วิธีปฎิบัติในการตักบาตรพระสงฆ์

วันที่ 28 เมย. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
ระเบียบปฏิบัติการทําบุญตักบาตรพระสงฆ์

วิธีปฎิบัติในการตักบาตรพระสงฆ์
 

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , วิธีปฎิบัติในการตักบาตรพระสงฆ์ , สมาธิ , Meditation , ตักบาตร , ใส่บาตร , ทำบุญ

         เมื่อนําภัตตาหารออกจากบ้านไปรอคอยตักบาตรอยู่นั้นนิยมตั้งใจว่าจะทําบุญตักบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา โดยไม่เฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดผ่านมา ณ ที่นั้นก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น และรูปอื่นๆ ต่อไปตามลําดับ

         การตั้งใจตักบาตรแบบไม่เป็นการเจาะจงอย่างนี้มีผลานิสงส์มากกว่าการตั้งใจตักบาตรโดยเจาะจงแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ


คําอธิษฐานก่อนตักบาตร

       ก่อนจะตักบาตรนั้น นิยมตั้งจิตอธิษฐานก่อน โดยถือขันข้าวห้วยมือตั้งสองข้าง นั่งกระหย่ง ยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากพร้อมภับกล่าวคําอธิษฐานก่อนบริจาคทําบุญด้วยวัตถุสิ่งของทุกชนิด ดังนี้

"สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ''
ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่องนํามาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสฯ

 

คําอธิษฐานก่อนตักบาตรอีกแบบหนึ่ง

          เมื่อนั่งกระหย่ง ยกขันข้าวด้วยมือทั้งสอง ขึ้นเสมอหน้าผากแล้ว ตั้งจิตกล่าวคําอธิษฐานว่า

"ข้าวขาวเหมือนดอกบัว ยกขึ้นทูลบัว ตั้งใจจํานง ตักบาตรพระสงฆ์ ขอให้ทันพระศรีอารย์
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วปวงมาร ขอให้บรรลุพระนิพพาน ในอนาคตกาลเทอญ''

          เมื่ออธิษฐานจบแล้ว ลุกขึ้นยืน มือซ้ายถือขันข้าว มือขวาจับทัพพี (ถ้าคนถนัดซ้าย ก็ถือขันข้าวด้วยมือขวา จับทัพพีด้วยมือซ้าย) ตักข้าวให้เต็มทัพพี บรรจงตักให้ตรงบาตร อย่าให้เมล็ดข้าวหล่นออกมานอกบาตร

          ถ้าเมล็ดข้าวติดทัพพี อย่าเอาทัพพีเคาะกับขอบบาตรกิริยาอาการที่ตักข้าวใส่บาตรนั้น อย่าตักแบบกลัวว่าข้าวสุกจะหมด เพราะมีคําพังเพยอยู่ว่า "อย่าแสดงความขึ้เหนียวขณะทําบุญ"

          ขณะที่ตักบาตรนั้น อย่าชวนพระสนทนา อย่าถามพระ เช่น ถามว่า ท่านชอบฉันอาหารอย่างนี้ไหม ท่านต้องการเพิ่มอีกไหม? เป็นต้น เพราะมีคําพังเพยอยู่ว่า "ตักบาตร อย่าถามพระ"

          เมื่อใส่ข้าวสุกแลกับข้าวเสร็จแล้ว ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนจะถวายด้วย ผู้ที่ตักบาตรนั้น ถ้าเป็นชาย นิยมส่งดอกไม้ธูปเทียนถวายกับมือพระ ถ้าเป็นหญิง นิยมรอให้พระท่านปิดฝาบาตรแล้ววางดอกไม้ธูปเทียนถวายบนฝาบาตร

          เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ถ้ามีโต๊ะรองอาหาร หรือมีรถยนต์จอดอยู่ด้วย นิยมวางขันข้าวไว้ที่โต๊ะรอง หร็อบนรถยนต์นั้นยืนตรงน้อมตัวลงยกมือไหว้พระสงฆ์

          ถ้ายืนตักบาตรกลางทาง นิยมนั้งกระหย่งแล้ววางขันข้าวไว้ข้างตัว ยกมือไหว้พระสงฆ์ พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ
(สรณะอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ)

          แม้การตักบาตรพระรูปต่อๆ ไป ก็นิยมปฏิบัติในการตักบาตรและการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ดังกล่าวแล้วทุกครั้งตลอตไปจนกว่าจะตักบาตรเสร็จ

 

การกรวดนํ้าอุทิศส่วนกุศล

          หลังจากตักบาตรเสร็จแล้ว เมื่อกลับไปถึงบ้านนิยมกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เป็นต้น โดยกล่าวคํากรวดนํ้าแบบย่อว่าดังนี้

"อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย''
ขอส่วนบุญนี้ จงสําเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุขฯ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0048010468482971 Mins