เห็นแจ้งจึงจะรู้แจ้ง
เรียนวิชชาธรรมกาย ต้องเห็นแจ้งจึงจะรู้แจ้ง
ไม่เห็นธรรมะจะไปศึกษาวิชชาธรรมกายได้อย่างไร
มีทางเลือกทางเดียว ทางเอกสายเดียวที่จะเห็นแจ้ง
คือ ต้องเห็น ถ้าไม่เห็นจะไปทำได้อย่างไร
ถ้าเห็นจึงจะทำได้
ถ้าไม่เห็นธรรมะก็ต้องทำให้เห็น ก็แค่นั้นเอง
อย่าลืมนะ ลูกต้องสอนตัวเองทุกวัน
-ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่-
ความสุขที่ตัวเองยอมรับ
ความสุขก็คือ สบายกาย สบายใจ ก็ธรรมดา ๆ
ความสบายกาย ก็คือ กายสบาย
เริ่มจาก โปร่ง โล่ง เบาสบาย ก็อีกระดับหนึ่ง
จนถึงขั้นสุขที่เรายอมรับ คือ ใจสบาย
ใจสบาย คือ ความสุขที่ตัวเองยอมรับได้
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความสุข
-ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่-
“ให้ตั้งใจฝึกใจให้ละเอียดกันนะลูก
ต้องใจเย็นๆ เดี๋ยวประสบการณ์ภายในก็จะมาเอง
หยุดให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้ ก็ง่ายนิดเดียว
หลวงพ่อจะปลื้มใจเมื่อลูกทุกคนฝึกหยุดแรกกันเป็น
มีประสบการณ์ภายใน และมีที่พึ่งภายในกัน
จะฝึกได้ก็ต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต
จะทำให้พบเหตุแห่งความบกพร่องในการปฏิบัติธรรม”
-ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่-
จากหนังสือ “อ๊อกถ่อกว่า เหน่อเกอสิยา" เล่ม 2
ทำตามหลักวิชชา มันต้องได้
หลักวิชชา คือ ดูเฉย ๆ
มีอะไรให้ดูก็ดูไป โดยไม่คิดอะไรทั้งสิ้น
ใครทำตามนี้ ก็จะได้ตามนี้
แล้วเราก็ทำให้มันต่อเนื่อง ทำซ้ำ ๆ
ถ้าแก้ไขมันต้องได้ หลวงพ่อไม่เชื่อว่าไม่เห็น
เพราะทำมาขนาดนี้มันต้องเห็นทุกคน
ที่ไม่เห็นไม่มีหรอก ยกเว้นว่ายังไม่นิ่ง
ที่ไม่นิ่งเพราะมีฟุ้ง กับตั้งใจมาก
หรือประมาท ไม่ตรึกตลอดเวลา
-ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่-
รักตัวเองที่ถูกหลักวิชชา
อยากรู้เรื่องราวของตัวเองไหมจ๊ะ
ถ้ารักตัวเอง ก็ต้องรู้เรื่องราวของตัวเอง
เรื่องอื่นยังไม่สําคัญเท่ากับเรื่องของตัวเอง
ถ้าเราไม่รักตัวของเราเอง แล้วบอกว่ารักคนอื่น ก็โม้แล้ว
เรื่องของตัวเองยังไม่รู้เลย ยังไปอยากรู้เรื่องของชาวบ้าน
เกิดมาชาติหนึ่ง ไม่รู้เรื่องของตัวเองนี่ ไม่ได้นะ
-ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่-