พระคุณสุดจะนับจะประมาณ

วันที่ 03 กค. พ.ศ.2567

2567_07_03_b-_.jpg

 

พระคุณสุดจะนับจะประมาณ


          การแสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วยความจริงใจมีอานิสงส์มากมายสุดจะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนน้อย อุปมาว่า


           ...บุคคลจ่อรูเข็มลงในแม่น้ำใหญ่ที่น้ำเปี่ยมฝั่งน้ำที่ไหลผ่านไปในรูเข็มย่อมมีน้อย แต่น้ำที่เหลือนอกนั้นย่อมมีมากฉันใด คูณของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งดังกล่าวมาแล้วนั้นยังเป็นเพียงส่วนน้อย พระคุณที่เหลือยังมีอีกมากประมาณไม่ได้....ฉันนั้น”


มองย้อนกลับไปในอดีต


               ปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้านเรือนเคียงของไทยถูกภัยร้ายแรงจากลัทธิการเมืองและศาสนาอื่นคุกคามอย่างหนัก จนพระพุทธศาสนาในประเทศเหล่านั้นต้องล่มสลายลง แต่ด้วยเดชะบุญที่ชาติไทยเราได้พระบรมกษัตราธิราชที่ทรงยึดมั่นในพระพุทธศาสนาและมีพระปฏิภาณไหวพริบอันเฉียบแหลม จึงสามารถปกปักรักษาพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนคู่แผ่นดิน มาได้โดยปลอดภัย
 

                ถ้าหากเราจะมองย้อนอดีตกลับไปสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดิน สมัยนั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีจํานวนมาก บ้างก็เจตนามาทําการค้าโดยตรงบ้างก็แฝงเข้ามาในรูปของพ่อค้า แต่แท้จริงแล้วต้องการขยายอิทธิพลทางการเมืองและเผยแพร่ลัทธิความเชื่อของตน ประเทศไทยเราเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ และเป็นประเทศเกษตรกรรม ไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเช่นชาวตะวันตก แต่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงตระหนักดีว่า หากไม่ยินยอมโอนอ่อนผ่อนตามให้แก่ประเทศที่มีอิทธิพลบ้างแล้ว อันตรายก็จะเกิดแก่ประเทศชาติได้แต่การที่ประเทศทางตะวันตกจะมาให้พระองค์เข้ารีตไปนับถือศาสนาของเขานั้น ผู้ที่รู้คุณค่าแห่งพระรัตนตรัยแล้ว ยอมสละชีวิตเสียดีกว่า พระองค์จึงทรงตรัปฏิเสธอย่างนุ่มนวลว่า
 

            “ได้นับถือศาสนา อันได้นับถือติดต่อกันมาถึง๒, ๒๒๕ ปีแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้เปลี่ยนศาสนาจึงเป็นการที่ทําไม่ได้" ๑


              แต่เพื่อไม่ให้เป็นการก่อศัตรูกับประเทศที่มีอำนาจบาตรใหญ่ พระองค์จึงทรงยินยอมให้มีการเผยแพร่ลัทธิศาสนาอื่นได้ แต่พระองค์เองจะดำรงตนเป็นพุทธมามกะอย่างมั่นคง ในบันทึกของบาทหลวง เดอ บัวสี ได้กล่าวไว้ว่า


              “ข้าพเจ้าทราบแน่แก่ใจแล้ว การที่พูดกันว่าพระเจ้ากรุงสยามจะเข้ารีตนั้น เป็นค่าพูดที่เกินกว่าเหตุข้าพเจ้าได้รู้สึกว่า

พระเจ้ากรุงสยามยอมที่จะปกครองและบำรุงพวกเข้ารีต หาใช่พระองค์เองจะเข้ารีต ไม่"๑


                แม้ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โปรตุเกส อังกฤษและอเมริกา ต่างก็ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อหาตลาดการค้า ขยายอิทธิพลทางการเมือง และเผยแพร่ลัทธิศาสนาของเขา มีการทำงานกันอย่างมีแผน ขยายข่ายงานไปตามเมืองต่าง ๆ มากมาย คงจะหนักใจไม่น้อยเลย หากเราจะลองเปรียบเทียบว่า เหมือนมีคนต่างถิ่นหลาย ๆ คนมายืนอยู่ในบริเวณบ้านเรา แต่ละคนก็มีกำลังมากกว่าเราเสียอีก


                 พระมหากษัตริย์ของเราได้ทรงแก้ไขปัญหาทางการค้าและการเมืองให้ลุล่วงไปด้วยดี แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยพระวรกายแสนสาหัส แม้บางครั้งจะต้องทรงกล้ำกลืนกับการที่ถูกเขาเบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบ ต้องชอกช้ำพระทัยจนแทบจะทรงพระวรกายไม่อยู่ก็ตาม ในเรื่องการศาสนา พระองค์ทรงยินยอมให้ชนชาติอื่นมาเผยแพร่ศาสนาของเขาได้ และในฐานะที่เป็นชาวพุทธ พระองค์ก็ให้การต้อนรับ ให้เขาอยู่ในประเทศของเราด้วยความผาสุก แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ทุก ๆ พระองค์นั้นต่างดำรงตนเป็นพุทธมามกะอย่างเคร่งครัด

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.037761402130127 Mins