.....วันคืนที่ผ่านมา แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิต ที่เราเคยคิด เคยพูด เคยทำ อาจเป็นความทรงจำที่ไม่น่าภาคภูมใจ ก็ไม่เป็นไร
.....เพราะในวันนี้ เราได้รู้ถึงคุณค่าของการรักษาศีล เราจึงมีความหวังอันสดใสที่จะมีชีวิตดีงาม น่าภาคภูมิใจ และที่วิเศษที่สุดก็คือ เราสามารถเริ่มต้นรักษาศีลได้ ณ วินาทีนี้เลยทีเดียว
....เมื่อศีล เกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะละเว้นความชั่ว การรักษาศีล จึงเริ่มต้นที่ความตั้งใจ ให้เราตั้งใจนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้ว ที่จะรักษาศีล
.....นอกจากนี้ ยังมีกลวิธี ที่จะช่วยให้เรารักษาศีลอย่างเพลิดเพลินและสม่ำเสมอได้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการหมั่นนึกทบทวนศีลแต่ละข้อของเราอย่างสบายๆ ในยามว่าง ดูว่าศีลข้อไหน เรารักษาได้ดี ก็นึกชื่นชม และตั้งใจรักษาให้ดีต่อไป ข้อไหนด่างพร้อย ขาดไป ก็ตั้งใจรักษาใหม่อย่างไม่เคร่งเครียด ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ การรักษาศีลของเรา ก็จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สบาย ๆ และเป็นธรรมชาติ
......ที่สำคัญ เรายังมีวิธีการ อันงดงามและชาญฉลาด ที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง นั่นคือ การสมาทานศีล
.....เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจ อย่างเต็มที่ ที่จะรักษาศีลโดยขอให้พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยาน ในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้
.....เราจึงอาราธนาและสมาทานศีล ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
.....เมื่อ กาย วาจา ใจ ของเรา ได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยัน ที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยาน เราย่อมมี ความรัก และความเคารพ ในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม
......เมื่อเรารักษาศีล ด้วยความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเรา ก็ย่อมจะหมดจดงดงามอย่างไม่ต้องสงสัย
......คำอาราธนาศีล ๕
.....มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
.....สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
.....ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
.....สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
....ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ
.....สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
.....(ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพังให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)
.....คำสมาทานศีล ๕
.....นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว ๓ หน)
.....พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
......สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
......ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
.....ศีล ๕
.....๑.ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๒.อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๓.กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
......๔.มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๕.สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....ส่วนในวันพระ หรือในวาระพิเศษ ที่เราปรารถนาจะรักษาศีล ๘ หรือ อุโบสถศีลเพื่อเป็นความดีอันยิ่งขึ้นไป ก็กล่าวคำ อาราธนา และสมาทานศีล ๘ ดังนี้
.....คำอาราธนาศีล ๘
.....มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
.....ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
.....ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
.....คำอาราธนาอุโบสถศีล
.....มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง
.....อุโปสะถัง ยาจามะ
.....(กล่าว ๓ ครั้ง)
.....(ถ้าอาราธนาเพื่อเองตามลำพังให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)
.....คำสมาทานศีล ๘
.....๑.ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๒.อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๓.อะพรัมมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๔.มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๕.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๖.วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๗.นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระนะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....๘.อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
.....สีลํ เสตุ มเหสก?โข สีลํ คนโธ อนุตตโร .....สีลํ วิเลปนํ เสฏฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ.
.....ศีล เป็นสะพานข้ามฟากที่มั่นคงแข็งแรงมาก .....ศีล มีกลิ่นหอมอันเยี่ยมยอด .....ศีล เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด .....บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกสารทิศ .....(๒๖/๓๗๘) |