สมเด็จพระสังฆราชครบ ๙๓ พรรษา

วันที่ 03 ตค. พ.ศ.2548

                                                      

  

 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

(เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)

        สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

        ประวัติ พระนามเดิม เจริญ พระฉายา สุวฑฺฒโน นามสกุล คชวัตร พระชนก น้อย พระชนนี กิมน้อย ประสูติ วันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ที่ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจบุรี ทรงศึกษาที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุได้ ๘ พรรษา และบรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดเทวสังฆาราม เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ ได้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ.๒๔๗๒ ได้มาอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร

ศึกษาพระปริยัติธรรม ได้ตามลำดับดังนี้

พ.ศ. ๒๔๗๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี

พ.ศ. ๒๔๗๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท และเปรียญธรรม ๓ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๔ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๗๖อุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม จำพรรษาที่วัดนี้ ๑ พรรษา แล้วกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร อุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุตและสอบ ไล่เปรียญธรรม ๕ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๗๗, ๒๔๗๘, ๒๔๘๑ และ ๒๔๘๔ สอบได้เปรียญธรรม ๖, ๗, ๘ และ ๙ ประโยคตามลำดับ

พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นสมาชิก สังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียน วัด   บวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษา มหามงกุฎราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภณคณาภรณ์ และเป็นกรรมมหามงกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว

พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำรา ของมหามงกุฏราชวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในพระราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา

                           พระองค์ได้บริหารงานพระศาสนา ในการคณะสงฆ์มาโดยตลอดเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร

พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในพระราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และเสด็จ  ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธร   ชั้นฎีกา

พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)

พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครองสั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุติ

พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหา มงกุฎราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ และได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามนี้ มีขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฬ้า ฯ เป็นฝ่า  วิปัสสนาธุระ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานสมศักดิ์นี้เป็นองค์แรก และต่อมาก็มิได้พระราชทานสมณศักดิ์นี้แก่พระเถระรูปใดอีกเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นเวลาถึง ๑๕๒ ปี

พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต

พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. ๒๕๓๑ รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามงกุฎราช วิทยาลัย

         ผลงานของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นเอนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018026232719421 Mins