ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

วันที่ 21 มิย. พ.ศ.2561

ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

ไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง)

      บางคนมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง มักจะสงสัยว่าตนเองอาจจะมีเนื้องอกในสมอง จึงไปขอให้แพทย์เอ็กซ์-เรย์ดูแต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ บางคนบอกว่า ตนปวดศีรษะเนื่องจากความเครียด แต่บางคนทั้งๆ ที่เครียดก็ไม่รู้สึกปวดศีรษะ

        สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไมเกรน คือ โครงสร้างของร่างกายบริเวณคอถึงศีรษะอยู่ในภาวะเสียสมดุล จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็น และพังผืดตามแนวกระดูกสันหลังที่อยู่แถวฐานต้นคอหรือตรงฐานกะโหลกศีรษะ เกิดการเกร็งและดึงรั้งกัน เป็นเหตุให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น และเมื่อการไหลเวียนไปยังเส้นประสาทในบริเวณนี้ไม่เพียงพอ ทำให้การส่งผ่านสัญญาณระหว่างศูนย์กลางของระบบประสาท กับสัญญาณที่จะขึ้นไปหากล้ามเนื้อบนศีรษะไปแบบไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อบนศีรษะจึงเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะหลักธรรมชาติของร่างกาย คือ ถ้าไม่มีสัญญาณประสาทมาเลยกล้ามเนื้อจะเปลี้ยไม่มีการหดตัว แต่ถ้ามีบ้างไม่มีบ้างจะเกร็ง

         กล้ามเนื้อบนศีรษะเกร็งตัว ทำให้การไหลเวียนถูกปิดกั้นจึงเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณนี้ เพราะเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จึงทำให้มีอาการปวด เมื่ออาการเกร็งมีอยู่ตลอดไม่ยอมคลาย จึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรังที่ เรียกว่า "ไมเกรน"


สายตาผิดปกติ

     เรื่องสายตาผิดปกติ มีการถ่ายทอดความต่อเนื่องกันมานานแล้วว่า สายตาสั้นเกิดจากแสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์โฟกัสตกไม่ถึงจอประสาทตา เป็นเหตุให้การเห็นไม่ชัดเจน จึงแก้ได้โดยการเอาเลนส์เว้า มาไว้หน้ากระจกตา เพื่อให้ลำแสงถ่างออกเล็กน้อย โฟกัสก็จะตกที่จอประสาทตาพอดี สายตายาวก็ตรงข้ามกัน คือโฟกัสตกเลยจอประสาทตา จึงใช้เลนส์นูนมาไว้หน้ากระจกตา เพื่อให้ลำแสงแคบลงเล็กน้อย โฟกัสก็จะตกที่จอประสาทตาพอดี

      คนที่สายตาปกติ เวลาเขามองอะไรไม่ว่าใกล้หรือไกลก็ชัดทั้งนั้น ทำไมถึงชัด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่า เลนส์ตาไม่ใช่แข็งเป็นแก้ว แต่เป็นเนื้อเยื่อใสๆ ที่ยืดหดได้ โดยอาศัยกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เลนส์ตา ทำหน้าที่ปรับเลนส์ ให้ภาพที่เห็นผ่านเลนส์แล้วไปตกที่จอประสาทดาด้านหล้งเลนส์พอดี การเห็นของเขาจึงชัดเจนทั้งใกล้และไกล

    กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เลนส์ตานั้นมีการทำงานอย่างไร มันทำงานโดยได้รับสัญญาณประสาทอัตโนมัติ ที่ออกมาจากไขสันหลังแล้วผ่านปมประสาทในบริเวณท้ายทอย ถ้าจอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัด มันก็จะรายงานไปยังศูนย์ประสาทอัตโนมัติในสมองทันทีครั้นแล้วศูนย์ประสาทอัตโนมัติก็จะสั่งการกลับมาตามเส้นทางเดิมให้กล้ามเนื้อที่อยู่รอบเลนส์ตาหดหรือคลาย เพื่อปรับเลนส์ให้ภาพไปตกพอดี

     คนที่สายตาผิดปกติ  ก็เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อรอบเลนส์ตานั้นผิดปกติ ผลจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย พบว่าพังผืดลึก ๆ ใต้กล้ามเนื้อ เกร็งตึงจนไปปิดกั้นการไหลเวียนและทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้น ส่งสัญญาณประสาทบกพร่อง การทำงานของกล้ามเนื้อรอบเลนส์ตาในการปรับโฟกัสของเลนส์จึงบกพร่องไป ไม่ใช่เพราะเลนส์ตาผิดปกติ


อาการปวดหู อาการหูอื้อ

     บางคนปวดหู บางคนหูอื้อได้ยินไม่ชัด จึงไปหาแพทย์ ครั้นแพทย์ใช้เครื่องมือส่องตรวจดูในช่องหู หากตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ในช่องหู เช่น การติดเชื้อสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น เมื่อคนนั้นลองใช้นิ้วมือกดลงที่แอ่งใต้หู จะพบว่า รู้สึกเจ็บมาก ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อคอตรงบริเวณนั้นตึงมาก ตึงรั้งอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเสียสมดุล จนไปบีบรัดท่อที่เชื่อมระหว่างภายในช่องหูส่วนกลางกับภายในลำคอ ซึ่งทำหน้าที่ในการระบายอากาศ เมื่อไม่สามารถระบายอากาศจากภายในช่องหูส่วนกลางได้ จึงเกิดอาการปวดหูและหูอื้อ


อาการเวียนศีรษะ

      ในวงการแพทย์มักกล่าวกันว่า อาการเวียนศีรษะเกิดจากระดับน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งยังค้นไม่พบว่าได้มีการวัดกันจริงๆแต่สิ่งที่ได้พบในคนไข้ที่มีอาการเวียนศีรษะก็คือ กล้ามเนื้อบริเวณคอของเขาตึงมาก จนกระทั่งไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว ส่งผลให้อวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวบกพร่อง


โรคภูมิแพ้

      ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการน้ำมูกไหลไม่หยุด ทั้งนี้เพราะระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคที่ทำหน้าที่ควบคุมการหยุดหลั่งน้ำมูกซึ่งผ่านมาทางคอและทางท้ายทอยถูกปิดกั้นไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อในบริเวณนี้ มีอาการเกร็งและดึงรั้งกันเกิดขึ้น

       ในภาวะปกติ เมื่อมีสิ่งใดมากระตุ้นร่างกาย เช่น ขี้ฝุ่น ระบบประสาทพาราชิมพาเธติค ก็จะส่งสัญญาณให้น้ำมูกไหลออกมาปะทะและจับผงฝุ่นนั้นไว้ครั้นเมื่อเก็บรวบรวมผงฝุ่นได้หมดแล้วระบบประสาทชิมพาเธติคก็จะส่งสัญญาณสั่งให้นํ้ามูกหยุดไหลแต่โดยเหตุที่เส้นประสาทชิมพาเธติค ไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ น้ำมูกจึงไหลอยู่เรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด จึงเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ขึ้น


โรคหอบหืด

     เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น ความเย็น ฝุ่นละออง ควัน เกสรดอกไม้ เป็นต้น มักจะมีอาการอึดอัดแน่นหน้าอก หายใจลำบากมีเสียงหายใจดังวี๊ด มักจะมีอาการไอถี่ๆ และมีเสลดเหนียวเกิดขึ้น นี่คืออาการของโรคหอบหืด

    ในภาวะปกติ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดลอยเข้าไปสู่หลอดลมระบบประสาทพาราซิมพาเธติคจะส่งสัญญาณสั่งให้หลอดลมหดตัว และหลั่งสารเมือกออกมาจับสิ่งแปลกปลอมนั้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการทำลายต่อไป หลังจากนั้นระบบประสาทซิมพาเธติคก็จะส่งสัญญาณสั่งให้หลอดลมคลายตัวกลับสู่ภาวะปกติ

    แต่ถ้าเมื่อใด ระบบประสาทซิมพาเธติคถูกปิดกั้นการทำงาน เนื่องจากการเกร็งของกลามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลัง ในบริเวณที่ออกของเส้นประสาทที่แตกจากไขสันหลัง ทำให้หลอดลมที่หดตัวแล้วไม่ยอมคลาย หลอดลมจึงตีบอยู่ ทำให้หายใจไม่สะดวกรวมทั้งไม่ได้รับสัญญาณให้เมือกหยุดหลง ร่างกายจึงต้องขับเมือกออก ทำให้มีอาการไอมาก


โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

    ในภาวะปกติ เมื่ออาหารถึงกระเพาะระบบประสาทพาราซิมพาเธติค จะเป็นตัวเร่งการผลิตกรดออกมาจำนวนมากเพื่อย่อยอาหาร ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้กระเพาะบีบตัว เพื่อคลุกเคล้าอาหารและขับเคลื่อนอาหารไปสู่ลำไส้ต่อไป ส่วนระบบประสาทซิมพาเธติค จะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการผลิตกรดให้ลดน้อยลง และคลายการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

       จากการศึกษาได้พบว่า เมื่อกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังตึง การไหลเวียนถูกปิดกั้นทำให้สัญญาณประสาท

       ซิมพาเธติคบกพร่อง กรดจึงหลั่งไม่หยุด เมื่อกรดมีจำนวนมาก ก็กัดทำลายกระเพาะ ทำให้เยื่อบุกระเพาะเกิดการอักเสบ บางครั้งกรดก็ล้นขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอก หรือมีอาการเรอเหม็นเปรี้ยว หรือกระเพาะบีบตัวแล้วไม่คลาย ก็ทำให้เกิดอาการจุกที่ลิ้นปี่ เป็นต้น


โรคปวดข้อ

      ในภาวะปกติ คนเราย่อมไม่มีอาการปวดข้อ ทั้งนี้ก็เพราะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ซึ่งทำหน้าที่พยุงและควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อ ไม่ว่าจะหมุนซ้ายหรือหมุนขวา ก็จะทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จึงไม่เจ็บไม่ปวด อย่างไรก็ตาม ถ้าเมื่อใดสมองสั่งการมายังกล้ามเนื้อที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อ แต่มีกล้ามเนื้อบางมัดได้รับสัญญาณไม่สมบูรณ์ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดการดึงรั้งของข้อและเนื้อเยื่อ จนเกิดการเจ็บปวดขึ้น นานๆ เข้าก็เกิดอาการอักเสบ การสึก และการเสื่อมของข้อได้

    ทำไมกล้ามเนื้อบางมัดจึงไม่ได้รับสัญญาณ หรือได้รับสัญญาณไม่สมบูรณ์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้น ผ่านบริเวณที่มีการเกร็งและดึงรั้งของกล้ามเนื้อและพังผืด ส่วนใหญ่พบที่บริเวณแนวกระดูกสันหลัง ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณที่สมองสั่งมาให้ทำงานอย่างสัมพันธ์กันได้ตามปกติ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี ผลร้ายที่ตามมาอีกก็คือ กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงอีกด้วย

     ตามธรรมดาเมื่อมีอาการปวดข้อ คนเราก็สนใจดูแลเฉพาะแต่ตรงข้อ หรืออย่างมากก็บอกว่า กล้ามเนื้อตรงบริเวณข้อไม่แข็งแรง จึงพยายามบริหารกล้ามเนื้อตรงข้อนั้นให้แข็งแรง แต่ความจริงมีอยู่ว่า กล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับสัญญาณประสาทจากสมองจะบริหารอย่างไรก็ยากที่จะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม ทั้งนี้้เพราะกล้ามเนื้อจะพัฒนาให้กลับแข็งแรงตามปกติได้ ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ขององค์ประกอบหลักทั้ง ๓ ประการ 


หลังโก่ง หลังแอ่น หลังคด

     สภาพหลังโก่ง หลังแอ่น และหลังคด ก็มีสาเหตุ ทำนองเดียวกับการปวดข้อ จะต่างกันก็ตรงที่ตำแหน่งการดึงรั้ง ของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น และพังผืด


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

รูปการผิดรูปของหลัง


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

     กล่าวคือ หลังโก่ง เกิดขึ้นเพราะมีการดึงรั้งเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหน้า หลังแอ่นเกิดขึ้นเพราะมี การดึงรั้งเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหลังส่วนหลังคด เกิดขึ้นเพราะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตรงบริเวณสีข้างซีกชายหรือซีกขวามีการดึงรั้ง

      จากสาเหตุของโรคที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ กล่าวได้ว่า  การที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีการหดและดึงรั้งอย่างต่อเนื่อง โดยขาดการผ่อนคลายตามปกติแล้วส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะ และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น ทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010364492734273 Mins