เพียรเถิดจะเกิดผล

วันที่ 10 พค. พ.ศ.2547

 


.....
ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญประการหนึ่ง ต้องทำเสมอทำเนืองๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดในวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง

.....
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน นี่หมายความกระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปัง อนัตตา ก็แปลกันว่านามและรูป ไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้นก็เรียกว่า นามรูป โดยเอากองรูปคงไว้ ส่วนกอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน ๔ กองนี้เรียกว่า นาม ฉะนั้น ที่ว่านามรูปก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเองตนเป็นที่พึ่งแห่งตน นี่หมายความกระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปัง อนัตตา ก็แปลกันว่านามและรูป ไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้นก็เรียกว่า นามรูป โดยเอากองรูปคงไว้ ส่วนกอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน ๔ กองนี้เรียกว่า นาม ฉะนั้น ที่ว่านามรูปก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง

.....เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน จึงต้องถามว่าอะไรเล่าเป็นตน ถ้าค้นหาตนไม่พบก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้เป็นที่พึ่งแก่อะไร พระพุทธวจนะที่มีอยู่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ซึ่งแปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จะมิได้มีทางออกหรือ ย่อมเป็นไปไม่ได้

.....ได้เคยกล่าวมาแล้วข้างต้นบ้างแล้วว่า พระองค์ทรงสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพเพื่อให้คิดค้น พระองค์เน้นสอนทางอนัตตา ก็เพื่อให้เห็นอัตตาเอาเอง สมในคำสันทิฏฐิโก ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระองค์นั้นผู้ที่ปฏิบัติย่อมเห็นเอง อกฺขาตาโร พระองค์เป็นแต่ผู้ทรงบอกแนวทางให้เท่านั้น

.....ฉะนั้น เมื่อมีเรื่อง อนัตตากับอัตตา ยันกันอยู่ จึงต้องคิดค้นกันต่อไป ธรรมของพระองค์จะขัดกันเองไม่ได้ เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งกัน จึงต้องแบ่งอัตตาออกเป็น ๒ อย่าง คือ อัตตาสมมติกับอัตตาแท้ อัตตาสมาบัติ ได้แก่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เพราะกายเหล่านี้ ยังมีเกิด มีตาย เป็นกายส่วนโลกีย์ ยังมีกายอีกกายหนึ่งซึ่งเป็นกายโลกุตระ คือ ธรรมกาย ธรรมกายนี้แหละเป็นอัตตาแท้หรือตนแท้

.....ที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนั้น ก็คือเพ่งยึดอาศัยกัน ดำเนินเข้าไปเป็นชั้นๆ คือ เพ่งกายมนุษย์ส่งให้ถึงกายทิพย์ เพ่งกายทิพย์ส่งให้ถึงกายรูปพรหม เพ่งกายรูปพรหมส่งให้ถึงกายรูปพรหม เพ่งกายรูปพรหมส่งให้ถึงธรรมกาย กายคือตน อาศัยพึ่งกันเป็นชั้นๆ เข้าไปเช่นนี้จึงได้ชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนในด้านภาวนาตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว โดยละเอียดข้างต้นนั้น ยังมีคำว่า “กาเย กายานุปสฺสี ” ในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักฐานสนับสนุนอีก กายานุปสฺสี แปลว่า เห็นตามหรือตามเห็นซึ่งกาย กาเย แปลว่าในกาย รูปศัพท์มีวิภัตติตรึงอยู่ชัดเช่นนั้น แปลตรงตามศัพท์ และย่นคำให้สั้นก็ว่าตามเห็นกายในกาย คือ ตามเห็นเรื่อยเข้าไปชั้นๆ เห็นกายมนุษย์ แล้วตามเข้าไปเห็นกายทิพย์ ตามเข้าไปเห็นกายรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายอรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายธรรม ดังนี้เป็นหลักฐานรับสมกันอยู่ กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาอย่างไร กายมนุษย์ รูปร่างหน้าตาก็เป็นมนุษย์ใช่อื่นไกล คือกายเรานี้เอง กายทิพย์ก็เป็นรูปเป็นร่างเช่นกันแต่สวยกว่า กายรูปพรหมสวยกว่างามกว่านั้นอีก กายอรูปพรหมสวยงามยิ่งกว่ารูปพรหมขึ้นไปอีก ธรรมกายนั้นมีสีใสเหมือนแก้ว สัณฐานดังรูปพระพุทธปฏิมากรนั่งสมาธิ เกตุเป็นดอกบัวตูมดังได้กล่าวมาแล้ว

.....ไตรทวาร แปลว่า ประตูทั้ง ๓ คือ กาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าทวารก็เพราะความชั่วและความดี จะลอดเข้าไปถึงจิตนั้นเข้าทางนี้ ความชั่วเรียกว่า ทุจริต ความดีเรียกว่า สุจริต วิธีที่จะเข้าไปมีอาการไหวก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า วิญญัติ มโนวิญญัติ อะไรทำให้เกิดอาการไหวหรือบังคับให้ไหว ไม่ใช่อื่นไกล สังขารนั่นเอง บังคับให้ไหว บังคับทางกายได้แก่กายสังขาร ทางวาจาได้แก่วจีสังขาร ทางใจได้แก่จิตตสังขาร สังขารคือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง และมีทางเกิดขึ้นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายทุจริตเกิดจากอวิชชาและอาสวะ ฝ่ายสุจริต เกิดจากวิชชาและอนาสวะ ฝ่ายเหตุทุจริตเป็นดวงดำมืดมน ฝ่ายเหตุสุจริตเป็นดวงขาวใสซ้อนกันอยู่ในดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นคู่ปราบกันอยู่ ฝ่ายชั่วเป็น ภาคมาร ฝ่ายดี เป็นภาคพระ ต่างมีเจ้าของด้วยกัน …ถ้าเราคอยระวังรักษาให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฎอยู่ในศูนย์กลางกายเสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดี คิดอะไรก็คิดไปทางดี …

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026371081670125 Mins