การฝึกสมาธิกับการรักษาสุขภาพ
การฝึกจิตใจให้เป็นสมาธิสามารถทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจได้รับการพัฒนา หรือได้รับการรักษาให้มีสุขภาพที่ดีไปพร้อมๆ กันได้ ซึ่งการรักษาโรคต่างๆ ใน มัยปัจจุบัน เช่น มะเร็ง แม้จะอาศัยวิทยาการทางเทคโนโลยี เช่น การฉายรังสีหรือการผ่าตัดด้วยกรรมวิธีทันสมัย อันเป็นความเจริญทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่สำหรับในประเทศไทยขณะนี้ กรรมวิธีการรักษาโรคดังกล่าวที่กำลังเป็นที่ สนใจกันเป็นอย่างยิ่งก็คือการรักษาแบบชีวจิต ดังที่มีการก่อตั้งชมรมชีวจิต โดยปฏิบัติตามวิธีรักษาของ ดร.สาทิ อินทรกำแหงซึ่งมีการเน้นในด้านการดำเนินชีวิตที่เข้าใจธรรมชาติตลอดจนการบริโภคอาหารที่ถูกต้องแต่กระนั้น ก็ได้ให้ความสำคัญทางด้านจิตใจที่จะต้องฝึกให้เป็นสมาธิ ดังที่ ดร.สาทิ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
"ที่จริงแล้ว การปฏิบัติตนตามแนวทางชีวจิต ไม่ได้หมายถึงการรับประทานอาหารแบบธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เข้าสู่แนวทางที่ถูกต้องด้วย เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกลดความเครียดในชีวิตประจำวัน 1 "ทั้งนี้ดร.สาทิ ได้ยึดหลักคำ อนในพระพุทธศา นาที่ว่า นิมเหล็กเกิดแต่เหล็ก แล้วก็กัดกร่อนให้เหล็กเสียไป
ดังนั้นจิตใจของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน หากได้รับการฝึกให้เป็นสมาธิและมีต้นแหล่งคือจิตใจที่ผลิตแต่ความคิดในเชิงบวก ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยที่ดีได้ แต่หากผลิตความคิดในเชิงลบ อันเปรียบเสมือน นิมเหล็กก็ย่อมเป็นภัยแก่ตนเอง ดังได้กล่าวว่า
"ความคิดในทางร้ายนี้เอง ที่เป็นตัวทำลายตนเอง โดยเฉพาะผู้เจ็บป่วยเป็นมะเร็งถ้าความคิดในทางร้ายๆ นี้ ยังหลงเหลืออยู่ มันก็จะเป็นสนิมกัดกร่อนตนเองให้พินาศย่อยยับเร็วขึ้น เพราะความคิดเช่นนี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการเป็นมะเร็งแนวทางของชีวจิต ถือว่ามะเร็งเกิดจากสาเหตุทั้งทางใจและทางกาย ถ้าทางใจเขาเปลี่ยนไม่ได้ ทางกายก็เปลี่ยนไม่ได้ตามด้วย 2 "
ไม่เพียงการรักษาโรคมะเร็ง ที่ยังมีทางรักษาให้หายได้ แม้โรคทางร่างกายที่ยังไม่มีทางรักษา
ให้หายได้ในปัจจุบัน คือ ยังมีการนำการฝึกสมาธิไปใช้กับผู้ป่วย ดังเช่น ฯ . ได้กล่าวว่า"ประเทศไทยได้มีการนำเอาการฝึกสมาธิมาใช้ในการดูแลรักษาคนป่วยโรคเอด ์ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1989 โดยคณะของนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และพยาบาล
ได้นำเทคนิคของการฝึกสมาธิ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
ในการดูแลคนไข้โรคเอด์และผู้ติดยาเสพติดในโรงพยาบาล1 "
ถึงแม้จะยังไม่มีทางรักษาคนป่วยโรคดังกล่าวให้หายขาดได้ จากผลการใช้สมาธิช่วยเหลือนั้น
ทำให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วย คือผลจากแบบสอบถาม การรายงานส่วนบุคคล และการสังเกตของคณะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการพบว่าบังเกิดผลในเชิงบวกต่อเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก คือ มีความไม่เห็นแก่ตัวแต่กลับมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยในกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม มีคำต่อว่ามาจากผู้ป่วยน้อยลง นอกจากนี้ยังมีบุคลิกสงบเย็นมีความสุข และมีความอดทนมากขึ้นด้วยความสำคัญและประโยชน์ของการฝึกสมาธิที่มีผลต่อร่างกายและการรักษาโรคดังกล่าว ได้มีชาวตะวันตกนำไปปฏิบัติและเกิดมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างเห็นผล ดังเช่น นายแพทย์ประภา อุครานันท์ ได้อ้างถึง .ฯ แห่ง ฯฯ ผู้เขียนผลของสมาธิที่มีต่อสุขภาพร่างกายในหนังสือชื่อ ฯ ฯ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันมีความตื่นตัว ในการฝึก
สมาธิเป็นอย่างมาก ข้อเขียนดังกล่าวมีข้อความโดย รุปว่าสมาธิมีผลดีต่อการรักษาโรคมะเร็ง เพราะ
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผ่อนคลาย มีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต และมีสติที่จะวางแผนชีวิตของตนได้ส่วนโรคซึมเศร้าสิ้นหวัง โดดเดี่ยว หมดโอกาสเป็นโรคทางจิตเวชที่พบมากในชาวตะวันตกนั้น พบว่าคนที่ทำสมาธิทำให้จิตใจคลายอารมณ์เศร้ากลายเป็นแจ่มใสนอกจากนี้การทำสมาธิยังมีผลดีต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงและที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ การทำสมาธิช่วยผู้มีบุตรยากให้มีบุตรง่ายขึ้น ทั้งนี้ เพราะผู้มีบุตรยากมักจะมีอารมณ์เศร้ากังวล และมักมีอารมณ์โกรธ เมื่อทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะทำให้สุขภาพแข็งแรงอารมณ์แจ่มใสทำให้มีบุตรได้ง่ายเป็นที่น่าสังเกตว่าการทำสมาธิ เป็นวิธีที่มีผลดีต่ออารมณ์ หรือสุขภาพจิตนั้น ดวงใจ กสานติกุล(2529) ได้ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง "ผลของการศึกษาสมาธิต่อสุขภาพจิต"โดยวัดเปรียบเทียบอารมณ์เศร้าในเยาวชนอายุ 1525 ปี ณ ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม(วัดพระธรรมกาย) จังหวัดปทุมธานี มีกลุ่มตัวอย่าง 156 คน โดยให้เยาวชน ที่เข้ารับการฝึกสมาธิตอบแบบ อบถามซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดอารมณ์เศร้าก่อนและหลังฝึก พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนเมื่อหลังการปฏิบัติสมาธิ มีอารมณ์เศร้าลดลง แสดงว่าการทำสมาธิทำให้จิตใจผ่อนคลายสามารถแยกแยะ เข้าใจปัญหา และบรรเทาสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าในใจนั้นได้
การฝึกสมาธิตามแนวทางพระพุทธศาสนา แม้จะสามารถทำให้เกิดผลดี แก่สุขภาพทางร่างกายแล้วการฝึกใจให้เป็นสมาธิ ยังเป็นการรักษาสุขภาพทางใจโดยนำไปสู่ความหลุดพ้น จากความทุกข์ทางใจตลอดจนความคิดในเชิงลบได้สามารถทำให้ใจบริสุทธิ์ผ่องใสก่อให้เกิดความคิดเชิงบวก คือใจเกิดความนุ่มนวลอ่อนโยน มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจหรือมีใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และ รรพสัตว์ทั้งหลายได้ซึ่งเป็นคุณสมบัติของใจที่มีคุณภาพ ดังเช่น ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฯ ว่า
"สมาธิในพระพุทธศาสนานั้นไม่เพียงจะเป็นวิธีการรักษาอาการป่วยทางใจที่เกิดจาก ทัศนคติที่ผิดๆ การเสพสุขอย่างผิดๆ ตลอดจนความโหดร้าย หรือความโกรธหลากหลายรูปแบบเท่านั้นสมาธิยังช่วยจรรโลง ภาวะจิตให้ดีขึ้นและเป็นกุศล เช่นเกิดพรหมวิหารธรรม เป็นต้น ซึ่งจิตที่เป็นกุศลนี้คือพุทธวิธีที่จะทำให้สุขภาพจิตดี 1 "เนื่องจากปัจจุบันมีวิธีการฝึกสมาธิหลากหลายรูปแบบ แต่การจะฝึกสมาธิวิธีการใดเพื่อให้เกิดผลดีนั้น ปัจจัยสำคัญไม่ได้อยู่ที่วิธีการ แต่หากขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นจริงจังของผู้ปฏิบัติ เพราะทุกวิธีต่างมุ่งที่การฝึกอบรมที่จิตใจ ดัง ได้กล่าวว่า
"ทุกหมวดของศีล และทุกๆ วิธีการทำสมาธิ ล้วนมุ่งเพื่อการควบคุมความ รู้สึกนึกคิดและสัญชาตญาณ ลดความตึงเครียด และความคิดที่เป็นอกุศล อันจะเป็นบ่อเกิดของโรคทางใจ 2 "
เป็นที่น่าสังเกตว่าโรคทางร่างกายโดยทั่วไปสามารถรักษาได้ด้วยยาหรือกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่างๆ ได้ส่วนการรักษาโรคทางใจ มุ่งที่การฝึกใจ เช่น จิตบำบัดหรือด้วยการทำสมาธิ ซึ่งเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนช่วยเหลือตนเองโดยไม่ต้องอาศัยยารักษา แสดงว่าจิตใจสามารถรักษาตนเองได้และยังสามารถส่งผลต่อการรักษาโรคทางกายได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาหากสามารถแยกแยะได้ว่าอาการป่วยของตน เป็นอาการป่วยทางกาย มิใช่ป่วยทางใจ แล้วทำใจให้สงบสดชื่นเบิกบาน
อาการป่วยทางกายนั้น ย่อมจะทุเลาและหายเร็วขึ้น แต่หากผู้ป่วยคนใด กลับมีใจหดหู่เอาแต่ซึมเศร้าเสียใจในการที่ตนเองต้องเจ็บป่วย ผู้ป่วยเช่นนี้ ย่อมจะรักษาให้หายได้ยากและต้องใช้เวลานาน ดังนั้นการทำจิตใจให้สงบ บริสุทธิ์ผ่องใสอยู่เสมอ ย่อมสามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ประโยชน์ของสมาธิ ในด้านสุขภาพจิตและการพันาบุคลิกภาพ กล่าวโดย รุปคือสมาธิจะทำให้เป็นผู้มีจิตใจ เข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคงสงบ เยือกเย็นสุภาพ นุ่มนวล สดชื่น ผ่องใสกระฉับกระเฉง
กระปรี้กระเปร่า เบิกบาน งามสง่า มีเมตตากรุณา เข้าใจใน ภาวะที่เกิดขึ้นในโลกตามความเป็นจริง ซึ่ง
เป็นลักษณะของผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจนั่นเอง
ดังนั้นความสุขในชีวิตจะเกิดขึ้นได้นั้น นอกจากจะเกิดจากความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
หรือหน้าที่การงานแล้ว ความเป็นผู้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ชีวิตแต่ละชีวิตมีความสุขสมบูรณ์อย่างแท้จริงการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าแก่ชีวิตโดยไม่จำเป็นต้องซื้อหา และเนื่องจากสมาธิ ไม่ได้จำกัดด้วยเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก หากเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญ พร้อมทั้งได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ย่อมจะพบผลดีมากมายที่จะเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง
จากหนังสือ DOU
วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ