงาน" เพราะการทำงานต้องใช้ปัญญาและต้องมีความรับผิดชอบในงานนั้น

        1.2 ประเมินจากการ "รู้เท่าทันสังขาร หรือสุขภาพร่างกายของตนเอง" เช่น เราเอาใจใส่ในการดูแลรักษาสุขภาพได้ดีแค่ไหน คือ ดูแลให้แข็งแรงเพียงพอที่จะใช้สร้างบุญบารมีได้นาน ๆ ไม่ใช่ว่าร่างกายแข็งแรงดีแต่ไม่ได้ใช้สร้างความดีอะไรเลย หรือร่างกายไม่แข็งแรงแต่กลับหักโหมใช้งานเกินไป อย่างนี้ไม่เรียกว่า รู้เท่าทันในสังขารตัวเอง

   2. ปัญญาทางธรรม ในทางธรรมปฏิบัติ จะประเมินจากการ "เข้าถึงกายภายใน" เพราะปัญญาทางธรรม หมายถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในสังขาร ที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา ทำให้รู้เท่าทันกิเลสภายในตัว ซึ่งในทางธรรมปฏิบัติพบว่า ภายในตัวของมนุษย์ทุก ๆ คนจะมีกายที่ซ้อน ๆ กันอยู่ ฉะนั้นการที่เราจะรู้เท่าทันสังขาร ก็คือการรู้เท่าทันในความไม่จีรังยั่งยืนของกายต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ภายใน ซึ่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เคยแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับกายภายในไว้ว่า

     "ในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม คนเราที่ว่าตายนั้น คือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดพรากจากกายมนุษย์ การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป

กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย"

     ดังนั้น การปฏิบัติธรรมเพื่อการเข้าถึงกายที่ซ้อนกันอยู่ภายใน จึงเป็นสิ่งที่บอกถึงระดับปัญญา คือความรู้แจ้งเห็นจริง หรือความรู้เท่าทันกิเลสที่มีอยู่ในกายต่าง ๆ ตามลำดับ เพราะกายแต่ละกายมีกิเลสหยาบละเอียดไม่เท่ากัน โดยที่กายมนุษย์มีกิเล หยาบกว่ากายทิพย์ กายทิพย์มีกิเลสหยาบกว่ากายรูปพรหม เป็นต้น เมื่อเราฝึกปฏิบัติสมาธิเข้าถึงกายไหน ปัญญาของเราก็จะยิ่งกว้างขวางมากมาย เท่าทันกับสังขารของกายแต่ละกายนั้นไปด้วย


6. วิธีประเมินตนเองด้วยปฏิภาณ
สำหรับพระภิกษุและฆราวาส

     การประเมินด้วยปฏิภาณ หรือการโต้ตอบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งพระภิกษุและฆราวาสสามารถประเมินโดยอาศัยแนวทางดังนี้

      ประเมินจาก "ความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านการทำงาน" เพราะการทำงานมักจะต้องพบกับปัญหา คนมีปฏิภาณจะเป็นคนที่ไม่หนีปัญหา แต่จะสู้โดยอาศัยปัญญา และการแก้ปัญหาต้องอยู่ในเส้นทางธรรม คือ ไม่แก้ปัญหาโดยการทำบาป เป็นต้น


การประเมินเปรียบเทียบ
  พระภิกษุผู้รู้จักประเมินคุณธรรมในตนได้ย่อมจะรู้จักตนเองดีว่ามีคุณธรรมอยู่มากน้อยเพียงใด ทำให้ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต และไม่หลงใหลได้ปลื้มไปกับคุณธรรมที่ตนเองมีพระภิกษุที่รู้จักตนเองอย่างนี้ มีแต่จะเร่งขวนขวายและพยายามฝึกฝนตนเองให้บรรลุเป้าหมายของการบวชให้ได้เร็วที่สุด

   ในระหว่างการฝึกฝนอบรมตนเองอยู่นั้น พระภิกษุอาจอาศัยเปรียบเทียบคุณธรรมของตนเองกับผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า เพื่อที่ว่าจะได้อาศัยท่านเป็นหลักชัย เพื่อให้คุณธรรมของตนเองก้าวหน้าเข้าไปใกล้ท่านให้ได้มากที่สุด วิธีการนี้ เหมือนกับที่พระอานนท์กล่าวไว้ว่า "บุคคลพึงอาศัยมานะละมานะเสีย" ซึ่งหมายความว่า เมื่อเห็นผู้อื่นสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ก็นำมาเปรียบเทียบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองว่า ในเมื่อท่านเหล่านั้นทำได้ เราเองก็เป็นมนุษย์ มีมือมีเท้าเช่นเดียวกับท่าน ทำไมเราถึงจะทำความเพียรเพื่อให้บรรลุธรรมตามท่านเหล่านั้นไม่ได้เล่า ซึ่งบุคคลที่เราควรเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดกำลังใจ ได้แก่

     1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีคุณธรรมสูงกว่าเรามากมาย จะได้ไม่หลงติดอยู่ในคุณธรรมเพียงเล็กน้อยที่เรามี

     2. พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ซึ่งสามารถศึกษาประวัติอันดีงาม และความเพียรพยายามของท่าน เพื่อจะได้นำมาเป็นแบบอย่างให้กับตนเอง

       3. ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ

       4. อุปัชฌาย์อาจารย์ที่มีคุณธรรม เพื่อจะได้อาศัยท่านเป็นต้นแบบในการปฏิบัติขัดเกลาตนเอง

       สรุปว่า การจะเป็นอัตตัญญูบุคคล (ความเป็นผู้รู้จักตน) ได้นั้น ต้องประกอบด้วย

      1. ต้องเห็นคุณค่าของการประเมินตนเอง และเข้าใจในธรรมสำหรับใช้ประเมินคุณธรรมทั้ง 6 ประการ คือ ศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณ

     2. รู้วิธีการใช้ธรรมทั้ง 6 ประการมาประเมินคุณธรรมของตนเองเมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงจะทรงรับรองว่า

"ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้"


ตัวอย่างการนำความรู้เรื่องอัตตัญูไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไป

     ฝึกให้เป็นผู้รู้จักตนเอง คือให้รู้จักฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความถนัด ความสามารถและคุณธรรม ที่ตนมีอยู่ เป็นอยู่ แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติให้เหมาะ มกับตน เช่น เกิดมาในชาติตระกูลใด มียศศักดิ์อย่างไร มีสมบัติเท่าไร มีบริวารเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถทางโลกเท่าไร ความรู้ทางธรรมเท่าไร และมีคุณธรรม คือ ศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณเท่าไร เมื่อรู้จักแล้วต้องวางตัวให้พอเหมาะกับฐานะ ฯลฯ ของตน ไม่วางตัวสูงจนกลายเป็นหยิ่งจองหอง ไม่ปล่อยตัวตามยถากรรมจนใคร ๆ ดูหมิ่น คือเจียมเนื้อเจียมตัว ตั้งอยู่ในสุจริตประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ ม่ำเสมอ ไม่เย่อหยิ่งอวดดี อวดมั่งอวดมีอวดรู้ เป็นต้น รวมถึงไม่แสวงหาสิ่งต่าง ๆ อันเกินกำลังของตน หรือในทางที่มิชอบธรรม อันจะทำให้ตนเดือดร้อนในภายหลัง ตลอดจนรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เจริญก้าวหน้าและ มบูรณ์ยิ่งขึ้นไป ไม่หลงไปตามกระแสังคมหรือกระแสโลก ซึ่งจะทำให้เป็นคนมีความมั่นใจในตนเอง เพราะรู้กำลังของตนดี

     ฝึกให้รู้จักที่ต่ำที่สูง ควรไม่ควร รู้จักกำลังของตนเอง ว่ามีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมมากน้อยเพียงไร กัลยาณมิตรจะต้องเป็นผู้ที่มั่นคงในเรื่องของความศรัทธา คือความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย มีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้นครบบริบูรณ์ ต้องมีศีลบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย มีสุตะคือศึกษาและเรียนรู้มามาก มีความเข้าใจโลกตามความเป็นจริง ต้องมีจาคะ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว มีปัญญาสามารถสั่งสอนแนะนำบุคคลที่เราจะไปทำหน้าที่ได้จริง และต้องมีปฏิภาณ

     เป็นยอด เพราะระหว่างการทำหน้าที่กัลยาณมิตร มีทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนฝึกให้รู้ว่าตนเองคือใคร มีความพร้อมหรือไม่พร้อมอย่างไร การรู้จักตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เมื่อเรารู้จักตนเองดีแล้วจะนำไปสู่การยอมรับตนเอง (Self Acceptance) และจะเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure)สามารถสื่อสารภายในตนได้อย่างดียิ่ง ผู้ที่สามารถสื่อสารภายในตนได้ดีจะเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์มีวิจารณญาณที่สุขุมรอบคอบ มีเหตุผลทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011381864547729 Mins