ระเบียบปฏิบัติการหาฤกษ์งามยามดี 1

วันที่ 02 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการหาฤกษ์งามยามดี


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice , ระเบียบปฏิบัติการหาฤกษ์งามยามดี , สมาธิ , Meditation , พระสงฆ์ ,  ทำบุญ , ฤกษ์งามยามดี

ความหมายของฤกษ์
         คําว่า "ฤกษ์" แปลว่า การมองดู การตรวจดูการพิจารณาดูคราวที่เหมาะ เวลาที่เหมาะ จังหวะที่เหมาะแก่การประกอบการงานที่เป็นมงคลนั้นๆ หมายความว่า ก่อนที่คนเราจะประกอบการงานที่เป็นมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง สมควรจะต้องพินิจพิจารณาเลือกหากําหนดวันเวลาที่เหมาะแก่การประกอบพิธีมงคลนั้นๆ โดยไม่รีบด่วนจนเกินไป จนกระทั่งตระเตรียมอะไรไม่ทัน และโดยไม่ล่าช้าจนเกินไป จนกระทั่งเกิดความเอือมระอาใจที่ต้องเฝ้ารอคอยวันเวลาฤกษ์กว่าจะถึง


ฤกษ์งามยามดีทางคดีไลก
         ในทางคดีโลก สังคมมนุษย์ส่วนมากนิยมกันสืบมาว่าวันเวลาใดประกอบด้วยส่วนดี คือ เป็นเดช เป็นศรี เป็นมูละ เป็นอุตสาหะ เป็นมนตรี เป็นราชาฤกษ์ เป็นเทวีฤกษ์ เป็นมหัทธโนฤกษ์ เป็นศุภะ เป็นกัมมะ เป็นลาภะ เป็นต้น เหล่านี้มีมากที่สุดเท่าที่จะมากไต้ และประกอบด้วยส่วนเสีย คือ เป็นอุบาทว์เป็นโลการีนาศ เป็นกาลกรรณ เป็นอริ เป็นมรณะ เป็นวินาศ เป็นต้น เหล่านี้มีน้อยที่สุด เท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้พร้อมทั้งท่านอาจารย์ผู้ให้ฤกษ์นั้น ก็เป็นผู้ทรงวิทยาคุณทางโหราศาสตร์ มีชื่อเสียงปรากฎเป็นที่ยอมรับนับถือของมหาชนทั่วไปในท้องถิ่นนั้นวันเวลาฤกษ์เช่นนี้แหละ สังคมมนุษย์เรานิยมยอมรับนับถือ เชื่อได้ด้วยความแน่ใจว่า "เป็นฤกษ์งามยามดี'' สําหรับประกอบพิธีมงคลนั้น ๆ


ฤกษ์งามยามดีทางคดีธรรม
         ในทางคดีธรรม คือ ตามคําสอนทางพระพุทธศาสนาสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนพุทธบริษัทเรื่องฤกษ์งามยามดีตามความเป็นจริงไว้ในสุปุพพัณหสูตร โดยใจความว่า

         "คนเราประพฤติกายสุจริต (คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ประพฤติวจีสุจริต (คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระประโยชน์) ประพฤติมโนสุจริต (คือ ไม่โลภอยากได้ของเขาในทางทุจริต ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ไม่เป็นมิจฉาทิฎฐิเห็นผิดเป็นชอบ) กล่าวคือ กระทําความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ในเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น เวลาค่ำคืน หรือ เวลาใดก็ตาม เวลานั้นแหละชื่อว่า "เป็นฤกษ์งามยามดี" สําหรับผู้ทําความดีนั้น"

         รวมความว่า ฤกษ์งามยามดีนั้น ในทางคดีโลกนิยมยึดถือวันเวลาที่ดีเป็นสําคัญ ส่วนในทางคดีธรรม คือทางพระพุทธศาสนานิยมยึดถือการทําความดีเป็นสําคัญ ที่ เป็นเหตุทําให้คนเรามีความเจริญรุ่งเรือง


การดูฤกษ์งามยามดีตามหลักเหตุผล
         มนุษย์เราถือว่าเป็นผู้มีสติปัญญาสูงกว่าบรรดาสรรพสัตว์ เพราะเหตุนี้ เมื่อจะทําอะไรก็ตาม จึงต้องใช้สติปัญญาพินิจพิจารณาใคร่ครวญตรวจดูทางได้ทางเสียอย่างรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มดําเนินการ กิจกรรมที่ทําแล้วจึงปรากฎผลเป็นความดีมากกว่าเสีย

         การพินิจพิจารณาใคร่ครวญตรวจดูทางได้ทางเสีย ความพร้อมเพรียง และความขาดตกบกพร่องในทางทําพิธีงานนั้น ๆอย่างนี้แหละเรียกว่า "การตรวจดูฤกษ์ การหาฤกษ์ หรือ การดูฤกษ์"

         เมื่อได้พินิจพิจารณาดูวัน เวลา สถานที่ บุคคล และสิ่งของเครื่องประกอบการทั้งหลาย โดยถี่ถ้วนกระบวนความแล้ว

         ถ้าเห็นว่าไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง ใม่มีอะไรขัตข้อง มีสมบูรณ์ดีทุกประการ อย่างนี้แหละเรียกว่า "ฤกษ์งามยามดี"

         ถ้าเห็นว่ายังมีอะไรบางอย่าง หรือหลายอย่างยังไม่พร้อมเรียกว่า "ฤกษ์ยังไม่งาม ยามยังไม่ดี" หรือ "ฤกษ์ไม่ดี"

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011663158734639 Mins