..... ๒ . คุณค่าด้านการพัฒนาชีวิตและสังคม ได้แก่ การที่แนวคิดเรื่องอรรถประโยชน์ช่วยให้มนุษย์รู้จักการพัฒนาตนเองไปตามลำดับขั้นของการดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้ กล่าวคือในประโยชน์ทุกประเภทดังกล่าวมาแล้วนั้นสามารถสรุปขั้นตอนการพัฒนาชีวิตและสังคมได้เป็น ๒ ประการ
๑. อัตตหิตสมบัติ ได้แก่ กิจคือการพัฒนาตนเองเพื่อให้ประสบกับประโยชน์สุขเพื่อตน
๒. ปรหิตปฏิบัติ ได้แก่ กิจคือการช่วยเหลือสังคมโดยอาศัยรากฐานของคุณสมบัติของการพัฒนาตนเองนั้นเพื่อสนับสนุนให้ชีวิตอื่น ๆ ในสังคมให้ได้รับประโยชน์สุขด้วยกัน
๓. คุณค่าด้านความหลุดพ้นหรืออิสรภาพ หมายถึง การบรรลุจุดหมายที่พึงประสงค์ ๔ ประการคือ
๑. อิสรภาพทางกาย ได้แก่ การพ้นจากการถูกบีบคั้นทางกาย เช่น ความยากจน ความหิว ความลำบาก และโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
๒. อิสรภาพทางสังคม ได้แก่ การที่สังคมได้รับประโยชน์ คือเมื่อมนุษย์ในสังคมหลุดพ้นจากการถูกบีบคั้นทางกายและทางใจ มีความสุขเพียบพร้อมด้วยการอยู่ดีกินดีแล้วสังคมก็ย่อมประสบกับความสุขด้วย เพราะเหตุว่าไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
๓. อิสรภาพทางจิต ได้แก่ ความปลอดโปร่งจากความกังวลเพราะเหตุแห่งการบรรลุจุดหมายของตน
๔. อิสรภาพแห่งปัญญา ได้แก่ ความหลุดพ้นจากความโอนเอนอ่อนไหว เพราะความไม่รู้ และสามารถรับรู้ภาวะของโลกตามความเป็นจริง คือรู้ตามหลักอริยสัจ ๔ รู้จักคิดและแก้ปัญหาชีวิตได้ด้วยตนเอง และรู้ว่าอะไรคือประโยชน์และอะไรคือสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เป็นต้น
ในการศึกษาวิจัยนี้ ได้นำกรอบแนวคิดประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาทกับปรัชญาสำนักประโยชน์ นิยมตะวันตกของเบ็นธัมและมิลล์มาวิเคราะห์เปรียบเทียบแล้วได้ข้อสรุปว่า หลักประโยชน์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาไม่เป็นประโยชน์นิยมแบบตะวันตก ที่พิจารณาถึงความแตกต่างกันของแนวคิดทั้ง ๒ ได้ดังนี้
๑. หลักอรรถประโยชน์ ทั้งพุทธปรัชญาเถรวาท เบ็นธัม และมิลล์ ต่างก็มีหลักอรรถประโยชน์ในแนวทางที่คล้ายกัน แต่ประเด็นหลักด้านรายละเอียดของแต่ละฝ่ายนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ในทรรศนะของปรัชญาตะวันตนมีเกณฑ์ตัดสินว่าการกระทำใดก็ตามที่เป็นประโยชน์ หมายถึงว่า การกระทำนั้นต้องให้ความสุขแก่คนจำนวนมากที่สุด
แต่พุทธปรัชญาเถรวาทเห็นว่า ไม่เพียงแค่การกระทำเพื่อส่วนรวมเท่านั้นจะเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ แต่การกระทำที่เป็นประโยชน์ยังหมายถึงที่ให้คุณประโยชน์แก่ชีวิตตนเองด้วย คือเน้นว่าการที่ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินไปด้วยกันอย่างสอดคล้อง และสมดุลนั้นถือว่าเป็นเป้าหมายที่ได้มุ่งหวังไว้ และพุทธปรัชญาเถรวาทก็ไม่ได้มุ่งหวังหรือตัดสินการกระทำโดยยึดจำนวน ของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำเท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นประโยชน์ แต่ประโยชน์ก็คือความมั่นคงทั้งด้านวัตถุและก็จิตใจหรือสิ่งที่จะเอื้ออำนวยให้มนุษย์ดำเนินชีวิต ไปสู่จุดหมายที่ดีแม้จะมีจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องไม่มากมายนักก็ยังจัดได้ว่าเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน เพราะพุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งหวังทั้งประโยชน์ที่เกิดทั้งแก่ส่วนรวมและส่วนย่อยของสังคม หรือโดยที่สุดแม้แก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ปรากฏอยู่ในโลก ผิดกับเบ็นธัม และมิลล์ที่มีจุดมุ่งหมาย ของคำว่าประโยชน์ส่วนรวมนั้นหมายเอาคนส่วนมาก ที่อาจจะเป็นเฉพาะจำนวนของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแนวความคิดทั้ง ๒ ฝ่ายจึงแตกต่างกัน
๒ . หลักสัมพัทธนิยม หลักที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการกระทำในทรรศนะของชาวประโยชน์นิยมว่าดี - ชั่ว ถูก - ผิด นั้นไม่แน่นอนตายตัว แต่เป็นสิ่งที่แปรผันตามผลที่เกิด เพราะประโยชน์นิยมนั้นถือว่าถูกหรือผิดตัดสินกันที่ผลของการกระทำเป็นสำคัญ ส่วนทรรศนะของพุทธปรัชญานั้นเห็นผิดจากหลักการนี้โดยที่พุทธปรัชญาเถรวาทเห็นว่าความดี - ชั่ว ถูก - ผิด เป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวและไม่แปรผันตามผลที่เกิด ส่วนเกณฑ์การตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิด จะตัดสินได้ด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการคือ เจตนาและผลของการกระทำประกอบกัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วจึงจะเห็นว่าประโยชน์นิยมกับพุทธปรัชญานั้นมองประเด็น ของเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมนั้นแตกต่างกันมากอ้างอิง .. พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน ( ผาทา ), การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ,( กรุงเทพฯ : , โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๓ .
สุมินต์ตรา