a) ธุรกิจสุรารุกขยายตัวอยู่ตลอดเวลา ( ทุ่มงบโฆษณาและการตลาด , ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ) ตัวอย่างความเคลื่อนไหว ได้แก่
“ บาคาร์ดี” ระบุปรับโครงสร้างภาษีกระทบตลาดน้ำเมายิ่งแข่งดุ เร่งเครื่องหาตลาดใหม่ ปูพรมตลาดไวท์ สปิริต ทุ่งงบกว่า 10 ล้านบาท ดันบอมเบย์ แซฟไฟร์แจ้งเกิด ขานรับแทรนด์ค็อคเทล - สถานบันเทิง พรีเมียมบูม พร้อมส่งแบรนด์เกรกุช วอดก้าพรีเมียเสริมทัพ มั่นใจสิ้นปีกวาดรายได้ 1,000 ล้านบาท โต 7 % ( ข่าวผู้จัดการรายวัน 10 มี . ค .48)
b) หากธุรกิจสุราเข้าตลาดได้ จะเกิดผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดการบริโรคมากขึ้น
จะเห็นจากตัวอย่างข่าวความเคลื่อนไหวของธุรกิจ สุราข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจสุราพร้อมที่จะ ทุ่มงบประมาณเพื่อทำการตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้าหรือรุกเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่ เพื่อให้มีผู้ดื่มมากขึ้น และเพื่อผลกำไรของตนเองซึ่งมากมายกว่าที่ลงทุนไปมาก หากธุรกิจสุราสามารถระดมเงินทุนได้มากขึ้น จะทำให้มีความสามารถในการผลิตมากขึ้น ทำให้ราคาถูกลง ผู้บริโภคสามารถบริโภคในปริมาณที่มากขึ้นในค่าใช้จ่ายเท่าเดิมอีกทั้งเงินทุนที่มาก ทำให้ธุรกิจสุราสามารถทำการตลาดได้มากขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดการบริโภคมากขึ้นด้วยแน่นอน
4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจสุรามากขึ้น การดำเนินการควบคุมการบริโภคสุราจะทำได้ยากขึ้น
a) เมื่อธุรกิจสุราเข้าตลาดได้ ย่อมมีผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะการปกป้องธุรกิจ ส่งผลให้เกิดการคัดค้านนโยบายควบคุมการบริโภคสุรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายควบคุมด้านอุปทาน ซึ่งได้แก่ มาตรการการขึ้นภาษี , มาตรการควบคุมความแพร่หลายของการจำหน่ายและการดื่ม , มาตรการควบคุมโฆษณาและการส่งเสริมการขาย , มาตรการควบคุมการนำเข้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ย่อมส่งผลให้เกิดบริโภคมากขึ้นได้เช่นกัน
b) เนื่องด้วยนโยบายควบคุมการบริโภคสุราจะส่งผลกระทบต่อการทำกำไรของบริษัทสุรา ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นของธุรกิจสุรา อาจเป็นผลให้ตลาดดัชนีหลักทรัพย์ (Set index) อ่อนไหวตาม ย่อมอาจทำให้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง
จนเกิดผลกระทบกลับมายับยั้งการดำเนินนโยบาย เพื่อควบคุมการบริโภคสุราในที่สุด ย่อมส่งผลให้เกิดการบริโภคมากได้เช่นกัน ดังเช่นการวิเคราะห์จากผู้จัดทำการสำรวจคอร์รัปชัน ในเอเชียของเพิร์ค ( บริษัทที่ปรึกษาทางการเมืองและเศรษฐกิจ ) ที่ระบุว่า อินโดฯ ครองอันดับหนึ่งของการคอร์รัปชัน และไทยเป็นอันดับที่ 7 ผู้จัดทำการสำรวจระบุว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์ดีขึ้น จากการปราบคอร์รัปชัน แต่ก็ยังมีกฎหมายและวิธีปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์อุตสาหกรรม และธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสัมพันธ์นักการเมืองทรงอิทธิพล ( นสพ . กรุงเทพธุรกิจ 9 มี . ค . 48) [ การสำรวจความเห็นนี้กระทำกับนักธุรกิจต่างชาติ 900 คน ทั่วเอเชีย เมื่อเดือน ม . ค .- ก . พ ., การสำรวจนี้กระทำมาแล้วปีนี้เป็นปีที่ 18 และให้คะแนนจาก 0-10 โดยประเทศที่ได้คะแนน 0 ถือว่ามีการคอร์รัปชันน้อยที่สุด , สิงคโปร์คะแนนดีที่สุด ตามด้วย ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย จีน อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ]
5. สร้างค่านิยมใหม่ทางลบแก่สังคม และนำร่องธุรกิจสีเทาอื่น ๆ เข้าตลาดฯ
a) อันตรายจากธุรกิจสีเทามีมาก
ธุรกิจสีเทา ได้แก่ ธุรกิจที่ล่อแหลมต่อการเกิดผลเสียทางสังคม ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่าง ๆ เช่น ธุรกิจอาบอบนวดซึ่งเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืน และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ธุรกิจการพนัน ธุรกิจสุรา และยาเสพติดทั้งหลาย เป็นต้น
อันตรายของธุรกิจเกี่ยวกับอบายมุขมีมากมายตั้งแต่ ทำให้ประชาชนหมกมุ่น เสียเวลา เสียเงิน เกิดผลกระทบในครอบครัวและสังคม เช่น การทะเลาะวิวาท และอุบัติเหตุ
b) แนวโน้มการเข้าตลาดของธุรกิจสีเทา
i) มีความพยายามคิดนำธุรกิจอาบอบนวดเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ( หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1279
ii) ในประเทศออสเตรเลียมีการจดทะเบียนซ่องโสเภณีในตลาดหลักทรัพย์ ( ซ่องแรกและซ่องเดียวของโลก )
iii) มีหลายประเทศในทุกทวีปที่มีธุรกิจสุราอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
มีหลายประเทศในทุกทวีปที่มีธุรกิจสุราอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ รัสเซีย สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอแลนด์ อิตาลี แอฟริกาใต้ จีน ( ฮ่องกง ) ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย เป็นต้น ; ประเทศที่ไม่มีธุรกิจสุราในตลาดหลักทรัพย์เลย ได้แก่ สวีเดน
c) สร้างค่านิยมทางลบแก่สังคม ( เห็นธุรกิจอบายมุขเป็นเรื่องธรรมดา ) และนำร่องธุรกิจสีเท่าอื่น ๆ เข้าตลาด
หากตลาดหลักทรัพย์ยอมรับธุรกิจสุราเข้าตลาดฯต่อไปในอนาคตจะทำให้ประชาชนและเยาวชนรุ่นใหม่ เกิดค่านิยมยอมรับธุรกิจอบายมุขเพื่อการทำกำไรสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมและผลกระทบที่เกิดกับสังคม และยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นการนำร่องพาธุรกิจอบายมุขอื่น ๆ เข้าสู่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ต่อไป
ข้อมูล “ธุรกิจสุรากับตลาดหลักทรัพย์”
เรียบเรียงข้อมูล: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)
นำเสนอเวทีวิชาการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ 17 มีนาคม 2548)