กัณฑ์ที่ ๑๕ ติลักขณทิคาถา

วันที่ 18 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๑๕
ติลักขณทิคาถา

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , ติลักขณทิคาถา , กัณฑ์ที่ ๑๕ ติลักขณทิคาถา

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ

ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ

เอส มคฺโค วิสุทธิยา

สพฺเพ สงฺขารา

ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ

เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ

เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ

เย ชนา ปารคมิโน

อถายํ อิตรา ปชา

ตีรเมวานุธาวติ

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต

ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน

เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ

มจฺจุเธยฺยํ สุทุตตรํ

กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย

สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต

โอกา อ โนกมาคมฺม

วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ

ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย

หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน

ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ

จิตฺตเกลเสหิ ปณฺฑิโต

เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ

สมฺมา จตฺตํ สุภาวิตํ

อาทานปฏินิสฺสคฺเค

อนุปาทาย เย รตา

ขีณาสวา ชุติมนฺโต

เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ

                 วันนี้เป็นวันอัฐมีดิถีขึ้น ๘ ค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุดนี้ละภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป การกระทำตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวน หรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้แก้ด้วยหนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้ หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำรา ว่า

                  สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ        สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
                  ยทา ปฌฺฌาย ปสฺสติ        เห็นตามปัญญาว่า ไม่เที่ยง
                  อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข        เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์
                  เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา        นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อหนึ่ง    
                  สพุเพ สงฺขารา ทุกฺชาติ    สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์
               ยทา ปฌฺฌาย ปสฺสติ          เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่สอง
                  สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ           ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
                  ยทา ปฌฺฌาย ปสฺสติ               เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไมใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่สาม

                 หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะหนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพานตั้งแต่ต้นจนกระทั้งถึงพระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นการมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่ใจหยุดนั่น อย่างไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺติ นั่นความอดทน ตีติกุขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุดพอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นและเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มีต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว

                  เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไป ว่า

อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ            เย ชนา ปารคามิโน
อถายํ อิตรา ปชา            ตีรเมวานุธาวติ

              บรรดามนุษย์ทั้งหลายชนเหล่าใดมีปรกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน  ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือโลกโอกอ่าววัฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง ธรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ วัฏฏาะนื้เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพานนะ คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่า ไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้

             เย จ โข สมฺมทกฺขาเต    ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน  ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว

                  ชนา ปารเมสฺสนฺติ  ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้

                  จุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ  ที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจฺ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก

                  นฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย  สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต  นฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น

                  อา อ โนกมาคมฺม  วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ  อาศัยนิพพานไม่มีอาศัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานนั้น

               โยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย

               สํ สมฺโพธิยงฺเตสุ  สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ  อันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้

                ทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บันฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้ว ในอันสละความยึดถือ

                 นาสวา ชุติมนฺโต  เต โลเก ปรินิพฺพุตา  บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลกด้วยประการดังนี้

              นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับเป็นทางปริยัติหาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญาเมื่อใด?บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนี้ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคล นั้นตราปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษในมนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงซึ่งฝั่งข้างโน้นคือพระนิพพานนั่นน้อยนักส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนี้แล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแล ส่วนผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของชนน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้อย ไม่ใช่เป็นของร้าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงทำ ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลายความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งหลาย นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่งหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรม ธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของ ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ  ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุมีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติตันหญ้า รุกขชาติต้นไม้ พฤกษชาติก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวรและวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้น ฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้วสังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร

                   ธาตุธรรมนี้แยกออก เป็นสราคธาตุ สราคธรรม เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม
                   ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสารคธรรม
                   ธาตุธรรมที่ปรากฎจาก ราคะ โทสะ โมหะแล้วนั่น เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง
                   ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม
                 ธาตุธรรมที่กะเทาะจาก ราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว   ยังไม่สิ้นเชื้อ  เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม
                   ธาตุธรรมที่กะเทาะจาก ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่น เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม

                 นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไรรู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี่เป็นสราคธาตุสารคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสารคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึง วิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึง วิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปสู่โลก ในสราคธาตุ ในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายนะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะ ธรรมอะไร?

              ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร อะไรเป็นทางมรรค? อะไรเป็นทางผล นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไป เมื่อใจหยุด เป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกียมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วะ ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน  

                 เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น  ไปตลอดเทียว ทางมรรคผล ทำใจให้หยุด เอาผลมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้องเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่นเห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่า ไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วยโค้งก็เอาใจหยุดอยู่ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะ ประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไปพอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใสผลนั่นก็แปรไป แปรไป แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโรเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้วก็เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไป ๆ ๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น เจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์  นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฎฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง  หนักเข้า หนักเข้า หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้า กลางของกลางหนักเข้า หนักเข้า หนักเข้า ก็เข้าถึง ดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึง ดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะกลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติมั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้าเห็น กายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่าอย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมล่ะ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมันถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ

               ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก็ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียวเห็นดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้าก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน  หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้าเห็นดวงสามธิอยู่ในกลางดวงศีล  หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลางที่หยุดนั่น เห็นดวงปัญญาอยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน  หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง เข้าถูกส่วนแล้ว เข้าถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  ดวงอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอเข้าส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป้นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมล่ะนั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธรรมมนุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะเห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั้นเป็นผลแล้วแต่ว่าเป็นโลกีย์ โลกียมรรค ไม่ใช่โลกุตรผล ไม่ใช่โลกรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจนวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่นนี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว


กายทิพย์
              หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนนอกในไม่ไป กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล  หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุดเข้าก็เข้ากลางของในที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีล

                หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงญาณ อยู่ในกลางดวงสมาธิ  หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นพอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาทัสสนะ

                หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลาง หนักเข้าพอถูกส่วนเข้าเป็น กายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก  ให้นั่งนิ่ง แบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียด  หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  นี่มรรคทั้งนั้น  หยุดนิ่งอยู่ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้าก็เห็น ดวงศีล  หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง เข้าถึงดวงสมาธิ   หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง หนักเข้าที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญา อยู่ในกลางดวงสมาธิ  หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่ในกลางดวงปัญญา  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่ใจหยุดนั่นเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรคมาแล้วมาถึงผลแล้วนี่ ๕ ผลแล้ว

                 พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด  กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

                 หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล อยู่กลางดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

                 หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีล

              หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญา อยู่กลางดวงสมาธิ  หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญา   หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าเห็น กายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่นเข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจเอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผล นี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย


ใจของกายรูปพรหมละเอียด
               หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็เข้ากลางของใจ ที่หยุด กลางของกลาง ๆ ๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

                   หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุดก็ กลางของกลาง ๆ ๆ เข้าถึงดวงศีล  

หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง ๆ ๆ ก็เข้าถึงดวงสามธิ  

                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจหยุด กลางของกลาง ๆ ๆ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา  

                หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง ๆ ๆ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ  ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลาง ๆ ๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลาง ๆ ๆ หนักเข้าก็เข้าถึง กายรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค


ใจของกายอรูปพรหม
               หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก  หยุดอยู่นั่น  หยุดนิ่งอยู่  พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธรรมมานุปัสสานสติปัฏฐาน

                   หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก            ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก            ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา            ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก            ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก    ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด

                  จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกันไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลาง กลางของกลาง กลางของกลาง พอกลางของกลางหนักเข้าก็เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลาง ๆ ๆ หนักเข้าก็ถึงดวงศีล

                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา
                   หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ            ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ        ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายธรรม

              รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันอ่อนส่องเงาหน้า หน้าตัดโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ ว่า อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่ากายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั้น


ใจของกายธรรม
               หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมพอหยุดิ่งถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                   หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    ถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงศีล
                   หยุดอยู่กลางดวงศีล                ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ
                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา
                   หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาทัสสนะ
               หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ       ถูกส่วนเข้าเข้าถึง กายธรรมละเอียดหน้าตัก ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป


ใจของกายธรรมละเอียด
               หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด  ก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วากลมรอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดศูนย์กลางดวงธรรมที่  ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าศูนย์กลาง ๕ วากลมรอบตัว

                   หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น     ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล
                   หยุดอยู่กลางดวงศีล        ถูกส่วนเข้าถึงดวงสมาธิ
                   หยุดอยู่กลางดวงสามธิ        ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้
เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว


ใจของพระโสดา
                หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่กลางดวงศีล         ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่านั้น
                 หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ     ถูกส่วนเข้า เห็น ธรรมกายพระโสดาละเอียดหน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น


ใจของพระโสดาละเอียด
               หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล    ถูกส่วนเข้าถึงดวงสมาธิ
                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงเข้า ก็ถึงดวงปัญญา
                   หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ        ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่ศูนย์กลางดางวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้า เห็น กายพระสกทาคาหน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมในหนักขึ้นไป


ใจของพระสกทาคาละเอียด
                 หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด  พอถูกส่วนเข้า  ก็ถึงดวงธรรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    ถูกส่วยเข้าก็ถึงดวงศีล
                  หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล    พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้า เข้าถึง กายธรรมพระอนาคา


ใจของพระอนาคา
                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กายดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปิฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล
                  หยุดอยู่กลางดวงศีล    พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
               หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป


ใจของพระอนาคาละเอียด
                หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วน  เห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายธรรมพระอรหัต


ใจของพระอรหัต
                หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต     ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน    ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ    ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
               หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ    ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายธรรมพระอรหัตละเอียดใหญ่หนักขึ้นไป

              นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้  พอบวชเณรเสร็จแล้วไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันตร์ก็ได้พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหนไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นดวย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้

              นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรัหัตต์ ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ปัญญา ทางวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจ แสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวดเป็นทุกข์ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหาหนทางไปทางนี้ ก็ถูกมรรคผล นิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริง ๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอาตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจเดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดงตรงกัน เข้าขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสองฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายขาว ไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว

                ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบายพอสมควรและเวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิจงบังเกิดมีแต่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลาสมมุติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีดวยประการฉะนี้


 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020638465881348 Mins