ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกาย

วันที่ 05 มิย. พ.ศ.2557

 

ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกาย

 

            หากเราจำแนกคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นแบบกว้างๆพอให้เป็นเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วจะสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ ระดับแรก เป็นคำสอนที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันที่พบเห็นกันทั่วไปเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์และสังคมโลกเรียกว่า "โลกียธรรม"ส่วนในระดับที่ 2 คือเรื่องที่อยู่เหนือโลก หรือคือเรื่องที่ไม่ใช่วิถีชีวิตปุถุชนธรรมดาทั่วไป เรียกว่า "โลกุตตรธรรม"1 เป็นเรื่องที่ว่าด้วยปัญญาอันยิ่ง เช่น ว่าด้วย ภาวะแห่งความหลุดพ้น นิพพาน เป็นต้น

 

           การศึกษาเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตรทางกายนี้ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการแสดงออกทางกาย ที่จะ
ทำให้เกิดการยอมรับและประทับใจแก่ผู้ที่เราไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาถือว่า
พฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ย่อมเกิดมาจากปัจจัยภายในตัวของมนุษย์และปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้นหรือเร่งเร้า เช่น พฤติกรรมการบริโภค กล่าวคือ จะซื้ออะไร จะรับประทานอะไร นอกจากจะเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การได้รับการกระตุ้นเร่งเร้าด้วยการโฆษณา การเห็นสิ่งของต่างๆสวยงามรสอร่อย หรือกลิ่นหอม เป็นต้นแล้ว ย่อมจะทำให้มีความรู้สึกภายใน คือเกิดความอยากจะได้ อยากจะมี และมีความพยายาม จะแสวงหามาบริโภค หรือนำเอามาเป็นของตน ธรรมชาติของมนุษย์ดังกล่าวนี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจว่า พฤติกรรมการแสดงออกภายนอกของผู้ไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่'เพราะการที่ผู้คนทั้งหลายย่อมจะสามารถแยกแยะได้ทันที ว่าใครเป็นคนดีควรเชื่อถือศรัทธาก็มาจากการได้พบเห็นพฤติกรรมการแสดงออกภายนอกนั่นเอง

 

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.01815584897995 Mins