ขั้นการติดตามและการประเมินผล (Evaluation)

วันที่ 12 มิย. พ.ศ.2557

 

ขั้นการติดตามและการประเมินผล (Evaluation)


                 หลังจากมอบนโยบายในการดำเนินกิจกรรม และมีการวางแผน และจัดกิจกรรมต่างๆ ไปแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์มีการติดตามประเมินผล เพื่อตรวจ อบผลที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดเพื่อนำมาปรับรูปแบบในการจัดกิจกรรมให้เข้าถึง และมีประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมและรณรงค์ ( Plan-Do?Check-Act) อาทิ

               กิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่ มีการติดตามจำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ปวารณาเลิกสูบบุหรี่ และ
มีการปรับวิธีการในการนำเสนอใน ื่อโทรทัศน์ดาวเทียม และจัดกิจกรรมเพื่อปรับให้เข้าถึงวันธรรมกลุ่ม
คนต่างๆ เพื่อให้มีผลต่อการงดบุหรี่มากที่สุด หรือมีการทำให้เกิดการเชื่อมโยงของเครือข่ายในการจัด
กิจกรรมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น


              1. เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงาน จากจัดเฉพาะในกลุ่มคนเพียงกลุ่มหรือหน่วยงานเดียวเป็นการจัดระหว่างเครือข่ายต่างๆ ในชุมชนมากขึ้น เช่น ในสถาบันการศึกษามีการเชิญผู้บริหาร ข้าราชการโรงเรียนต่างๆ ในชุมชนมาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น การจัดเทเหล้าเผาบุหรี่ที่ จ.กาญจนบุรี มีการประสานงานระหว่างวัด และโรงเรียน 15 แห่ง ตลอดจนประชาชนกลุ่มต่างๆ ในจังหวัด เพื่อจัดกิจกรรมรวมมีผู้ร่วมกิจกรรมกว่า 6,000 คน


             2. มีการกระตุ้นให้เกิดผู้ปวารณาในการเลิกเหล้า เลิกบุหรี่มากขึ้น โดยมีการสดุดียกย่องผู้ที่จัด
กิจกรรม ผ่านในรายการฝันในฝัน


             3. จากการกระตุ้น และให้กำลังใจอย่าง ม่ำเสมอทำให้มีผู้จัดกิจกรรมในภูมิภาคต่างๆ เพิ่มขึ้น
จากเริ่มต้นจากการนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่ 1 ราย ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้มีการจัด
กิจกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 4 ราย ในเดือนพฤษภาคม และกลายเป็น 36 ราย ในเดือนมิถุนายน เป็นต้น (ทั้งนี้ ยังไม่รวมกิจกรรมที่ยังไม่ได้นำเสนอในรายการฝันในฝันอีกจำนวนมาก)


             4. เกิดความยั่งยืนของกิจกรรม โดยแบ่งเป็นส่วนบุคคล คือ คนที่ปวารณาเลิกสูบบุหรี่ตลอด
ชีวิตเพิ่มมากขึ้น และความยั่งยืนของโครงการ คือ มีการขยายผลของโครงการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น มีการ
ตั้ง คณะกรรมการประสานงานใน สถาบันการศึกษา เป็นต้น


             ผู้ร่วมกิจกรรมการรณรงค์งดบุหรี่ โดยการชวนมาวัดและร่วมกิจกรรมงดบุหรี่ โดยตอกย้ำผ่าน
การเทศน์ สอนจากพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ผ่านจานดาวเทียม จากการติดตามพระภิกษุสามเณรและสาธุชนที่เลิกเหล้าเลิกบุหรี่พบว่า การรณรงค์ของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ทำให้คนมากกว่า 10,000 คนตัดสินใจเลิกบุหรี่หลังจากเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ไม่นับสาธุชนที่มาวัดตามปกติแล้วได้เลิกบุหรี่ไปเองหลังจากนั้น ซึ่งตามการคาดคะเนเชื่อว่ามีมากกว่าแสนคน นอกจากนั้น ทางวัดยังได้ติดตามผู้ประกาศ "หักดิบ" เลิกบุหรี่กะทันหันอย่างใกล้ชิด จากการติดตามพบว่า ประชาชนตระหนักถึงความศักดิ์สิทธิ์ของคำสาบานที่ตนกระทำต่อหน้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การละเมิดคำสาบานจักนำอันตรายมาให้ ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า"ลุงสาบานต่อหน้าพระพุทธรูป จะทรยศคำสาบานได้อย่างไร"และในกลุ่มพระสงฆ์ยิ่งเป็นกลุ่มที่ตระหนักในเรื่องนี้มากที่สุด

           3.ผังแสดงการดำเนินกิจกรรม

 

          4.กราฟ ถิติแ ดงจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการต่างๆ


ข้อแนะนำในการใช้ทักษะแบบบูรณาการเพื่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร


ความหมายของทักษะ


            ทักษะ คือ ความชำนาญของการทำหน้าที่นั้นๆ จนมีประสบการณ์เกิดขึ้นในหน้าที่งานนั้น ผู้ที่มีทักษะอาจมาจากการเรียนรู้ความผิดพลาดก็ได้ แล้วได้เรียนรู้พันาจนมีทักษะในที่สุด มีขั้นตอนการเกิดทักษะดังต่อไปนี้


           1. การศึกษาเรียนรู้


           2. มีความสามารถ


          3. ฝึกฝนปรับปรุงพัฒนา


         4. เกิดทักษะในหน้าที่

บูรณาการที่ดี


         1. ทำงานเป็นทีม


         2. มีภาวะเป็นผู้นำ


         3. มีวิสัยทัศน์

 

         4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี


         5. มีวิธีการที่ชัดเจน


         6. มีการจัดระเบียบของงาน


         7. มีความรับผิดชอบในงาน


         8. เป็นแบบอย่างน่าเชื่อถือ


                 การประยุกต์วิธีการเชิงบูรณาการ เพื่อการทำหน้าที่กัลยามิตรจะมีความ มบูรณ์ ต้องมีการ
ประสานรวมหลายๆส่วนย่อย มารวมเป็นองค์ประกอบเดียวกัน ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ อย่างมี
เหตุมีผลส่วนย่อยที่มีศักยภาพในตัว มีประสบการณ์ความรู้ทักษะในส่วนย่อยนั้น เมื่อมารวมกันเป็นส่วน
ประกอบเดียวกัน ก็จะเป็นบูรณาการที่ มบูรณ์ ฉะนั้นจะจำแนกได้พอสังเขป ดังนี้


          1. การจัดระบบความคิด การไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ทบทวนข้อมูลแต่ละอย่าง อย่างละเอียดถี่ถ้วน
มีระเบียบของความคิด มีความเข้าใจในข้อมูลอย่างชัดเจน ลำดับความสำคัญก่อนหลังได้สามารถเชื่อมและประมวลผลข้อมูลให้เป็นระเบียบเป็นระบบอย่างเป็นเหตุเป็นผล


          2. การจัดเก็บข้อมูล จัดเป็นหมวดหมู่เป็นประเภท ให้เข้าใจง่าย และใช้งานได้ง่าย เชื่อมโยงข้อมูลได้ค้นหาสะดวกสามารถรู้แหล่งข้อมูล รู้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร


         3. การสังเกต รับรู้เห็นถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งใกล้ตัวและไกลตัวสิ่งที่เล็กจนถึงสิ่งที่ใหญ่ รับรู้
ถึงคุณลักษณะของสิ่งนั้นส่วนประกอบของสิ่งนั้น แต่ละส่วนเป็นอย่างไร เห็นถึงความเหมือนและแตกต่างกัน ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อย


         4. นำเสนอ การนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ ตั้งแต่การ นทนา เอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย ื่อโ ตทัศน์
ตลอดจนนำเสนอ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ว่าควรนำเสนอด้วยวิธีใดที่เหมาะ มกับ ภาวะ ทั้งเวลาและสถานที่ส่วนผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ง่าย และ นใจที่ได้รับรู้ด้วย


          5. การประสานงาน การติดต่อเกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสามารถเชื่อมให้เป็นส่วนเดียวกัน
งานนั้นมีการร่วมมือกัน ขับเคลื่อนงานไปไม่ขัดแย้งกัน ไม่กระทบให้เกิดความเสียหายต่อกัน เชื่อมทั้งสิ่งมีอยู่เดิมกับสิ่งที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง หนุนให้งานหรือกิจกรรม มบูรณ์ขึ้นได้ และรวดเร็วขึ้น


         6. การวิเคราะห์ การรวมข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ แล้วนำมาแยกแยะได้ ทำความ
เข้าใจข้อมูลเนื้อหาได้ชัดเจน เปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีแง่มุมแตกต่างกันไป ด้วยเหตุด้วยผลรู้ว่าดีหรือไม่ดีจริง อดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน


        7. ติดตามผลสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว มีผลคืบหน้าอย่างไร เป็นไปตามที่คาดหวังไหม อดคล้องกับ
จุดมุ่งหมายหรือไม่ ได้ผลเพียงไรบ้าง


        8. ประเมินผลการรวบรวมข้อมูลในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วนำมาวิเคราะห์ ผลลัพธ์ในทางสถิติ เป็นข้อ สรุปในการตัดสินใจของสิ่งนั้น ว่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ถ้าข้อมูลพร้อมครบถ้วนถูกต้อง จะมีผลให้การประเมินผลได้ตรงเป้าหมาย

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.023851716518402 Mins