อานิสงส์ของการรักษาศีล ๘ และอุโบสถศีล

วันที่ 24 มีค. พ.ศ.2566

อานิสงส์ของการรักษาศีล ๘ และอุโบสถศีล

อานิสงส์ของการรักษาศีล ๘ และอุโบสถศีล

       การรักษาศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล นอกจากจะมีอานิสงส์ในทางส่วนตัวเช่นเดียวกับศีล ๕ แต่ในระดับสูงกว่าแล้ว ยังมีอานิสงส์
ในด้านสังคมและเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก คือ
       ๑ . เป็นการคุมกําเนิดโดยธรรมชาติ
       ๒. เป็นการลดช่องว่างระหว่างชนชั้น ไม่มีการแข่งขันประดับประดาร่างกายให้เปลืองเงินทองเกินความจําเป็น อันเป็นการโอ้อวดความฟุ้งเฟ้อเข้าใส่กัน
       ๓. เป็นการทําให้จิตใจสงบในเบื้องต้น แล้วเกิดความเมตตากรุณาแก่กัน
       ๔.เมื่อใจสงบ ย่อมสามารถเข้าถึงธรรมะขั้นสูงต่อไปโดยง่าย

 

ศีลทำให้บ้านเมืองพ้นจากความอดอยากยากแค้น

       ทั้งกรรมวิบากชองผู้ละเมิดศีล และอานิสงส์ของการรักษาศีลที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล หมายความว่า ใครรักษาศีลได้ครบบริบูรณ์ ผู้นั้นย่อมได้อานิสงส์ดังกล่าว ส่วนผู้ที่ละเมิดศีล ก็ย่อมได้รับกรรมวิบากดังกล่าวเช่นกัน เกิดผลเฉพาะตัวผู้ปฏิบัติ

       แต่ล้าบุคคลหมู่คณะใด เมืองใด ประเทศใด พร้อมใจกันระมัดระวังมิให้การรักษาศีลขาดตกบกพร่อง อานิสงส์ย่อมเกิดขึ้นครอบคลุมทั้งแผ่นดิน เมืองนั้น ประเทศนั้น จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ประชาชนอยู่ดีกินดีกันล้วนทั้วทุกคน

       ในทํานองกลับกัน ล้าเมืองใด ประเทศใด มีผู้นําทุศีล ซึ่งทั้งนี้ย่อมหมายถึง ประชาชนชาวเมืองทั้งหลาย ก็มีแนวโน้มเป็นผู้ทุศีลด้วย บ้านเมืองนั้นก็จะประสบทุพภิกขภัย คือความอดอยากยากแค้นไปทั่วทุกหย่อมหญ้าด้วย ดังมีเรื่องปรากฏใน กุรุธรรมชาดก ซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่พระภิกษุในครั้งพุทธกาล มีใจความสังเขปดังจะกล่าวต่อไปนี้

 

กุรุธรรมชาดก

       ในอดีตกาลก่อนสมัยพุทธกาล เมื่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ ผู้ครองอินทปัตถ์มหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นกุรุรุัฐ เสด็จสวรรคตแล้ว พระราขโอรสจึงได้เสวยราชสมบัติสืบแทน ทรงพระนามว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ พระมหากษัตริย์องค์ใหม่นี้ ทรงดํารงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม และทรงรักษากุรุธรรม คือ ศีล ๕ อันเป็นธรรมเนียมของชาวกุรุรัฐเสมอมา พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนชาวเมืองทั้งหลาย ต่างก็ยึดมั่นในกุรุธรรมหรือศีล ๕ อย่างไม่มีด่างพร้อยนอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ยังได้สร้างโรงทานขึ้นในพระนครถึง ๖ แห่ง และทรงบริจาคทรัพย์สําหรับโรงทานทุกแห่งเป็นจํานวนมากทุกวัน เช่นนี้ย่อมแสดงว่า สภาพเศรษฐกิจในนครนี้ดีมาก และประชาชนย่อมอยู่เย็นเป็นสุขทั้วหน้ากัน

        ส่วนเมืองทันตบุรี ซึ่งมีพระเจ้ากาลิงคราชเป็นกษัตริย์ปกครองและอยู่ไม่ห่างจากแคว้นกุรุรัฐนัก ชาวเมืองอดอยากยากแค้น ถูกโรคต่างๆ รบกวนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เพราะเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนจึงพากันเข้าไปร้องทุกข์อยู่ที่ประตูพระราชวัง พระเจ้ากาลิงคราชจึงตรัสถามบรรดาราษฎรว่า เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเช่นนี้ กษัตริย์โบราณทรงแก้ปัญหาอย่างไร ราษฎรทั้งหลายกราบทูลว่า กษัตริย์โบราณจะทรงบริจาคทาน และทรงถืออุโบสถศีลอยู่ในปราสาทตลอด ๗ วัน ฝนจึงจะตก ราษฎรก็หว่านข้าว ดํากล้า ทํามา หากินได้ พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปฏิบัติตามคํากราบทูลของราษฎรแต่ฝนก็ยังไม่ตก พระองค์จึงปรึกษาหารือกับบรรดาอํามาตย์ทั้งหลายบรรดาอํามาตย์จึงกราบทูลว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะแห่งอินทปัตถ์มหานคร มีพญาข้างเผือกอันเป็นมงคลสําหรับพระนครอยู่ ๑ เชือก ถ้าได้พญาข้างเผือกนั้นมาสู่ทันตบุรี ฝนก็จะตกบริบูรณ์

        พระเจ้ากาลิงคราชได้ทรงสดับว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะนั้นมีพระหฤทัยยินดีในทางบริจาคทานเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้หาพราหมณ์ ๘ คน เดินทางไปทูลขอพญาช้างเผือกต่อพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ ตามคํากราบทูลของเหล่าอํามาตย์

        พราหมณ์ทั้ง ๘ คน จึงได้เดินทางไปขอข้างเผือกจากพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ พระองค์ก็พระราชทานพญาช้างเผือกให้ด้วยความยินดี พราหมณ์จึงนําไปถวายพระเจ้ากาลิงคราช แต่ฝนก็ยังไม่ตกตามความปรารถนา

       พระเจ้ากาลิงคราชจึงทรงปรึกษาหารือกับบรรดาอํามาตย์ เพื่อหาวิธีให้ฝนตกลงมาอีก หมู่อํามาตย์จึงกราบทูลว่า พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะนั้นทรงรักษากุรุธรรม คือ ศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ฝนจึงตกลงมาในประเทศของพระองค์ทุกๆ ๑๕ วัน ควรจะโปรดให้นําพญาช้างเผือกไปถวายคืน แล้วทูลขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทองมาถวายให้พระองค์ปฏิบัติ ถ้าทรงทําเช่นนี้แล้ว ฝนจึงจะตกในอาณาจักรของพระองค์ พระเจ้ากาลิงคราชทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ก็ทรงเห็นชอบ จึงโปรดให้พราหมณ์ทั้ง ๘ คน กับอํามาตย์เป็นราชทูตนําพญาช้างเผือกไปถวายคืนแก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ ณ กรุงอินทปัตถ์ และถวายเครื่องราชบรรณาการ พร้อมทั้งให้ทูลขอจารึกกุรุธรรมมาด้วยพราหมณ์และอํามาตย์ทั้งหลายรับพระราชโองการแล้ว ก็กราบถวายบังคมลาไปปฏิบัติตามรับสั่ง

      เมื่อพราหมณ์และอํามาตย์แห่งกรุงกาลิงคราสถวายพญาช้างเผือกคืน และถวายเครื่องราชบรรณาการแล้ว จึงกราบทูลขอกุรุธรรมจากพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ แต่พระองค์ไม่ทรงพระราชทานให้ ด้วยทรงไม่แน่พระทัยพระองค์เองว่า กุรุธรรมของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องเพราะเคยทรงแผลงศรลูกหนึ่งตกลงไปในสระนั้า ทรงสงสัยว่า ลูกศรนั้นอาจจะไปถูกปลาตัวใดตัวหนึ่งถึงแก่ความตาย จึงทรงแนะนําให้หมู่พราหมณ์และอํามาตย์ไปทูลขอกุรุธรรมจากพระราชมารดาของพระองค์ 

       แต่บรรดาราชทูตก็ยืนยันว่า พระองค์ไม่มีเจตนาจะฆ่าสัตว์ ศีลคงไม่ขาด ขอให้พระองค์พระราชทานกุรุธรรมให้ด้วยเถิด พระเจ้าธนัญชัยโกรพยะจึงทรงอนุญาตให้ราชทูตจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทองดังนี้

๑. อย่าฆ่าสัตว์
๒. อย่าสักทรัพย์
๓. อย่าประพฤติผิดประเวณี
๔. อย่ากล่าวเท็จ
๔. อย่าดื่มนํ้าเมา

       เมื่อราชทูตจารึกกุรุธรรมทั้ง ๕ ข้อแล้ว ก็ถวายบังคมลาไปเฝ้าพระราชมารดาของพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์อีก พระนางก็ทรงสงสัยว่าอุรุธรรมของพระนางจะไม่บริสุทธิ์ เพราะได้เคยให้ของแก่ลูกสะใภ้ทั้งสองคน แต่ของมีมูลค่าไม่เท่ากัน จึงไม่อยากใหักุรุธรรมแก่ราชทูตพวกราชทูตก็ทูลถวายความเห็นว่าไม่เป็นไร แล้วทูลขอจารึกกุรุธรรมของพระนางลงในแผ่นทองคําชึ่งมี ๕ ข้อเหมือนกับพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ จากนั้นจึงเข้าเฝ้าพระอัครมเหสี

       พระอัครมเหสีก็ตรัสว่า พระนางเองยังทรงสงสัยว่า กุรุธรรม ชองพระนางจะไม่บริสุทธิ์ เพราะเคยเผลอจิตคิดไปว่า ถ้าพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์สวรรคตแล้ว พระนางได้ร่วมอภิเษกกับมหาอุปราชก็จะได้ดํารงตําแหน่งอัครมเหสีอีก พวกราชทูตจึงกราบทูลว่า ศีลของพระนางมิได้ด่างพร้อย แล้วทูลขอจดอุรุธรรมจากพระนาง

       ครั้นแล้ว คณะราชทูตจึงกราบทูลขอจดอุรุธรรมจากมหาอุปราช มหาอุปราชก็ตรัสว่าพระองค์ยังสงสัยว่าอุรุธรรมของพระองค์จะไม่บริสุทธิ์ เพราะเคยทําให้ประชาชนเข้าใจผิด หลงรอคอยเข้าเฝ้าพระองค์เก้อ ส่วนพวกบริวารก็ต้องทนเปียกชุ่มนํ้าฝนรอคอยอยู่ที่ประตูพระราชวังทั้งคืน แต่คณะราชทูตทูลว่าไม่เป็นไร แล้วทูลขอจารึกกุรุธรรมของมหาอุปราชลงในแผ่นทองคํา ชึ่งมี ๕ ข้อ เหมือนที่จารึกไว้แล้ว

       คณะราชทูตจารึกเสร็จแล้ว ก็ทูลลาไปหาปุโรหิตาจารย์ ปุโรหิตกล่าวว่า ยังสงสัยว่าศีลของตนจะด่างพร้อย เพราะเคยมีจิตคิดอยากได้รถคันงาม ที่กษัตริย์เมืองอื่นส่งมาถวายพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์ แต่ครั้นภายหลังพระเจ้ากรุงอินทปัตถ์พระราชทานรถคันนั้นให้ ปุโรหิตก็ไม่ยอมรับ ราชทูตทั้งหลายเห็นว่า การคิดโลภเพียงเท่านี้ย่อมไม่ทําให้เสียศีล แล้วขอจารึกกุรุธรรมลงในแผ่นทองคําเหมือนดังที่ผ่านมา

       ต่อจากนั้น ราชทูตจึงพากันไปหาอํามาตย์ซึ่งทําหน้าที่รังวัดไร่นา อํามาตย์ผู้นั้นบอกว่า สงสัยว่าศีลข้อปาณาติบาตของตนจะขาดไป เพราะเคยไปวัดนาสุดเขตลงตรงรูปู แต่ไม่เห็นรอยปูปรากฏ จึงคิดว่าไม่มีปูอยู่ในรู ครั้นปักไม้ลงไปในรู ก็ได้ยินเสียงปูร้อง ทําให้คิดว่าปูอาจจะตาย บรรดาราชทูตจึงแย้งว่า อํามาตย์ไม่มีเจตนาจะฆ่าปู ศีลของท่านจึงยังไม่ขาด และขอจดกุรุธรรมลงในแผ่นทองคํา

       ต่อจากนั้น คณะราชทูตได้ไปหานายสารถี สารถีก็สงสัยว่าศีลของตนจะไม่บริสุทธิ์ เพราะได้ใช้แส้ตีม้า พวกราชทูตจึงคัดค้านแล้วขอจดกุรุธรรมลงในแผ่นทองคํา

       ครั้นแล้วคณะราชทูตได้ไปหามหาเศรษฐี มหาเศรษฐีก็สงสัยว่าศีลอทินนาทานของตนอาจจะเสียไป เพราะยังไม่ทันได้ถวายข้าวสาลีเป็นค่านาให้หลวง ก็ให้คนใช้ผูกรวงข้าวเล่น พวกราชทูตได้คัดด้านว่าไม่เป็นไร แล้วขอจดกุรุธรรมเหมือนครั้งก่อนๆ

       ต่อมา คณะราชทูตจึงไปหาอํามาตย์ผู้ทําหน้าที่ตวงข้าว อํามาตย์ผู้นั้นก็คิดสงสัยว่าศีลของตนจะด่างพร้อย เพราะขณะที่ทําหน้าที่เป็นผู้ใส่ไม้สําหรับนับจํานวนข้าวเปลือก ในขณะที่คนใช้ขนข้าวเปลือก บังเอิญฝนตกลงมา ตนเองรีบหนีฝน เลยจําไม่ได้ว่าใส่ไม้เข้าไปในกองใด พวกราชทูตจึงได้คัดด้าน และขอจารึกกุรุธรรมของอํามาตย์ไป

       ลําดับต่อไป คณะราชทูตก็ไปหานายประตู นายประตูจึงเล่าความสงสัยในกุรุธรรมของตนว่า วันหนึ่งใกล้เวลาที่จะปิดประตูพระนคร ตนได้ว่ากล่าวชายขัดสนผู้หนึ่งกับน้องสาวของชายผู้นั้น ซึ่งกลับเข้าเมืองในเวลาเย็นมาก ตนได้กล่าวตู่ด้วยเข้าใจผิดว่าหญิงเป็นภรรยาของชายผู้นั้น พวกราชทูตจึงคัดด้าน และขอจดกุรุธรรมของนายประตูเหมือนเช่นเคย

       ลําดับต่อไป คณะราชทูตได้พากันไปหานางวัณณทาสี ( หญิงงามเมือง ) นางวัณณทาสีจึงกล่าวถึงความสงสัยในกุรุธรรมของนางว่าครั้งหนึ่งพระอินทร์เคยแปลงเพศเป็นชายหนุ่มมาหานาง ได้ให้ทรัพย์แก่นางไว้จํานวนหนึ่ง และสัญญาว่าจะมาหานางอีก แต่แล้วพระอินทร์ก็หายไปเป็นเวลาถึง ๓ ปี นางเฝ้าคอยโดยไม่ยอมรับสิ่งใดจากชายอื่นด้วยเกรงว่าศีลจะขาด ครั้นบัดนี้นางยากจนลงจึงไปหาอํามาตย์ให้ตัดสินชี้ขาดว่า ต่อไปนี้ไปนางจะสามารถรับทรัพย์จากชายอื่นได้ ครั้นตกค่ำลงในวันเดียวกันก็มีชายคนหนึ่งมาหานางทันใดนั้น พระอินทร์ก็แสดงพระองค์ให้ปรากฏ นางจึงมิได้ติดต่อและรับทรัพย์จากชายผู้นั้น พระอินทร์จึงกลายเพศให้เป็นพระอินทร์ตามเติมแล้วเหาะไปบนอากาศ พลางกล่าวว่า เราเป็นผู้รักษาสัตย์ แล้วบันดาลให้ฝนแก้ว ตกลงเต็มบ้านของนาง ด้วยเหตุนี้ นางวัณณทาสีจึงสงสัยว่า ศีลของนางจะไม่บริสุทธิ์ พวกราชทูตคัดค้านว่าไม่เป็นไร แล้วขอจดกุรุธรรม ซึ่งได้รายละเอียดเหมือนที่จดมาจากทุกคน

       เมื่อราชทูตจดกุรุธรรมของคนทั้ง ๑๐ แล้ว จึงนําไปถวายพระเจ้ากาลิงคราช กราบทูลเรื่องความสงสัยในศีล ๕ ของคนเหล่านั้นให้ทรงทราบทุกประการ พระเจ้ากาลิงคราชก็ทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง แล้วทรงสมาทานศีล ๕ ประการให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ต่อมาฝนก็ตกลงในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ทําให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์
       เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาชาดกจบแล้วทรงประชุมชาดกว่า

นางวัณณทาสีในคราวนั้น คือ นางอุบลวัณณเถรี
นายประตู คือ พระปุณณเถระ
อํามาตย์วัดนา คือ พระอัจจยนะ
เศรษฐี คือ พระสารีบุตร
นายสารถี คือ พระอนุรุทธ
พราหมณ์ปุโรหิต คือ พระมหากัสสปะ
พระอัครมเหสี คือ พระนางพิมพายโสธรา
พระราชมารดา คือ พระนางศิริมหามายา
ส่วนพระเจ้าธนัญชัยโกรพยะ คือ เราตถาคต

      จากชาดกนี้แสดงให้เห็นว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมมีความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป คิดระแวงสงสัยว่าการทําผิดของตนแม้เพียงเล็กน้อยก็จะเป็นบาป โดยเหตุที่ต่างคนต่างเกรงกลัวบาปกันเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าทุกคนต่างจะต้องรักษาศีลใหับริสุทธิ์ สร้างแต่บุญกุศล ซึ่งก่อให้เกิดความสงบร่มเย็น และความสมบูรณ์ทั่วแผ่นดิน

 

 

บทความจากหนังสือ ศีลคุณค่าของความเป็นมนุษย์
หนังสือธรรมะแจกฟรี ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ (ไฟล์ PDF) กดที่นี่ 

ชื่อหนังสือ ศีลคุณค่าของความเป็นมนุษย์

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022246468067169 Mins