.....มาถึงจุดหมายชีวิต ๓ อย่างตามแนวราบ แสดงถึงจุดมุ่งหมายที่มนุษย์ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถ ที่จะกำหนดข้อเกี่ยวพันทางสังคมและปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับประโยชน์ต่าง ๆ นั้นได้ .
จากสรุปผลการวิจัยได้ว่า ประโยชน์นั้นเป็นสิ่งที่ดีช่วยเกื้อกูลต่อชีวิตและทำให้ชีวิตเจริญขึ้นงอกงามขึ้น หรือเป็นจุดหมายที่มนุษย์ควรที่จะพึงได้พึงถึงในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และคำว่าประโยชน์ เมื่อกล่าวโดยสรุปก็มีความหมายอยู่ ๒ ประการคือ
๑ . หมายถึง จุดหมาย หรือความเจริญงอกงามของชีวิตด้านวัตถุ
๒ . หมายถึง จุดหมาย หรือความเจริญงอกงามของชีวิตด้านจิตใจ
ทั้ง ๒ นี้แม้จะมีความสำคัญเหมือนกันแต่ประโยชน์หรือจุดหมายของชีวิตด้านจิตใจนั้นจะเป็นประเด็นที่ พุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งถึงมากที่สุด เนื่องจากว่าพุทธปรัชญาเถรวาทมุ่งที่ความสุขทางจิตอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นมากกว่าที่จะ เสนอทรรศนะเพื่อการบรรลุเพียงจุดหมายด้านวัตถุเท่านั้น โดยประโยชน์อยู่ที่การมุ่งเน้นให้มนุษย์บำเพ็ญประโยชน์แก่มหาชนเป็นหลักที่แบ่งออกเป็น ๒ แนว คือแนวราบและแนวตั้ง
๑ . ประโยชน์ตามแนวราบ แบ่งตามความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์กับสังคม มี ๓ ประการ คือ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
๒ . ประโยชน์ตามแนวตั้ง แบ่งตามระดับประโยชน์ที่ควรบรรลุหรือเข้าถึง ๓ ประการคือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ในชาติหน้า และประโยชน์สูงสุด
ประโยชน์ตน หมายถึง สวัสดิภาพ ความมั่นคงของชีวิตทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจจัดเป็นประโยชน์อันดับแรกที่มนุษย์ต้องคำนึงถึง แม้ในขณะที่ทำประโยชน์เพื่อตนนั้นมนุษย์ก็สามารถที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ ยังแยกเป็นประโยชน์ของบุคคลได้ ๒ ประเภท คือ
๑ . ชาวบ้านทั่วไป เป็นการแสวงหาหรือทำเพื่อประโยชน์ตนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ ได้แก่ เงินทอง ฐานะทางสังคม หน้าที่การงาน โดยยังทำประโยชน์หรือช่วยเหลือผู้อื่นไปโดยไม่ต้องรอให้ตนเองพร้อมที่สุดก่อน เท่ากับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็จะเกิดขึ้นได้
๒ . พระสงฆ์ ประโยชน์ตนนั้นเป็นเรื่องของจิตใจล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ทางวัตถุ พระพุทธองค์ทรงหมายถึงพระอรหันต์ และทรงเน้นย้ำกับเหล่าสาวกว่าจะต้องบรรลุให้ได้และไม่ควรให้เสียไปเพราะประโยชน์ของบุคคลอื่น ๆ แม้จะมีค่ามากมายเท่าใดก็ตาม ก็เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือบุญบารมีด้วย
ประโยชน์ผู้อื่น หมายถึง การช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้อื่นได้ประสบกับความเจริญของชีวิตมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประสบกับประโยชน์เพื่อตนแล้วก็ดี หรือผู้ที่ยังไม่บรรลุแต่มีศักยภาพที่เพียงพอแล้วก็ควรที่จะช่วยเหลือสนับสนุนให้คนอื่นได้ประสบกับประโยชน์เพื่อตนเองบ้าง
ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หมายถึง สวัสดิภาพ หรือความมั่นคงของชีวิตของทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งที่เป็นประโยชน์ตนเอง และประโยชน์คนอื่นที่จะต้องดำเนินไปด้วยกัน
นอกจากนั้น ในส่วนของคุณธรรมอันเป็นมูลเหตุให้เกิดประโยชน์นั้นหลักธรรมที่สำคัญที่จะทำให้ มนุษย์บรรลุประโยชน์ได้ก็คือความไม่ประมาท เพราะเมื่อบุคคลไม่ประมาทย่อมจะเป็นเหตุให้บรรลุความสุขความเจริญอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้ ในส่วนของคุณธรรมอันเป็นเหตุให้บรรลุความสุขหรืออรรถประโยชน์เพื่อตนนั้นก็ได้แก่ปัญญา และคุณธรรมที่ทำให้ผู้ที่บรรลุจุดหมายหรือความสุขเพื่อตนแล้วให้หันมาเอาใจใส่กับการช่วยเหลือผู้อื่น ได้แก่กรุณาและคุณธรรมสองประการนั้นเองที่เป็นปัจจัยให้เกิดการสร้างอรรถประโยชน์ทั้งเพื่อแก่ตนเองและสังคม
แนวคิดเรื่องประโยชน์ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นยังให้คุณค่าทางจริยธรรม ๓ ประการคือ
๑ . คุณค่าด้านการทำกิจด้วยความไม่ประมาท ได้แก่ การที่มนุษย์เมื่อทราบจุดหมายของชีวิตหรือประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ของชีวิตย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท ในการกรทำกิจการทุกอย่างทั้งที่เป็นกิจของตน กิจของคนอื่น และกิจของทั้งสองฝ่าย เพราะถ้าไม่ประมาทย่อมจะประสบผลอันเป็นประโยชน์และนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้
อ้างอิง .. พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน ( ผาทา ), การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท ,( กรุงเทพฯ : , โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๓ .
สุมินต์ตรา