.....๓. ทรรศนะเรื่องความสุข นับว่าเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประโยชน์นิยมกับพุทธปรัชญานั้นแตกต่างกัน กล่าวคือความสุขของประโยชน์นิยมนั้นมีอยู่ ๒ ประเด็นคือ ความสุขอย่างหยาบ คือความสุขแบบสัตว์เป็นความสุขทางผัสสะ ( สุขเวทนา) และความสุขอย่างละเอียดได้แก่ ความสุขทางจิตใจซึ่งหมายถึงความสุขเกิดจากความคิด เช่น การฟังดนตรี การอ่านหนังสือ เป็นต้น ส่วนทรรศนะของพุทธปรัชญาเห็นว่าความสุขมีอยู่ ๓ ระดับ คือความสุขทางกาย ( กามสุข) และความสุขทางใจ มีอยู่ ๒ ประการ คือ ฌานสุข และนิพพานสุข ซึ่งมีความแตกต่างจากสุขในทรรศนะของประโยชน์นิยมมาก เพราะความสุขในทรรศนะของประโยชน์นิยมตะวันตกเป็นเพียงความสุขที่เกิดจากการที่ อายตนะได้รับการตอบสนองเท่านั้นนับเป็นความสุขอย่างหยาบ ๆ เช่น ความสุขจากการได้กิน ดื่น เที่ยว เป็นต้น ส่วนในทรรศนะของพุทธปรัชญานั้นมองความสุขจากระดับต่ำสุดไปจนถึงละเอียดสุด และสอนให้มนุษย์รู้จักการเลือกบริโภคความสุขโดยการพัฒนาตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อที่จะได้รับความสุขที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอันได้แก่ ความสุขจากฌานหรือสมาธิจนถึงความสุขขั้นสูงสุดได้แก่ พระนิพพาน ดังนั้นในประเด็นความสุขจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันของพุทธปรัชญาและก็ประโยชน์นิยม
ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบว่า หลักประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาไม่เป็นประโยชน์ นิยมเหมือนกับมิลล์และเบ็นธัม นอกจากนั้น ผลจากการวิจัยนี้ยังได้ข้อสรุปว่าประโยชน์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท นั้นจัดเป็นหลักประโยชน์แบบวิมุตตินิยม เพราะมีหลักคำสอนเรื่องประโยชน์ ที่มุ่งไปสู่การหลุดพ้นทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นเป็นเป้าหมายสำคัญ
เมื่อมองในอีกประเด็นหนึ่ง จะเห็นว่าแนวคิดเรื่องประโยชน์ในทรรศนะพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินปัญหาทางจริยธรรมได้ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดประโยชน์นิยมและค้านท์แล้วจะเห็นว่า พุทธปรัชญาจะมองที่ทั้งที่เจตนาและผลการกระทำ ส่วนประโยชน์นิยมจะพิจารณาแค่ผลการกระทำ และค้านท์ก็พิจารณาแค่เจตนาเท่านั้น และถ้าจะพิจารณาว่าโดยเกณฑ์นี้หากมีคำถามว่า ทรรศนะของพุทธปรัชญาจะเข้าได้กับฝ่ายไหนระหว่างประโยชน์นิยมกับค้านท์ จากการวิจัยพบว่าในประเด็นนี้พุทธปรัชญาจะเห็นด้วยกับทรรศนะของค้านท์มากกว่า
ยกตัวอย่าง ทรรศนะเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับเกณฑ์การตัดสินปัญหาจริยธรรม ในปัญหาการุณฆาต ความหมายและวิธีทำการุณฆาต หมายถึงการฆ่าที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากค วามโกรธเคืองหรือมุ่งร้าง หากแต่เกิดจากความเมตตากรุณา ปรารถนาให้ผู้ถูกฆ่านั้นพ้นจากความทุกข์ทรมาน หรือหมายถึงการให้ผู้ป่ายที่ทุกข์ทรมานจากโรคที่ไม่อาจรักษาหายได้ ให้ตายลงโดยไม่เจ็บปวด เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้น หมายถึงเมตตาฆาตกรรม นั่นเอง การทำการุณฆาตนั้นมีอยู่หลายวิธี ซึ่งจะพิจารณาได้จากตัวอย่าง
กรณีที่ ๑ ทอมมี่มีน้องชายคนหนึ่งป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ทุกครั้งที่น้องชายของทอมมี่มีอาการกำเริบเขาจะปวดหัวมาก ร้องกระวนกระวาย จนตัวเขียวหายใจไม่ออก ทอมมี่พยายามพาน้องชายไปหาหมอ ก็ว่าช่วยเหลืออะไรไม่ได้ เพราะเนื้องอกนั้นโตเกินที่จะผ่าตัด ทำให้ทอมมี่เกิดความกลัดกลุ้มมาก เนื่องจากครอบครัวต้องลำบากและโดยเฉพาะ เขาเองรู้สึกสงสารน้องชาย จับใจเขาพยายามคิดหาวิธีการที่จะช่วยน้อง ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจใช้ปืนยิงน้องชายตัวเอง ในขณะที่กำลังชักด้วยความทรมาน ให้เสียชีวิตเพื่อจะได้พ้นจากความทุกข์
กรณีที่ ๒ นายแพทย์ท่านหนึ่งซึ่งทำงานเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เมื่อพบว่า ผู้ป่วยมีอาการหนักซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ ๑๐๐ % แพทย์และพยาบาลคนอื่นในโรงพยาบาลแห่งนั้น ไม่กล้าที่จะทำการถอดสายเครื่องช่วยหายใจหรือปิดก๊อกออกซิเจนที่ให้กับผู้ป่วย แพทย์ท่านนั้นก็จะเป็นคนลงมือทำการปิดก๊อกหรือถอดสายเครื่องช่วยหายใจออก เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบอ้างอิง .. พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน ( ผาทา ), การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ,( กรุงเทพฯ : , โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๓ .
สุมินต์ตรา