การถูกทำลาย และการเกิดใหม่ของจักรวาลและโลกธาตุ
เหตุที่ทำให้โลกพินาศ ในสมัยใดที่สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วยราคะ โลกพินาศด้วยไฟ (ราคะร้อนเหมือนไฟ) ถ้าหนาแน่นด้วยโทสะ โลกพินาศด้วยน้ำ (โทสะร้ายเหมือนน้ำกรด) ถ้าหนาแน่นด้วยโมหะ โลกจะพินาศด้วยลม (โมหะเหมือนลมกรด)
กําหนดเวลาแห่งการพินาศต้องประจวบกัน ๒ ประการคือ
๑. อยู่ในเวลาวิวัฏฏฐายอสงไขยกัป (จักรวาลที่ตั้งขึ้นใหม่เรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม) ครบ ๖๔ อันตรกัป (คืออายุมนุษย์ไขลงจากอสงไขยปีเหลือ ๑๐ ปี แล้วไปขึ้นจนถึงอสงไขยปี เรียกว่า ๑ อันตรกัป)
๒. อายุของมนุษย์ลดจากอายุขัย อสงไขยปีลงมาถึงอายุขัย ๑,๐๐๐ ปี เมื่อเวลาทั้งสองอย่างมาประจวบกันเข้าเมื่อใด เป็นเวลาพินาศของโลก คือ มหากัปที่ ๑ ถึงมหากัปที่ ๗ จะถูกทำลายด้วยไฟ พอมหากัปที่ ๘ จะถูกทำลายด้วยน้ำ แล้วนับตั้งต้นใหม่เวียนอยู่ดังนี้รอบละ 4 มหากัป พอถึงมหากัปที่ ๕๖ นับเป็นโลกถูกทำลายด้วยน้ำครบ ๗ ครั้ง พอถึงมหากัปที่ ๖๔ จะไม่ถูกทำลายด้วยน้ำ แต่จะถูกทำลายด้วยลม
สรุปแล้วในเวลา ๖๔ มหากัป โลกพินาศด้วยไฟ ๕๖ ครั้ง ด้วยน้ำ ๗ ครั้ง ด้วยลม ๑ ครั้ง รวม ๖๔ ครั้ง และการที่อายุของมนุษย์มีกำหนด ๑,๐๐๐ ปี ย่อมเป็นเวลาที่มนุษย์ทุกคนมีศีลห้าสมบูรณ์ ไม่มีใครตายแล้วไปอบายภูมิ
เขตแดนในการพินาศของแต่ละครั้ง เมื่อกล่าวรวม ๆ กันแล้ว กินอาณาเขตไปถึงแสนโกฏิจักรวาล ซึ่งเป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้ารวมอยู่ด้วย
เขตของพระพุทธเจ้า มี 3 อย่างคือ
๑. ชาติเขต เป็นเขตที่กำหนดด้วยหมื่นจักรวาล เพราะเป็นจำนวนจักรวาลที่หวั่นไหว เมื่อพระโพธิสัตว์ลงสู่ปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา เวลาปฏิสนธิ เวลาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อเวลาดับขันธปรินิพพาน
๒. อาณาเขต เป็นเขตที่กําหนดด้วยแสนโกฏิจักรวาล เพราะอำนาจแห่งพระปริตทั้งหลาย มี ขันธปริต อาฏานาฏิยปริต ธชัคคปริต โมรปริต รัตนสูตร เหล่านี้เป็นต้น เมื่อสาธยายแล้วมีอานุภาพแผ่ขยายกว้างไปได้ถึงแสนโกฏจักรวาล
๓. วิสัยเขต เป็นเขตที่กำหนดนับด้วยอนันตโลกธาตุ ประกอบด้วยจักรวาลมีจำนวนไม่สิ้นสุด เป็นเขตที่พระญาณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถพิจารณารู้ทั่ว
ในบรรดาเขตทั้ง ๓ นี้ เมื่ออาณาเขตถูกทำลายลงครั้งใด ชาติเขตย่อมถูกทำลายพร้อมกันลงไปด้วย ยกเว้นวิสัยเขตจะถูกทำลายเพียงบางส่วน ส่วนเวลาเกิดขึ้น ชาติเขต และอาณาเขตคงเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่วนวิสัยเขตไม่พร้อมกัน เป็นไปกันทีละคราว ผลัดเปลี่ยนกันไป
ในจำนวนภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อถึงคราวโลกพินาศ มีภูมิที่พ้นจากการถูกทำลาย คือ ในรูปพรหมภูมิตั้งแต่ชั้นที่ ๑๐ เวหัปผลกาภูมิ จนถึงชั้นที่ ๑๖ อกนิฏฐาภูมิ (เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยน้ำ จะพินาศตั้งแต่อบายภูมิจนถึงทุติยฌานภูมิ ๓ เมื่อถูกทำลายด้วยลม จะพินาศถึง ตติยฌานภูมิ ๓)
ส่วนพรหมชั้นสูงกว่าตติยฌานภูมิ ๓ ขึ้นไป แม้ถูกทำลาย แต่ก็มีเวลาจุติตามอายุขัย
ก่อนที่โลกจะถูกทำลายในแต่ละครั้ง จะเป็นสภาวะธรรมดาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เทวดาประเภทหนึ่งชื่อ โลกพยุหเทวดา ล่วงรู้ถึงภัยพิบัตินั้น (บางแห่งกล่าวว่าเทวดารู้ได้ด้วยเกิดอกุศลนิมิตดลจิตให้ทราบบ้าง พรหมทั้งหลายที่ได้ฌานสมาบัติล่วงรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าบ้าง จึงบอกเทวดาดังกล่าว) เทวดาเหล่านี้เศร้าโศกเสียใจ สลดสังเวชจึงพากันสัญจรลงมายังโลกมนุษย์ ประกาศป่าวร้องไปทั่วถึงภัยอันตรายนั้น ๆ เริ่มบอกตั้งแต่ก่อนโลกพินาศเป็นเวลา ๑๐๐,๐๐๐ ปี และจะลงมากล่าวเตือนดังนี้ทุกระยะ ๑๐๐ ปี
เมื่อมนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ทราบข่าวนี้แล้ว ย่อมเกิดความสังเวชสลดใจรักใคร่ปรองดอง ชักชวนกันประกอบกุศลกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเจริญพรหมวิหารธรรมเมื่อตายแล้วจึงพากันไปบังเกิดในเทวโลกบ้าง พรหมโลกบ้าง ที่บังเกิดในสวรรค์ชั้นกามาพจรหรือพรหมโลกชั้นต่ำก็ชวนขวายเจริญฌานจนตาย แล้วไปบังเกิดในพรหมภูมิชั้นสูง ๆ อันพ้นจากความพินาศของโลกต่อไป
ส่วนสัตว์ในอบายภูมิทั้งที่มีอกุศลกรรมเบาบางหรือหนักก็ตาม จะมีญานชนิดหนึ่ง ชื่อชาติสรญาณคือระลึกชาติได้ว่า ที่ตนต้องเสวยความทุกข์ทรมานต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยเหตุจากการประกอบอกุศลกรรมของตน เมื่อรู้สำนึกตนเช่นนี้แล้ว อำนาจของกุศลที่เคยประกอบไว้ในชาติก่อน ๆ จะส่งผลให้พ้นจากอบายภูมินั้น ๆ ได้เกิดเป็นมนุษย์บ้างเทวดาบ้าง จึงทันได้รับทราบข่าวจากการป่าวประกาศของเหล่าโลกพยุหเทวดา ก็พากันเจริญฌานต่อ ๆ ไปจนไปบังเกิดในพรหมโลกจนหมด
แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า อบายสัตว์ที่มีกรรมหนัก หนาแน่นมาก เมื่อโลกพินาศแล้วจุติไปบังเกิดเป็นอบายสัตว์อยู่ในจักรวาลอื่นที่ยังไม่มีการถูกทำลายให้พินาศก่อนถูกทำลายด้วยสิ่งใดก็ตาม เสียงเอิกเกริกเซ็งแซ่โกลาหลจะบังเกิดขึ้นในโลก ๕ ประการ ที่ทำให้มนุษย์และเทวดาทราบข่าวล่วงหน้า และพากันเจริญกุศลธรรมต่าง ๆ
๑. กัปปะโกลาหล เสียงประกาศให้ทราบว่าต่อจากนี้อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี โลกจะถึงความพินาศ
๒. พุทธะโกลาหล เสียงประกาศกึกก้องว่า ต่อจากนี้อีก ๑,๐๐๐ ปี จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์
๓. จักรวัตติโกลาหล เสียงประกาศว่า นับแต่นี้อีก ๑๐๐ ปี จะมีพระเจ้าจักรพรรดิบังเกิดขึ้นในโลก
๔. มังคละโกลาหล เสียงประกาศว่าภายในเวลาอีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ
๕. โมเนยยะโกลาหล เสียงประกาศว่า ภายในระยะเวลาอีก ๗ ปี จะมีผู้ปฏิบัติโมเนยยะ (ปราชญ์) มาเกิดในโลก
เมื่อโลกจะพินาศด้วยไฟ จะเริ่มต้นด้วยการมีมหาเมฆชนิดหนึ่งชื่อ กัปปวินาสมหาเมฆ ตั้งขึ้น ครั้นแล้วฝนจะตกใหญ่ทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล บรรดามนุษย์ทั้งหลายย่อมพากันดีใจปลูกข้าวกล้า เมื่อต้นข้าวโตพอขนาดโคกัดกินได้ กัปปวินาสมหาเมฆจะส่งเสียงคํารามลั่นดุจเสียงลาร้อง ต่อแต่นั้นไม่มีฝนตกลงมาอีกเลย นับเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยน้ำฝนเลี้ยงชีวิตจะพากันตายลง ไปบังเกิดในพรหมโลก รวมทั้งเหล่าบรรดาพวกที่อาศัยดอกไม้ ผลไม้ก็เช่นเดียวกัน แม้แต่สัตว์ในอบายภูมิทั้งปวงก็จะพากันตายและไปบังเกิดในพรหมโลกทั้งหมด พร้อมกับดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏขึ้น (สัตว์ในอบายภูมิ จะพากันมาเกิดเป็นมนุษย์ก่อน แล้วเจริญฌาน
เข้าสู่เทวโลกหรือพรหมโลก มิใช่จากอบายภูมิไปพรหมภูมิโดยตรงทีเดียว)
ครั้นไม่มีฝนตกลงมาเป็นเวลาช้านาน และสัตว์ทั้งหลายพากันอดอยากทะยอยตายลงไป กลับปรากฏดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ บังเกิดขึ้นในเวลากลางคืน พอดวงแรกลับขอบฟ้า ดวงที่ ๒ จะส่องแสงแทน นับแต่นั้นโลกก็มีแต่เวลากลางวันอย่างเดียว ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ไม่มีสุริยเทพบุตรอยู่ประจำ จึงส่องแสงร้อนแรงยิ่งกว่าธรรมดา เมื่อถึงเวลานี้สุริยเทพบุตรที่อยู่ประจำในดวงอาทิตย์เดิม ก็จะเจริญกสิณทำฌานให้บังเกิดขึ้นไปอุบัติในพรหมโลก ดวงอาทิตย์ทั้งสองไม่มีสุริยเทพบุตรดูแลซึ่งมีแสงแผดเผาแรงกล้า แม่น้ำน้อยใหญ่เหือดแห้งสิ้นไปทุกหนแห่ง ยกเว้นมหานที่ทั้ง ๕
ล่วงเวลาต่อมาอีกช้านาน ดวงอาทิตย์ดวงที่ ๓ จึงบังเกิดขึ้น มหานที่ทั้ง ๕ คือ คงคา ยมนา อจิรวดี มหึมา สรา ก็พากันเหือดแห้ง เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๔ บังเกิด สระ ๕ ประการ เพื่อหนีความพินาศของโลก เสียงประกาศเหล่านั้นคือใหญ่ ๗ สระ (สระอโนดาต กุณาละ รถกาละ มัณฑากิน สหปปาตะ กัณณมุณฑะ และสระฉัททันตะ) ก็แห้ง น้ำในมหาสมุทรซึ่งลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ค่อยงวดลงเป็นลำดับ
เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๕ เกิด น้ำในทะเลหลวง มหาสมุทรต่างแห้งจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือติดแม้สักองคุลี เมื่ออาทิตย์ดวงที่ 5 เกิด โลกทั้งหลายก็มีอันกลายเป็นควันคลุ้งตลบไปหมดทั่วแสนโกฏิจักรวาล แผ่นดินและภูเขาทั้งหลายสั้นยาง คือความชุ่มเย็นที่ทำให้รวมเกาะตัวกันได้ แหลกเป็นควันกลุ่มไปด้วยกัน เป็นควันทั่วไปอยู่ดังนี้นับวันเดือนปีมิได้ จนเมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ ๗ อุบัติขึ้น ในเวลานั้นโลกธาตุที่เป็นควันกลบอยู่นั้น ก็ลุกเป็นไฟรุ่งโรจน์โชตนาการขึ้นพร้อมกัน มีเสียงระเบิดดังพิลึกกึกก้องน่าสะพรึงกลัว ยอดเขาสิเนรุของจักรวาลต่าง ๆ ก็พินาศหลุดลุ่ยถอดถอนกระจัดกระจายหายไปในอากาศเปลวไฟประลัยโลกเกิดขึ้นจากพื้นมนุษยภูมินี้ก่อน แล้วค่อยลามไปชั้นจาตุมหาราชิกาเทวโลก ทำลายวิมานเงิน วิมานทอง วิมานแก้วพินาศสั้น และจึงลุกลามไปยังดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี เป็นลำดับไปจนถึงรูปพรหมภูมิขั้นปฐมฌานภูมิ ๓ มี พรหมปารีสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา แล้วจึงหยุดอยู่เพียงนั้น ไม่ลุกลามต่อไปอีก
บรรดาสังขารโลกทั้งปวงที่ถูกไฟประลัยกัลป์ ไหม้แล้ว ไม่มีเหลือแม้แต่เถ้าถ่านไหม้เป็นจุณวิรุณ เหมือนไฟไหม้น้ำมัน ไม่มีถ่านเถ้า ถ้ายังค้างอยู่แม้เพียงคนเดียว ไฟก็ไม่หยุดไหม้ ลุกโพลงอยู่ดังนั้นจนมีสิ่งใดเหลือ ว่างเปล่ากลายเป็นอากาศไปสิ้นจึงดับลงครั้งนั้นอากาศเบื้องต่ำและเบื้องบนก็ต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวโล่งตลอดถึงกัน มีแต่ความมืดมนอนธการ เป็นเวลาช้านานคำนวณประมาณเวลามิได้ จนถึงเวลาก่อตัวเกิดขึ้นใหม่ของจักรวาล
ส่วนโลกที่ถูกทำลายด้วยน้ำ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับถูกทำลายด้วยไฟ เมื่อกัปปวินาสมหาเมฆตั้งขึ้น และมีฝนตกลงมาพอให้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารได้แล้ว ต่อจากนั้นฝนก็หยุด ไม่ตกไปนานนับเวลาไม่ได้ ไม่มีพระอาทิตย์ดวงใหม่เกิดขึ้น แต่กลับมีมหาเมฆน้ำกรด (ขารุทกมหาเมฆ ตกลงมาเป็นฝนแทน ครั้งแรกตกเป็นเม็ดเล็กละเอียดก่อน แล้วจึงตกเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นทุกทีๆ เป็นลำดับ เต็มไปทั่วแสนโกฏิจักรวาล พื้นแผ่นดินและภูเขาทั้งปวงเมื่อต้องน้ำฝนกรดก็ทานทนมิได้ แหลกละลายเป็นจุณวิจุณไปจนสิ้นเหมือนก้อนเกลือถูกทิ้งลงไปในน้ำ เมื่อน้ำกรดละลายสิ่งต่าง ๆ อยู่นั้น มีลมชนิดหนึ่งพัดห่อหุ้มอุ้มเอาน้ำเข้าไว้ มิให้ไหลล้นป่าออกไปนอกแสนโกฏจักรวาล น้ำฝนกรดมีจำนวนมากขึ้นทุกทีท่วมกามาวจรเทวโลกทั้ง 5 ชั้น เลยขึ้นไปท่วมรูปพรหมอีก ๖ ชั้น คือถึงชั้น อาภัสสราภูมิ จนกระทั่งถึงทุติยฌานพรหมภูมิ บรรดาสังขารทั้งหลายแหลกละลายไปสิ้น ถ้ายังมีเหลืออยู่น้ำกรดก็ยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อทุกสิ่งสูญสิ้นหมดแล้ว น้ำกรดจะยุบแห้งอันตรธานหายไป กลายเป็นที่ว่างให้อากาศเบื้องบนและเบื้องล่างต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน มืดมนอนธการ เหมือนเมื่อครั้งถูกไฟประลัยกัลป์เผาเช่นเดียวกัน
ครั้นครบ ๖๔ มหากัป ซึ่งโลกจะต้องถูกทำลายด้วยลม มีความเป็นไปตอนต้นเช่นเดียวกับเมื่อถูกทำลายด้วยไฟและน้ำ ไม่มีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ เกิดขึ้น แต่มีลมชนิดหนึ่งชื่อวาโยสังวัฏฏะ เกิดขึ้นแทน ในชั้นแรกลมพัดอ่อน ๆ พอพันธุลละอองละเอียดฟังขึ้นแล้ว ผมก็จะค่อยพัดแรงจัดขึ้นทุกที จนพัดเอาก้อนศิลาใหญ่น้อย ต้นไม้เล็กใหญ่ตลอดจนภูเขาต่าง ๆ ให้สิ่งเหล่านี้ลอยไปในอากาศ กระทบกระทั่งกระแทกกันจนแหลกละเอียดเป็นจุณสูญหายไป แล้วจึงมีลมอีกจำพวกหนึ่งเกิดจากใต้พื้นแผ่นดิน มีกำลังกล้าจัด พัดแผ่นดินพลิกขึ้นแล้วซัดให้ลอยขึ้นไปบนอากาศ พื้นดินอันหนาถึง ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็แยกออกจากกันเป็นท่อนเล็กบ้างใหญ่บ้าง ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง แต่ละก้อนก็กระทบกันเป็นจุณวิจุณไปอีก ต่อจากนั้นลมกรดนั้นก็พัดเอาภูเขาสัตตบรรพ์คีรี เขาสิเนรุราช เขาจักรวาล และอากาศวิมานทั้งปวง ทั้งในกามาวจรเทวโลกในแสนโกฏจักรวาล ตลอดจนรูปพรหมภูมิชั้นต้นจนถึงรูปาวจร ตติยฌานภูมิ ๓ จึงหยุดลง เมื่อจัดทำลายทุกอย่างแหลกละเอียดไม่เหลือแล้วจนกระทั่งน้ำที่รองรับแผ่นดินก็พินาศสาบสูญไปสิ้นลมกรดนี้ก็หายไปเอง อากาศเบื้องบนเบื้องล่างก็ตลอดโล่งถึงกัน บังเกิดความมืดมนอนธการอยู่ทั่วไปตลอดเวลา นับประมาณมิได้ต่อไป