กัณฑ์ที่ ๔๓
ติลักขณาทิคาถา (ต่อ)
นโม ตสฺส ภควโน อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย |
สุกฺกํ ภาเวล ปณฺฑิโต |
โอกา อโนกมาคมฺม |
วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ |
ตตฺรามิรติมิจฺเฉยฺย |
หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน |
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ |
จิตฺตกฺลเสหิ ปณฺฑิโต |
เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ |
สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ |
อาทานปฏินิสฺสคฺเค |
อนุปาทาย เย รตา |
ชีณาสวา ชุติมนฺโต |
เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ |
ณ บัดนี้อาตมภาพจะแสดงใน ปกิณกะเทศนาตามลำดับ ในสัปดาห์ก่อนมาที่แสดงไปแล้ว วันนี้จะเริ่มต้นในบัณฑิตชนละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น อนุสนธิต่อสัปดาห์ก่อนมา เมื่อละธรรมดำเสียแล้วจะยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ธรรมขาวเป็นธรรมสำคัญ ธรรมดำเป็นธรรมฝ่ายของพญามารแท้ ๆ ไม่ใช่ของพระ ของพระเป็นฝ่ายธรรมขาวแท้ ๆ ไม่ใช่ธรรมดำ ตรงกันข้ามดังนี้ แต่ว่าผู้ประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ไม่รู้จักขัดว่าปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมดำ ปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมขาว ไม่รู้ชัด จะรู้จักชัด ต้องขัดกาย วาจา ใจ ออกไปเป็นชั้น ๆ ทุจริตกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมดำ สุจริตด้วยกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมขาว ทำใจให้ผ่องใสนั่นเป็นธรรมขาว ถ้าใจมืดมัวขุ่นหมองนั่นเป็นธรรมดำ นี่เป็นธรรมดำธรรมขาวมีลักษณะอย่างนี้ ชั่วเป็นฝ่ายดำทั้งนั้น ดีเป็นฝ่ายขาว
ที่นี้ฝ่ายธรรมดำ
ใจมนุษย์มี อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฎฐิ นี่ฝ่ายธรรมดำ กายมนุษย์ ตลอดกายมนุษย์ละเอียด
กายทิพย์ มีธรรมดำ โลภะ โทสะ โมหะ ตลอดกายทิพย์ละเอียดนี่เป็นฝ่ายธรรมดำ
กายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดมี ราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นฝ่ายธรรมดำ ตลอดจนรูปพรหมละเอียด
กายรูปพรหมมี กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็นฝ่ายธรรมดำ
ฝ่ายธรรมขาว
ให้ทาน เมตตา สัมมาทิฎฐิ นี่กายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด
กายทิพย์ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่โลภตั้งอยู่ในความให้ ไม่โลภอยากได้ของเขา ให้ของตนแก่เขา ไม่โกรธตั้งอยู่ในเมตตา ไม่หลงตั้งอยู่ในความเห็นชอบ นี่เป็นฝ่ายธรรมขาย ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลงงมงาย ไม่กำหนัดคือคลายกำหนัดเสียแล้ว ไม่มีกำหนัด ไม่ขัดเคืองมีความเมตตา เป็นปุเรจาริก ไม่หลง รู้แจ้งเห็นจริงดังนี้ นี้เป็นธรรมฝ่ายดำ ให้รู้จักคลองธรามดังนี้ นี่คลองธรรมดังนี้นัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่ง คลองธรรมที่เป็นธรรมดำธรรมขาวน่ะ นี่ลึกซึ้งสว่างไสว ปฏิบัติลงไปแล้วเห็นดวงใสดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายมนุษย์ละเอียด
กายมนุษย์ละเอียดก็สว่างไสว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์
กายทิพย์ก็สว่างไสว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นชัดดังนั้น นี้เป็นธรรมขาว
ถ้าเห็นกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายรูปพรหม-กายรูปพรหมก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด-กายรูปพรหมละเอียดก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงอายกอรูปพรหม-กายอรูปพรหมก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายธรรม-กายธรรมก็เห็นดุจเดียวกัน เข้าถึงกายโสดา-กายโสดาละเอียดก็เห็นดุจเดียวกันกายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-กายธรรมอนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัต-กายธรรมพระอรหัตละเอียด เป็นลำดับขึ้นไปดังนี้ นี่เรียกว่าซีกธรรมขาว ไม่ใช่ซีกธรรมดำ
ถ้าไม่เห็นดังนี้ อยู่ในซีกธรรมดำ เป็นธรรมของพญามาร เป็นบ่าวของพญามารไป เป็นทาสของพญามารไป เขาบังคับใช้สอยเหมอนเด็ก ๆ เล็ก ๆ เหมือนทาสกรรมกรไปอยู่ในกำมือของมาร นี้ให้รู้จักหลักฐานธรรมดำธรรมขาวดังนี้
เมื่อรู้จักธรรมดำ-ธรรมขาวดังนี้แล้ว ก็คอยฟังต่อไป จึงจะเข้าใจในเรื่องธรรมดำ-ธรรมขาว โอกา อโนกมาตมฺม เมื่อมีธรรมขาวเช่นนั้นแล้ว อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย โอกาเขาแปลว่า จากอาลัย อโนกมาคมฺมา อาคมฺมเขาแปลว่าอาศัย อโนกตัวนั้นเขาแปลว่าไม่มีอาลัย อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย จากอาลัย นิพพานเป็นตัวยืนนะ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัย จากอาลัย วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ยินดีได้ด้วยยาก ในพระนิพพานอันสงัดใด นิพพานสงัดนัก ยินดีได้ด้วยยากในพระนิพพานอันสงัดใ เข้าถึงพระนิพพานแล้วสงัดนักหละ เงียบทีเดียว ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อภิญฺจโน ละกามทั้งหลายเสียไม่มีกังวลอะไร ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพานนั้น นี้มุ่งถึงพระนิพพานเทียว ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม ละกามเทียว ละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีความกังวลอะไร ปรารถนาความยินดี จำเพาะในพระนิพพานั้น
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญา ละกิเลสทั้งหลายเสียแล้ว บัณฑิตคือดำเนินด้วยคติของปัญญา ชำระตนให้ผ่องแผ้วแล้ว จากกิเลสเครื่องเศร้างหมองของจิตทั้งหลาย ผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาละกิเลส ชำระตนให้ผ่องแผ้วแล้ว จากกิเลสเครื่องเศร้างหมองของจิตทั้งหลาย
เยสํ สมฺโพธิยงฺแคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด อบรมดีแล้วในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด อบรมดีแล้วในองค์เป็นเหตุเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในการสละการถือมั่น
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลกด้วยประการดังนี้
นี่เนื้อความของพระบลาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาพอได้ความเท่านี้ ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายเนื้อความเป็นลำดับไป นี้เป็นธรรมลึกซึ้งนักนะ ยากที่เราจะสดับยิ่ง เทศน์ก็ยากที่จะเทศน์จริง สดับก็ยากที่จะสดับจริงเพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง พูดถึงนิพพานไม่ใช่พูดถึงสิ่งอื่น ๆ ต้องรู้จักอายตนะเสียก่อน จึงจะฟังธรรมเรื่องนี้ออก ที่เขาเรียกว่า โลกายตนะมันดึ่งดูด นิพพานายตนะก็ดึงดูดเหมือนกัน โลกายตนะหรือโลกมันดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รูปที่ชอบใจมันก็ดึงดูดมา ให้ไปติดกับมัน หรือเอาไปติดกับตาหรือเอาไปติดกับรูป เสียงที่ชอบใจมันก็ดึงดูดหู หรือหูดึงดูดเสียงเอามา กลิ่นที่ชอบใจก็ดึงดูดจมูก หรือจมูกก็ดึงดูดกลิ่นเอามา รสที่ชอบใจมันก็ดึงดูดบิ้น หรือลิ้นก็ดึงดูดมันมา สัมผัสที่ชอบใจมันก็ดึงดูดกายหรือกายไปดึงฃดูดเอามันมา มันดึงดูดอย่างนี้มนายตนะ ส่วนใจธรรมารมณ์ที่ชอบใจ มันก็ดึงดูดใจ หรือใจก็ไปดึงดูดเอามันมา นี้มันดึงดูดกันอย่างนี้ ดึงดูดแน่นทีเดียว หลุดไม่ได้ทีเดียว ไม่ว่าแก่เฒ่าชรา หญิง ชาย ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชนิดใดละ ถูกอายตนะของโลกดึงดูดเข้าอย่านี้ก็อยู่หมัด ไปไหนไม่ไหวหละ อยู่หมัดทีเดียว อายตนะโลกมันดึงดูดอย่านี้ ไม่ใช่ดึงดูดพอดีพอร้าย อายตนะดึงดูดเหล่านี้ผิดเผินนะดึงดูดลงไปกว่านี้อีก อายตนะของโลก
ถ้าว่าสัตว์ในโลก มีธรรมดำล้วน ไม่ได้มีธรรมขาวเข้าไปเจือปนเลย เท่าปลายผมปลายขน ดำล้วนทีเดียว แตกกายทำลายขันธ์ โน่น อายตนะโลกันตร์ดึงดูด ต่ำกว่าภพ ๓ ลงไปนี้ เท่าภพสาม ส่วนโลกกันตร์เท่ากับภพสามนี้ แต่ต่ำกว่าภพสาม ไปอีก ๓ เท่าภพ ๓ นี้ นั่นมันอายตนะโลกันตร์ดึงดูด ดึงดูดโน่นไปอื่นไม่ได้ อายตนะโลกันตร์มีกำลังกว่า พอลูกกระแสถูกสายเข้าแล้วจะยักไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะของโลกันตร์ก็ดึงดูดทีเดียว ไปติดอยู่ในโลกันตร์โน่น กว่าจะครบกำหนดออกน่ะมันไม่มีเวลา เวลาน่ะนานนัก ไม่ต้องนับเวลากันหละเข้าถึงโลกันตร์แล้ว กว่าจะได้ออก อจินฺเตยฺโย ไม่ควรคิด ไม่มีกำหนดกันนั่นแน่นดึงดูดติดขนาดนั้น นั่นอายตนะโลกันตร์หนา
อายตนะอเวจี ถ้าจะไปตกนรกอเวจี ก็ฆ่าพระพุทธเจ้า ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าพระพุทธเจ้าหรือฆ่าพระอรหันต์ ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน เหล่านี้ ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เหล่านี้ แตกกายทำลายขันธ์ ต้องไปอเวจี อ้ายนี้อยู่ในภพ ขอบภพข้างล่าง ขอบภาพข้างล่างพอดี อเวจี สี่เหลี่ยม เหล็กรอบตัวสีด้าน สี่เหลี่ยมทีเดียว ไปอยู่ในห้องขังนั้น ในห้องขังอเวจีนั้น แดงก่ำเหมือนกับเหล็กแดงทั้งวันทั้งคืน อะไรไม่ต่างกันหละ ตัวเทวทัตแดงเป็นเหล็กแดงทีเดียว ไหม้เป็นเหล็กแดงทีเดียว แต่ไม่ตาย กรรมบังคับให้ทนอยู่ได้ นั่นไปตกอเวจีหละ ทำถึงขนาดนั้นอนันตริยกรรมเข้า พอแตกกายทำลายขันธ์กุศลอื่นไม่มีกำลัง สู้เวจีไม่ได้ อเวจีดึงดูดวูบทีเดียว สู้โยคเผด็จของคน ไปเกิดในอเวจีโน่น
หย่อนขึ้นมากกว่าไม่ถึงกับฆ่ามารดา บิดา ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้า ไม่ถึงยุยงพระสงฆ์ ทำลายพระสงฆ์ ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน ปิตุฆาต มาตุฆาต อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ยังสงห์ให้แตกจากกันเหล่านี้ ไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่านั้นลงมาเพียงแต่ว่าเกือบ ๆ จะฆ่ากันแหละ แต่ว่าไม่ถึงกับฆ่า ไม่ถึงตายเมื่อแตกกายทำลายขันธ์จากมนาย์โลก ไปอยู่มหาตาปนรกโน้น มหาตาปนรกโน่น มหาตาปน่ะ ร้อนเหลือร้อน แต่ว่าหย่อนกว่าอเวจีหน่อยขึ้นมา
ถ้าว่าไม่ถึงขนาดนั้นทำชั่วไม่ถึงขนาดนั้น หย่อยกว่ามหาตาปนรก ก็ไปอยู่ ตาปนรก นั่นก็ร้อนพอร้อน แต่ว่าร้อนหย่อนกว่านั้นขึ้นมาหน่อย หย่อนกว่านั้นขึ้นมายิ่งกว่าเรื่อยขึ้นไป
ถ้าว่าทำหย่อนขึ้นไปกว่านั้น ความชั่วหย่อนขึ้นไปกว่านั้น เข้าไปอยู่ใน มหาโรรุวนรก ร้องได้ร้องครางกันเถอะ ไม่มีเวลาหยุดกันหละ มหาร้องไห้ทีเดียว
ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา อยู่ใน โรรุวนรก ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่มีหยุดเหมือนกัน
แต่ว่าถ้าหย่อนกว่า ถ้าไม่ถึงขนาดโรรุวนนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมาก็ไปอยู่ สังฆาฎนรก
ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไป กาฬสุตตนรก
หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไป สัญชีวนรก
รวม ๘ ขุม นี่นรกขุมใหญ่ หรือ มหานรก
ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่ในบริวารนรก เรียกว่า อุสสทนรก อยู่รอบมหานรกทั้ ๔ ด้าน ด้านละ ๔ ขุม แต่ละมหานรก จึงมีนรกบริวาร หรืออุสสทนรก ๑๖ ขุม มหานรก ๘ ขุม ก็มีนรกบริวารรวม ๑๒๘ ขุม
หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีกก็ไปอยู่ในบริวารนรกซึ่งอยู่รอบนอกของมหานรกออกมาอีกทั้ง ๔ ด้านเรียกว่า ยมโลกนรก แต่ละด้านของมหานรก ก็จะมียมโลกนรกด้านละ ๑๐ ขุม นรกบริวารรอบนอกของมหานรกทั้ง ๘ ขุม จึงมี ๓๒๐ ขุม
มหานรก ๘ ขุม กับนรกบริวารรอบในคือ อุสสทนรก อีก ๑๒๘ ขุม และนรกริวารรอบนอก คือ ยมโลกนรกอีก ๓๒๐ ขุม รวมเป็น ๔๕๖ ขุม นี่อายตนะนรกดึงดูดอย่างนี้
ไม่ถึงขนาดนั้น ความชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจ ความชั่วด้วยกายวาจาไม่ถึงนรก แตกกายทำลายขันธ์ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เราเห็นตัวปรากฎอยู่นี่ นั่นมนุษย์แท้ ๆ มนุษย์ทั้งนั้น อ้ายสัตว์เดรัจฉานน่ะ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย อ้ายตัวข้างในเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ อ้ายกายละเอียดข้างใน แต่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ดึงดูดอย่างไรล่ะ อ้างก็ดึงดูดเข้าไปเกิดในท้องสุนัขน่ะซี ท้องหมูบ้างท้องสุนัขบ้าง ตามยถากรรมของมันซี ท้องเป็ด ท้องไก่โน้น ดึงดูดเข้าไปอย่างนี้แหละ ดึงดูดเข้าไปได้แรงนักทีเดียว ความดึงดูดนั่น ให้รู้จักอายตนะดึงดูดอย่างนี้ อ้ายที่มันดึงดูดในพวกเหล่านี้
ถ้าว่าหย่อนขึ้นมากว่านี้ ไปเกิดเป็นเปรต ไฟไหม้ติดตามตัวไป อสุรกายหย่อนกว่านั้นขึ้นมา นี่พวกอบายภูมิทั้งนั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ๔ อย่างนี่ อบายภูมิทั้งนั้น
แต่นี้ชั่วไม่ได้ทำ ทำแต่ดี ทำแต่ดีก็อายตนะฝ่ายดีดึงดูด บริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีร่องเสียเลย อายตนะอื่นดึงดูดไม่ได้ อายตนะมนุษย์ดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ? เกิดเป็นมนุษย์กันถมไปนี่อย่างไรล่ะ เห็นโด่ ๆ มันดึงดูดเข้าไปติดอยู่ในขั่วมดลูกมนาย์นั่นแหละ มันดึงดูดอย่างนั้นแหละนี่อายตนะมนุษย์ดึงดูดเข้ามาติดอยู่ในขั้วมดลูกของมนุษย์ นี่เพราะทำความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ
ถ้าว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อายตนะทิพย์ดึงดูด ติดอยู่ในกำเนิดทิพย์เป็นกายทิพย์ เป็นกายทิพย์เป็นลำดับไป จาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี อายตนะดึงดูดทั้งนั้น นี่ในกามภพ ๑๑ ชั้นคือ อบายภูมิ ๔ สวรรค์ ๖ เป็น ๑๐ มนุษย์อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ ใน ๑๑ ชั้นนี่เรียกว่ากามเทพ ทั้งนั้น
ถ้าว่าจะไปในรูปภพ จะไปเกิดในรูปภพ อายตนะของรูปภพดึงดูด เพราะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌน แล้วฌานนั้นไม่เสื่อม เห็นเป็นดวงไสวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นวงเวียน กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักรทีเดียว เป็นวงเวียนทีเดียว เป็นแผ่นกระจกชัด ๆ หนาคืบหนึ่ง วัดผ่าศูนย์กลาง ๒ กลมนั่นปฐมฌาน ติดอยู่กลางกายมนาย์ มีทุติยฌานอยู่ในกลางดวงปฐมฌานมีตติยฌานอยู่ในกลางดวงทุติยฌาน มีจตุตถฌานอยู่ในกลางดวงตติยฌาน เป็นลำดับไป ฌานเหล่านี้เมื่อไม่เสื่อม แล้วแตกกายทำลายขันธ์ อายตนะของรูปพรหมก็ดึงดูดเป็นชั้น ๆ ไป
พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา นี่ ปฐมฌาน ดึงดูด
ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา นี่ ทุติยฌาน ดึงดูด
ปริตตสุภา อัปปามาณสุภา สุภกิณหา นี่ ตติยฌาน ดึงดูด
เวหัปผลา อัสัญญสัตตา นี่ จตุตถฌาน ดึงดูด
ไปติดอยู่ใน รูปพรหม อายตนะรูปพรหมดึงดูด ไปทางอื่นไม่ได้ อายตนะเหล่านี้ไม่ยอมเด็ดขาด มีกำลังกว่า
ถ้าว่าสูงขึ้นไปกว่านี้ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่อายตนะของอรูปพรหม ได้ อรูปฌาน ดวงโตเท่ากัน แต่ว่าอากาสาณัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน วิญญาณัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แต่ว่าละเอียดกว่า อากิญจัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แนวสัญญานาสัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แต่ว่าไม่กลมรอบตัวนะ กลมอย่างเดียวกับ รูปฌาน นี่เมื่อได้อรูปฌานไม่เสื่อม แตกกายทำลายขันธ์ อรูปพรหมดึงดูดไป เกิดอื่นไม่ได้เด็ดขาด อยู่ในอรูปภพนี่แหละ ออกจากภพนี้ไม่ได้ นี่อายตนะดึงดูดอย่างนี้นะ ถูกอายตนะดึงดูดอย่างนี้เขาเรียกว่า โลกายตนะ ที่กล่าวแล้วนี้โลกายตนะทั้งนั้น โลกันตร์โน่น โน่นก็เป็นโลกายตนะ อเวจีตลอดถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะขอบภพข้างบน นี่โลกายตนะดึงดูด ไปไม่ได้ หลุดไม่ไม่พ้น
ถ้าจะให้พ้นจากอายตนะเหล่านี้ ต้องไปนิพพานจึงจะพ้น อายตนนิพพาน ก็เป็นข้อสำคัญอยู่ ไม่ใช่พอดีพอร้าย ถ้าทำถูกส่วนเข้า เป็นอย่างไร? ทำถูกส่วนเข้าก็ซีกขาวฝ่ายเดียว ขาวจนใส ขาวจนเกินขาวขาวจนเกินส่วน ขาวจนได้ส่วนได้ที่ทีเดียว ใสหนักเข้า ใสหนักเข้า ใสหนักเข้า ใสจนไม่ใสต่อไป ใสเต็มส่วนขนาดนั้น เมื่อใสเต็มส่วนขนาดนั้นก็ไม่มีดำเข้าไปเจือปน เท่าปลายผมปลายขนเลย วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว ดวงนั้นใสอย่างนั้น ขาวอย่างนั้นอยู่ในกลางกายของ ธรรมกาย พอแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก โน่นอายตนนิพพานดึงดูด อายตนนิพพานดึงดูดทีเดียว อื่นดึงดูดไม่ได้ กำลังไม่พออายตนะนิพพานดึงดูดพอ เพราะถูกส่วนของนิพพานเข้าแล้ว อายตนนิพพานก็ดึงดูดเข้าไปสู่นิพพาน นี่รู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่ท่านวางไว้ว่า
อตฺถิ ภิกูขเว ตทายตนํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะคือนิพพานมีอยู่ ไม่ใช่อาจตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่อายตนะภายนอก ภายใน เป็นอายตนะสำหรับดึงดูด ดึงดูดเหมือนอายตนะของโลกเหมือนกัน ไม่ใช่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะเครื่องดึงดูดดังกล่าวแล้ว เมื่อรู้จักอายตนะเหล่านี้ละก็จะฟังเรื่องนิพพานนี่ออกได้ต่อไป
ต่อนี้ก็จะแสดงเรื่องนิพพานว่า บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น เมื่อธรรมขาวเจริญขึ้นแล้ว อาศัยนิพพานไม่มีอาลัย จากอาลัยหรือจากอาลัยอาศัยนิพพาน อาลัยนะคือเป็นอย่ไรละ? จากอาลัยนะ อาลัยนะซิ มันให้ตั้งบ้านตั้งเรือนเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่นี่ อาลัยนะซี ถอนมันไม่ออกหนาอาลัยรูป อาลัยเสียง อาลัยกลิ่น อาลัยรส อาลัยสัมผัส อาลัยพร้อมไปหมดทีเดียว อาลัยถอนไม่ออก อาลัยนั้นถอนไม่ออก ท่านถึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า
อาลยสมุคฺฆาโค ให้ถอนอาลัยออกเสีย ถ้าถอนอาลัยไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ก็เป็นวัฎฏขานุเป็นหลักต่ออยู่ในโลก เท่านั้นไม่ไปไหน ติดอยู่ในโลกนี้ ไปไม่ได้เพราะติดอาลัย อาลัยนั้นแหละมันทำให้ติด เพราะรู้ตัวของตัวอยู่ทุกคนนี่ ติดอยู่ด้วยอะไร? อาลัยนี่เอง ทำไมเราจะถอนอาลัยอันนี้ได้ละ อาลัยเป็นอย่างไง นกกระเรียนว่ายน้ำในเปือกตม มันนิยมนักในเปีอกตมนั่นนะ นกกระเรียนมันไม่ขึ้นมาจากเปือกตมนะ มันเพลิดเพลินของมันทีเดียว กว่ามันจะขึ้นมันส่องลอยไปทางซ้ายทางขาทางหน้าทางหลัง วกไปวกมา ๆ เพลินอยู่ในเปือกตมนั่น ชุ่มชื่นของมัน ชุ่มชื่นสบายอกสบายใจของมัน รื่นเริงบันเทิงใจของมัน มันไม่อยากจะขึ้นเลยทีเดียว มันพิเร้าพิรึงอยู่กับเปือกตมของมันนั่นแหละ นี้แหละฉันใด สัตว์โลกที่ติดอาลัยก็เมหือนอย่างกับนกกระเรียนติดเปือกตมอย่างนี้แหละ ถนอไม่ได้ ถอนก็ติดโน่นติดนี่ ติดทางนั้นติดทางนี้ก่อนเราเกิด เขาก็ติดกันอยู่อย่างนี้แหละ เมื่อเราเกิดมาก็ติดอยู่อย่างน้แหละ ติดอยู่เหมือนกันทั้นั้น ก็เมื่อนี้เป็นของเราเมื่อไรเล่า ตัวก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายลูกก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายผัวก็ไม่ใช่ของเรา เมียก็ไม่ใช่ของเราเหมือนกัน อ้ายหลานว่านเครือก็ไม่ใช่ของเรา เงินทองข้าวของไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ทั้งนั้น เขาสำหรับภพ ๓ ของเขา เราก็มาในภพ ๓ ก็ใช้ของภพ ๓ ไป ร่างกายมนุษย์ก็ใช้ของภพ ๓ เขา ไปเกิดในภพทิพย์ก็ใช้ในภพทิพย์เขา เกิดในจาตุมหาราชดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ดีวิเศษขึ้นไปกว่านี้อีก ก็ถึงกระนั้นก็ติดอยู่ไม่ได้
เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้ อย่าได้กริ่งใจอะไร อย่าได้สงสัยอะไร ถ้ารู้จักขัดเสียเช่นนี้ แล้วก็มีธรรมกายแล้วจะได้เห็นปรากฎหมดทุกสิ่งทุกประการ เห็นแล้วและได้รู้แล้ว ก็จะติดทำไมเล่า เมื่อติดอาลัยหรือก็ปล่อยอาลัยเสีย ฉะนั้นท่านจึงได้วางตำรับตำราไวว่า อาศัยนิพพานไม่มีอาลัย จากอาลัย อาลัยอันนั้นไม่เกี่ยวกับนิพพาน ต้องหลุดจากอาลัยอันนั้น จึงจะไปนิพพานได้ บอกชัดอย่างนี้นะ
วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ข้อที่ ๒ วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ยินดีได้ด้วยยากในนิพพานอันสงัดใด เออเป็นของไม่ใช่พอดีพอร้าย หรือจะยินดีนิพพาน ปล่อยอาลัยนั้นไม่ใช่ง่าย ๆ นะ ยินดีได้ด้วยยากในนิพพานอันสงัดใด นิพพานอันสงัดยินดีได้ยากนัก เพราะมันติดอาลัยมันจึงยินดีได้ยากนัก ปล่อยอาลัยเสียแล้วมันก็ไม่ยาก ให้ปล่อยอาลัยเย จึงยินดีพระนิพพาน ไปพระนิพพานได้ อายตนนิพพานทีเดียวกึงดูด ถ้ายังติดอาลัย พระนิพพานดึงไม่ออกเหมือนกัน ดูดไม่ไปเหมือนกัน อายตนโลกเขาก็ดึงดูดเอามา มันก็ไปนิพพานไม่ได้
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน คือละกามทั้งหลายเสีย พึงละกามทั่งหลายเสีย ไม่มีกังวลอะไร พึงละกามทั้งหลายเสีย กิเลสกาม พัสดุกามต้องละ ต้องละกิเลสกาม พัสดุกาม ไม่มีกังวลอะไรเสียแล้ว เมื่อละกิเลส กิเลสกามพัสดุกามต้องละ ไม่มีกังวลละก็ ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพาน ละกามนั่นนะละไม่ง่ายหรือ? กิเลสกาม พัสดุกามนั่นนะ อะไรเราก็ยังไม่รู้จักมันเสียอีกนั่นแหละ รู้จักง่าย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจสัมผัสที่ชอบใจ ที่ชอบใจนั่นแหละ นั่นแหละตัวพัสดุกามแท้ ๆ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ๕ อย่างนี้นี่และเป็นตัวพัสดุกาม ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า ปญฺจาภิรตาปปญฺจา หมู่สัตว์เนิ่มข้าอยู่ด้วยปัญจธรรมทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทำให้สัตว์เนิ่มช้า นั่นเป็นตัวพัสดุกามแท้ ๆ ความไปยินดีในรูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ นั่นกิเลสกามแท้ ๆ ไอ้ยินดีนั่นเป็นกิเลสกาม ไอ้ที่ละกามต้องละทั้งพัสดุด้วย ละทั้งความยินดีในพัสดุกามนั้นด้วย ละทั้งกาม ละทั้งพัสดุกามละทั้งกิเลกามนั้นด้วย เมื่อละจำพวกนี้แล้ว มันก็ไม่มีกังวลอะไร อกิญฺจโน ไม่มีกังวลอะไร ถ้าละพวกนี้เสียแล้วไม่มีกังวล เมื่อไม่มีกังวลไปทำอะไรต่อไป ให้ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพานนั้น ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพานนั้น อย่ไปปรารถนาอื่น ใจจดใจจ่อ พระนิพพานทีเดียว ปรารถนายินดีในพระนิพพานนั้น
ปริโยทปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺลเสหิ ปณฺฑิโต ผู้ดำเนินด้วยสติปัญญา ชำระตนผ่องแผ้วแล้ว ชำระตนผ่องแล้วแล้ว เมื่อชำระตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสเครือ่งเศร้าหมองของจิตทั้งหลาย สะอาดไม่มีซีกดำ มีแต่ซีกขาวฝ่ายเดียว จากกิเลสเครื่องเศร้างหมองของจิตทั้งหลาย จิตที่บัณฑิตทั้หลายเหล่าใดอบรมดีแล้ อบรมดีแล้วในองค์เป็นเหตุเครื่องตรัรู้ เมื่อสะอาดเช่นนั้น มันก็ตรัสรู้ทุกสิ่งทุกประการ รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริงทั้งเรื่อง เรียกว่าในองค์เครื่องตรัสรู้ รู้เห็นตามความเป็นจริงหมด เมื่อรู้เห็ตตามความเป็นจริเช่นนี้นั้นแล้ว
อาทานปฏินิสฺสดฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละการถือมั่น นี่ตัวนี้ตัวสำคัญ พอสะอาดเช่นนั้นก็ไม่ถือมั่น ก็ยินดีแล้วในการสละการถือมั่น ยินดีแล้ก็สละปล่อยเสียเท่นั้น ปล่อยเสียได้ ปล่อยเบญขันธ์ทั้ง ๕ อ้าย รูป เสีย กลิ่น รส สัมผัส นั่นนะ ปล่อย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อ้ายเบญจกามคุณทั้ง ๕ นะ ละทั้งตัวพัสดุด้วย ละทั้งตัวกิเลสด้วย ปล่อยเลยทีเดียว ไม่ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ อีกต่อไป ไม่ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อปล่อยเบญจขัธ์ทั้ง ๕ เสียได้แล้ว ถ้าว่ายังถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ท่านยืนยันเทียวว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ถ้าปล่อยเสียละ ปล่อยเสีย มีพระนิพพานเป็นที่ไป เป็นสุขทีเดียว พอปล่อยเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียได้เท่านั้น
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลง ดับสนิทในโลกด้ยประการดังนี้ นี้ไปถึงนิพพานทีเดียว อายตนนิพพานดึงดูดไปทีเดียว หมดหน้าที่นี้ แสดงมานี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นข้อที่ผิวเผิน ผู้แสดงก็หายาก ผู้ฟังก็หายาก ลำบากนัก ให้จำไว้เป็นเนติแบบแผน จะได้ปฏิบัติเอาตัวรอดต่อไป
ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบายก็พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวาสนนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาท่าสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา ก็พอสมควรแก่เวลาสมมุติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้