นโม
อุทฺทิฏฐํ โข เตน ภควตา
วันมาฆบูชา ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสาวก ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานของพระพุทธศาสนา พวกเราควรใส่ใจพระโอวาทนี้
“ปาฏิโมกข์” แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้น
ความหมายโอวาทปาฏิโมกข์
ธรรมเป็นเครื่องพ้น ซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้รู้แล้ว เห็นแล้วได้ประกาศไว้
ท่านรู้และเห็นอย่างไร?
ท่านไม่ได้รู้เห็นด้วยตามนุษย์เหมือนเรา แต่รู้เห็นด้วยการหยุดเข้าไปภายในกายที่อยู่ภายในตัว มีเป็นชั้นๆ เข้าไป ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน ถึงกายพระอรหัตละเอียดเวลาเรานอนหลับฝันไป เพราะกายมนุษย์ละเอียดทำหน้าที่ฝัน ไปรู้มาเล่าให้กายมนุษย์ฟัง ส่วนใจมนุษย์กายมนุษย์หลับ กายมนุษย์จำจากที่กายมนุษย์ละเอียดไปรู้มาอีกที พอรายงานเสร็จกายมนุษย์หยาบก็ตื่น บางทีก็รัวๆ จำไม่บ้างไม่ได้บ้างเข้าไปถึงกายทิพย์ กายทิพย์ยังมีรู้อีก รู้เห็นไปตามลำดับกายต่างๆเข้าถึงพระธรรมกายเรื่อยไปจนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายละเอียดของพระอรหัต ท่านเป็นผู้รู้เห็นจริงด้วยตาธรรมกาย หรือญาณธรรมกาย และเป็นผู้รู้เห็นเอง ท่านทรงรับสั่งว่า องค์นี้เป็นผู้กล่าว "โอวาทปาฏิโมกข์” เมื่อเห็นจริงรู้จริงก็ได้ทรงแสดงพระคาถา ๓ บท ดังต่อไปนี้
คาถาที่๑. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ความอดทน คือ ความอดใจ คือ ตบะอย่างยิ่งหญิงหรือชายจะไปนิพพานต้องตั้งอยู่ใน “ความอดทน” คืออดทนและอดใจต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เราชอบใจ วางใจเป็นกลาง เพราะของเหล่านี้เป็นของกลางที่มีอยู่แล้ว เราไม่ใช่เจ้าของ เมื่อเราตายไป ของเหล่านี้ก็ยังอยู่ เหมือนทะเล ป่า ที่ไม่ใช่ของใครคนหนึ่ง ถ้าอดทนได้อย่างนี้ จึงไปนิพพานได้
๒. นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นเยี่ยม
เพราะภพอื่นๆ นอกจาพระนิพพานแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงทั้งนั้น เช่น กามภพ ในโลกมนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น รูปภพ หรืออรูปภพ ครบ ๘๔,๐๐๐ มหากัลป์ ก็ดังต้องไปเกิดมาเกิดอีกนิพพานมีขนาดเท่าภพ ๓ และอยู่สูงกว่าภพ ๓ ขึ้นไปสามเท่า
คำว่า “อายตนะนิพพาน” กับ “พระนิพพาน”
“อายตนะ” แปลว่า ดึงดูด หรือบ่อเกิด “อายตนิพพาน” เป็นอายตนะสำหรับดึงดูดพระนิพพาน จึงเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า ที่ปฏิบัติหมดกิเลส ถ้าติดในกาม รูปพรม ๑๖ อรูปพรหม ๔ แล้วไปไม่ได้ เพราะถูกดูดอยู่ในอายตนะภพ ๓ ต้องเข้าถึงธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม เป็นกายธรรมของพระอรหัต แตกกายทำลายขันธ์ ปล่อยกายอื่นๆ หมด เหลือแต่กายของพระอรหัตไปนิพพานเมื่อไปถึงนิพพานแล้ว ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย แต่คงที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงกล่าวว่า นิพพานเป็นเยี่ยม
.....“พวกเราทั้งหมดต้องไปนิพพานเหมือนกันหมด แต่ว่าต่างกันตรงที่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่เหลือเลยสักคนเดียว ที่แก่ๆ แล้วก็ไปนิพพานหมด ปฏิบัติถูกส่วนนะ ปฏิบัติไม่ถูกส่วนช้าหนัก ไม่ไปเหมือนกัน แต่ว่าถึงนานๆ หนักเข้าๆ มันก็ไป.. ไม่หลงเหลือทีเดียว ถ้าจะพูดเรื่องไปนิพพานทั้งหมดนะ ดูๆ มันจะเหลือวิสัย ไอ้คนเกเรท่ามันจะไปไม่ได้ ชาติหนึ่งมันเกเรเกเส ชาติหนึ่งมันลามก ไอ้ชาติต่อๆ ไปมันจะดีขึ้นมั่งซิ มันคงมีบุญบ้างสิชาติใดชาติหนึ่ง”
๓. น หิ ปพฺพชิโ ปรูปฆาตี ฯ เป็นนักบวชไม่ฆ่าสัตว์เด็ดขาด
หากเณรไปฆ่าสัตว์ แม้บี้มด ยุง ศีลก็หมดไป ไม่เป็นเณร เหลือแต่เปลือกนอก เหมือนต้นโพธิ์ที่ตายแล้ว เหลือแต่เถาตำลึงขึ้นคลุมคนที่รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ก็เช่นกัน ถ้าทำผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็เป็น “นาสนังคะ” ต้องถูกทำโทษ เช่น ให้กวาดพื้นอุโบสถ ฯลฯ แล้วกล่าวปฏิญาณตนให้ศีลบริสุทธิ์ เรียกว่า พรหมจรรย์แต่พระภิกษุ ถ้าไปทำเช่นนั้น ต้องแสดงอาบัติ
.....“เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นนักบวชแล้ว ยังฆ่าสัตว์อยู่ใช้ไม่ได้ การฆ่าสัตว์น่ะ ไม่ใช่ฆ่าทีเดียวตาย ทำลำบากยากแค้นด้วยวิธีใด หรือทำทีเดียวตายก็ได้ชื่อว่า ฆ่าสัตว์อยู่เหมือนกัน หรือทำทรมานประการใดประการหนึ่ง จนกระทั่งถึงตาย ก็เรียกว่าฆ่าสัตว์”
สมโณ โหติ ฯ ชื่อว่าเป็นสมณะ ไม่เบียดเบียนเป็นอันขาดการเบียดเบียนด้วยกาย เช่น นั่งนอนใกล้จนเขารำคาญ ทำนาทำสวนรุกเข้าไปในที่เขา ทำบ้านเรือนเขาสกปรกการเบียดเบียนด้วยวาจา เช่น พูดเปรียบเปรย เสียดแทงให้เขาเดือนร้อนใจ
.....“จะพูดสิ่งใดด้วยวาจา ใช้เหล็กแหลมอยู่ข้างใน เอาเสียงเอาปากนั่นทิ่มแทง เอาเสียนั้นเอาปากนั้นแทง แทงเขาแล้วก็พูดเสียดแทงเขา พูดเสียดแทงเขา พูดกระทบกระเทียบเขา พูดเปรียบเปรยเขาต่างๆ นานา ให้เขาเดือนร้อนใจ ก็ได้ชื่อว่าเบียดเบียนเขา เบียดเบียนเขาเป็นสมณะไม่ได้ ใช้ไม่ได้”
การเบียดเบียนด้วยใจ เช่น คิดเบียดเบียนเขาเดือนร้อนสมณะจึงเป็นผู้ที่สงบแล้วทั้งกายวาจาและใจ
พระพุทธเจ้ารับสั่งกับพระราหุลว่า ถ้าจะทำสิ่งใดด้วยกาย ให้เอาปัญญาสอดส่องก่อนว่า ถ้าร้อนเราอย่าทำ ร้อนเขาอย่าทำ ร้อนทั้งเขาทั้งเราอย่าทำ ถ้าไม่ร้อนแล้วก็ทำเถิด จะคิดจะพูดสิ่งใดด้วยวาจาก็เช่นกัน ให้ตรองเช่นนี้เสียก่อน
.....“เราอยากเป็นลูกพระตถาคตเจ้าแล้วละก็ ต้องเดินแบบอย่างนี้ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ อย่างนี้ไม่ให้เบียดเบียนใครผู้ใดผู้หนึ่งให้บริสุทธิ์ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ”
คาถาที่๒ สพฺพปาปสฺส อกรณํฯ
ไม่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ (เป็น “พระวินัยปิฎก” ได้แก่ ศีล).กุสลสฺสูปสมฺปทาฯ ทำดีทั้งกาย วาจา ใจ (เป็น “พระสุตตันตปิฎก” ได้แก่ สมาธิ)สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส (เป็น “ปรมัตถปิฎก” ได้แก่ ปัญญา)
พระวินัยปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวัคค์ จุลลวัคค์ บริวาร
พระสุตตันตปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย
พระปรมัตถปิฎก มี ๗ คัมภีร์ คือ สังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก มหาปัฏฐาน
ยกทั้ง ๓ ปิฎกนี้ เป็นตัวพระพุทธศาสนา มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ทั้งหมดนี้ “อยู่กับใจของตัวเองในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ เป็นศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง”
“วัดปากน้ำสอนให้เดินในศีล สมาธิ ปัญญา นี่เสมอ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย เมื่อเดินไปในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เข้าไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเข้าไปถึงกายทิพย์ ต้องเข้าไปในดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะไป ถ้าเข้าไปในกายทิพย์ละเอียดก็ต้องเดินไปในดวงศีล.. ของกายทิพย์หลายเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าไปถึงกายอรูปพรหมก็แบบเดียวกัน เดินไปอย่างนี้ นี้ไม่ได้เคลื่อนคลาดละ”
พระองค์ทรงรับสั่งศีล สมาธิ ปัญญา ย่อย่นสกลพุทธศาสนา ส่วนคาถาที่ ๓ หมดเนื้อความเสียแล้วเพราะเวลาไม่พอ
คาถาที่ ๓ อนูปวาโท ฯ ไม่เข้าไปว่าร้ายกัน
ไม่เข้าไปฆ่า
สำรวมในพระปาติโมกข์
รู้จักประมาณในอาหาร
ยินดีในที่นอนที่นั่งอันสงัด
ประกอบด้วยอธิจิต
(พระธรรมเทศนาโดยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) )