เป็นที่ทราบกันดีว่า "สมาธิ" เป็นสมบัติทางภูมิปัญญาของซีกโลกตะวันออก เชื่อกันว่าเริ่มต้นจริงจังเป็นครั้งแรกที่บริเวณทวีปอินเดียและดินแดนโดยรอบ ก่อนที่จะแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเอเชียส่วนใหญ่ไว้เกือบทั้งหมด แต่เดิมสมาธิถูกวางไว้ว่าเป็นเรื่องของการทำใจให้สงบ นิ่งๆ เฉยๆ หรือถูกมองว่าเป็นการปล่อยให้ความรู้สึกของตนหลอมละลายไปเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล แล้วจึงอาศัยความรู้สึกนี้ มมติว่าเป็นการทำให้มนุษย์ต่อเนื่องกับสวรรค์ จนกระทั่งการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในประเทศอินเดียสมาธิจึงถูกทำให้ชัดเจนขึ้น จนเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติบนหลักเกณฑ์ที่เข้าใจง่าย ทำตามได้จริง จากนั้นการปฏิบัติสมาธิของพระพุทธศา นาก็ถูกเผยแผ่ออกไปตามเส้นทางการไหลของวันธรรม เส้นทางการค้าและการ งคราม จนแทบทั้งหมดของผู้คนในทวีปเอเชีย ไม่มีใครไม่รู้จักคำว่าสมาธิ แตกต่างก็ตรงที่ว่าเป็นผู้ปฏิบัติได้หรือไม่เท่านั้น
จุดประสงค์หลักของการปฏิบบัตัสมาธิ คือ
1. เป็นไปเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความสุข ความสงบ ความไม่รบกวนซึ่งกันและกัน
2. เป็นไปเพื่อให้มนุษย์ได้ทราบว่า "ตนเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตน" และกลไกสู่ความจริงนี้คือ "ใจ"ของเขาเอง
3. เป็นไปเพื่อให้มนุษย์ได้ทราบถึงธรรมชาติที่แท้จริงของ "ใจ" ของตัวเองว่าอยู่ที่ไหน มีลักษณะรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
กล่าวโดยสรุปง่าย ๆ ก็คือ มนุษย์ทุกคนย่อมทราบดีว่า ใจเป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งหลาย เช่นความ
เลวร้ายและความดีงาม ใจดีย่อมสร้างสิ่งดี ใจร้ายย่อมก่อให้เกิดสิ่งร้าย ๆ และในเมื่อสังคมโลกต่างปรารถนาความดี ความ งบ ความงาม นั่นหมายความว่าโลกกำลังปรารถนา "ใจที่ดี ใจที่มีคุณภาพ" คำตอบก็คือ"สมาธิทำให้มนุษย์ รู้จักควบคุม และจรรโลงใจของตนเองให้งดงามได้ด้วยตัวเองนั่นเอง"
ระดับความลึกซึ้งของสมาธิเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของเจ้าของใจและความปรารถนาของผู้ฝึกว่าจะเดินไปถึงไหน วางเป้าหมายในการฝึกไว้อย่างไร เพราะในทางพระพุทธศาสนานั้นกำหนดไว้ตั้งแต่เพื่อความสุขเบื้องต้นของการเป็นมนุษย์ปุถุชน ไปจนกระทั่งถึงเป็นเพศนักบวชคือสมณะผู้ปรารถนาการตรัสรู้ธรรมเข้าสู่พระสัทธรรมที่เป็นที่สุดของความจริง แต่แน่นอน ไม่ว่าจะตั้งความปรารถนาไว้
อย่างไร ทุกคนต้องเริ่มต้นที่ขั้นพื้นฐานเหมือนกันทั้งสิ้นสำคัญคือ การทำสมาธิ หรือการฝึกปฏิบัติสมาธินั้นให้ความสุข ความสงบได้โดยทันทีแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้น หรือเป็นเพียงระดับเบื้องต้นก็ตามถ้าการปฏิบัตินั้นถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากนั่นคือสมาธิ เป็นสิ่งที่คนทั้งปวงทำได้ ไม่ว่าจะอยู่ในความเชื่อใด เพราะ
มนุษย์ต่างก็มีใจด้วยกันทุกคน ใจเป็นของสากล มิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ หากแต่อยู่บนพื้นฐานของความจริงที่มนุษย์ทุกคนล้วนมีเหมือนกัน แต่แน่นอน ไม่ว่าจะตั้งความปรารถนาไว้อย่างไร ทุกคนต้องเริ่มต้นที่ขั้นพื้นฐานเหมือนกันทั้งสิ้นสำคัญคือ การทำสมาธิหรือการฝึกปฏิบัติสมาธินั้น ให้ความสุข ความสงบได้โดยทันที แม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นหรือเป็นเพียงระดับเบื้องต้นก็ตาม ถ้าการปฏิบัตินั้นถูกต้องตามกฏเกณฑ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากนั่นคือสมาธิ เป็นสิ่งที่คนทั้งปวงทำได้ ไม่ว่าจะอยู่ในความเชื่อใด เพราะมนุษย์ต่างก็มี "ใจ" ด้วยกันทุกคน ใจเป็นของสากล มิได้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเชื่อ หากอยู่บนพื้นฐานของความจริงที่มนุษย์ทุกคนล้วนมีความปรารถนาเหมือนกัน นั่นคือความ สงบสุขที่แท้จริง ที่สิ่งแวดล้อมหรือวันเวลาไม่อาจมาทำให้เปลี่ยนแปลง
และด้วยเหตุที่ชาวเอเชียได้รับการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้มานานนับพันปี โดยเฉพาะคนไทย จนทำให้
โลกสังเกตเห็นได้ถึงความแตกต่าง นั่นคือความเป็นคนอดทนทว่ายิ้มแย้มตลอดไปจนถึงการปรับตนให้เป็นสุขบนพื้นฐานของความเรียบง่าย เข้าใจในเรื่องของความพอดี ความมีน้ำใจ ความเป็นผู้ให้ ในขณะเดียวกับความเป็นผู้มีขวัญและกำลังใจอยู่ตลอดเวลาสิ่งเหล่านี้แหละที่พุทธศาสนาได้วางพื้นฐานลงบนสังคมคนเอเชียอย่างแน่นหนาจนทำให้แผ่นดินแถบนี้ ดชื่น แจ่มใสเป็นเครื่องเชื้อเชิญให้ผู้คนในแถบอื่นๆ ของโลกต้องเดินทางมาเยี่ยมเยียน
แต่ก่อนจะจบบทนี้ อยากจะยืนยันอีกครั้งว่าสมาธิ เป็นสิ่งลึกซึ้งที่ปฏิบัติได้ เป็นเรื่องจริงของใจ
เป็นสากลที่สามารถให้ความสงบสุขได้แม้เพียงเพิ่งเริ่มต้น อุปมาประหนึ่งเดินมาในที่ร้อนจนกระทั่งถึงปากประตูบ้านแห่งความร่มเย็น แม้เพียงแค่เห็นประตู แสงแห่งความหวังก็ทอประกาย และแม้เมื่อปากประตูแง้มออกเพียงเล็กน้อย ก็ย่อมมองเห็นย่อมได้สัมผัสไอแห่งความร่มเย็นนั้นแล้วนั่นเอง
จากหนังสือ DOU
วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ