เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่แสบ" (ตอนที่ ๑)

วันที่ 26 กย. พ.ศ.2560

  เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่แสบ" (ตอนที่ ๑),วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

    

     เพาะนิสัยลูกอย่างไรให้ "ไม่แสบ"  (ตอนที่ ๑)

 

      เมื่อปูย่าตายายของเราจับหลักบ่อเกิดนิสัยได้ ท่านก็ค้นคว้าหาข้อสรุป เพื่อตอบให้ได้ว่า อะไรเป็นบทความไม่แสบของคนเรา ? คำตอบ คือ "วินัย" เป็นคุณธรรมที่ใช้ฝึกความไม่แสบให้คนเรา

    ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงมีงานที่จะต้องหาวิธีฝึกนิสัยมีวินัยให้แก่ลูก ถ้าฝึกวินัยได้ดี เด็กคนนั้นจะยับยั้งชั่งใจตัวเองเป็น เด็กจะไม่แสบ ซึ่งจะเป็นอุปการคุณในการฝึกคุณธรรมข้ออื่นๆ ให้แก่เด็กต่อไป

     การที่ลูกจะไม่แสบไม่เป็นพิษเป็นภัย ต้องฝึกวินัยลูกผ่านปัจจัย ๔ แสะการงานให้เต็มที่ โดยต้องหาวิธีการที่ลูกรับได้ คือ เคร่งครัดแต่ไม่เคร่งเครียด

   วินัยอะไรบ้างที่ต้องฝึกผ่านปัจจัย ๔ แสะการงานให้แก่ลูก ?
   ๑) วินัยต่อคำพูด
   ๒) วินัยต่อเวลา
   ๓) วินัยต่อความสะอาด
   ๔) วินัยต่อความเป็นระเบียบ
   ๕) วินัยต่อศีลธรรม

   ถ้าคุณพ่อคุณแม่ฝึกวินัยทั้ง ๕ข้อนี้ ให้เป็นนิสัยลูกได้เมื่อไร เมื่อนั้นลูกของเราจะไม่แสบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร

   ๑) การฝึกวินัยต่อคำพูด

       วินัยต่อคำพูด เป็นเรื่องใหญ่สำหร้บพตของลูกในข้างวันหน้า เพราะ "ก่อนจะพูด เราเป็นนายคำพูด แต่เมื่อพูดไปแล้ว คำพูดเป็นนายเรา"

      คำพูด คือ สิงที่ทำให้เจ้าของคำพูดเจริญขึ้นก็ได้ หรือทำให้เจ้าของคำพูดตายเพราะคำพูดของตัวเองก็ได้ 

    การฝึกวินัยต่อคำพูดขั้นแรก คือ ต้องฝึกให้ลูกไม่โกหกคุณพ่อคุณแม่ เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ของตัวเองแท้ๆ ลูกยังกล้าโกหกได้ไม่ว่าใครในโลกนี้ ลูกก็พร้อมจะโกหกหลอกลวงทั้งนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้เข้า ไม่ว่าไปทางไหนลูกของเราก็จะสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นไปตลอดทาง

      พระมหากษัตริย์ทั้งหลายในอดีตจับหลักตรงนี้ได้ จึงใช้เป็นหลักเกณฑ์ฝึกลูกกษัตริย์ว่า "กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ" เพราะถ้าคำพูดของกษัตริย์ เป็นคำโกหกแล้ว ความเคารพนับถือของปวงประชาราษฎร์จะหมดสิ้นไปทันที

     บรรพชนไทยแต่โบราณจึงยํ้านักยํ้าหนาว่า "เกิดเป็นคนแล้ว พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้นทำอย่างไรต้องพูดอย่างนั้น คำพูดจึงจะศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือ เมื่อมีความน่าเชื่อถืออยู่ในเนี้อแท้แล้ว จะไปทำอะไรก็สำเร็จ"

   เรื่องการโกหกนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงกับมีรับสั่งกับพระราหุล ชื่งเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนาไว้ว่า "ราหุล คนที่โกหกหลอกลวงผู้อื่นได้นั้น ไม่มีดวามชั่วใดๆ ในโลกนี้ที่เขาจะทำไม่ได้ หรือไม่กล้าทำ เพราะฉะนั้น การโกหก เพียงเพื่อพูดเล่นแม้เล็กน้อย ก็ไม่ควรทำ"

  ฝึกลูกอย่างไร ไม่ให้โกหก ?

  มีหลักสำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ

  ๑) ลูกจะต้องมีต้นแบบที่พูดแต่คำจริง
  ๒) คุณพ่อคุณแม่สามารถชี้แจงโทษของการโกหกให้ลูกฟังได้
  ๓) คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกลูกให้มีวาจาสุภาษิต

      หลักทั้ง ๓ ข้อนี้ หมายความว่าอย่างไร ?

     ประการที่ ๑ ลูกจรต้องมีต้นแบบที่พูดแต่ดวามจริง นั่นคือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องไม่โกหกลูก ไม่โกหกกันเอง ไม่นินทาใครให้ลูกฟัง หรือแม้แต่จะโกหกเพื่อพูดล้อเล่นกับลูกก็ไม่ควรทำ เพราะลูกจะเอาอย่าง และถ้าลูกโกหกเพื่อล้อเล่นกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง คุณพ่อคุณแม่ก็คงไม่สนุกเทำไรนัก และก็คงจะรู้สึกกลุ้มใจแทน

     ประการที่ ๒ คุณพ่อคุณแม่สามารถชี้แจงโทษของการโกหกให้ลูกฟังได้

     คนที่คิดจะโกหกคนอื่น ๑ ครั้ง จะต้องโกหกตัวเอง ๓ ครั้งเป็นอย่างนัอย

     ครั้งที่ ๑ เตรืยมเรื่องจะโกหกผู้อื่น
     ครั้งที่ ๒ พอพบหน้า ก็โกหกตามแผน
     ครั้งที่ ๓ ตามจำเรื่องที่เคยโกหก ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวถูกจับได้

   เป็นอันว่า เมื่อลงมือโกหกคนอื่นครั้งแรก จะต้องโกหกตัวเองอย่างน้อย ๓ ครั้ง แล้วถ้าเรื่องนั้น เป็นเรื่องสำคัญ ก็ต้องตามจำไปโกหกอีกไม่รู้กี่ครั้ง เพราะถ้ากลับมาเจอกันสักร้อยครั้ง ก็ต้องตามโกหกทั้งร้อยครั้งที่เจอ ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวถูกจับโกหกได้

    ในที่สุด เมื่อโกหกบ่อยครั้งนานเข้า วันหนึ่ง เมื่อกลับมาพูดเรื่องจริง ตนเองก็ชักจะไม่แน่ใจว่า เรื่องที่ตัวพูด นึ่มันเรื่องจริงหรือเรื่องโกหกกันแน่ ความมั่นใจเริ่มเสียไปแล้ว ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ยังโกหกต่อ วันหลัง
จะตัดสินใจอะไรไม่ลง เพราะมาตรฐานของใจมันเสียไบ่


   ทำไมการโกหกทำให้มาตรฐานใจเสีย ? ก็เพราะว่า เวลาคนเราจะโกหกนั้นใจมันจะคิดเป็นภาพเท็จขึ้นมาแทนภาพจริง เมื่อโกหกครั้งแรก ภาพเท็จก็แทนที่ภาพจริงไปหน่อย โกหกสองครั้ง ภาพเท็จก็แทนที่ภาพจริงไบ่อีกสองครั้ง แต่เมื่อโกหกบ่อยๆ ครั้งเข้า ภาพจริงล้มเลย มีแต่ภาพเท็จเข้ามาแทนที่ แล้วใจที่เคยมีภาพจริงเป็นมาตรฐานดีๆ ก็เลยหมดไป ทำให้คนที่โกหกบ่อยๆ วันหนึ่งพอพูดจริงเข้า ก็เลยไม่รู้ว่า เรื่องที่ตัวพูดเป็นเรื่องจริงหรือโกหกกันแน่ ในที่สุดความมั่นใจก็เลยหมดไปคนที่โกหกบ่อยๆนี้ เมื่อตอนบั้นบ่ลายชีวิตจะหลงๆลืมๆ เช่นถามว่าป้ากินข้าวหรือยัง? ป้าแกตอบว่า ยังไม่ได้กิน ทั้งๆ ที่จานก็ตั้งอยู่ ข้างๆ ยังไม่ได้ล้างเลย อาการหลงเป็นอย่างนี้

    คนที่โกหกบ่อยๆ นอกจากจะทำให้หลงตอนแก่แล้ว อำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของคำพูดมันจะหมดไป ความน่าเชื่อถือก็พลอยหมดไปด้วยในที่สุด จะไบ่พูดอะไรกับใคร ก็ไม่มีใครเชื่อชีวิตนี้ ก็เลยล้มเหลวไปอีกชาติ

   โบราณท่านบอกว่า คำพูดของคนเราจะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อ "พูดอย่างไร ต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างไร ต้องพูดอย่างนั้น" ไม่ใช่ทำแค่คึบแล้วมาโม้ว่าทำศอก บอกว่าจะทำศอก แต่ว่าทำจริงๆแค่คืบเดียว

   เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะให้ลูกเชื่อฟัง อยากให้คำพูดตัวเองคํกดิ์สิทธิ ก็ต้องพูดแต่คำจริงเป็นต้นแบบให้ลูกดู นั่นคือ ห้ามโกหกลูกแม้เพียงล้อเล่นก็ตาม

   ประการที่ ๓ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกให้ลูกมีวาจาสุภาษิต

   นอกจากจะฝึกให้ลูกพูดแต่คำจริงแล้ว เท่านั้นยังไม่พอ คุณพ่อคุณแม่ยังต้องฝึกให้ลูกมีวินัย ในการแยกแยะเรื่องที่ควรพูดให้เป็นด้วย เพราะถึงแม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าพูดไปแล้วเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ก็ไม่ควรพูด เมื่อลูกเติบโตขึ้นมา จะได้รู้ว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด

   คนที่พูดได้ดีนั้น นอกจากพูดเป็นแล้ว ยังต้องนิ่งเป็นด้วย

   คำว่า "นิ่งเป็น" คือ การรู้จักผลได้ผลเสียในเรื่องที่ไม่ควรพูด ให้มากกว่าเรื่องที่ควรพูดนั่นเอง

 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้หลักการพูดที่ดี ไว้ในมงคลชีวิต ๓๘ ประการ นั่นคือมงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

   คำพูดของคนเราจะเป็นสุภาษิตได้ก็ต่อเมื่อ มีคุณสมบัติครบ ๕ ประการ คือ

   ๑) พูดด้วยจิตเมตตา

   ทุกครั้งที่จะพูดกับใครก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จะต้องถามตัวเองเสียก่อนว่า ก่อนที่เราจะพูดต่อไปนี้ ไม่ว่าจะพูดกับใครก็ตาม เราอาจไซ้อารมณ์พูด หรือว่าใช้เหตุผลพูด คนที่ใช้เหตุผลพูดจะคิดว่าเรามี ความความปรารถนาดีต่อเขาหรือเปล่า ถ้ามีความปรารถนาร้ายก็อย่าพูด หรือถ้าคิดว่าพูดแล้วจะระคายหู ระคายใจ ทั้งคนฟังคนพูด ก็อย่าพูด

   ๒) พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์

   ถามตัวเองก่อนอีกว่า ถึงแม้เรามีความปรารถนาดี แต่พูดไปแล้วจะเป็นประโยชน์กับเขาบ้างหรือไม่ ถ้าไม่เป็นประโยชน์ สู้ไม่พูดดีกว่า เสียเวลาเปล่า ดีไม่ดีจะกลายเป็นพูดเพ้อเจ้อไป

  ๓) พูดถ้อยคำที่ไพเราะ

    แม้ว่าจะมีจิตเมตตา และเรื่องที่พูดก็เป็นประโยชน์ แต่อย่างน้อยที่สุดภาษาพูดต้องไม่ระคายหูใคร แม้จะพูดหวานๆไม่เป็นก็ตาม

   คำพูดที่เป็นประโยชน์แต่ระคายหูนั้นไม่มีใครอยากฟัง ไม่อยากทำตาม ดีไม่ดีอาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน เพราะไม่มีไครในโลกนี้ชอบให้ใคร มาพูดข่มขู่ กระโชกโฮกฮาก คนพูดหยาบคาย ถึงแม้จะมีประโยชน์แต่ก็เหมือนกับเอาลวดหนามมาทะลวงพู มันยากที่ใครจะทนทานได้ แม้แต่ลูกของเราก็ตาม

  ๔) พูดถ้อยคำที่เป็นจริง

   แม้คำพูดของเราจะไพเราะ มีประโยชน์ เต็มไปด้วยความปรารถนาดี แต่ถ้าไม่เป็นจริงแล้ว สู้ไม่พูดเสียดีกว่า เพราะเราเองจะกลายเป็นคนโกหก เป็นคนขาดศีล ซึ่งไม่คุ้มกันเลย พูดไห้คนอื่นได้ประโยชน์ไป แต่เราเสียประโยชน์ จะกลายเป็นแบกนรกโดยใช่เหตุ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพาะนิสัยพูดไม่จริง หรือที่โบราณเรียกว่า ปากหวานก้นเปรี้ยว ขึ้นมา
และเมื่อพูดไม่จริงจนเคยชินมากเข้า ก็จะกลายเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นคนหลงๆ ลืมๆ กะป้ากะเป๋อในที่สุด


  ๕) พูดถูกกาลเทศะ ดือ ก่อนพูดต้องดูกาลเทศะให้ดี

     คนที่พูดไม่ถูกเวลา ไม่ถูกสถานที่ อาจทำให้ตัวเองถึงตายได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นที่เกลียดชัง เช่น ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะฝึกให้ลูกพูดแต่คำจริง แต่ไม่ฝึกให้ลูกรู้จักกาลเทศะ วันหนึ่งเห็นผู้ใหญ่ทำผิดเข้า ก็เลยไปเตือนผู้ใหญ่ต่อหน้าธารกำนัล แม้จะพูดไพเราะแค่ไหน ก็ถือว่าพูดผิดที่ แทนที่จะเป็นผลดีกลับกลายเป็นการฉีกหน้า หรือเตือนคนที่กำลังมี
โทสะพลุ่งพล่าน มีอาวุธอยู่ในมีอ เตือนคนผิดจังหวะอย่างนี้ จะกลายเป็นยื่นคอให้เขาเชือดไป

   การพูดเป็นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ถ้าไม่รู้ว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด สู้นิ่งไว้ดีกว่า เหมือนโบราณว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

   เพราะฉะนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่ปูพื้นฐานของการเป็นคนพูดแต่คำจริง และเป็นประโยชน้ให้ลูกแล้ว ก็จะต้องไม่ลืมที่จะสอนให้ลูกรู้จักพูดเป็นด้วย คือ พูดด้วยวาจาสุภาษิต แล้วจะทำให้ลูกเป็นคนที่รู้จักคิดให้รอบคอบ มีสติก่อนที่จะพูด หรือกลั่นกรองคำพูดให้ละเอียดเสียก่อนแล้วค่อยพูด แล้วลูกก็จะมีความสามารถในการพูดเจาะใจคนฟังได้ดีและประทับใจได้นาน แล้วการฝึกวินัยต่อคำพูดของคุณพ่อคุณแม่ก็จะประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นอุปการะอันใหญ่ในชืวิตภายหน้าของลูก

  ๒) การฝึกวินัยต่อเวลา

      บทฝึก ความไม่แสบ" ข้อต่อมาให้แก่ลูก ก็คือ ฝึกวินัยต่อเวลา
  "เวลา" เป็นทรัพยากรชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ผ่านไปแล้ว จะเอาคืนไม่ได้ และหากเราไม่ใช้มันให้เป็นประโยชน์ มันจะนำความแก่มาให้ นำความตายมาให้ และนำโอกาสที่ดีจากไป

     ถ้าคุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูพรรคพวกเพื่อนฝูงที่เรียนมาด้วยกันก็จะพบว่า เพื่อนบางคน เมื่อตอนสมัยเขาเป็นนักเรียน เขาอาจจะเรียนสู้เราไม่ได้ งานที่ทำส่งเป็นชิ้นๆ ก็ทำ ดีสู้เราไม่ได้ แต่เมื่อเขาโตขึ้นไป ทำงานทำการ เขากลับประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าเรา

     เมื่อไปสังเกตดูเพื่อนพวกนี้ เราจะพบว่า เขาแบ่งเวลาเก่งจริงๆวันๆหนึ่งเขาทำงานได้เยอะกว่าเราอีก ก็เข้าทำนองเดียวกับกระต่ายกับเต่าคือถ้ากระต่ายวิ่งเต็มที่ ยังไงเต่าก็ไม่มีทางวิ่งทัน แต่กระต่ายกลับเอาเวลาไปนอนหลับเสีย เต่าถึงจะงุ่มง่าม แต่ก็ทำต่อเนึ่อง ก็เลยชนะกระต่ายได้ เพราะกระต่ายแบ่งเวลาไม่เป็น

    หรือยกตัวอย่าง นายกรัฐมนตรีกับขอทาน ก็มีเวลาวันละเท่าๆกัน คือ ๒๔ ชั่วโมง แต่วันหนึ่งนายกฯ ทำงานได้ตั้งหลายชิ้น ส่วนขอทานทำงานได้ชิ้นเดียว คือถือกะลาขอทาน

   ด้งนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต คือ คนที่รู้จักแบ่งเวลาได้ดี ถ้าแบ่งเวลาไม่เป็นแล้ว เขาจะเป็นคนแสบตลอดกาล ตั้งแต่ทำอะไรไม่เคยตรงเวลา นัดไวัไม่ทำตามนัด ผัดวันประกันพรุ่ง แล้วในที่สุดวันหนึ่งความนำเชีอถือก็จะหมดไป

  ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะให้ลูกเป็นคนดี ไม่แสบล่ะก็ จะต้องฝึกวินัยเรื่องเวลาให้เข้มงวดใน ๓ เรื่องนี้ เป็นการปูพื้นฐานกันก่อน นั่นคือ ๑) เวลาตื่น ๒) เวลานอน ๓) เวลากิน

   ๑) อย่าปล่อยให้ลูกนอนตื่นสาย

  คำว่า "ตื่นเช้า" หรือ "ตื่นสาย" เอาเวลาไหนเป็นเกณฑ์แบ่งว่า เช้าหรือสาย

  ปูย่าตายายของเราตอบชัดเจนว่า เอาเวลา "อรุณ" เป็นเกณฑ์แบ่ง ถ้าตื่นก่อนอรุณ เรียกว่า ตื่นเช้า ถ้าตื่นหลังอรุณ เรืยกว่า ตื่นสาย

  เวลาไหนจึงเรืยกว่า "อรุณ" ?

  ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปดูนิดหนึ่งว่า การเปลี่ยนวันโดยทั่วไปนั้น เรายึดเอาเวสา ๒๔ นาฟิกา เป็นเกณฑ์ แต่ปูย่าตายายของเรานั้น ท่านยึดเอาการเปลี่ยนวันของพระสัมมาสัมมพุทธเจ้าเป็นเกณฑ์ ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดไว้ว่า เปลี่ยนเวลาเมื่ออรุณขึ้น

  เราอยากรู้ว่า อรุณเมื่อไร ตอนเช้ามืด ก็ให้ไปยืนอยู่กลางแจ้งเหยียดแขนออกไปสุดแขน ถ้าเห็นลายมือห้ดเจนครั้งแรกเมื่อไหร่นั่นคืออรุณ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงกำหนดว่า เวลานี้เองที่เปลี่ยนวันใหม่


  ถ้าอรุณในช่วงฤดูแล้ง ก็จะประมาณเวลาตีห้าสี่สิบนาที ถ้าอรุณในช่วงฤดูหนาว ก็จะประมาณเวลาตีห้า ห้าสิบนาที การตื่นเช้า หรือตื่นสายของเด็ก ปู่ย่าตายายเอาที่ช่วงนี้เป็นเกณฑ์

   คนจะไม่แสบได้นั้น จะต้องรู้จักแปงเวสา เพราะฉะนั้น หากใครแบ่งเวลาไม่เป็น ชาตินี้จึงเอาดีได้ยาก แสะการสืกไห้ลูกรู้จักแปงเวลานั้น ปู่ย่าตายายของเราใส่บทฝึกข้อแรกไว้ที่เวลาตื่น คือ ต้องตื่นก่อนอรุณถ้าล้มเหลวตรงนี้ จะล้มเหลวตลอดชีวิตของลูก เพราะว่าเมื่อโตขึ้นลูก
จะไปทำงานสาย และจะชอบผัดวันประกันพรุ่งบ่อยๆ จนกลายเป็นคนขาดความรับผิดชอบ และคนขึ้เกียจทำมาหากินในที่สุด

  สำหรับเรื่องการตื่นเช้าหรือตื่นสาย ของเด็กนี้มีเรื่องฝากคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกผู้หญิงเป็นพิเศษด้วยว่า ถ้าอยากจะให้ลูกมีอนาคตสดใส ไม่มีกรณีหย่าร้างเมื่อตอนโต ต้องฝึกให้ลูกตื่นก่อนอรุณ ไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม ยกเว้นว่าป่วย

  ทำไมถึงพูดเช่นนี้ เพราะว่า มีการรายงานผลการวิจัยที่รวบรวม จากสถิติจากทั่วโลกออกมาเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องสาเหตุของการหย่าร้างแล้วก็พบว่า สาเหตุข้อหนึ่งมาจาก พ่อบ้านเกิดอาการเซ็งที่เห็นแม่บ้านนอนตื่นสาย เพราะว่าเมื่อพ่อบ้านตื่นขึ้นมาแล้ว เหลียวหน้ามาดูแม่บ้าน
ที่ยังไม่ตื่น เห็นผมแม่บ้านปกหน้า ปากซีดปากเชียวอยู่ เลยมีความรู้สึกว่า เหมีอนกับตนเองนอนอยู่กับแม่นาคพระโขนงมาทั้งคืน แล้วจุดนี้เองกลายเป็นจุดเรื่มต้นที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตครอบครัว แล้วก็ขยายไปส่เรื่องอื่นๆ จนเกิดการหย่าร้างในที่สุด

  การตื่นก่อนอรุณนี้เอง เป็นจุดที่ปูย่าตายายท่านให้บทฝึกแก่ลูกหลานเอาไว้ โดยท่านมีอุบายง่ายๆ ที่จะบังคับให้ลูกสาวตื่นเช้า คือ ปลุกลูกสาวขึ้นมาทุงข้าว ทั้งๆที่จริงๆ แล้ว คุณแม่ก็เป็นคนหุงเองทำเองทุกอย่าง แต่ก็ปลุกขึ้นมา ไม่ยอมให้ลูกตื่นสาย เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ต้อง
ฝากไว้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกสาวด้วย

  ๒) อย่าปล่อยให้ลูกนอนดึก
     
      การปล่อยให้ลูกนอนดึกนั้น มีอันตรายมากมายมหาศาลต่อต้วลูกยิ่งนิก

     คุณพ่อคุณแม่หลายๆคน ต้องมานั่งกลุ้มอกกลุ้มใจว่า "เมื่อตอนเล็กๆ ลูกก็น่ารักดี ไม่ดื้อ แต่ทำไมเดี๋ยวนี้ ลูกถึงได้เถียงเก่ง โกหกเก่งก็ไม่รู้" แล้วก็สาวหาสาเหตุไม่เจอว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่

    สาเหตุที่ทำให้ลูกเถียงคุณพ่อคุณแม่เก่ง ก็คีอ การปล่อยให้ลูกนอนดึก

    ทำไมถึงพูดเช่นนั้น ก็เพราะว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกนอนดึก ตอนเช้าพอไปปลุกเข้า ลูกก็งัวเงีย แกก็จะไม่อยากตื่น แล้วแกก็อ้างกับแม่ไปอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เท่ากับว่า ซ้อมเถียงแม่ทุกเช้าเลย แล้วเมื่อซ้อมเถียงแม่เมื่อตอนงัวเงียบ่อยๆเข้า พอโตขึ้นนอกจากเถียงเก่งแล้ว
ยังโกหกคุณพ่อคุณแม่เก่งอีกด้วย ก็เพราะว่า ได้คุณแม่เป็นคู่ซ้อมทุกเข้านั่นเอง

   แล้วจะแก็ไขอย่างไร ?

   สำหรับเรื่องนี้ แกไขง่ายๆ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยเคี่ยวเข็ญให้ลูกนอนแต่หัวคํ่า สักช่วงหนึ่งทุ่ม หรือสองทุ่มก็แล้วแต่ แต่อย่าให้เกินสามทุ่ม

 

 

 

จากหนังสือ    
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี
   

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013516664505005 Mins