ภาคผนวก
องค์แห่งธรรมกถึก (จรรยาบรรณนักเทศน์) ๕ ประการ
๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดใจความ
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่าไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น
ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก จึงตั้งองค์ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน (ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย)
อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ
๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
(ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย)
คุณสมบัติของนักเผยแผ่ ๖ ประการ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ ฯ
(มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค)
๑.ไม่ว่าร้ายใคร ไม่เสียดสีใคร
๒. ไม่ทำร้ายใคร ไม่บีบบังคับใคร
๓. สำรวมระวังในพระวินัย เคร่งครัดในระเบียบ
๔. รู้ประมาณในอาหาร ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
๕. พำนักในที่สงัด ไม่ยินดีที่พลุกพล่าน
๖. หมั่นอบรมฝึกฝนจิต ไม่ฟุ้งซ่านตามกระแสโลก
พุทธพิธีเทศนา ๔ ประการ
๑. สันทัสสนา แจ้งใจ
๒. สมาทปนา จูงใจ
๓. สมุตเตชนา เร้าใจ
๔. สัมปหังสนา จับใจ
๑. สันทัสสนา คือ แสดงธรรมแจ่มแจ้งชัดเจน เข้าใจง่ายไม่คลุมเครือ มีเหตุมีผล มีอุปมา มีสาธก กำจัดความสงสัยได้ให้ความสว่าง ให้เห็นทางดำเนินชีวิต และให้เห็นทางแก้ปัญหาชีวิตได้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ รวมทั้งชี้แจงให้เห็นคุณของการทำความดี รวมทั้งทรงชี้แจงให้เห็นโทษของบาปของอกุศลโดยชัดเจน ให้เกิดความกลัว ไม่กล้าทำอีกต่อไป
๒. สมาทปนา คือ จูงใจให้คล้อยตาม เชิญชวนให้ปฏิบัติตามแนะนำให้ละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบจิตไว้ในทางที่สมควร แนะนำวิธีปฏิบัติ โน้มน้าวให้ยอมรับอยากปฏิบัติตาม และบอกประโยชน์หรืออานิสงส์ที่จะได้รับจากการละชั่ว ประพฤติชอบ ประกอบจิตไว้ในทางที่สมควรนั้น
๓. สมุตเตชนา คือ เร้าใจให้เกิดศรัทธา ปลุกใจมีวิริยะอุตสาหะมีความมั่นใจ ให้เกิดความกล้า ชวนให้หายง่วง เกิดประกายไฟในตัว เกิดความกระตือรือร้นที่จะละชั่วเป็นต้นนั้น ให้เกิดความรู้สึกว่าตนก็สามารถทำได้ปฏิบัติได้ ด้วยการยกอุทาหรณ์เช่นชาดกบุคคลสำคัญที่ได้รับความสำเร็จในชีวิต ด้วยการตั้งคำถามเป็นต้นเช้ามาประกอบ
๔. สัมปหังสนา คือ แสดงข้อธรรมเป็นที่จับใจ น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ให้เกิดปิติยินดี เกิดความร่าเริงแจ่มใจ เกิดความประทับใจด้วยลีลาโวหารที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ให้เกิดความอิ่มใจด้วยการแสดงอานิสงส์ ให้เกิดความพอใจด้วยความรู้ความเข้าใจในธรรมที่ได้ฟัง รวมถึงปลอบใจผู้มีทุกข์สิ้นหวังให้คลายทุกข์คล้ายเศร้า ให้เกิดความหวังในชีวิต ไม่ให้สิ้นหวังท้อแท้ ให้เห็นแสงสว่างข้างหน้า(นัยจากพระบาลีว่า สนฺทสเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ สมฺปหํเสติ)
พุทธวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๗ ประการ
๑. อุปนิสินนกถา สอนธรรมแก่ผู้ไปมาหาสู่ ด้วยการสนทนาแนะนำ ตักเตือน ให้กำลังใจ ปลอบใจ ให้ความรู้ทางธรรมสอดแทรกในระหว่าง
๒. ธัมมีกถา สอนธรรมเป็นกิจลักษณะ เช่นบรรยายธรรมปาฐกถาธรรม โดยยกหัวข้อธรรมข้อใดข้อหนึ่งมาอธิบายขยายความอย่างชัดเจน ประกอบด้วย อัตถะ ประเภท เหตุ ผล อุปมา สาธก
๓. โอวาทกถา สอนธรรมแบบอบรม แนะนำ ตักเตือนให้รู้สึกผิดชอบชั่วดี ให้รู้สึกรักดี อยากหนีชั่ว กลัวผิด กลัวบาปกลัวกรรม แสดงหลักและวิธีการดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ เป็นการสอนที่เป็นงานเป็นการ
๔. อนุสาสนีกถา สอนธรรมแบบพร่ำสอน สอนบ่อย แนะนำบ่อยในเรื่องเดียวกันนั้น เป็นการสอนแบบย้ำเตือน ป้องกันหลงลืมจนผู้ฟังจำได้ เกิดความเคยชิน ไม่ลืมเลือน มุ่งให้นำไปปฏิบัติเป็นอย่างๆ เป็นเรื่องๆ ไป
๕. ธัมมสากัจฉา สอนแบบสนทนาธรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมจากกันและกัน รวมถึงการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวปฏิบัติร่วมกัน ฟังความคิดเห็นจากกันและกัน
๖. ปุจฉาวิสัชนากถา สอนแบบถามตอบกัน คือเปิดโอกาสให้ไต่ถาม ให้แสดงความคิดเห็น ให้โต้แย้งได้ เพื่อทดสอบพื้นความรู้ความคิดของคู่สนทนา จะได้ยักเยื้องข้อธรรมนำมาตอบได้ถูกกับอัธยาศัย มีแนวปฏิบัติ ๓ อย่างคือ ถามเพื่อให้ตอบ ๑ถามเองตอบเอง ๑ ให้ถามเพื่อตอบ ๑
๗. ธัมมเทสนากถา สอนแบบแสดงธรรมคือเทศน์ เป็นการสอนที่สมบูรณ์แบบ เพราะสามารถนำวิธีข้างต้นมาใช้ร่วมกันได้
องค์ประกอบของบทเทศนา
ส่วนที่ ๑ อุเทศ
ประกอบด้วยบทบาลีที่ยกขึ้นมาเพื่อจะขยายความ อารัมภกถาข้อความหรือประเด็นเบื้องต้น
ส่วนที่ ๒ นิเทศ
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๕ ประการคือ
๑. พยัญชนะ คือคำแปล ความหมายคำ
๒. อรรถะ คือประเด็นความ ใจความ ขยายความ
๓. สาระ คือเนื้อหาสาระ แก่นของข้อธรรมนั้น
๔. อธิปปายะ คือวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ประโยชน์ อานิสงส์
๕. เทสนา คือแสดงเนื้อหาตามหลักสันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนาอีกนัยหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๖ ประการคือ
๑. อรรถะ คือความหมาย ประเด็นความวัตถุประสงค์
๒. ประเภท คือรายละเอียดที่จำแนกออกเป็นข้อย่อย
๓. เหตุ คือวิธีปฏิบัติ ทางดำเนิน
๔. ผล คือคุณหรืออานิสงส์แห่งกุศลธรรม โทษแห่งอกุศลธรรม
๕. อุปมา คือข้อเปรียบเทียบ สิ่งเทียบเคียง
๖. สาธก คือ ตัวอย่าง อุทาหรณ์
อีกนัยหนึ่ง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๖ ประการ คือ
๑.อัสสาสะ คือข้อดี ด้านดี คุณลักษณะ ส่วนที่เป็นคุณ
๒.อาทีนวะ คือข้อเสีย ด้านเสีย ส่วนที่เป็นโทษ
๓.นิสสรณะ คือข้อธรรมที่พ้นจากอัสสาทะและอาทีนวะแล้ว คืออริยมรรคและนิพพาน (นิพพานสมบัติ)
๔. ผละ คือผลหรืออานิสงส์ที่พึงได้รับทั้งในปัจจุบัน (มนุษย์สมบัติ) และผลในอนาคต (สวรรค์สมบัติ)
๕. อุปายะ คือวิธีหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ถึงนิสสรณะและผละ
๖. อาณัตติ คือแนะนำ ชักชวน โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติเตือนใจ ให้สติสํานึก
ส่วนที่ ๓ ปฏินิเทศ คือ บทสรุป บทส่งท้าย ซึ่งไม่ยาว แต่ชัดเจน กินใจ จับใจฝากให้คิด ทำให้เกิดความประทับใจใคร่จะฟังอีก รวมถึงการให้พรและอนุโมทนายถา-สัพพี
นโม ๔ แบบ
๑. นโม ชั้นเดียว ใช้ในการสวดมาติกาอย่างเดียว
นโม - ตสฺ / ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ / ธสฺ / ส
นโม ตสฺ / ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ / ธสฺ / ส
นโม ตสฺ / ส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺ / ธสฺ / ส ฯ
๒. นโม ๓ ชั้น ใช้ในการให้ศีล
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส / (๑)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส / (๒)
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส / (๓)
๓. นโม ๕ ชั้น ใช้ในการแสดงธรรม และ สวดกรรมวาจา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส / (๑)
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส / (๒)
นโม ตสฺส ภควโต/ (๓)
อรหโต สมฺมา/ (๔)
สมฺพุทฺธสฺส/ (๕)
๔. นโม ๙ ชั้น ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์ สวดมนต์ และ สวดอภิธรรม
(ขึ้น) นโม ตสฺส ภควโต/
(รับ) อรหโต/ (๑)
สมฺมา/ (๒)
สมฺพุทฺ /ธสฺ / ส นโม ตสฺ/ ส / ภควโต (๓)
อรหโต/ (๔)
สมฺมา (๕)
สมฺพุทฺ /ธสฺ/ ส/ นโม ตสฺ / ส ภควโต / (๖)
อรหโต (๗)
สมฺมา/ (๘)
สมฺพุทฺ/ธสฺ /ส / (๙)
การบอกศักราช
ตัวอย่างคำบอกศักราช
อิทานิ ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย ทฺวิปญฺญาส สํวจฺฉรุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺวสํวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปฺปนฺนกาลวเสน วิสาขมาสสฺส อุฏฺฐารสมํ ทินํ วารวเสน ปน จนฺทวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโต ปรินิพฺพานา สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพาติ ฯ
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล นับจำเดิมแต่วันเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ล่วงไปแล้วได้ ๒๕๕๒ พรรษา ปัจจุบันสมัยตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๘ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ พระพุทธศาสนายุกาล นับจำเดิมแต่วันเสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนัยอันจะพึงกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
หมายเหตุ คำที่ขีดเส้นใต้ให้เปลี่ยนไปตามปี เดือน วันที่และวัน ที่เป็นปัจจุบัน
วัน
อาทิตย์ รวิวาร, อาทิจฺจวาโร
จันทร์ จนฺทวาโร, สสิวาโร
อังคาร ภุมฺมวาโร, กุชวาโร
พุธ พุธวาโร, วุธวาโร
พฤหัสบดี ครุวาโร, วิหปฺปติวาโร
ศุกร์ สุกฺกวาโร
เสาร์ สนิวาโร, โสรวาโร
วันที่
วันที่ ๑ ปฐมํ ทินํ วันที่ ๑๗ สตฺตรสมํ ทินํ
วันที่ ๒ ทุติยํ ทินํ วันที่ ๑๘ อฏฺฐารสมํ ทินํ
วันที่ ๓ ตติยํ ทินํ วันที่ ๑๙ อูนวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๔ จตุตฺถํ ทินํ วันที่ ๒๐ วีสติมํ ทินํ
วันที่ ๕ ปญฺจมํ ทินํ วันที่ ๒๑ เอกวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๖ ฉฏฺฐํ ทินํ วันที่ ๒๒ ทฺวาวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๗ สตฺตมํ ทินํ วันที่ ๒๓ เตวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๘ อฏฺฐมํ ทินํ วันที่ ๒๔ จตุวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๙ นวมํ ทินํ วันที่ ๒๕ ปญฺจวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๐ ทสมํ ทินํ วันที่ ๒๖ ฉพฺพีสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๑ เอกาทสมํ ทินํ วันที่ ๒๗ สตฺตวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๒ ทฺวาทสมํ ทินํ วันที่ ๒๘ อฏฺฐวีสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๓ เตรสมํ ทินํ วันที่ ๒๙ เอกูนตึสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๔ จตุทฺทสมํ ทินํ วันที่ ๓๐ ตึสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๕ ปณฺณรสมํ ทินํ วันที่ ๓๑ เอกตึสติมํ ทินํ
วันที่ ๑๖ โสฬสมํ ทินํ
เดือน
มกราคม ผุสฺสมาส, ปุสฺสมาส
กุมภาพันธ์ มาฆมาส
มีนาคม ผคฺคุณมาส
เมษายน จิตฺตมาส
พฤษภาคม วิสาขมาส, เวสาขมาส
มิถุนายน เชฏฺฐมาส
กรกฎาคม อาสาฬฺหมาส
สิงหาคม สาวนมาส
กันยายน โปฏฺฐมาส, ภทฺทปทมาส
ตุลาคม อสฺสยุชมาส
พฤศจิกายน กตฺติกมาส
ธันวาคม มาคสิรมาส
ปี
พ.ศ. ๒๕๕๓ ติปญฺญาส... หรือ ติปณฺณาส...
พ.ศ. ๒๕๕๔ จตุปญฺญาส... หรือ จตุปณฺณาส...
พ.ศ. ๒๕๕๕ ปญฺจปญฺญาส... หรือ ปญฺจปณฺณาส...
พ.ศ. ๒๕๕๖ ฉปฺปญฺญาส... หรือ ฉปฺปณฺณาส...
พ.ศ. ๒๕๕๗ สตฺตปญฺญาส... หรือ สตฺตปณฺณาส...