ลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๙ แม้ยืนไมย่อตัวลงก็สามารถแตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง
คือยืนเฉยๆ ก็ใช้มือทั้งสองแตะเข่าได้ ส่วนพวกเรายืนแล้ว เหยียดแขนเต็มที่ มือจะอยู่ห่างจากหัวเข่าถึงหนึ่งคืบ แต่ของมหาบุรุษ หัวเข่าท่านสูงขึ้นมามากกว่าพวกเรา แล้วมือท่านก็ยาวกว่า พูดง่ายๆ ว่า นอกจากแข่นท่านยาวแล้ว ขาช่วงล่างท่านยังยาวอีกด้วยลักษณะข้อนี้ดียังไง พวกเราที่นั่งอยู่นี่บางคนเกาหลังไม่ทั่วหรอก แต่ของท่าเกาได้ตลอดหลังเลย ยื่นมือซ้ายข้ามไหล่ลงไปเกี่ยวกับมือขวาทางด้านหลังก็ได้ ของพวกเราเกี่ยวกันได้ไหม ก็ไม่แน่ ดูตัวอย่างพวกซูโม่บางคน ตลอดชีวิต ขออภัย อย่าว่าหยาบคายเลย ท่อนตัวยาวแต่มือสั้น แค่จะล้างก้นตัวเองก็ล้างไม่ได้ รูปร่างไม่ได้สัดส่วน เหมือนอึ่งอ่างแต่สำหรับลักษณะมหาบุรุษได้สัดได้ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เข่าที่สูงขึ้นมานี้มีผลมาก พวกเราเคยสังเกตไหม สุนัขบางตัวลำตัวโตๆ แต่ขาสั้น วิ่งก็วิ่งช้า สู้เขาไม่ได้ คนไทยเมื่อเทียบกับชาวยุโรป เขาเรียกว่า ทรงปีบ ขออภัย เหมือนสุนัขตัวโตแล้วขาสั้น เพราะฉะนั้น คนไทยไปวิ่งแข่งกับชาวยุโรป สู้เขาไม่ค่อยได้ เพราะขาสั้นกว่าเขา
เคยนึกไหมว่า ถ้าหัวเข่าของเราสูงขึ้นมาอีกสักฝ่ามือหนึ่ง โดยที่ความสูงเท่าเดิม เราจะเดินเร็วขึ้น แต่ว่าถ้าสูงจัดไปอาจจะหกล้มง่าย พวกฝรั่งและนิโกรหัวเข่าสูงกว่าคนไทยและคนเอเชียทั่วไป พวกนี้จะวิ่งได้เร็วกว่าคนไทย เพราะเขามีสัดส่วนทางด้านขาดีกว่าเรา สำหรับคนบางเผ่าในญี่ปุ่นแย่หนักเข้าไปอีก หัวเข่านี่ต่ำกว่าพวกเราลงไปอีก สมมติก็แล้วกัน ถ้าหัวเข่าเราไปอยู่ที่หน้าแข้งล่ะ เราจะเดินยังไง คงเดินตุ๊กติ๊กๆ ซีนะ ต้องหัดสังเกตดู ลูกเอ๊ย พอเราสังเกตอย่างนี้แล้ว เราจึงจะเข้าใจทันทีว่า มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาลักษณะมหาบุรุษว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง แต่ละลักษณะได้มาอย่างไรดังได้กล่าวแล้วว่า แม้ยืนตรงๆ ก็สามารถแตะเข่าได้ด้วยมือทั้งสอง แสดงว่าหัวเข่าก็สูงมือก็ยาว นักมวยที่มือยาวกว่าคู่ต่อสู้เพียงครึ่งเซ็นต์เท่านั้น ก็ได้เปรียบมากแล้ว เวลาเขาสวนหมัดกัน ถ้าต่อยไปพร้อมๆ กัน ฝ่ายที่ช่วงแขนสั้นกว่าเพียงครึ่งเซ็นต์หงายท้องตึง โดยที่ฝ่ายช่วงยาวกว่ายังไม่ทันโดนหมัดเลย กล่าวได้ว่า เพียงแค่แขนยาวกว่าครึ่งเซ็นต์ก็ชนะแล้ว
* * ข้อดีของลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๑๐ จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไป * *
ขอขอบคุณ หนังสือ “ลักษณะมหาบุรุษ”
ปาฐกถาธรรมของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย