เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : ทำร้ายตัวเองและสังคม

วันที่ 23 ธค. พ.ศ.2548

โทษและผลเสียจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมากมายในหลายมิติ อาจสรุปได้ดังนี้
 

 

เฉียบพลัน

acute

 

เรื้อรัง

chronic

กายภาพ

physical

 

ตาย/บาดเจ็บ- อุบัติเหตุ

ตาย/บาดเจ็บ-ทะเลาะวิวาท

 

ความดันโลหิตสูง-โรคหัวใจ

เส้นเลือดสมองแตก-ตีบ-ถูกทำลาย

มะเร็ง-คอ-กระเพาะ-ตับ-เต้านม-ลำไส้

ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ

 

ประสาทและจิตใจ

psychological

 

ปฏิกิริยาสนองตอบช้าลง

การควบคุมอารมณ์ผิดปกติ

 

ความจำระยะสั้น/ยาว-บกพร่อง/เสื่อม

ประสาทหลอน

ลงแดง-คลุ้มคลั่งจากพิษสุราเรื้อรัง

 

สังคม

social

 

เมาแล้วขับ

อาชญากรรมความรุนแรง

ปัญหาการทำงาน

ความรุนแรงในครอบครัว

 

หนี้สิน

สูญเสียหน้าที่การงาน

ครอบครัวแตกแยก-สลาย

จรจัด-ไร้ที่อยู่

 

     ผู้ที่ดื่มประจำทุกวัน (category II)[1] ในปริมาณ 20.0 – 39.9 กรัมของแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือเทียบได้กับเบียร์ 1-2 ขวดต่อวันจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

แท้ง ผู้ดื่มเสี่ยงมากกว่าผู้ไม่ดื่ม 1.76 เท่า

มารดาคลอดทารกน้ำหนักต่ำ เสี่ยง 1.40 เท่า

มะเร็งปากและช่องปาก เสี่ยง 1.85 เท่า

มะเร็งหลอดอาหาร เสี่ยง 2.38 เท่า

มะเร็งตับ เสี่ยง 3.03 เท่า

มะเร็งเต้านม (อายุน้อยกว่า 45) เสี่ยง 1.41 เท่า (อายุมากกว่า 45) เสี่ยง 1.38 เท่า

มะเร็งอื่นๆ เสี่ยง 1.30 เท่า

ความดันโลหิตสูง เสี่ยง 2.00 เท่า

ตับแข็ง เสี่ยง 9.50 เท่า

หัวใจเต้นผิดปกติ เสี่ยง 2.23 เท่า


วัยรุ่นเมินรณรงค์เลิกเหล้า เลี่ยงซดสปายไวน์คูลเลอร์

        ผู้พิพากษา หน.ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ชี้คดีความผิดต่อชีวิตร่างกายกว่า 90 เปอร์เซ็นต์สาเหตุมาจากดื่มเหล้าแล้วก่อเหตุ พบวัยรุ่นเมินการรณรงค์ลดเลิก สวนกลับเป็นสิทธิส่วนตัว เลี่ยงไปซื้อสปายไวน์คูลเลอร์แทน อ้างน้ำผลไม้ ทำให้ยอดนักดื่มหน้าใหม่พุ่ง

        ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 5 เผยกลางวงประชุมโครงการรณรงค์ลดเหล้า พบคดีความผิดต่อชีวิตร่างกายกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มูลเหตุมาจากดื่มสุรา วัยรุ่นไม่สนอ้างเป็นสิทธิส่วนตัว ทำนักดื่มหน้าใหม่พุ่ง สวดเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่นอย่างเทศบาล อบจ. และ อบต.บางแห่งไม่ร่วมมือ ซ้ำบางคนมีผลประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องสุราอยู่ เสนอรัฐบาลให้ทบทวนว่าเงินที่ได้จากการเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่เปรียบเทียบกับเงินที่ต้องเสียไปในการแก้ปัญหาที่คนดื่มเหล้าแล้วก่อคดีความผิดคุ้มกันหรือไม่ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่บ้านพักฉุกเฉิน ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อนหญิง โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) จัดการประชุมสรุปการดำเนินงาน โครงการลดเหล้า : ลดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก มีนายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ ภาค 5 นายจะเด็ด เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง และแกนนำเครือข่ายโครงการลดเหล้า 4 จังหวัดจาก จ.อำนาจเจริญ เชียงใหม่ สมุทรปราการ และชุมพรเข้าร่วมประชุม

        นายวัชรินทร์กล่าวว่า จากการที่ได้เข้ามาทำงานร่วมกับมูลนิธิเพื่อนหญิงและเครือข่ายแกนนำทั้ง 4 จังหวัดเป็นเวลา 1 ปี จากที่ได้ลงไปสำราจพื้นที่ในแต่ละจังหวัดพบว่า แต่ละพื้นที่ต้องใช้วิธีการรณรงค์ โครงการลดเหล้าแตกต่างกัน เพราะแต่ละจังหวัดมีสภาพสังคม วิถีชีวิตของคนในสังคมแตกต่างกัน จะใช้วิธีให้แกนนำไปพูดรณรงค์ก็คงไม่ได้ อย่างพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงคือเครือข่ายศูนย์ช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กชุมชนไทยเกรียง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ พบว่าพนักงานในโรงงานต่างๆ นั้นมีการดื่มเหล้ากันมากขึ้น

        นายวัชรินทร์กล่าวว่า จากการสำรวจผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เมื่อฝ่ายหญิงตกงานไม่มีรายได้ พบว่าฝ่ายชายร้อยละ 70 หันไปดื่มสุรา เมื่อเมาก็จะไปใช้ความรุนแรงกับฝ่ายหญิงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การช่วยเหลือของแกนนำเครือข่ายโครงการลดเหล้าเข้าไปช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำได้ยาก เพราะชุมชนคนไทยมีคนจากหลายพื้นที่เข้ามาอยู่อาศัยย้ายถิ่นกันบ่อย การช่วยเหลือจึงทำได้ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัยรุ่นในพื้นที่จะเข้าไปรณรงค์ได้ยากมาก วัยรุ่นจะหวาดระแวงคนที่ไม่รู้จักมาก่อน ทำให้แกนนำไม่กล้าเข้าไปรณรงค์เพราะกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินตัวเอง "จากการตัดสินคดีความที่ผ่านมาของตัวเองนั้น ภาพรวมของการก่อคดีทั้งหมดพบว่าความผิดต่อชีวิตร่างกายร้อยละ 90 มีมูลเหตุมาจากผู้ต้องหานั้นดื่มเหล้าแล้วก่อความผิด คดีฆ่ากัน ทำร้ายร่างกายกัน ปล้นชิงทรัพย์ อย่างที่วัยรุ่นยกพวกตีกันนั้นสอบสวนแล้วเกือบทุกคดีวัยรุ่นจะดื่มเหล้ากันก่อน เพื่อให้ใจกล้าคึกคะนองแล้วจึงยกพวกตีกัน มีวัยรุ่นบางคนที่ดื่มเหล้าย้อมใจเพื่อไปชิงทรัพย์ ข่มขืนกระทำชำเราผู้หญิง" ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลอุทธรณ์ ภาค 5 กล่าว

        นายวัชรินทร์กล่าวว่า จากที่ไปสำรวจทั้ง 4 จังหวัด พบปัญหาที่เหมือนกันคือวัยรุ่นจะไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรณรงค์ลดเหล้า กลับเห็นว่าเรื่องการดื่มเหล้าเป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิส่วนตัวที่ทำได้ ทำให้จำนวนของวัยรุ่นเยาวชนที่ดื่มเหล้ายังไม่ลดลง และยังเกิดนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น บางพื้นที่อย่างที่ จ.ชุมพร เยาวชนระดับมัธยมพยายามหาวิธีหลีกเลี่ยงไปซื้อเครื่องดื่มอย่างสปายไวน์คูลเลอร์แทน แล้วบอกว่าไม่ใช่เหล้าเป็นน้ำผลไม้ ทั้งที่จริงแล้วสปายมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 5 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นช่องทางแรกที่จะนำไปสู่การดื่มเหล้าได้ หรืออย่างวัยรุ่นของชุมชนคนไทย จ.สมุทรปราการ เมื่อแกนนำเข้าไปพูดรณรงค์ให้เลิกดื่มเหล้า เด็กวัยรุ่นกลับเถียงว่า "เป็นเรื่องส่วนตัวและเงินก็เป็นของตัวเอง ถ้าอยากให้พวกตนเลิกดื่มเหล้ารัฐบาลก็เลิกผลิตและนำเข้าเหล้าสิ"

        นายวัชรินทร์กล่าวอีกว่า ที่โครงการลดเหล้าไม่คืบหน้าจำนวนคนดื่มเหล้ายังลดไม่ได้มากนั้น แกนนำเครือข่ายทั้ง 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ อำนาจเจริญ และสมุทรปราการ รายงานว่า เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องถิ่นอย่างเทศบาล อบจ. และ อบต. ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ เพราะเจ้าหน้าที่บางคนมีผลประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องเหล้าอยู่ จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับแกนนำ อยากจะเสนอรัฐบาลให้ทบทวนว่าเงินที่ได้จากการเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่ เปรียบเทียบกับเงินที่ต้องเสียไปในการแก้ปัญหาที่คนดื่มเหล้าแล้วก่อคดีความผิดนั้น ทั้งในส่วนของกรมราชทัณฑ์ ศาล ตำรวจ และบุลคลที่เกี่ยวข้องนั้นคุ้มค่าหรือไม่ในระยะยาว อยากให้คิดทบทวนใหม่

 

ที่มา
หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ปีที่ 28 ฉบับที่ 9822 วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2548 หน้า 1
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 

 

ข้อมูลจาก [1]

Gutjahr et al., 2001 ; Ridolfo & Stevenson, 2001. Summary of RR for chronic diseases using CRA disease categories

 

 

 

 

 

            

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012499749660492 Mins