ระดับของสมาธิ
จากการทำสมาธิ ผู้ฝึกจะพบกับประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการฝึก โดยสามารถจำแนกระดับ
ของสมาธิได้เป็น 3 ระดับ1 คือ
ขณิกสมาธิ คือ อาการที่ใจสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ชั่วขณะหนึ่ง เช่น 510 วินาที แล้วใจจะค่อยๆ คิดฟุ้งซ่านออกไป อาการเหมือนช้างปรบหู ถ้าได้มี ติก็ดึงใจกลับมาใหม่ ค่อยๆ ประคอง อย่าใช้กำลังทำอย่างต่อเนื่องก็จะได้ขั้นต่อไป
อุปจารสมาธิ ใจสงบหยุดนิ่งได้นานกว่าขั้นแรก คือ อาจเป็นกำหนดเวลา 510 นาที หรือ
นานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ถึงขั้นฌาน ยังไม่ดิ่งลงไปแท้ เป็นแต่สมาธิที่เกือบจะแน่วแน่
อัปปนาสมาธิ ใจสงบหยุดนิ่งนานตามที่เราต้องการ เป็นขั้นที่แน่วแน่ ถึงฌาน ดิ่งลงไปสุขุมกว่าอุปจารสมาธิ และมีระดับขั้นที่ยิ่งขึ้นไปเป็นลำดับๆดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการฝึกสมาธิเป็นการฝึกที่จิตใจ เป็นการทำใจให้สงบ ตั้งมั่น แต่ใจจะตั้งมั่นได้นั้น จะต้องกำหนดทำสมาธิให้ใจตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งของใจที่จะทำให้ใจตั้งมั่น และเกิดความมั่นคงมากที่สุดนั่นก็คือศูนย์กลางกายนั่นเอง เมื่อฝึกอย่างถูกวิธีแล้ว ย่อมจะทำให้ผู้ฝึกพบกับประสบการณ์ภายในที่ดีทำให้มีความสุข และย่อมสามารถนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้จะต้องตระหนักว่า การฝึกสมาธิที่จะเป็นสัมมาสมาธินั้น มุ่งเพื่อให้ใจ งบ หยุดฟุ้งซ่าน ไม่ขุ่นมัวสามารถระงับอารมณ์ตนเองได้ เกิดความเย็นกายเย็นใจ เพื่อให้เกิดสติ มีใจตั้งมั่น เข้มแข็งไม่หวั่นไหวง่าย เกิดความเชื่อมั่นตนเองในทางที่ถูกเพื่อกำจัดกิเลสในใจ คือ โมหะ และอวิชชาอันเป็นบ่อเกิดของกิเลสทั้งหลายให้หมดไป
จากหนังสือ DOU
วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ