น้ำเมาร้ายกว่าบุหรี่
· “บุหรี่” ทำลายร่างกายของผู้สูบ แต่ “น้ำเมา” นอกจากทำลายร่างกายแล้วยังทำลายสติสัมปชัญญะผู้ดื่มด้วย ได้ชื่อว่าเป็น “น้ำเปลี่ยนนิสัย” เราจึงได้ยินข่าว ลูกเมาเตะแม่ในวันแม่แห่งชาติ
· “ น้ำเมา” เสพแล้วสามารถ “ตายทันที” ทั้งจากการทะเลาะวิวาท ฆาตกรรม อุบัติเหตุทางถนน ขณะที่ “บุหรี่” ใช้เวลาหลายสิบปี
· “น้ำเมา” สามารถ “ฆ่าคน” ได้ ทั้งๆที่ “ไม่รู้จักกัน” มาก่อน เช่น ถูกลูกหลงจากคนเมาทะเลาะวิวาทกัน ถูกคนเมาขับรถชน
· จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก(WHO) และธนาคารโลก (World Bank) พบว่า อัตราการตายและความพิการทั่วโลกที่เกิดจากการดื่มน้ำเมามากกว่ายาเสพติดถึง ๕ เท่าตัว และส่งผลกระทบต่อชีวิตและอายุขัยเฉลี่ย สูงกว่าผลจากการสูบบุหรี่
· จากการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียกำลังผลิต(Productivity lost) ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและค่าเสียหายรวมรายจ่ายของรัฐจากอาชญากรรมและความรุนแรงที่มีสาเหตุจากการดื่มน้ำเมา สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ คิดเป็นมูลค่าปีละกว่า ๕ แสนล้านบาท๑)
“น้ำเมา” จึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าอื่นๆ ทั่วไป แต่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งที่เป็นเสมือนยาพิษกัดกร่อนทำลายเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เสื่อมทรุดลงจนถึงแก่น
ดังนั้นเมื่อธุรกิจบุหรี่ยังห้ามเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว จึงไม่มีเหตุผลเลยที่จะรับธุรกิจน้ำเมาที่ให้โทษมากกว่าเข้าตลาดหลักทรัพย์
สวนดุสิตโพล
ผู้ที่สูบบุหรี่คิดอย่างไร ?
กรณี : บุหรี่ สุรา/เบียร์ ยาเสพติด การพนัน
วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันรณรงค์งดสูบบุหรี่โลก "สวนดุสิตโพล" สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั้งผู้ที่ สูบบุหรี่และเคยสูบแต่เลิกแล้ว ต่อบุหรี่ สุรา/เบียร์ ยาเสพติด และการพนัน ว่ามีความเกี่ยวข้องกับผู้สูบบุหรี่อย่างไร โดยสำรวจคนในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่สูบบุหรี่ จำนวน 1,624 คน ระหว่างวันที่ 27 – 30 พฤษภาคม 2544 สรุปผลได้ดังนี้
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ดื่มสุรา / เบียร์ด้วยหรือไม่ ?
เพราะ สังสรรค์, พบปะเพื่อนฝูง, คลายเครียด, ดื่มมานานแล้ว/ติดเลิกไม่ได้ ฯลฯ
เพราะ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ, สิ้นเปลือง, อยากเลิกเอง ฯลฯ
เพราะ มีโรคประจำตัว,สุขภาพไม่ดี, ไม่มีประโยชน์ ฯลฯ
1. ผู้ที่สูบบุหรี่คิดว่าบุหรี่เป็นสาเหตุในการติดยาเสพติดหรือไม่ ?
ชาย หญิง ภาพรวม
เพราะ เป็นยาเสพติดขั้นพื้นฐาน, ทำให้หันไปลองยาเสพติดประเภทอื่น,เพื่อนชวนให้ลอง ฯลฯ
เพราะ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล, บุหรี่ไม่เกี่ยวกับยาเสพติด ฯลฯ
* ไม่ระบุ 1.10% 1.34% 1.23%
3. ผู้ที่สูบบุหรี่คิดว่าบุหรี่มีส่วนทำให้ติดการพนันหรือไม่ ?
เพราะ เป็นสิ่งมอมเมา, สามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้ ฯลฯ
เพราะ ไม่เกี่ยวกัน, ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล, เล่นการพนันแต่อาจไม่ติดบุหรี่ ฯลฯ
* ไม่ระบุ 2.75% 4.46% 3.69%
4. ดาราคนใด ที่จะช่วยรณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ได้ดีที่สุด?
อันดับที่ 1 ปฏิภาณ ปัฐวีกานต์ 49.02% 41.96% 45.49%
อันดับที่ 2 ศรราม เทพพิทักษ์ 17.65% 33.04% 25.35%
อันดับที่ 3 เจมส์ เรืองศักดิ์ 9.80% 14.29% 12.05%
อันดับที่ 4 เบิร์ด ธงไชย 15.69% 4.46% 10.07%
อันดับที่ 5 เต๋า สมชาย 7.84% 6.25% 7.04%
๑) รศ.นพ.ยงยุทธ ขจรธรรม, นพ.บัณฑิต ศรไพศาลและดร.พิมพา ขจรธรรม, ประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ๒๕๔๗