.....แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ปัญหาที่แพทย์ต้องการจะได้คำตอบ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทำการุณยฆาตก็มี ๒ ประการคือ
๑. การทำการุณยฆาตเป็นบาปหรือไม่
๒. การตัดสินใจทำการุณยฆาตกับการยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปอะไรจะเป็นประโยชน์มากกว่ากัน
การทำการุณยฆาตนั้นเป็นบาปหรือไม่ นับว่าเป็นประเด็นทางความรู้สึกสำนึกที่มีต่อหน้าที่หรือความรับผิดชอบของแพทย์ซึ่งในบางกรณีก็ไม่กล้าที่จะ ทำการฆ่าผู้อื่นโดยวิธีการที่แม้จะเห็นว่าเป็นความการุณต่อผู้ป่วยก็ตาม เพราะความกลัวต่อบาปในแง่ของทางศาสนา และกลัวต่อการละเมิดจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน โดยเฉพาะปัญหาความรู้สึกว่าการฆ่าเป็นบาป จะเป็นความรู้สึกที่ฝังติดแน่นอยู่กับมนุษย์ผู้มีจริยธรรมอันดีงามอยู่ในตัวเองเสมอ
ยังมีหลักปฏิบัติต่อปัญหาการุณยฆาตอันถือได้ว่า เป็นทางออกนี้ ให้ยึดหลักความจริงและเจตนาเป็นหลัก มีแนวคิดอยู่ ๒ ประการคือ
๑. หลักสัจจธรรม ได้แก่ หลักสากลของธรรมชาติ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒. หลักจริยธรรม ได้แก่ หลักที่สามารถปฏิบัติได้จริงในวิถีชีวิตของมนุษย์
ซึ่งมีประเด็นปัญหานี้หลักจริยธรรมก็คือ เจตนา ที่ประกอบด้วยคุณธรรม ๒ ประการ ได้แก่ ปัญญา และกรุณา
และจากผลการวิจัยพบว่าแนวความคิดเรื่องอรรถประโยชน์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทนั้น ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านระบบคิด และการแสดงพฤติกรรมทางสังคมร่วมกัน ทรรศนะเรื่องประโยชน์ของพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นได้มีส่วนกำหนดคุณลักษณะนิสัยของคนไทยในการ แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่จะอยู่ร่วมกันในสังคมโดยสงบ และมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน ทำให้สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีแต่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันซึ่งตรงกับหลักอรรถประโยชน์ของ พุทธปรัชญาเถรวาทที่ต้องการเน้นให้สังคมได้ประกอบความดี หรือมองเห็นความสุขร่วมกัน และไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นสังคมที่ยึดมั่นในแนวคิดของการพึ่งตนเองตามหลักประโยชน์ตน ส่วนรายละเอียดในด้านการแสวงหาความมั่นคงทางด้านการเป็นอยู่หรือประโยชน์ ทางด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประโยชน์ทางด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอันดีงาม ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประโยชน์ส่วนปัจเจกชนนั้น กรอบแนวคิดของพุทธปรัชญาเถรวาทได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอิทธิพลด้านอื่น ๆ อีก เช่น ด้านการศึกษา ด้านวิถีการดำเนินชีวิต ด้านเศรษฐกิจการเมือง การปกครอง เป็นต้น โดยที่แนวความคิดเรื่องอรรถประโยชน์ของพุทธปรัชญาได้เข้าไปมีส่วนในการแสดงออกของคนไทย การเป็นสังคมที่รู้จักการประสานประโยชน์ ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีพื้นฐานทางระบบคิดมาจากพุทธปรัชญามาเป็นระยะเวลาอันยาวนานนั่นเอง
อ้างอิง.. พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน ( ผาทา), การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ,( กรุงเทพฯ : , โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๓.
สุมินต์ตรา