อัตถัญญุตา

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

อัตถัญญุตา
(ความเป็นผู้รู้อรรถ หรือ ความเป็นผู้รู้จักผล)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อัตถัญญุตา  (ความเป็นผู้รู้อรรถ หรือ ความเป็นผู้รู้จักผล) , อัตถัญญุตา

        การที่พระภิกษุผู้เป็นธัมมัญญูจะฝึกฝนอบรมตนเองให้บรรลุเป้าหมาย คือ การทำพระนิพพานให้แจ้งได้สิ่งที่สำคัญประการต่อมา คือ การฝึกให้เป็นอัตถัญญู ซึ่งหมายถึงต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ศึกษามาจากขั้นตอนธัมมัญู และทราบวิธีการที่จะนำมาฝึกฝนอบรมตนเองต่อไปเพราะหากเพียงแต่รู้ธรรมจำได้ แต่ไม่เข้าใจความหมายตามนัยต่าง ๆ ได้ถูกต้องจนลึกซึ้งแตกฉานแล้ว ก็จะยากที่จะเห็นแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติ เมื่อไม่เห็นแนวทาง ไม่เห็นวิธีการ ก็จะไม่เกิดแรงจูงใจที่จะนำธรรมะเหล่านั้นมาใช้ฝึกหัดขัดเกลาอุปนิสัยตนเอง อันจะเป็นทางมาแห่งคุณธรรมภายใน ที่จะก้าวหน้าพันาไปสู่ระดับที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ ดังนั้นเมื่อพระภิกษุเป็นธัมมัญญูบุคคลได้แล้ว จึงต้องฝึกในขั้นตอนที่ 2 คือ อัตถัญญู ต่อไป

          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นอัตถัญญูบุคคล ไว้ดังนี้

        "ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูด้วยประการฉะนี้."

         คำว่า "อัตถัญญู" แปลว่า ผู้รู้อรรถ รู้เนื้อความ รู้เนื้อความแห่งธรรมข้อหนึ่ง ๆ ว่าหมายความว่าอย่างนั้น ๆ พิจารณาเนื้อความของธรรมจนได้ความรู้ความเข้าใจ ฟังมาก ทรงจำไว้สั่งสมด้วยปากคือ ท่อง เพ่งด้วยมานะ ขบหรือเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น เมื่อได้เช่นนี้ ความเป็นผู้รู้เนื้อความ จะเกิดขึ้นในบุคคล ต่อแต่นั้นปฏิบัติตามด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

        โดยความหมายดังกล่าวมาข้างต้น "อัตถัญญู" จึงหมายถึง ความเป็นผู้รู้เนื้อความ หรือเข้าใจนัยต่าง ๆ ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาฝึกหัดปฏิบัติตามด้วยกาย วาจา และใจ จนเกิดเป็นคุณธรรมขึ้นมาในตน


สาระสำคัญของอัตถัญญู

       จากพุทธพจน์เรื่องอัตถัญญูบอกให้เรารู้ว่า พระภิกษุจะไม่สามารถฝึกตนเองให้เป็นอัตถัญูได้อย่างสมบูรณ์เลย หากว่าไม่ได้เป็นธัมมัญญู ผู้รู้จักธรรมมาก่อน

        ทั้งนี้เพราะเหตุใด ก็เพราะว่า

      1. การศึกษาคำสอนจากขั้นตอนของธัมมัญญู จะเป็นกรอบความรู้ให้พระภิกษุทราบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนอะไร เมื่อแยกแยะได้ว่าคำสอนใดใช่ หรือไม่ใช่ ก็จะช่วยให้เมื่อต้องทำความเข้าใจนัยหรือความหมาย จะมีกรอบไม่ให้หลงเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง

      2. การได้รู้จักหัวข้อธรรมมากเท่าไร จะยิ่งทำให้ได้กรอบคำสอนที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งหัวข้อธรรมต่างๆที่เรียนรู้มาสามารถจะนำมายืนยันซึ่งกันและกัน ว่านัยที่เราเข้าใจนั้นยังคงถูกต้องตามพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ อย่างไร

       ดังนั้น พระภิกษุจะต้องเป็นธัมมัญญู โดยการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด จนเห็นภาพรวมการสร้างบารมีของพระองค์สามารถจดจำ และสรุปสาระสำคัญของธรรมะได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นจึงจะนำคำสอนที่ศึกษานั้น มาพัฒนาตนเองให้เป็นอัตถัญญูบุคคล ด้วยการ

        1. พิจารณาไตร่ตรองธรรมะ จนเข้าใจความหมายในนัยต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องลึกซึ้งแตกฉาน

        2.สามารถนำธรรมะนั้น มาใช้ฝึกฝนอบรมตนเองจนเกิดเป็นคุณธรรมภายในได้

     ในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีพระภิกษุรูปใด ที่ต้องรอให้ตนเองอ่านพระไตรปิฎกให้จบก่อน แล้วจึงค่อยลงมือฝึกปฏิบัติเป็นแน่ ดังนั้นในการฝึกเพื่อเป็นอัตถัญูจริง ๆ พระภิกษุคงต้องศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากนั้นก็ทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติควบคู่กันไป ในเบื้องต้นอาจต้องพึ่งพาพระอุปัชฌาย์ หรือครูบาอาจารย์ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ให้ช่วยแนะนำประคับประคองไปด้วยระหว่างที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ระหว่างที่ฝึกปฏิบัติก็ศึกษาพระไตรปิฎกเพิ่มเติมไปด้วย

      โดยสรุปก็คือ ศึกษาไป ฝึกปฏิบัติไป ภายใต้การดูแลของครูบาอาจารย์ ด้วยวิธีเช่นนี้การเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ก็จะมีความสมบูรณ์เข้มข้นมากขึ้นไปตามลำดับข้อควรระวัง

      ธรรมชาติของพระธรรม คือ มีความละเอียดลุ่มลึก เกินกว่าที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ด้วยตนเอง อุปมาเหมือนมหาสมุทรที่ลึกและกว้างใหญ่ เกินกว่าที่สัตว์เล็ก ๆ เช่นหนูหรือกระต่ายจะหยั่งเท้าลงไปถึง

      แต่เพราะอาศัยพระปัญญาอันบริสุทธิ์ขององค์ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแยกแยะธรรมะมาเทศนาสั่งสอนให้เราเข้าใจตามได้ง่าย จนบางครั้งขณะที่ศึกษาธรรมะไป อาจรู้สึกเหมือนธรรมะนั้นไม่ได้ยากอะไรเลย หากรู้สึกอย่างนั้น ขอให้ระลึกเสมอว่านั่นเป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัวของเราเอง จะได้ไม่ประมาทพลาดพลั้ง เพราะบางทีในความง่ายนั้นอาจแฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งที่เรายังไม่เข้าใจ เพราะธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อาจมีนัยหรือความหมายที่แตกต่างกันได้ ขึ้นกับบริบทหรือความประสงค์ของพระองค์ ที่แตกต่างกันไปตามแต่เหตุการณ์หรือบุคคลที่พระองค์ตรัสด้วย

      การเข้าใจนัยหรือความหมายได้ถูกต้องมีผลเป็นอย่างมาก เพราะจะนำไปสู่การปฏิบัติฝึกฝนอบรมตนเองที่ถูกต้อง จนทำให้เกิดคุณธรรมภายในเจริญก้าวหน้าขึ้นมา

     เนื่องจากธรรมะอาจมีหลายนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเมื่อลงมือศึกษา ก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่เข้าใจนัยทั้งหมด หรือบางครั้งก็อาจเข้าใจแต่เพียงบางส่วน เมื่อเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างอย่างนั้น การนำไปฝึกฝนตนเองก็อาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ทำให้ผลการปฏิบัติอาจเกิดขึ้นช้าเร็วต่างกันไป

     การเข้าใจนัยหรือความหมายผิด ย่อมมีผลต่อการฝึกฝนตนเองและคุณธรรมที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น อาจทำให้ปฏิบัติไม่ถูกต้องอย่างเต็มที่ ผลการปฏิบัติก็จะไม่มีความสมบูรณ์ และบางครั้งความเข้าใจผิดก็นำไปสู่การปฏิบัติที่ผิดทำนองคลองธรรม แทนที่กุศลธรรมจะเกิด กลับกลายเป็นเกิดอกุศลธรรมขึ้นแทน

     วิธีที่จะทำให้ไม่เข้าใจผิด ก็คือ การหมั่นเข้าไป อบถามกับครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านการฝึกฝนอบรมตนเองมาก่อน จนเป็นผู้มีคุณธรรมความดี และมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง พระภิกษุจึงควรอาศัยท่านเป็นกัลยาณมิตรให้ เพื่อคอยชี้แนะแก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม

   นอกจากนี้ การที่มีโอกาสใกล้ชิดพระอุปัชฌาย์ หรือครูบาอาจารย์ที่ดี จะทำให้พระภิกษุมีโอกาสพันาคุณธรรมให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่า นอกจากจะได้ฟังธรรมและสอบถามให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ยังจะได้อาศัยท่านเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตไปในตัวด้วย เช่น ได้แบบอย่างในการบริหารเวลา ข้อวัตรปฏิบัติในการทำกิจวัตรกิจกรรม หรือศีลาจารวัตรที่งดงาม ซึ่งจะเป็นการเพาะนิสัยดี ๆ ให้เกิดขึ้นต่อตัวเรา และก่อเกิดเป็นกำลังใจ ไม่ให้เราท้อถอยล้มเลิกไปเสียกลางคัน


วิธีฝึกให้เป็นอัตถัญญู
มี 2 ขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำให้ได้ คือ

1. การเข้าใจนัยได้อย่างถูกต้อง
     เมื่อเป็นผู้รู้ธรรมแล้ว พระภิกษุคงมีความเข้าใจนัยในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการยากที่จะตัดสินว่าความเข้าใจนั้นถูกต้องมากน้อยเพียงใด จนกว่าพระภิกษุจะลงมือปฏิบัติตามความเข้าใจนั้นอย่างแท้จริง ดังนั้นในเบื้องต้นนี้ จึงอาจอาศัยแนวทางจากหลาย ๆ วิธี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเดิมให้มีมากยิ่งขึ้นไป ดังต่อไปนี้

1.1 ทำความเข้าใจหลักธรรมทั้งหมดที่ได้ศึกษามา และพิจารณาในเบื้องต้นว่ามีความหมายอย่างไร

1.2 ทดลองฝึกปฏิบัติไปตามความเข้าใจของตนเอง โดยอาศัยครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ

1.3อาศัยเทียบเคียงจากแนวทางที่ครูบาอาจารย์เคยปฏิบัติเป็นตัวอย่างอันดีงามมาก่อน

1.4 หมั่นเข้าไปสอบถามครูบาอาจารย์บ่อย ๆ ในหัวข้อธรรมที่สงสัยหรือที่ยังไม่เข้าใจ

1.5 นำทุกข้อมาประมวลรวมกัน เพื่อสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจของตนเอง และเพื่อให้ได้กรอบการฝึกที่ถูกต้องชัดเจนตามธรรม

      เพราะฉะนั้น การฝึกทำความเข้าใจนัยนั้น ต้องอาศัยการศึกษาธรรมะมามาก จึงจะพอมองเห็นแนวทางในการปฏิบัติได้ชัดเจน และเมื่อลงมือปฏิบัติ บุคคลสำคัญที่จะขาดไปเสียไม่ได้คือ ครูบาอาจารย์ เพราะท่านจะให้แนวทางที่ถูกต้องขจัดข้อ งสัยให้กับเราได้ ความรู้ความเข้าใจในแต่ละหัวข้อธรรมก็จะเพิ่มพูนตามมา ด้วยเหตุนี้การเข้าใจนัยของธรรมะจะต้องไม่ใช่แค่การนั่งขบคิดพิจารณาด้วย มองแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องพยายามเทียบเคียงจากหลายสิ่งหลายอย่างประกอบกัน จนกระทั่งความรู้ที่ศึกษามานั้นตกผลึกเป็นความเข้าใจอย่างแท้จริง


2. ลงมือฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง
      เมื่อมีความเข้าใจชัดเจนแล้ว ต่อไปก็คือการตอกย้ำ ฝึกหัดปฏิบัติไปทุก ๆ วัน โดยต้องตั้งใจทำอย่างจริงจัง และต้องหมั่นสังเกตปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมกับตนเอง ทั้งนี้เพราะความแตกต่างทางจริตอัธยาศัย ถานที่ และสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นคนและธรรมชาติ ซึ่งรายละเอียดในการฝึกของพระภิกษุแต่ละรูปจึงอาจต่างกันไปบ้างก็ไม่เป็นไร แต่ในหลักปฏิบัติใหญ่ ๆ ยังคงต้องอาศัยการฝึกผ่านสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว คือ

2.1 กิจวัตร ประจำวันที่ต้องทำเป็นปกติ เช่น การสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การบิณฑบาต การเก็บกวาดดูแลเสนาสนะ เป็นต้น

2.2 กิจกรรม ได้แก่ภารกิจการงานที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ เช่น งานก่อสร้างซ่อมแซมบำรุงเสนาสนะ การดูแลรักษาเรือนคลัง เป็นต้น

      อีกนัยหนึ่งของคำว่าย่อมรู้จักเนื้อความ ก็คือ รู้จักอรรถ หรือ รู้จักผล นั่นเอง ดังที่พระมติของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงไว้ในหนังสือพระโอวาท ธรรมบรรยาย หน้า 168 ว่า "ธรรมเป็นเหตุ อรรถเป็นผล, ธัมมัญุตา คือความเป็นผู้รู้เหตุ อัตถัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้ผล.." และ ในบาลีท่านแสดงว่า "ธัมมัญญูรู้ธรรม คือรู้พระพุทธศาสนา มีองค์ 9 รวมความก็คือรู้ข้อธรรมอย่างหนึ่ง ๆ หรือหมวดหนึ่ง ๆ เรียกว่า ธัมมัญญู, อรรถ หมายเอาเนื้อความของธรรม...รู้เนื้อความของธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นอัตถัญญู" และดังที่ พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นหลักสูตรนักธรรมตรี ของ นามหลวง ตอนหมวด 7 หน้า 53 ว่า "2.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุนี้"

       คำว่าย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ ก็คือ มีความสามารถสืบสาวไปหาได้ว่า ภาษิต (ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมา) นั้น ๆ มีที่มาจากแหล่งใด มีกล่าวไว้ในภาษิตใดก่อนหน้านี้ และยังมีนัยอีกอย่างคือ เมื่อพบสิ่งใดหรือปรากฏการณ์ใดแล้วสามารถสืบสาวไปหาสาเหตุของสิ่งนั้นหรือปรากฏการณ์นั้นได้ด้วย

   ความเป็นผู้รู้จักผล จึงหมายถึง การนำธรรมะหรือวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาประพฤติปฏิบัติจนเกิดผลเป็นประสบการณ์หรือทักษะติดตัวที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง และรู้จักวิเคราะห์ผลลัพธ์ของ ถานการณ์ต่าง ๆ และความเป็นไปของชีวิต โดยเมื่อเห็นปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วสามารถสืบสาวไปรู้ได้ว่ามีเหตุมาจากอะไร ไม่ใช่เชื่ออะไรอย่างงมงายไร้เหตุผล

    สำหรับใครที่ได้อ่านตำรับตำราจนแตกฉานมีหลักวิชาแน่นเรียบร้อยแล้ว พอเห็นเหตุอะไรก็สามารถพยากรณ์ต่อไปข้างหน้าได้เลยว่า เดี๋ยวจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี้ก็ถือว่าเป็นความสามารถขั้นต้น คือเห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็พยากรณ์ต่อไปข้างหน้าได้เลยว่า จะมีผลอะไรต่อไปภายหน้า อย่างนี้เรียกว่ารู้จักเหตุ แต่ว่ารู้จักผลเป็นอย่างไร ก็คือเห็นผลที่ปรากฏอันใดอันหนึ่งต่อหน้า แล้วสามารถสาวกลับไปได้ว่ามันมาจากเหตุอะไร เห็นอะไรต่อหน้าต่อตาก็รู้ว่ามันเป็นผลมาจากเหตุอะไร ซึ่งทำได้ยากกว่า จะต้องมีประสบการณ์ดีทีเดียว แล้วต้องเป็นคนที่เข้าใจธรรมะจริง ๆ มีความช่างสังเกตจริง ๆ คือร่ำเรียนสิ่งใดมาแล้ว ก็นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง เป็นทักษะที่ติดตัวไปจนวันตาย ยกตัวอย่างเช่น

      คนที่อ่านตำราฝึกสมาธิมา แต่ตัวเองฝึกบ้างไม่ฝึกบ้าง พอใครมาถามว่าฝึกสมาธิทำอย่างไร ก็บอกเขาไปว่า ทำอย่างนี้สิ นั่งอย่างนี้ เอามือวางอย่างนี้ กำหนดลมอย่างนี้ กำหนดใจอย่างนี้ คุณทำไปเถอะ แล้ววันหนึ่งคุณก็จะถึงองค์พระภายในเอง อย่างนี้เรียกว่ารู้จักเหตุ คือจำได้ว่าตำราว่าฝึกสมาธิต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ จำได้ว่าหลวงพ่อบอกให้ฝึกสมาธิอย่างนั้นอย่างนี้แล้วก็บอกให้พรรคพวกไปทำ อย่างนี้คือรู้จักเหตุ รู้ว่าประกอบเหตุอย่างนี้จะดีอย่างนั้น แต่ว่าพอเขาเอาไปทำแล้วเจออุปสรรค แล้วกลับมาถามว่า ผมไปฝึกมาแล้ว มันมีความรู้สึกเหมือนตกลงไปในบ่อลึก ๆ จะต้องทำอย่างไรต่อ หรือนั่งสมาธิไปแล้วมันมึนศีรษะ จะต้องแก้อย่างไรก็จะตอบเขาไม่ได้ เพราะตัวเองไม่เคยได้ฝึก หรือฝึกมาน้อย ฝึกบ้างไม่ฝึกบ้าง แต่ถ้าตัวเองเคยฝึกมาจนมีประสบการณ์หรือเกิดเป็นทักษะแล้ว ก็จะสามารถบอกได้เลยว่า นั่งไปแล้วมึนศีรษะใช่ไหม ก่อนจะมึนศีรษะนี่มันซึม ๆ ก่อน แล้วคุณเคยสังเกตไหมว่าวันไหนหากตั้งใจมากเกินไปวันนั้นก็จะมึนศีรษะมากหน่อยใช่ไหม ใช่ แต่ถ้านั่งแบบผ่อนคลายสบาย ๆ จะพบว่าวันนั้นไม่มึนศีรษะใช่ไหม ใช่ เราก็จะตอบเขาได้ทันทีว่า ที่คุณเป็นอย่างนั้นเพราะคุณตั้งใจมากเกินไปนั่นเอง

     หรือเมื่อไปเจอคนเป็นมะเร็ง ถ้าเป็นคนรู้จักเหตุ ก็พยากรณ์ได้เลยว่า อีกเท่านั้นวันเท่านั้นเดือนก็จะต้องตาย แต่ว่าที่ยากกว่าก็คือ จะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่ป่วยเป็นมะเร็งคนนี้ มีสาเหตุมาจากอะไร เพราะสาเหตุก็มีตั้งเยอะแยะมากมาย กว่าจะสาวไปเจอได้ก็ยากเอาการ แต่ถ้าสาวไปพบได้ว่ามาจากสาเหตุอะไรจึงทำให้คน ๆ นี้ป่วยเป็นมะเร็ง ก็จะเป็นคนที่รู้จักผล

     หรือพอไปเจอผู้หญิงคนหนึ่ง เพิ่งจะแต่งงานมาไม่นาน ซึ่งผู้หญิงคนนี้ก็ยังสาวแล้วก็สวยความรู้ก็ดี ความสามารถก็ดี หน้าที่การงานก็ดี แต่ทำไมหย่ากับสามีเร็วจัง พอไปถามตัวผู้หญิงเข้าว่า ตื่นตอนเช้ากี่โมง เข้านอนกี่โมง ก็รู้เลยว่าสาเหตุของการอย่าร้างครั้งนี้มาจากสาเหตุอะไรก็คือ ผู้หญิงคนนี้มีนิสัยนอนดึกตื่นสายมาตั้งแต่เด็ก ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวสามีจึงขอหย่าร้างกับเธอ

      หรือเกิดคำถามว่า เมืองไทยทั้งที่เปลี่ยนการปกครองมาตั้งนานแล้ว ทำไมยังพัฒนาไปไม่ถึงไหน ถ้าเป็นคนรู้จักผล ก็จะตอบได้ว่า เป็นเพราะคนไทยสารพัดจะฉลาดรู้ แต่ไม่ชอบวินัยวินัยมีเท่าไรฉีกทิ้งหมด ไม่เอาหรอก ลองไปดูเวลาคนข้ามถนน มักไม่ข้ามทางม้าลาย เวลาขับรถก็ชอบฝ่าไฟแดง รู้ไหมว่ามันไม่ดี รู้ แต่ก็ยังทำ เพราะมันเคยตัว นี่คือประเด็นของเมืองไทยเราส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการไม่ค่อยมีวินัยนั่นเอง

     จะเห็นได้ว่า การรู้จักผล (อัตถัญญู) คือเห็นผลอะไรสามารถมองย้อนแล้วบอกได้ว่าเกิดเพราะเหตุใด ข้อนี้ยากกว่าข้อแรก (ธัมมัญญู) เพราะผลอาจเกิดจากเหตุหลาย ๆ อย่างร่วมกัน เช่น คนตกนรกเพราะทำผิดศีลหลายข้อ ซึ่งการจะรู้ไปถึงสาเหตุได้ต้องอาศัยความลึกซึ้งขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง

     ดังนั้น การจะเป็นคนรู้จักผลได้ อีกทางหนึ่งจึงต้องหมั่นนั่งสมาธิ เพราะเหตุบางอย่างเรามองไม่เห็นหรอก เป็นเหตุข้ามชาติมา อย่างนี้จะใช้ตำรับตำราอะไรก็ช่วยไม่ได้ แล้วมันก็ยากแก่การอธิบายด้วย อย่างกรณีที่เกิดขึ้นใน มัยพุทธกาล มีเรื่องที่ไม่มีใครแก้ตก และไม่มีใครสามารถอธิบายได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิบายให้ได้ แก้ไขให้ได้


ดังตัวอย่างจากในพระไตรปิฎกต่อไปนี้

      สองตายายกำลังหุงข้าว เวลาเขาหุงข้าว เขาใช้หม้อดินหุง พอหุงเสร็จแล้วต้องเทน้ำออกการใช้หม้อดินเวลาตะแคงเทน้ำมันยาก เขาก็เลยมีเสวียน (สะเหวียน) ซึ่งถักด้วยหวายแล้วก็มีหูกลม ๆ 2 หู ก็รวบขึ้นมา พอรวบก็จับรัดแล้วก็เอียงหม้อดินทำให้น้ำข้าวไหลออกมาได้ คราวนี้มีอยู่วันหนึ่ง เสวียนมันเกิดถูกสะเก็ดถ่าน เลยไหม้ไฟ พอไหม้เสร็จแล้วพอดีลมบ้าหมูพัดมาหอบเอาเสวียนไหม้ไฟลอยขึ้นไป ก็มีอีกาตัวหนึ่งมันบินมาเอาหัวสอดเข้าไปในเสวียนพอดี เลยไฟไหม้อีกาตกลงมาตาย คนทั้งหลายก็ตอบไม่ได้ว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

     แต่เรื่องนี้เมื่อมาถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์สามารถตรัสบอกถึงเหตุได้เลยว่าที่อีกาตัวนั้นต้องมาโดนไฟไหม้ตายในครั้งนี้เพราะว่า ภพในอดีตอีกาตัวนี้เคยเกิดเป็นคน และเป็นนักฝึกวัวฝีมือดี แต่ไปเจอวัวดื้อตัวหนึ่ง มันไม่ยอมให้ฝึก พอฝึกไม่ได้ก็ขัดใจขึ้นมา เลยเอาเชือกจุ่มน้ำมันจนชุ่ม เอาเชือกพันคอวัวไว้ แล้วก็จุดไฟจนวัวตาย ชาตินี้คนฝึกวัวคนนั้นได้มาเกิดเป็นอีกา กรรมบันดาลให้บินไปพอดีเอาหัวสอดเข้าไปในเสวียนไหม้ไฟ ไฟเลยไหม้อีกาตกลงมาตาย เรื่องนี้คนอื่นตอบไม่ได้มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอบได้

      อีกเรื่อง มีเรือลำหนึ่งแล่นไปกลางทะเล ขณะที่แล่นอยู่ดีๆ ก็หยุดกลางทะเลขึ้นมาเฉย ๆ ทำอย่างไรก็ไม่ไป ลมพัดมาอย่างไรก็ไม่ไป ติดอะไรก็ไม่ติด ในที่สุดเมื่อไม่มีทางแล้ว คนในเรือก็มาทำตามพิธีโบราณ บอกว่าคงมีตัวกาลกิณีอยู่ในเรือ ต้องเอาตัวกาลกิณีออก เรือก็จะไปได้เอง ก็เลยให้จับฉลากกันว่าใครเป็นตัวกาลกิณี ปรากฏว่าจับฉลาก 3 ครั้ง ตัวกาลกิณีก็คือภรรยาของนายเรือเอง นายเรือจึงต้องตัดสินใจทิ้งภรรยา เอานางปล่อยแพ ลงเรือเล็กไป แต่เรือก็ยังไม่ไป ในที่สุดก็จับถ่วงน้ำตาย พอภรรยาตาย เรือก็แล่นไปได้ เรื่องนี้ไม่มีใครตอบได้

     แต่เรื่องนี้เมื่อมาถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์สามารถตรัสบอกถึงเหตุได้เลยว่าที่ผู้หญิงคนนี้ต้องมาถูกจับถ่วงน้ำเพราะว่าภพในอดีตเคยนอกใจสามี ก็เลยฆ่าสามีตายสามีตายไปแล้วด้วยความที่ห่วงภรรยาและบุญกุศลไม่ค่อยได้ทำ จึงไปเกิดเป็นสุนัขที่ชอบวิ่งตามภรรยาอยู่นั่นเอง นางก็ไม่รู้ว่าสุนัขตัวนี้คือสามีเก่า และถูกชาวบ้านล้อเลียนอยู่บ่อย ๆ เลยจับสุนัขตัวนี้ถ่วงน้ำเสีย ชาตินี้ก็เลยมาโดนถ่วงน้ำตาย กรณีอย่างนี้ ใคร ๆ ก็ตอบไม่ได้ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอบได้

      หรืออีกเรื่องหนึ่ง มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่ง เดินทางมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏว่าขณะที่นั่งพักกันอยู่ในถ้ำ หินก้อนใหญ่ก็กลิ้งมาปิดปากถ้ำ คนทั้งหมู่บ้านมาช่วยกันดึง ก็ดึงไม่ออก ทำให้พระภิกษุกลุ่มนั้นต้องอดอาหารกันย่ำแย่นึกว่าต้องตายแน่แล้ว แต่พอครบ 7 วัน หินมันกลิ้งออกไปเองโดยไม่มีใครมาดึง อย่างนี้ใครก็ตอบไม่ได้

       แต่เรื่องนี้เมื่อมาถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์สามารถตรัสบอกถึงเหตุได้เลยว่าที่พระภิกษุกลุ่มนี้ต้องมาถูกก้อนหินปิดปากถ้ำ ทำให้ติดอยู่ในถ้ำถึง 7 วัน แล้วพอถึงเวลาก้อนหินมันกลิ้งออกเอง เพราะกรรมในอดีต พระภิกษุกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด็กที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายวันหนึ่งไปเจอเหี้ยเข้า เหี้ยมันเข้าไปในรู ตอนเช้าไม่มีเวลา ขุดไม่ทัน เลยช่วยกันเอาไม้อุดรูเอาไว้ กะว่าตอนเย็น ๆ จะมาขุดเหี้ยเอาไปแกง พอดีเย็นนั้นไม่ทันขุด ต้องกลับบ้านเสียก่อน วันรุ่งขึ้นมาก็ลืมขุด เพราะไปเลี้ยงวัวควายทางด้านอื่นเสียอีก จนกระทั่งผ่านไป 7 วัน จึงนึกขึ้นได้ ค่อยย้อนกลับมาจะจับเหี้ยตัวนั้น แต่พอเปิดรูออกมา เหี้ยอดอาหารมา 7 วัน มันจึงค่อย ๆ คลานต้วมเตี้ยมออกมา พอเห็นเหี้ยทำท่าจะตาย เกิดสงสารเลยปล่อยไป เหี้ยตัวนี้เลยไม่ต้องโดนฆ่าปรากฏว่าด้วยเวรกรรมเช่นนี้เอง ชาตินี้เด็กกลุ่มนั้นมาเกิดเป็นพระภิกษุกลุ่มนี้ ถึงเวลาหินก็มาปิดปากถ้ำ พอครบ 7 วันหินก็กลิ้งออกเอง คนอื่นตอบไม่ได้มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอบได้

     แต่ว่าถ้าเรายังนั่งสมาธิไม่ได้ผลอะไร ยังมืดตื้อมืดมิดอยู่ การจะไปรู้เหตุจริง ๆ อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำก็คงไม่ได้ แต่ถ้าหลักวิชาเราแน่น ถึงไม่รู้เหตุก็ยังพอคาดเดาได้ว่าต้องเป็นบาปกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำไว้ ซึ่งเราสามารถศึกษาได้จาก   ของคุณครูไม่ใหญ่ ที่มีตั้งพันกว่าเรื่อง ถ้าได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะพอเดาได้เลยว่า ถ้าผลเป็นอย่างนี้ น่าจะมาจากเหตุอย่างไร คือถึงไม่รู้แต่ก็พอเดาได้จากหลักวิชชาที่คุณครูไม่ใหญ่ให้ไว้ ก็จะทำให้เราเป็นคนรู้จักผล คือสามารถสาวไปหาสาเหตุได้นั่นเอง

    สรุปว่า พระภิกษุผู้จะเป็นอัตถัญญู (ความเป็นผู้รู้อรรถ หรือ ความเป็นผู้รู้จักผล)ได้นั้น ต้องประกอบด้วย

       1.เข้าใจนัยหรือความหมายที่แท้จริงในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

       2.สามารถนำคำสอนนั้น มาฝึกปฏิบัติจนเกิดผลเป็นความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ในระดับต่าง ๆ

เมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงจะทรงรับรองว่า
"ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้"


การฝึกให้เป็นอัตถัญญูสำหรับฆราวาส

      วิธีการฝึกฝนอบรมตนเองของฆราวาส เพื่อการเป็นอัตถัญู ก็จะมีส่วนคล้ายกับของพระภิกษุ แต่ความเข้มข้นจะแตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

1.การเข้าใจนัยได้อย่างถูกต้อง
      โดยธรรมชาติแล้ว การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเข้าใจในนัย หรือความหมายของธรรมะได้อย่างลึกซึ้งเป็นไปได้ยากมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ผู้ซึ่งศึกษาธรรมะมามาก ฝึกฝนตนเองมามาก มาเป็นผู้คอยแนะนำ ซึ่งบุคคลผู้นั้นก็คือ ครูผู้สอนธรรมะหรือพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้เข้าใจนัยหรือความหมายในธรรมะให้มากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องเข้าวัดเป็นประจำ หมั่นฟังธรรมบ่อย ๆ และเมื่อเกิดความสงสัย ก็ต้องเข้าไปสอบถามจากท่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันต้องลงมือปฏิบัติฝึกฝนอบรมตนเองไปด้วย

     การจะเข้าใจนัยได้ดีและรวดเร็วที่สุด ก็โดยการนำไปปฏิบัติ เพราะเราจะพบกับประสบการณ์จริง เมื่อเกิดข้อสงสัยก็ อบถามกับครูผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรม หรือพระอาจารย์ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ซึ่งการหมั่นเข้าหาสอบถาม พร้อมกับการฝึกปฏิบัติ จะทำให้เข้าใจได้อย่างแตกฉานลึกซึ้ง และมองเห็นภาพการฝึกที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

     สำหรับฆราวาสนั้น หากจะกล่าวถึงเป้าหมายชีวิตสูงสุดแล้วก็คงเหมือนกับพระภิกษุ คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ด้วยสถานภาพที่แตกต่างกัน วิธีการที่จะปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายสูงสุด จึงอาจแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของทุกคนก็คือ ต้องละกิเลสให้ได้ ซึ่งก็คือกิเลสใหญ่ 3 ตระกูล ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ

      วิธีละกิเลสสำหรับฆราวาสง่ายที่สุดคือแก้ในสิ่งตรงข้ามกันกับกิเล ทั้ง 3 ตระกูล คือ แก้โลภะด้วยการให้ทาน แก้โทสะด้วยการรักษาศีล เพื่อควบคุมกาย วาจา แก้โมหะความไม่รู้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อให้ได้ปัญญา


2.ลงมือฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง
      เมื่อเราทราบแล้วว่า การละหรือกำจัดกิเลส 3 ตระกูลของฆราวาสต้องอาศัยทาน ศีล ภาวนา ซึ่งต้องทำเป็นประจำทุกวันอย่าง ม่ำเสมอไม่ให้ขาด ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพหรือหน้าที่การงานในทางโลก เพื่อให้กิเลสนั้นบรรเทาเบาบางลงไปให้ได้มากที่สุด จนกว่าจะหมดกิเลสบรรลุมรรคผลนิพพานได้ตามเป้าหมายสูงสุดของชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำทาน รักษา ศีล และเจริญภาวนาทุกวัน โดยยึดหลักที่ว่า

1. เช้าใดยังไม่ได้ทำทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งรับประทานข้าว
2. วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่างเพิ่งออกจากบ้าน
3. คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งนอน

       ต้องอดทนฝึกตนให้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งใด มีอุปสรรคเพียงไหน ก็ปักใจมั่นไม่ย่อท้อ กัดฟันสู้ทำความดีเรื่อยไป


ตัวอย่างการนำความรู้เรื่องอัตถัญญูไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไป

      เมื่อรู้จักว่า อัตถัญญู คือ เป็นผู้รู้อรรถ รู้ผล รู้เนื้อความ เข้าใจนัยต่าง ๆ ในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ให้นำมาฝึกหัดปฏิบัติตามด้วยกาย วาจา และใจ เพราะการจะเป็นอัตถัญูบุคคลได้ จะต้องฝึกให้เป็นธัมมัญญูบุคคลก่อน โดยการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนสามารถจดจำ และสรุปสาระสำคัญได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นจึงนำคำสอนที่ได้ศึกษานั้น มาพัฒนาตนเองให้เป็นอัตถัญญูบุคคล ด้วยการไตร่ตรองธรรมะจนเข้าใจอย่างถูกต้องแตกฉาน แล้วนำมาฝึกฝนอบรมตนจนเกิดเป็นคุณธรรมภายใน

    ฝึกทำความเข้าใจในเนื้อความธรรมะต่าง ๆ ให้แตกฉาน ให้รู้ถึงความมุ่งหมายของหลักธรรมนั้น ๆ ว่ามีวัตถุประสงค์หรือเหตุผลอย่างไร แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ที่ตนเองต้องไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้นั้น มีจุดประสงค์หรือความต้องการอะไร เมื่อมีปัญหาสามารถค้นหาสาเหตุที่มาแล้วช่วยแก้ไขให้ได้

      ศึกษาให้รู้ว่า ความสุขเป็นผลมาจากการทำความดี ทุกข์เป็นผลมาจากการทำความชั่วสอบไล่ได้เป็นผลมาจากความขยันความตั้งใจเรียนสอบไล่ตกก็ทราบว่านั่นเป็นผลมาจากความเกียจคร้าน ความไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หรือ เมื่อไม่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทำมาหากินในทางสุจริต การศึกษาเล่าเรียน หรือในการทำกิจต่าง ๆ ก็รู้ว่าเป็นเพราะขาดหลักอิทธิบาท 4 กล่าวคือ ไม่มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการประกอบอาชีพนั้นในการศึกษาเล่าเรียนนั้น หรือในการทำงานนั้น เป็นต้น

      ศึกษาหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้น ๆ ว่ามีความหมายอย่างไร หลักนั้น ๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การงานที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น

    ศึกษาให้รู้ว่าเมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล เมื่อมีปัญหาอันใดเกิดขึ้นเราจะต้องใช้หลักเหตุผลมาพิจารณาปัญหาเหล่านั้น เพราะผลเกิดจากเหตุเสมอ การรู้จักเปรียบเทียบเหตุและผล จะทำให้เราเป็นคนใจกว้างยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014634331067403 Mins