วิธีเจริญภาวนา โดยสมถกรรมฐาน ตอนที่ ๔

วันที่ 05 กย. พ.ศ.2566

6-9-66-BL.jpg

๑๓. จตุธาตุววัตถาน

                     จตุธาตุววัตถาน หมายความว่า การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่ปรากฏในร่างกาย จนกระทั่งเห็นเป็นแต่เพียงกองแห่งธาตุ ๔ อย่าง ไม่มีความรู้สึกว่าร่างกายนั้น ๆ เป็น หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล

                  จตุธาตุ คือ ธาตุทั้ง ๔ มีดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อพิจารณาธาตุในร่างกาย โดยนำเอาโกฏฐาสเข้ามานับด้วย ดังนั้นเมื่อนับธาตุ ๔ ในร่างกายโดยพิสดาร จึงมีจำนวนถึง ๔๒ ได้แก่ ปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ 5

                   ปถวีธาตุ ได้แก่ปวดีที่อยู่ในโกฏฐาสที่มีลักษณะเป็นก้อน เป็นแท่ง คือ
                   เกสา (ผม) โลมา (ขน) นชา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตโจ (หนัง)
                   มํสํ (เนื้อ) นหารุ (เอ็น) อฏฐิ (กระดูก) อฏฐิมิญชํ (เยื่อในกระดูก) วกฺกํ (ม้าม)
                   หทยํ (หัวใจ) ยกนํ (ตับ) กิโลมกํ (พังผืด) ปีหกํ (ไต) ปปฺผาสํ (ปอด)
                   อนฺตํ (ไส้ใหญ่) อนฺตคุณํ (ไส้น้อย) อุทริยํ (อาหารใหม่) กรีส (อาหารเก่า) มัตถลุงค์ (สมอง)

                   อาโปธาตุ ๑๒ ได้แก่อาโปธาตุที่อยู่ในโกฏฐาสที่มีลักษณะเหลวและไหลได้ มี ๑๒ คือ
                   ปิตฺตํ (น้ำดี) เสมฺหํ (เสมหะ) ปุพฺโพ (น้ำเหลือง) โลหิตํ (เลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (น้ำมันข้น)
                   อสฺสุ (น้ำตา) วสา (น้ำมันเหลว) เซโฟ (น้ำลาย) สิงฺฆานิกา (น้ำมูก) ลฬิกา (น้ำไขข้อ) มุตฺตํ (น้าปัสสาวะ)

                    เตโชธาตุ ๔ มี สันติปปินเตโช      ไออุ่นที่ทำให้ร่างกายมีความร้อนมาก
                                           ทหนเดโช            ไออุ่นที่มีความร้อนสูงสามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตไป
                                           ชึรณเตโช             ไออุ่นที่ทำให้ร่างกายแก่ชราทรุดโทรมลง
                                           ปาจกเตโช            ไออุ่นที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร

                    วาโยธาตุ ๖ มี อุทธังคมว่าโย                    ลมพัดขึ้นเบื้องบน
                                          อโธคมวาโย                    ลมพัดลงสู่เบื้องล่าง
                                          กุฏฉิฏฐิวาโย                    ลมที่อยู่ในช่องท้อง
                                          โกฏฐาสยวาโย                 ลมที่อยู่ในลำไส้ใหญ่
                                          อังคมังคานุสารีวาโย           ลมที่อยู่ทั่วร่างกาย
                                          อัสสาสปัสสาสวาโย           ลมหายใจเข้าออก

                     ที่เรียกกันว่า หญิง ชาย เรา เขา สัตว์ บุคคล มนุษย์ เทวดา พรหม ฯลฯ แท้ที่จริงนั้นได้แก่ธาตุทั้ง ๔ มารวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นกอง ทำให้ปรากฏขึ้นเป็นรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ ตามอำนาจของกรรมนั่นเอง การพิจารณาให้เห็นความเป็นธาตุ ๔ ดังนี้ สำหรับผู้เป็นตึกขบุคคล คือปฏิสนธิมาด้วยเหตุ ๓ (อโลภะ อโทสะ อโมหะ) เป็นผู้มีปัญญา จะพิจารณาเพียงโดยย่อก็ปรากฏเห็นชัดแจ้ง ขจัดความเห็นว่า เป็นตัวตนเราเขาลงได้ ส่วนผู้ที่มีปัญญาไม่แก่กล้า (มันทบุคคล) ต้องทำการพิจารณาโดยพิสดารจึงสามารถทำให้ธาตุทั้ง ๔ ปรากฎ ขจัดความเห็นว่าเป็นหญิง ชาย ฯลฯ หายไป

                    วิธีพิจารณาโดยย่อ (สำหรับผู้มีบารมีแก่กล้า) พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ให้พิจารณา โดยอุปมาเหมือนคนฆ่าโตขาย เมื่อฆ่าเสร็จแล้วย่อมต้องเชือดชำแหละแยกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโค ออกวางไว้เป็นอย่างๆ ตัดออกเป็นชิ้น ๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง นั่งขายอยู่

                   ในขณะเมื่อคนฆ่าโค นำโคมา ผูกไว้ที่สำหรับประหาร และกำลังประหาร กระทั่งตายลง ตลอดเวลาเหล่านั้น คนฆ่าโคขาย ย่อมสำคัญว่าสิ่งที่ตนนำมาฆ่านั้นเป็นตัวโคอยู่ เห็นเป็นสัตว์สี่เท้าที่ต้องเป็นอาหาร แต่หลังจากชำแหละออกเป็นชิ้น ๆ ไปกองไว้เป็นพวก ๆ แยกออกเป็นส่วน ๆ ไปเสียแล้ว จนเวลาที่คนทั้งหลายมาซื้อหาน่าไป ระหว่างเวลาตอนนี้ จิตใจของคนฆ่าโคขายไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตนขายนั้นเป็นตัวโคอีกต่อไป เวลาคนซื้อนำไป คนขายย่อมไม่คิดว่าตนขายโค คงคิดแต่เพียงว่าขายเนื้อ กระดูก ตับ ฯลฯ ความเป็นโคไม่มีเหลืออยู่ในใจของคนฆ่าโคขายนั้นอีกเลย

                    ฉันใดก็ดี ผู้ปฏิบัติเมื่อยังไม่ได้พิจารณาในธาตุทั้ง ๔ ย่อมรู้สึกอยู่เสมอว่าตนเองเป็นคน ต่อมาเมื่อได้พิจารณาเห็นร่างกายของตนไม่เป็นสัตว์ เป็นบุคคลแล้ว จิตจะตั้งมั่นลงเองว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงที่ประชุมของธาตุ ๔ เลิกสำคัญในความป็นตัวตนประดุจคนฆ่าโค เลิกสำคัญในความเป็นตัวโค ฉันนั้น

                     หรือจะน้อมคิดพิจารณาด้วยใจก่อนว่า บรรดาที่อยู่ที่อาศัยของเราเรียกกันว่าเป็นเคหสถานบ้านเรือนต่าง ๆ แท้ที่จริงได้แก่ อิฐ หิน ปูน ทราย ไม้ สังกะสี กระเบื้อง ตะปู ฯลฯ รวมกันอยู่ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น พื้นล่างมีแผ่นดินรองรับ ส่วนบน และรอบบริเวณเป็นอากาศล้อมรอบ มีเพียงเท่านี้ ร่างกายของเราก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ประกอบด้วยกระดูก ๓๐๐ ท่อนเศษ เส้นเอ็น ๙๐๐ ก้อนเนื้อ ๙๐๐ ผิวหนังทั่วร่างรวมได้จำนวนประมาณเท่าเมล็ดมะขามป้อม มีอยู่เพียงเท่านี้มาควบคุมตกแต่งเป็นรูปเป็นร่างปรากฏสัณฐานขึ้นมา รอบตัวล้อมรอบด้วยอากาศ

                    กายที่ควบคุมกันอยู่ด้วย กระดูก เส้นเอ็น ก้อนเนื้อ ผิวหนัง ฯลฯ ถ้าจะคุ้นกันต่อไปจับแยกคุณสมบัติออก ก็จะเหลืออยู่เพียง ๔
                    สิ่งที่แข็งกระด้าง เป็น ปถวีธาตุ (ธาตุดิน)
                    สิ่งที่เกาะกุมเหนียว และเอิบอาบซึมซาบไหลไปมาได้ เป็น อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
                    สิ่งที่ทำให้สุก ทำให้เจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว ทำให้แก่หง่อม หนังเหี่ยวย่น ทำให้ในร่างกายทั่วไปมีความเย็น ความร้อน เป็น เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
                    สิ่งที่ทำให้อิริยาบถใหญ่น้อยเป็นไปได้ มีอาการเคร่งตึง ตั้งมั่น เคลื่อนไหวไปมาได้เป็นวาโยธาตุ (ธาตุลม)

                 อิติ อยํ กาโย อเจตโน อพฺยากโต สุญโญ นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว ธาตุลมโหเยว ๆ แปลว่าร่างกายนี้ไม่มีจิตใจ เป็นอพยากตะปราศจากการวุ่นวาย สูญจากความเป็นตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะอะไรทั้งสิ้น มีแต่ธาตุทั้ง ๔ รวมกันอยู่เท่านั้น ดังที่ได้กล่าวแล้ว
                วิธีพิจารณาโดยพิสดาร สำหรับมันทบุคคล ผู้มีปัญญาปานกลาง ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาธาตุทั้ง ๔๒ คือ ปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ โดยเฉพาะไปตามลำดับ ดังนี้ คือ ใช้ใจพิจารณาไปทีละอย่าง ๆ เริ่มแต่
                 เกสา ได้แก่เส้นผมที่งอกอยู่บนศีรษะ เส้นผมเองไม่ได้รู้สึกตัวของมันเลยว่างอกอยู่บนศีรษะ หนังศีรษะที่เป็นพื้นรองรับเส้นผมอยู่ก็มิได้รู้สึกนึกคิดว่ามีเส้นผม งอกอยู่บนตน เมื่อไม่มีการรู้เรื่องดังนี้แสดงว่า เส้นผมมิใช่สัตว์มีชีวิต เป็นเพียงปถวีธาตุ
                 ต่อจากนั้นพิจารณาต่อไปอีกว่า ผมที่มีรูปร่างเป็นเส้น ๆ ดังนี้ นอกจากปถวีธาตุเป็นส่วนประกอบใหญ่แล้ว ยังมี อาโป เตโช วาโย เป็นธาตุอิงอาศัย (นิสสยธาตุ) อยู่ร่วมด้วย

                   เมื่อพิจารณาว่าเส้นผม มีธาตุดินเป็นธาตุหลัก มีอีก ๓ ธาตุเป็นธาตุอาศัยรองลงไปแล้ว จากนั้นยังมีนิสสยธาตุที่ร่วมประกอบอยู่ด้วยอีก วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ (รส) และโอชา รวม ๔ อย่างนี้เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ ล้วน เป็นเพียงธาตุ มิใช่ สัตตะ มิใช่ ชีวะ

                    ต่อจากนั้นจึงพิจารณาโลมาในทำนองเดียวกัน โดยจำแนกเป็นธาตุ และเป็นอวินิพโภครูปดังนี้เรื่อยไป จนครบ ๔๒ และสรุปได้ว่า ผู้ปฏิบัติจึงรู้ธาตุทั้ง ๔ ได้ดังนี้
                    ความเป็นธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม                รู้ได้โดยอาศัยการสัมผัสทางกาย
                    ความเป็นธาตุน้ำ                                     รู้ได้โดยอาศัยการนึกคิดทางใจ
                    ความเป็นสี                                            รู้ได้โดยอาศัยการเห็นทางตา
                    ความเป็นกลิ่น                                        รู้ได้โดยอาศัยการดมทางจมูก
           
        ความเป็นรส                                           รู้ได้โดยอาศัยการซึมทางลิ้น
                    ความเป็นโอชา                                       รู้ได้โดยอาศัยการคิดนึกทางใจ 


                      เมื่อเจริญเฉพาะธาตุเป็นอย่างๆ ไปจนครบแล้ว ยังไม่บังเกิดธาตุนิมิต ต้องทำการพิจารณาโดยอาการ ๑๓ ต่อไป
                    ๑. วจนตฺกโต                        ความหมายแห่งศัพท์มีปถวีเป็นต้น
                    ๒. กลาปโต                          ความเป็นหมวดหมู่ที่มีขนาดโตประมาณเท่าปรมาณูเม็ดหนึ่ง
                    ๓. จุณฺณโต                          ความเป็นผงเล็กละเอียด ได้แก่ธาตุที่รวมอยู่ในรูปกลาป
                    ๔. ลักฺขณาทิโต                     ด้วย ลักขณะ รส ปัจจุปัฏฐาน
                    ๕. สมุฏฺฐานโต                      โดยสมุฏฐานทั้ง ๔ มีกรรม จิต อุตุ อาหาร
                    ๖. มานตฺตเอกตฺตโต                โดยความต่างกันและเหมือนกัน
                    ๗.วินิพฺโภคาวินิพฺโภคโต          โดยความแยกออกจากกันได้และไม่ได้
                    ๘. สภาควิสภาคโต                 โดยความเข้ากันได้และไม่ได้
                    ๙. อชฺฌตฺติกพาหิรวิเสสโต        โดยความเป็นภายในภายนอกที่แปลกกัน
                    ๑๐. สงฺคโห                           โดยความสงเคราะห์
                    ๑๑. ปจฺจยโต                         โดยความอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน
                    ๑๒. อสมนฺนาหารโต                ไม่มีการรู้สึกในอารมณ์
                    ๑๓. ปจฺจยวิภาคโต                  โดยการจำแนกปัจจัยธรรมของธาตุนั้น ๆ

                    ๑. พิจารณาโดยความหมายแห่งคำศัพท์ (วจนตาโต) เช่นว่า ปถวี หมายถึงความใหญ่และแผ่ออกไป อาโป หมายถึง ความไหลซึมซาบซุ่มอยู่ เตโช มีความเย็นร้อนอบอุ่น วาโย มีความเคร่ง ตึง พัด ไหว
                    ธาตุเหล่านี้มีการทรงไว้ซึ่งสภาพของตน ๆ และแสดงสภาพนั้น ๆ ให้ปรากฏ ในร่างกาย สิ่งใดที่มีสภาพเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นคือธาตุนั้น ๆ

                 ๒. พิจารณาโดยกลาปโตของบางอย่างในร่างกายเมื่อพิจารณาโดยถี่ถ้วน จะพบว่ามีธาตุที่เป็นส่วนประกอบปะปนอยู่ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน เช่น
                    หทยํ หัวใจ มีรูปรวมอยู่จำนวน ๑๒ คือ อวินิพโภครูป ๘ กายะ ภาวะ หทยะ และชีวิตะ
                    เนื้อ เอ็น หนัง ตับ สมอง มี ๑๑ คือ อวินิพโภครูป ๘ กายะ ภาวะ และชีวิตะ
                    ปาจกเตโช มีรูปรวมอยู่จำนวน ๔ คือ อวินิพโภครูป ๘ ชีวิตรูป ๑
                    ผม ขน เล็บ และธาตุบางอย่าง มีเลือด หนองรวมทั้งธาตุไฟที่เหลือ ธาตุลม มีเพียงอวินิพโภครูปโภครูป ๘
                    เมื่อแยกเป็นดังนี้แล้วย่อมมองไม่เห็นสัตตะ ชีวะ เรา เขา หญิง ชาย แต่ประการใดอีก

                    ๓. พิจารณาโดย จุณณโต ว่าร่างกายเรานี้ เมื่อถูกทุบบดให้ละเอียดจนเป็นผงเล็กเท่าปรมาณู เมื่อตวงดูจะได้ประมาณ ๒๐-๓๐ ลิตร แต่ที่เราเห็นเป็นรูปร่างดังนี้ได้เพราะมีอาโปธาตุเกาะกุมเชื่อมอยู่ ทำหน้าที่ยึดให้คงรูปไว้ มีเตโชธาตุเป็นผู้เลี้ยงรักษา มีวาโยธาตุคอยค้ำจุนให้ตั้งมั่น นอกจากธาตุทั้ง ๔ แล้วไม่มีอะไรทั้งสิ้น

                    ๔. พิจารณาโดย ลักขณาทิโต เช่นว่า
                    ปถวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะ ทำหน้าที่ให้รูปอื่น ๆ ตั้งอยู่เป็นกิจ มีการรองรับรูปอื่น ๆ เป็นอาการปรากฏ
                    อาโปธาตุ มีความไหลและเกาะกุมเป็นลักษณะ ทำให้รูปอื่นเจริญขึ้นเป็นกิจ มีการรวบรวมรูปอื่นให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นอาการปรากฏ
                    เตโชธาตุ มีความเป็นไออุ่นเป็นลักษณะ ทำให้รูปอื่นสุกแก่ขึ้นเป็นกิจ ทำรูปอื่นให้อ่อนนุ่มได้เป็นอาการปกติ
                    วาโยธาตุ มีการอุดหนุนรูปอื่น ๆ ให้ตั้งมั่นเป็นลักษณะ มีการชักดึงรูปอื่น ๆ เป็นกิจ มีการเคลื่อนไหวพัดไปมาเป็นอาการปรากฏ
                    นอกจากธาตุทั้ง ๔ นี้แล้ว ร่างกายนี้ไม่มีสิ่งใด

                    ๕. พิจารณาโดยสมุฏฐานโต ว่าในธาตุทั้ง ๔๒ อย่างเหล่านี้มีที่เกิดต่าง ๆ กัน เช่น
                    อาหารใหม่ อาหารเก่า หนอง ปัสสาวะ เกิดมาจากอุตุ
                    น้ำตา เหงื่อ น้ำมูก น้ำลาย ๔ อย่างนี้บางที่เกิดจากอุตุ บางที่เกิดจากจิต
                    ปาจกเตโช เกิดจากกรรม
                    ลมหายใจเข้าออก เกิดจากจิต
                    ธาตุที่เหลือก็เกิดจากสมุฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

                    ๖. พิจารณาโดยนวนๆตเอกตตโต ว่าธาตุทั้ง ๔ แม้มี ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐานต่าง ๆ กัน แต่ถึงกระนั้นก็ยังคงเป็นมหาภูตรูป เป็นธาตุ มีความเกิดดับเป็นอนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อย่างเดียวกันนั้นเอง

                    ๗. พิจารณาโดยวินิพโภควินิพโภคโต ว่าธาตุทั้ง ๔ แยกจากกันได้เฉพาะแต่ลักษณะ รสปัจจุปัฏฐานเท่านั้น (วินิพโภค แปลว่าแยกจากกันได้) สำหรับธาตุนั้นแยกจากกันไม่ได้ (อวินิพโภค)

                    ๘. พิจารณาโดยสภาควิสภาคโต ว่า ปถวีธาตุกับอาโปธาตุ อย่างนี้เป็นสภาคะ ถูกกันเพราะเป็นครุกธาตุ ธาตุหนักด้วยกัน เตโชธาตุกับวาโยธาตุก็เป็นสภาคะ เพราะเป็นลหุธาตุ ธาตุเบาด้วยกัน แต่ระหว่าง ปถวี อาโป กับ เตโช วาโย ธาตุทั้ง ๒ ฝ่ายนี้เป็นวิสภาคะไม่ถูกกัน เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นธาตุหนัก อีกฝ่ายเป็นธาตุเบา

                    ๙. พิจารณาโดยอชฌาติกพาหิรวิเสสโต ว่าธาตุทั้ง ๔ ที่เกิดอยู่ในร่างกายสัตว์ทั้งหลายนี้เป็นที่อาศัยของปสาททั้ง ๕ (จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาทกายปสาท) หทยะ ชีวิตะ ภาวะ วิญญัติรูป ๒ ประกอบไปด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ และเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ครบบริบูรณ์ (อัชฌัตติกวิเสส) ส่วนธาตุทั้ง ๔ ที่เกิดภายนอกสัตว์ มิได้เป็นที่อาศัยเกิดของรูปต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ประกอบด้วยอิริยาบถใหญ่น้อย สมุฏฐานมีไม่ครบ ๔ มีแต่อุตุสมุฏฐานอย่างเดียว (พาหิรวิเสส)

                   ๑๐. พิจารณาด้วยสังคโห คือ กำหนดเอา ธาตุทั้ง ๔ ที่มีสมุฏฐานเหมือนกันรวมไว้ในหมวดเดียวกัน เช่นปถวีธาตุที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน นับสงเคราะห์ไว้พวกเดียวกับธาตุอื่น ๆ ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกัน มหาภูตรูปที่เหลือ ๓ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน แยกไปตามสมุฏฐานที่เหลือทั้ง จิต อุตุ อาหาร

                   ๑๑. พิจารณาโดย ปจฺจยโต คือธาตุทั้ง ๔ นี้ถ้อยทีถ้อยเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันอุปถัมภ์ค้ำชูกัน อุดหนุน ประคับประคองค้ำจุนซึ่งกันและกัน

                      ๑๒. พิจารณาโดยอสมันนาหารโต คือธาตุทั้ง ๔ แม้มิได้รู้ว่าตนเป็นธาตุอันใดแม้จะพึ่งพาอาศัยอุปภัมภ์ก็ไม่รู้จักกัน

                 ๑๓. พิจารณาโดย ปัจจยวิภาคโต ร่างกายของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏมีขึ้น เพราะเนื่องมาจากสมุฏฐานทั้ง ๔ กรรม จิต อุตุ อาหาร บางส่วนมีกรรมเป็นประธานของสมุฏฐานอีก ๓ อย่างเป็นสิ่งอุดหนุนให้เกิด เรียกว่ากัมมชรูป ถ้ามีจิตเป็นประธาน เรียก จิตตชรูปถ้ามีอุตุเป็นประธานเรียกอุตุชรูป ถ้ามีอาหารเป็นประธานเรียก อาหารชรูป
                    เมื่อจำแนกโดยปัจจัยแล้ว

                    กรรม เป็นชนกปัจจัยของกัมมชรูป และเป็นอุปนิสัยปัจจัยของรูปที่เหลืออีก ๓
                    อุตุ เป็นชนกปัจจัยของอุตุชรูปและเป็นอัตถิปัจจัย* เป็นอวิคตปัจจัย** ของรูปที่เหลือ ๓
                    จิต เป็นชนกปัจจัยของจิตตชรูปทั้งหลาย และเป็นปัจฉาชาตปัจจัย** อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัยของรูปที่เหลือ ๓
                    มหาภูตรูปที่เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร เหล่านี้เป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่กันและกัน

                    เมื่อผู้ปฏิบัติกระทำการพิจารณาโดยพิสดารดังนี้อยู่เนือง ๆ แม้จะเป็นมันทบุคคลมีปัญญาปานกลาง ก็สามารถมีบริกรรมนิมิตเกิดได้ เมื่อธาตุทั้งหลายปรากฏชัดแจ้ง และทำการพิจารณาต่อไปเนือง ๆ ก็จะสำเร็จเป็นอุปจารสมาธิ

                    การเจริญจตุธาตุววัตถานนี้ ไม่มีอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต มีแต่บริกรรมนิมิต ส่วนการภาวนาเกิดได้ทั้งบริกรรมภาวนาและอุปจารภาวนา อัปปนาภาวนาอันเป็นตัวฌานไม่เกิด เพราะธาตุทั้ง ๔ เป็นสภาวะล้วน ๆ จะรู้เห็นแจ้งชัดต้องใช้สติปัญญาแรงกล้า สมาธิต้องมีกำลังมาก

                     ถ้าเป็นผู้มีปัญญามาก พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ภายในกายโดยมีปัญญาเป็นประธานแล้ว จนกระทั่งสามารถเห็นธาตุทั้ง ๔ โดยความเกิดดับ ทำให้สามารถบรรลุมรรค และผลได้ ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญาคมกล้าย่อมมีจิตหยั่งลงสู่สุญญตารมณ์ เห็นว่าร่างกายมีสภาพสูญเปล่า ใจจะเพิกถอนเสียจากสัตตสัญญา ความสำคัญว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เมื่อถ่ายถอนความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนลงเสียได้ ย่อมสามารถละทิ้งความดีใจในอารมณ์ที่พึงปรารถนา ละทิ้งความเสียใจโทมนัส ในอารมณ์ที่ไม่พึงปรารถนา เกิดปัญญาเป็นอันมาก บรรลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
                    หากบารมียังไม่แก่กล้าก็จะมีสุคติภพเป็นที่ไป หลังจากสิ้นชีวิตลง

                    อานิสงส์ ๘ อย่างที่ได้รับจากการเจริญภาวนาโดยใช้ธาตุทั้ง ๔ เป็นอารมณ์
                    ๑. สุญญติ อวดาหติ อนัตตลักขณะ (ความไม่มีตัวตน) ปรากฏขึ้นทางใจ
                    ๒. สติสญญ์ สมุดฆาภูติ ละความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ชาย หญิง ลงเสียได้
                    ๓. ภยเรวสโห โหติ ไม่มีความหวาดกลัวต่อภัยใหญ่น้อย ที่เนื่องมาจากสัตว์ร้ายต่าง ๆ มีจิตใจคล้ายจะเป็นพระอรหันต์
                   ๔. อรรติสโห โหติ สามารถละความไม่ยินดีในงานที่เป็นประโยชน์เช่นคันถธุระวิปัสสนาธุระ ทั้งสามารถละความยินดีในกามคุณอารมณ์เสียได้
               ๕. อิฏฐานิฏเฐ อุคฆาฏนิคฆาฏิ น ปาปุณาติ ไม่มีการร่าเริงสนุกสนานจนลืมตัวเมื่อพบกับอารมณ์ที่พอใจ และไม่มีการอึดอัดขัดข้องขุ่นหมองในอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ
                    ๖. มหาปุญโญ โหติ เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางมาก
                    ๗. อมตปริโยสาโร โหติ มีพระนิพพานเป็นที่สุดในภพนี้
                    ๘. สุคติปรายโน โหติ ถ้ายังไม่เข้าสู่พระนิพพานในภพนี้ ก็มีสุคติภูมิเป็นที่ไปในภพหน้า


                                                                              เอาปัญญาเพ่งไว้        น่าญาณ 
                                                                              เรียนเร่งรู้แตกฉาน       ลึกซึ้ง
                                                                              ต่อคติกลั่นค่าบุราณ     คิดใหม่
                                                                              ปรุงธาตุนมน้ำผึ้ง        เพือหล้าเสวยขลังฯ
                                                                                                           อังคาร กัลยาณพงศ์

 

อารุปป ๔

                        อารุปป ๔ แปลว่า ไม่มีรูป
                      คือการเจริญกรรมฐานโดยไม่ได้นำเอาสิ่งที่มีรูปร่างมาเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นการนำเอาผลที่ได้จากการเจริญกรรมฐานชนิดที่มีรูปเป็นอารมณ์อารมณ์ของกรรมฐานชนิด อารุปป กล่าวคือเอาผลนั้นมาเป็น

                       เมื่อเจริญภาวนาด้วยกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ ประการ มี กสิณ ปถวี อาโป เตโช วาโย นีละ ปิตะ โลหิตะ โอทาตะ (ยกเว้นปริฉันนากาส) จนเข้าสู่รูปาวจรจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีกสิณนิมิตเป็นอารมณ์อยู่ เมื่อเลิกสนใจในนิมิตที่เกิดนั้นเสีย กสิณนิมิตจะอันตรธานหายไป การกระทำดังกล่าวนี้เรียกว่า “เพิก” มีสภาวะใหม่ลักษณะว่างคล้ายอากาศ ปรากฏขึ้นแทนที่ มีขนาดเท่าขนาดของกสิณนิมิตที่ถูกเพิกถอนไปนั้น

                       ผู้ปฏิบัติอารุปปกรรมฐาน จะถือเอาสิ่งที่เห็นใหม่นั้นเป็นอารมณ์ของกรรมฐานพร้อมบริกรรมภาวนาว่า "อนันโต อากาโส" แปลว่าอากาศไม่มีที่สิ้นสุด หรือ “อากาโส” ก็ได้เมื่อปฏิบัติไปจนกระทั่งฌานจิตเกิดอย่างมั่นคง ตั้งอยู่โดยไม่หวั่นไหว เรียกว่าอรูปฌานขั้นอากาสานัญจายตนฌาน เพราะเกิดโดยอาศัยอากาศบัญญัติ ไม่ปรากฏเบื้องต้น เบื้องปลาย คือความเกิดดับว่าอยู่ตรงที่ใด

                       เมื่อปฏิบัติชำนาญในวสีทั้ง ๕**** ของอากาสานัญจายตนฌานสมบูรณ์ดีแล้ว พิจารณาเห็นโทษของอากาสานัญจายตนฌานว่า แม้ในขั้นนี้ก็ยังเป็นฌานที่ใกล้กันอยู่กับรูปฌานจึงพยายามพรากใจไม่สนใจ เลิกกำหนด เอาใจออกจากอากาศบัญญัตินั้นเสีย บริกรรมภาวนาเอาใหม่ว่า วิญญาณัง หรือ อนันตัง วิญญาณัง ๆ โดยสนใจเอาเพียง วิญญาณที่อาศัยในอากาสานัญจายตฌานเป็นอารมณ์ ก็จะสำเร็จผลเป็นวิญญานัญจายตนฌาน

                       เมื่อผู้ปฏิบัติชำนิชำนาญในวิญญานัญจายตนฌานดีแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายในวิญญาณที่นำมาเป็นอารมณ์นั้นอีก เพราะเห็นว่าอยู่ใกล้กับอากาศ จึงกำหนดเสียใหม่ คือแม้วิญญาณก็ไม่ต้องการ จึงพยายามยึดหน่วงใจไว้ด้วยนัตถิภาวบัญญัติ (ความไม่มีอะไรๆ) แทนที่ โดยใช้ค่าบริกรรมภาวนาว่า “นัตถิ กิญจิ ๆ ๆ “ (อากาสานัญจายตนฌานแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่มีเหลือ)

                           เมื่อเกิดผลสําเร็จ เรียกฌานขั้นนี้ว่า อากิญจัญญายตนฌาน

                       ครั้นชำนาญในวสีทั้ง ๕ ของอากิญจัญญายตฌานจนชำนาญสมบูรณ์ดีแล้ว ก็พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนฌาน ว่าเป็นสมาธิที่ยังไม่ประณีต และสงบเท่าที่ต้องการ จึงเอาอากิญจัญญายตนฌานที่ดับไปแล้วมายึดหน่วงเป็นอารมณ์กรรมฐานแทนโดยบริกรรมว่า "สนฺตเมต์ ปณิตเมต” หรือ สนฺติ ๆ ปณีต ๆ สงบมาก ๆ ประณีตมาก ๆ อยู่ดังนี้เรื่อย ๆ เรียกว่าเมื่อบรรลุผลจะเป็นแนวสัญญานาสัญญายตนฌาน


                                                • ถ้ารู้ประมาณการบริโภค               สิทธิโชคศรัทธาพระธรรมขันธ์
                                                เพียบพร้อมวิริยะทุกคืนวัน               หมั่นสมาธิสารวมอินทรีย์ ฯ
                                                เลิกเมาหลงรูปรสกลื่นเสียง             เพียงอุปาทานกิเลสมีวิเศษศรี
                                                พญามารร้ายไม่อาจย่ำยี                 พันฤทธิ์ นรกหมกไหม้ใจ
                                                                                               อังคาร กัลยาณพงศ์




 

 

 

 

 

เชิงอรรถ

อุปนิสสยปัจจัย คือ ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก
* ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
** ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป
*** ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดที่หลัง
**** ชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน การเข้าฌาน การกำหนดเวลาเข้า เวลาออก การพิจารณาองค์ฌานโดยเฉพาะ ๆ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039444967110952 Mins