เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับรักษาศีล

วันที่ 18 เมย. พ.ศ.2546

 

....หากจะกล่าวโดยละเอียดยิ่งขึ้น การรักษาศีล ๕ คงมิใช่พียงแค่การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา แต่เพียงเท่านั้น หากยังรวมถึงการงดเว้นจากการเบียดเบียนต่างๆ ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ

 

.....๑. ปาณาติาตา เวรมณี ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

....ก. การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
คำว่าสัตว์นี้ หมายถึงทั้งมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน รวมทั้งชีวิตที่ยังอยู่ในครรภ์ด้วย

 

.....ข. การทำร้ายร่างกาย
ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
- ทำให้พิการ , ทำให้เสียโฉม , ทำให้บาดเจ็บ

 

.....ค. การทรกรรม

.....ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่

.........- การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามที่ควร

......- กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถที่จะเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข

......- นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรามาน

.......- เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุก

......- ผจญสัตว์ ได้แก่ การจับสัตว์มาต่อสู้กัน เช่นการชนโค

 

......๒. อทินนาทานา เวรมณี ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

.....ก. โจรกรรม

......- ลัก ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น

......- ฉก ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า

......- กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์

......- ปล้น ได้แก่ การยกพวกถืออาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น

......- ฉ้อ ได้แก่ การโกงทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน

.......- หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน

.......- ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น ด้วยกลวิธีต่างๆ เช่น การโกงตาชั่ง

.......- ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้

.......- ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน

......- เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน

......- สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตนไปเปลี่ยนกับของๆ ผู้อื่น ซึ่งดีกว่า

.......- ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษี การค้าขายสิ่งของผิดกฏหมาย

......- ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย่ของตนจะต้องถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้เสียที่อื่น เพื่อหลบเลี่ยงการถูกยึดทรัพย์

 

.....ข. อนุโลมโจรกรรม

......- การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่นการรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร

.....- ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว

......- รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน

 

.....ค. ฉายาโจรกรรม

.....- ผลาญ คือ การสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะนำทรัพย์นั้นมาเป็นของตน เช่นการลอบวางเพลิง

.....- หยิบฉวย คือ การถือเอาทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ

 

.....๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรณี ตั้งใจงดเว้นการการประพฤติผิดในกาม โดยไม่ล่วงละเมิดทางกามกับบุคคลต้องห้าม ต่อไปนี้

 

.....หญิงต้องห้าม ได้แก่

.....- หญิงมีสามี

......- หญิงมีญาติปกครอง

......- หญิงมีจารีห้าม

 

.....ชายต้องห้าม ได้แก่

.....- ชายอื่นนอกจากสามีตน

.....- ชายที่จารีตห้าม

 

......นอกจากนี้ การรักษาศีลข้อที่ ๓ ยังรวมถึงการงดเว้นจากการเกี้ยวพาราสี การล่วงเกิน การแสดงกิริยารักใคร่ อันไม่สมควร กับบุคคลต้องห้ามดังกล่าวด้วย

 

......หมายเหตุ จะเห็นว่า ศีลข้อที่ ๓ มีการหวงห้ามในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพราะได้มีการคำนึงถึงว่า

 

.....การประพฤติผิดในกามนั้นนำความเสียหายมาสู่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

 

.......๔. มุสาวาทา เวรมณี ประกอบด้วยการตั้งใจงดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไนี้

 

......ก. มุสา

....- ปด ได้แก่ การโกหก

......- ทนสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ด้วยการสาบาน

.....- ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ อันไม่เป็นจริง

.....- มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง

......- ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด

.......- เสริมความ ได้แก่ การเสริมความให้มากกว่าที่เป็นจริง

......- อำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสียเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไป

 

.....ข. อนุโลมมุสา คือ การกล่าวเรื่องไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งหวังจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ ได้แก่

.....- เสียดแทง เป็นการว่าให้ผู้อื่นเจ็บใจ เช่นการประชด การด่า

......- สับปลับ เป็นการพูดปด ด้วยความคะนองปาก

 

......ค. ปฏิสสวะ คือ การรับคำผู้อื่น ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่

....- ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตามที่สัญญาไว้

......- เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตว์ไว้ แต่ภายหลังไม่บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น

.....- คืนคำ คือ การรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่

.....หมายเหตุ ยังมีกรณีของ ยถาสัญญา ซึ่งถือเป็นมุสาวาทที่ไม่มีโทษ ได้แก่

 

.....- โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ทใช้กันตามธรรมเนียม เช่น การเขียนจดหมายที่แสดงความอ่อนน้อมด้วยการลงท้ายว่า "ด้วยความเคารพอย่างสูง" ทั้งที่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น

.....- นวนิยาย ได้แก่ การแต่งเรื่องเปรียบเทียบ หรือจินตกวีต่างๆ

.....- สำคัญผิด ได้แก่ การที่ผู้พูดเข้าใจผิด แล้วพูดไปตามความเข้าใจของตน

.....- พลั้ง ได้แก่ การที่ผู้พูดตกใจ แล้วพูดพลั้งไปโดยไม่เจตนา

 

.....๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี
ตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

.....- สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ

......- เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ

 

.....นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุกชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อนให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0082537690798442 Mins