กรณีตัวอย่างการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบเครือข่าย

วันที่ 07 มิย. พ.ศ.2557

 

กรณีตัวอย่างการทำหน้าที่กัลยาณมิตรแบบเครือข่าย


                  การเริ่มต้นสร้างเครือข่ายคนดี อาจจะเริ่มจากการดำเนินกิจกรรม เพื่อการแก้ปัญหาสังคมหรือภัยใกล้ตัวของเราก่อน แล้วก็ขยายเครือข่ายต่อไป เช่น โครงการ เทเหล้า  เผาบุหรี่ เป็นต้น
โครงการเทเหล้าเผาบุหรี่ถวายเป็นพระราชกุศลโครงการเทเหล้าเผาบุหรี่ เป็นโครงการหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม จนสามารถนำไปสู่การขยายเครือข่ายได้ ซึ่งในการดำเนินโครงการนี้ส่วนใหญ่จะมีการเขียนโครงการอย่างมีขั้นตอน


ดังตัวอย่างต่อไปนี้


                   ก. หลักการและเหตุผลของการดำเนินโครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่
แม้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ก่อผลเสียต่อสุขภาพ แต่ทว่าแนวโน้ม
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกออล์ของไทยกลับสูงขึ้น ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ดื่ม ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามีคนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกออล์ราว 15.3 ล้านคน และคิดเป็นมูลค่าการบริโภค 125,000 ล้านบาทต่อปี


          การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกออล์ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ ทั้งในเชิงสุขภาพและสังคมในหลายด้านที่เห็นชัดเจนที่สุด ได้แก่ การที่ผู้ดื่มที่มีแอลกออล์ ขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรกว่าร้อยละ 50 ของที่เกิดทั้งหมด และมีผลเกี่ยวข้องกับการก่อความรุนแรงต่อครอบครัว และบุคคลอื่นๆในลักษณะการก่ออาชญากรรม


                อย่างไรก็ตาม ในเทศกาลเข้าพรรษา นับเป็นเทศกาลที่ชาวพุทธจำนวนมาก ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปฏิบัติธรรมและ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อปี 2544 มีผู้ดื่ม
แอลกออล์ถึงร้อยละ 11.8 ตอบว่า ตั้งใจงดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา (จำนวนผู้งดดื่ม 1.8 ล้านคน และ
มูลค่าการบริโภค ลดลง 3,600 ล้านบาท)


               ด้วยความตระหนักในความสำคัญ ของผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ และการเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด ที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของบุคคลในสังคม และตระหนักในความสำคัญของเทศกาลเข้าพรรษาชมรมวัยรุ่นคุณธรรมจึงจัด "โครงการเทเหล้าเผาบุหรี่" เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


    ข. วัตถุประสงค์


               1. เพื่อให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสังคมจากการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกออล์และบุหรี่ รวมทั้งค่านิยมการเสพสิ่งเสพติดทุกชนิดรวมถึงการพนัน


               2. เพื่อเชิญชวนให้ประชาชน งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์และบุหรี่และสิ่งเสพติดทุกชนิด
รวมถึงการพนัน ในช่วงวันพระและวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาและตลอดไป


               3. เพื่อให้องค์กรต่างๆ มีมาตรการและกิจกรรมสนับสนุน การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ใน
วันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศา นา และการเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด รวมถึงการพนันในช่วงวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ของ มาชิกขององค์กรและชุมชนสังคม


     ค. ผลที่คาดว่าจะได้รับ


               1. ประชาชนและองค์กรต่างๆ ตระหนักในผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์และสูบบุหรี่และการเล่นการพนัน


               2. มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมโครงการและขยายผลเรื่องนี้สู่ประชาชนทั่วไป


               3. มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ ตั้งใจงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกออล์ งดบุหรี่และการพนันใน
ช่วงวันพระและในวันสำคัญทางพระพุทธศา นาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา


               4. มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์เห็นกิจกรรมนี้แล้ว ตั้งใจเลิกดื่มและสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดทุกชนิดเลิกเล่นการพนันตลอดชีวิต


               5. พลังของผู้ที่เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกออล์ เลิกบุหรี่ และการพนันมากขึ้น จะเป็นพลังในการรณรงค์ต่อไปในการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นเพียงโครงการตัวอย่าง แต่หากจะเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรจะมีการระบุประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติม ดังนี้

               1. วิธีการดำเนินการ เช่น ลำดับขั้นตอนของการจัดงาน หรือกำหนดการจัดงาน


               2. วัน เวลา ถานที่ ที่ดำเนินโครงการ

 

               3. งบประมาณ และที่มาของงบประมาณในการดำเนินโครงการ


               4. คณะผู้ดำเนินโครงการ และผู้อนุมัติโครงการ (ถ้ามี)
หากเป็นการนำเสนอโครงการต่อผู้หลักผู้ใหญ่ หรือต่อทางราชการหรือหน่วยงาน เพื่อหวังจะให้
เป็นการร่วมมือในลักษณะการทำงานร่วมกัน ก็อาจจะระบุชื่อและตำแหน่งผู้อนุมัติ ให้ดำเนินโครงการได้ซึ่งในลักษณะนี้ มักเป็นเป็นการดำเนินการแบบราชการ เช่น หัวหน้าภาควิชา นำเสนอโครงการต่อผู้
อำนวยการสถาบันของตน เป็นต้น

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0039734641710917 Mins